เขตสะพานสูง
สะพานสูง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ที่ตั้งและอาณาเขตเขตสะพานสูงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ที่มาของชื่อเขตเขตสะพานสูงเป็นท้องที่ที่มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย คลองที่มีความสำคัญ ได้แก่ คลองแสนแสบ คลองบ้านม้า 1 คลองทับช้างล่าง คลองลาดบัวขาว คลองสะพานสูง คลองหลอแหล เป็นต้น ตั้งแต่อดีตมีการสร้างสะพานข้ามคลองขึ้นเพื่อให้ผู้คนทั้งสองฝั่งคลองเหล่านั้นสามารถติดต่อไปมาหาสู่กันได้ แต่เนื่องจากการเดินทางทางน้ำมีความสำคัญมาก จึงจำเป็นต้องสร้างสะพานทรงสูงเข้าไว้เพื่อให้เรือทุกขนาดสามารถลอดผ่านไปได้สะดวก สะพานลักษณะดังกล่าวมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นที่มาของชื่อ "สะพานสูง"[3] ประวัติตำบลสะพานสูง ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลนี้ด้วยใน พ.ศ. 2506[4] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[5] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสะพานสูงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสะพานสูง อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ใน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน เป็นต้นไป[7] อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยรวมพื้นที่แขวงสะพานสูงและหมู่ที่ 7–12 ของแขวงประเวศ เขตประเวศ จัดตั้งเป็น เขตสะพานสูง[8] และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงสะพานสูงเต็มพื้นที่เขตสะพานสูงอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[9][10] ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตสะพานสูงได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม[9] เขตคันนายาว[9] เขตหลักสี่[11] เขตวังทองหลาง[12] และเขตคลองสามวา[13] การแบ่งเขตการปกครองในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงราษฎร์พัฒนาและแขวงทับช้างแยกจากพื้นที่แขวงสะพานสูง โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตสะพานสูงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง[14] ได้แก่
ประชากร
ตราสัญลักษณ์ประจำเขตตราสัญลักษณ์ประจำเขตสะพานสูง มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ และความหมายดังนี้
การคมนาคมในพื้นที่เขตสะพานสูงมีทางสายหลัก ได้แก่
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
สถานที่สำคัญ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |