เมธา เอื้ออภิญญกุล
เมธา เอื้ออภิญญกุล (23 เมษายน พ.ศ. 2470 – 21 มกราคม พ.ศ. 2560) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และเป็นบิดาของวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล และปานหทัย เสรีรักษ์[1] เป็นนักธุรกิจใบยาสูบรายใหญ่ของภาคเหนือ[2] ประวัติเมธา เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2470 ที่บ้านเด่นชัย ตำบลเด่นชัย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ (ปัจุบันคือ อำเภอเด่นชัย) เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายสมบูรณ์ นางบุญธรรม เอื้ออภิญญกุล เกิดนายเมธาสมรสกับ นางธีรวัลย์ กันทาธรรม มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ เมธี เอื้ออภิญญกุล ปานหทัย เสรีรักษ์ (สมรสกับนายแพทย์ ทศพร เสรีรักษ์) องอาจ เอื้ออภิญญกุล และ วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล[2] [3] เมธา จบการศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลเด่นชัย เข้าเรียนชั้นมัธยมจนถึงชั้น ม.2 จากโรงเรียนเจริญราษฎร์ และจบชั้นมัธยมต้น ที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเรียนชั้น ม.4 ที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน เรียนต่อที่โรงเรียนจีนหวังเหวินในกรุงเทพฯ จากนั้นก็เรียนต่อภาษาจีน จนกระทั่งจบ ม.8 ต่อมาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้[2][4] เมธา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ที่โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่[2] การทำงานเมื่อจบการศึกษาแล้ว นายเมธา ได้กลับมาประกอบธุรกิจสาขาของธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับเพื่อนสนิทคือ เกรน ประชาศรัยสรเดช (สามีของเจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช) ทำธุรกิจใบยาสูบซึ่งเป็นกิจการของภรรยา ทำให้เขาเป็นเพื่อนสนิทกับ ณรงค์ วงศ์วรรณ และศานิต ศุภศิริ (บิดาของศิริวรรณ ปราศจากศัตรู)[5] เป็นผู้ริเริ่มนำเอาถ่านหินมาทำการบ่มใบยาแทนฟืน เพื่อทำให้การตัดไม้ทำลายป่าลดลง [4]ต่อมาเมื่อกิจการขยายขึ้น จึงได้มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) [2] งานการเมืองเมธา เอื้ออภิญญกุล เข้าสู่งานการเมืองโดยการชักชวนของพลอากาศเอก ทวี จุลทรัพย์ หัวหน้าพรรคธรรมสังคม และเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในนามพรรคธรรมสังคม และยังได้รับแต่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช) ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ[2] ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม ของณรงค์ วงศ์วรรณ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ในนามพรรคชาติไทย เมธา เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[4] เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา) ในปี พ.ศ. 2543 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|