เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ นามเดิมว่า กุน แซ่อึ้ง (黃軍 จีนแต้จิ๋ว: ng5 gung1 จีนกลาง: Huáng Jūn) เป็นสมุหนายกในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นต้นสกุล "รัตนกุล" ประวัติเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) เดิมชื่อว่า กุน แซ่อึ้ง หรือ อึ้งกุน เป็นบุตรชายของกุ๋ย แซ่อึ้ง หรืออึ้งกุ๋ย (黃貴 จีนแต้จิ๋ว: ng5 gui3 จีนกลาง: Huáng Guì) พ่อค้าชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งได้อพยพมาค้าขายตั้งเคหสถานอยู่ที่ตำบลบ้านคลองโรงช้าง เมืองราชบุรี "จีนกุ๋ย" เป็นพ่อค้าสำเภามีบุตรธิดามาก "จีนกุน" เป็นบุตรคนที่ห้าของจีนกุ๋ย มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านปรก[1] ปากแม่น้ำแม่กลองฝั่งเหนือ แขวงเมืองสมุทรสงคราม[2] ส่วนมารดาของกุน เป็นธิดาของเจ้าพระยาพระคลัง (ฉิม) ขุนนางมาแต่กรุงเก่า[3] เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ปรากฏรับราชการครั้งแรก ดำรงตำแหน่งเป็นพระราชประสิทธิ์[4] เจ้ากรมพระคลังวิเศษในสมัยกรุงธนบุรี ได้ย้ายครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนที่หน้าวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร และบูรณะวัดโคกเนินที่แม่กลองบ้านเดิมขึ้นเป็นวัดใหญ่[2] พระยาราชประสิทธิ์ (กุน) เป็นที่รู้จักในนามว่า "เจ๊สัวกุน"[1] เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2325 ทรงแต่งตั้งพระราชประสิทธิ์ (กุน) ขึ้นเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ จางวางกรมพระคลังสินค้า ต่อมาใน พ.ศ. 2348 เมื่อเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรม พระยาศรีพิพัฒน์ (กุน) ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาพระคลัง เสนาบดีกรมคลัง[4] ได้รับสมญานามว่า "ท่านท่าเรือจ้าง" เนื่องจากจวนเจ้าพระยาอยู่ที่ท่าเรือจ้างข้างวัดเลียบ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. 2352 ทรงแต่งตั้งพระยาพระคลัง (กุน) ขึ้นเป็นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ที่สมุหนายก เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) สร้างวัดขึ้นสามแห่งพร้อมกันได้แก่ วัดหัวเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) วัดกลางเมือง (วัดกลางบางซื่อ) และวัดท้ายเมือง[5] นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯยังมีพระราชโองการให้เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์บูรณะวัดนาคที่ริมคลองมอญขึ้นเป็นวัดพระยาทำ และเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ยังได้สร้างวัดที่เกาะเกร็ดคือวัดศาลาเจ้าคุณกุน หรือวัดศาลาจีนกุน กลายเป็นวัดศาลากุล[6]ในปัจจุบัน เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ถึงแก่อสัญกรรมในรัชกาลที่ 2 สันนิษฐานว่าก่อนวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2357 เนื่องจากเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) ได้ขึ้นมาเป็นสมุหนายกแทน อัฐิของเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) บรรจุอยู่ที่เจดีย์วัดใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ครอบครัวเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) เป็นต้นสกุล"รัตนกุล" ปรากฏบุตรธิดาดังนี้;[2]
อ้างอิง
|