Share to:

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Phranakhon Rajabhat University
ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏพระนคร
ชื่อย่อมรภ.พน. / PNRU
คติพจน์สร้างคนดี มีปัญญา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา12 ตุลาคม พ.ศ. 2435; 132 ปีก่อน (2435-10-12)
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ596,501,600 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
นายกสภาฯถนอม อินทรกำเนิด
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ เปรื่อง กิจรัตน์ภร
อาจารย์433 คน (พ.ศ. 2566)[2]
บุคลากรทั้งหมด805 คน (พ.ศ. 2566)[2]
ผู้ศึกษา9,381 คน (พ.ศ. 2566)[2]
ที่ตั้ง
เลขที่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
เพลงมาร์ชพระนคร
สี██ สีเขียว
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (อังกฤษ: Phranakhon Rajabhat University; อักษรย่อ: มรภ.พน. – PNRU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เริ่มทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2435 เป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทย

ประวัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นมหาวิทยาลัยด้านการฝึกหัดครูที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย[3] ได้รับการสถาปนาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในนาม "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์" สังกัดกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ผลิตครูเพื่อรองรับการขยายตัวของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน

เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทย มีมิสเตอร์กรีนรอด ชาวอังกฤษเป็นอาจารย์ใหญ่คนเแรก โดยมีที่ตั้งครั้งแรกอยู่ในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จากนั้นก็ได้ย้ายไปสถานที่ตั้งไปอีกหลายแห่ง

ในปี พ.ศ. 2449 มีการปรับปรุงหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น และให้นับเป็นโรงเรียนขั้นอุดมศึกษา และในปี พ.ศ. 2456 ได้รวมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เรียกว่า แผนกครุศึกษา แต่ยังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงธรรมการ

พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์จึงเป็นแผนกครุศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมื่อมีการสถาปนากรมมหาวิทยาลัยขึ้นแล้วรวมโรงเรียนข้าราชการพลเรือนทุกแผนกขึ้นกับกรมนี้ กระทรวงธรรมการจึงได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปสังกัดกรมศึกษาธิการ แผนกวิชาสามัญศึกษา

วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ" เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) สถานที่ตั้ง อาคารโรงเรียนมัธยมวัดบวรนิเวศ[4] และได้ย้ายไปตั้งที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2475 เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระราชวังสนามจันทร์" และโดยที่ภายในพระราชวังสนามจันทร์มีศาลพระพิฆเนศวรอยู่แล้ว ทางโรงเรียนจึงได้นำรูปพระพิฆเนศวรมาเป็นตราและสัญลักษณ์ของโรงเรียน

พ.ศ. 2477 ได้ย้ายโรงเรียนจากพระราชวังสนามจันทร์มาตั้งที่กองพันทหารราบที่ 6 ถนนศรีอยุธยา หลังวังปารุสกวัน (ปัจจุบันคือ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์) จึงเรียกชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร" และ พ.ศ. 2490 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร" ผลิตครูตามหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ใช้เวลา 3 ปี

พ.ศ. 2498 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครได้ใช้หลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) เวลาเรียน 2 ปี แทนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถมเดิม เพื่อเร่งรัดการผลิตครูให้ทันกับความต้องการ

1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้ย้ายโรงเรียนมาเช่าที่ดินวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ณ อาคารเลขที่ 3 หมู่ที่ 6 ตำบลอนุสาวรีย์ ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร อันเป็นที่ตั้งปัจจุบันโดยยังเช่าที่ดินวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ต่อมาจนปัจจุบัน

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร ขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูพระนคร" ทำให้สามารถเปิดหลักสูตประกาศนียบัตรวิชาการศึกศสชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ได้ และเพื่อสนองความต้องการของโรงเรียนมัธยมแบบประสม วิทยาลัยจึงได้เปิดวิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ โดยรับนักเรียนที่จบ ป.กศ. มาเรียนวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างโลหะ ช่างก่อสร้าง และช่างปั้นดินเผา ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 จึงได้เปิดสอนวิชาอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก

พ.ศ. 2513 โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ ได้ย้ายมาสังกัด "วิทยาลัยครูพระนคร" เนื่องจากโรงเรียนอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย กับ ทางวิทยาลัยครูพระนคร พร้อมจะพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพพร้อมฝึกประสบการณ์นักศึกษาของทางวิทยาลัยครู จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ" เป็น "โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ วิทยาลัยครูพระนคร"

พ.ศ. 2517 ได้เปิดหลักสูตรประโยคครูอุดมศึกษา (ป.อ.) โดยใช้หลักสูตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยรับผู้สำเร็จ ป.กศ.สูง หรืออนุปริญญา เรียน 2 ปี เมื่อสำเร็จจะได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิต

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ซึ่งมีผลทำให้วิทยาลัยครูทั้ง 36 แห่งทั่วประเทศสามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี จึงได้รับการปรับหลักสูตรประโยคครูอุดมศึกษา เป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

พ.ศ. 2521 วิทยาลัยครูพระนคร เปิดโครงการฝึกอบรมครูประจำการ (อ.ค.ป.) ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมกับเลิกการผลิตครูระดับป.กศ.สูง และระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิตเพิ่มขึ้น และในปี พ.ศ. 2523 ก็ได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีคุรศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี เป็นรุ่นแรก

พ.ศ. 2527 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) ซึ่งเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนสาขาวิชาอื่นนอกเหนือจากวิชาชีพครู โดยสภาการฝึกหัดครูอนุมัติให้เปิดสอนใน 3 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ และในปีการศึกษา 2528 ก็ได้เปิดรับนักศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ทั้งสายวิชาชีพครูและสายวิชาการอื่น จากนั้นก็ได้มีการขยายและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น และประเทศชาติมาโดยลำดับ

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏด้วย และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูพระนคร จึงได้ชื่อว่า "สถาบันราชภัฏพระนคร" และมีภารกิจตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 คือ "เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครู และส่งเสริมวิทยฐานะครู"

เมื่อ พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ[5] ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลให้ "สถาบันราชภัฎพระนคร" ได้ชื่อใหม่ว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร" ตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

  • ██ สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
  • ██ สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • ██ สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • ██ สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • ██ สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีประจำสถาบัน สีเขียว  

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นกาซะลอง หรือต้นปีป ภาษาอีสานเรียก ดอกกางของ

คณะ และ วิทยาลัย

พุทธวิชชาลัย (วิทยาลัยพุทธศาสตร์และปรัชญา วัดพระศรีมหาธาตุ)
  • วิทยาลัยการฝึกหัดครู
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะพยาบาลศาสตร์(โครงการจัดตั้ง)
  • คณะทันตแพทยศาสตร์(โครงการจัดตั้ง)
  • พุทธวิชชาลัย (วิทยาลัยพุทธศาสตร์และปรัชญา วัดพระศรีมหาธาตุ)
  • บัณฑิตวิทยาลัย

[6]

สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทาง

ถนนพหลโยธิน (ประตูฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร)
  • สาย.26 มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สาย.34 รังสิต-หัวลำโพง
  • สาย.34 ฟิวเจอร์พ​าร์ครังสิต​-ม.เกษตร​ศาสตร์​
  • สาย.39 มธ.ศูนย์​รังสิต​-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สาย.39 ตลาดไท-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สาย.51 วัดปรางค์​หลวง​-บางเขน
  • สาย.59 รังสิต-หลักสี่-สนามหลวง
  • สาย.95 อู่บางเขน-บางกะปิ
  • สาย.107E อู่บางเขน-คลองเตย
  • สาย.114 อู่บางเขน-แยกลำลูกกา-MRT พระนั่งเกล้า
  • สาย.129E อู่บางเขน-สำโรง
  • สาย.185 อู่​รังสิต​-พระราม 9-อู่​คลองเตย​
  • สาย.503 รังสิต-สะพานใหม่-สนามหลวง
  • สาย.522E รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สาย.524 หลักสี่-สามเสน-สนามหลวง
  • สาย.543 อู่บางเขน-ลำลูกกาคลอง 7
  • สาย.543 อู่บางเขน-ท่าน้ำนนทบุรี
  • สาย.1-1 บางเขน​-ประดิพัทธ์​-หัวลำโพง​
  • สาย.1-3 บางเขน​-พหลโยธิน​-หัวลำโพง​
  • สาย.1-4 มธ.ศูนย์​รังสิต​-บางเขน​
  • สาย.1-5 รังสิต-อนุสาวรีย์​ชัยสมรภูมิ
  • สาย.1-32E บางเขน​-BTS​ ตลาด​พลู​
  • สาย.1-33 บางเขน​-MRT​ บางซื่อ​
ถนนแจ้งวัฒนะ
  • สาย.29 บางเขน​-ประดิพัทธ์​-หัวลำโพง​
  • สาย.51 วัดปรางค์​หลวง​-บางเขน​
  • สาย.59 อู่​รังสิต-หลักสี่-สนามหลวง
  • สาย.95ก อู่​รังสิต-แฮปปี้​แลนด์​
  • สาย.126 คลองตัน​-ศูนย์​ราชการ​ แจ้งวัฒนะ​
  • สาย.150 ท่าเรือ​ปากเกร็ด-ตลาด​มีนบุรี​
  • สาย.356 [วงกลม]​ ปากเกร็ด-สะพานใหม่-ดอนเมือง
  • สาย.513E สำโรง​-ศูนย์​ราชการ​ แจ้งวัฒนะ​
  • สาย.524 หลักสี่-สามเสน-สนามหลวง
  • สาย.554E รังสิต-กม.8-สนามบิน​สุวรรณภูมิ
  • สาย.1-31 คลองหลวง คลอง 5-ศูนย์​ราชการ​ แจ้งวัฒนะ​
  • สาย.(ต.22) ท่าเรือ​ปากเกร็ด​-ตลาด​มีนบุรี​
  • สาย.(ต.95) ฟิวเจอร์พ​าร์ครังสิต​-ม.รามคำแหง​ 1

รถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าสายสีเขียว (รถไฟฟ้าบีทีเอส)
รถไฟฟ้าสายสีชมพู

สถานที่ใกล้เคียง

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. 2.0 2.1 2.2 รายงานประจำปี 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  3. "ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-13. สืบค้นเมื่อ 2021-08-01.
  4. "สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-17. สืบค้นเมื่อ 2019-09-20.
  5. [1]
  6. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร พ.ศ. ๒๕๔๙
  7. "บีทีเอส" เตรียมเปิดให้บริการถึง "สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ" มิ.ย.นี้

แหล่งข้อมูลอื่น

13°52′43″N 100°35′29″E / 13.878670220700302°N 100.59151245882892°E / 13.878670220700302; 100.59151245882892 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ที่เฟซบุ๊ก

Kembali kehalaman sebelumnya