Share to:

 

เรือบรรทุกอากาศยาน

ร.ล.จักรีนฤเบศร
เรือบรรทุกเครื่องบินสมัยใหม่สี่ลำ- ประเภทต่างๆ,เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์และเรือคุ้มกัน ในปีพ.ศ. 2545

เรือบรรทุกอากาศยาน หรือ เรือบรรทุกเครื่องบิน (อังกฤษ: aircraft carrier) คือ เรือรบที่ออกแบบมาสำหรับใช้เป็นฐานทัพอากาศเคลื่อนที่ให้กับอากาศยาน เรือบรรทุกเครื่องบินนั้นทำให้กองทัพเรือสามารถส่งกำลังทางอากาศออกไปได้ไกลยิ่งขึ้นโดยขึ้นอยู่กับที่มั่นของเรือบรรทุกเครื่องบิน พวกมันพัฒนามาจากเรือที่สร้างจากไม้ที่ถูกใช้เพื่อปล่อยบัลลูนมาเป็นเรือรบพลังนิวเคลียร์ซึ่งสามารถบรรทุกอากาศยานปีกนิ่งและปีกหมุนได้หลายสิบลำ

โดยปกติเรือบรรทุกอากาศยานจะเป็นเรือหลักของกองเรือและเป็นเรือที่มีราคาแพงอย่างมาก มี 10 ประเทศที่ครอบครองเรือบรรทุกอากาศยานโดยแปดประเทศมีเรือบรรทุกอากาศยานเพียงลำเดียวเท่านั้น ทั่วโลกมีเรือบรรทุกอากาศยานที่กำลังทำหน้าที่ 20 ลำโดยเป็นของกองทัพเรือสหรัฐ 10 ลำ บางประเทศในจำนวนนี้ไม่มีเครื่องบินที่สามารถใช้กับเรือบรรทุกอากาศยานและบางประเทศได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของเรือไป[1]

ประเภท

เรือบรรทุกเครื่องบินเซาเปาลูของบราซิล
เรือบรรทุกเครื่องบินคาวัวร์ของอิตาลี
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ด็อกโดของเกาหลีใต้

(with US Hull classification symbol)

ประเภทแบ่งตามบทบาท

กองเรือบรรทุกเครื่องบินมักจะออกปฏิบัติการพร้อมกับกองเรือหลักและมีบทบาทในเชิงรุก เรือเหล่านี้คือเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถทำความเร็วสูงได้ เมื่อเทียบกันแล้ว เรือบรรทุกอากาศยานคุ้มกันนั้นถูกออกแบบเพื่อให้การป้องกันกับขบวนเรือมากกว่า เรือเหล่านั้นเป็นเรือที่มีขนาดเล็กกว่าและเคลื่อนที่ช้ากว่าพร้อมกับบรรทุกเครื่องบินในจำนวนน้อยกว่าเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วเรือพวกนี้จะถูกสร้างจากโครงเรือพาณิชย์ ในกรณีที่ต้องการเรือพาณิชย์บรรทุกอากาศยาน หรือสร้างจากเรือบรรทุกสินค้าโดยการเสริมลานบินเข้าไปที่ดาดฟ้าเรือ ส่วนเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเบาเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีความเร็วพอที่จะออกปฏิบัติการพร้อมกับกองเรือขนาดเล็กและใช้อากาศยานในจำนวนน้อย ปัจจุบันเรือบรรทุกอากาศยานของโซเวียตที่ใช้โดยรัสเซียจะเรียกกันว่าเรือลาดตระเวนการบิน เรือชนิดนี้มีขนาดเทียบเท่ากับเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่ที่สามารถออกปฏิบัติการเพียงลำพังหรือพร้อมกับเรือคุ้มกัน และสามารถให้การสนับสนุนเชิงรุกและเชิงรับที่เทียบเท่าได้กับเรือลาดตระเวนติดตั้งขีปนาวุธนำวิถี ซึ่งบทบาทนี้มีเพื่อสนับสนุนเครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์

  • เรือบรรทุกอากาศยานต่อต้านเรือดำน้ำ
  • เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์
  • เรือบรรทุกอากาศยานเบา
  • เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก
  • เรือบรรทุกเครื่องบินทะเล
  • เรือบรรทุกบอลลูน

ประเภทแบ่งตามองค์ประกอบ

เรือบรรทุกอากาศยานมีทั้งหมด 3 ประเภทเมื่อแบ่งตามลักษณะของเรือโดยใช้กับกองทัพเรือทั่วโลก โดยแบ่งด้วยวิธีที่ใช้ในการส่ง-รับเครื่องบิน

  • ส่งด้วยเครื่องดีดและรับด้วยสายรั้งหรือคาโทบาร์ (CATOBAR): เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มักจะบรรทุกอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด หนักที่สุด และติดอาวุธจำนวนมาก แม้ว่าเรือที่มีขนาดเล็กลงมาในประเภทนี้อาจมีข้อจำกัดอื่นอีก (เช่น น้ำหนักที่ลิฟท์ขนเครื่องบินจะรับได้) มีสามประเทศที่ใช้เรือประเภทนี้ คือ สหรัฐอเมริกา 11 ลำ ฝรั่งเศส 1 ลำ และบราซิล 1 ลำ
  • บินขึ้นด้วยระยะสั้นและรับด้วยสายรั้งหรือสโตบาร์ (STOBAR): เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่บรรทุกอากาศยานปีกนิ่งขนาดเบาแต่มีอาวุธมากกว่า เครื่องบินที่ใช้บนเรือประเภทนี้อย่างซุคฮอย ซู-33 และมิโคยัน มิก-29เคที่ใช้บนเรือบรรทุกอากาศยานพลเรือเอกคุซเนตซอฟมักทำหน้าที่สร้างความเป็นเจ้าอากาศและการป้องกันกองเรือมากกว่าหน้าที่ในการเข้าโจมตี ซึ่งต้องมีอาวุธขนาดหนัก (เช่น ระเบิดและขีปนาวุธอากาศสู่พื้น) ปัจจุบันมีเพียงรัสเซียเท่านั้นที่มีเรือประเภทนี้ในครอบครอง จีนได้สร้างเรือบรรทุกอากาศยานเหลียวหนิงขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นเรือพี่น้องของเรือพลเรือเอกคุซเนตซอฟ พร้อมกับสร้างเครื่องบินเลียนแบบซู-33 เรือลำนี้ปัจจุบันมีหน้าที่ในการเป็นตัวทดลองและใช้ในการฝึก รัสเซียเองก็กำลังเตรียมที่จะสร้างเรือแบบที่คล้ายกันให้กับอินเดียโดยใช้แบบของเรือชั้นเคียฟ
  • บินขึ้นด้วยระยะสั้นและลงจอดในแนวดิ่งหรือเอสโทฟล์ (STOVL): เรือประเภทที่สามารถบรรทุกได้เพียงอากาศยานแบบเอสโทฟล์เท่านั้น เช่น เครื่องบินตระกูลแฮร์ริเออร์จัมพ์เจ็ทและยาโกเลฟ ยัค-38 ซึ่งมีอาวุธจำกัด ศักยภาพต่ำ และใช้เชื้อเพลิงมากกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องบินแบบปกติ อย่างไรก็ตามเครื่องบินเอสโทฟล์แบบใหม่อย่างเอฟ-35 ไลท์นิง 2ก็มีศักยภาพที่มากขึ้นกว่าเดิม เรือประเภทนี้ประจำการอยู่ในกองทัพเรือของอินเดียและสเปนประเทศลำหนึ่งลำ อิตาลีมีสองลำ สหราชอาณาจักรและไทยมีประเทศละหนึ่งลำแต่ทั้งสองประเทศไม่ได้ใช้เครื่องบินเอสโทฟว์ต่อไปแล้ว เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกของสหรัฐที่ทำหน้าที่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กก็สามารถจัดได้ว่าเป็นเรือประเภทนี้เช่นกัน

ประเภทแบ่งตามขนาด

  • เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดหนัก หรือ ซูเปอร์แคร์ริเออร์
  • เรือบรรทุกเครื่องบินประจำกองเรือ
  • เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเบา
  • เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน

ประวัติเรือบรรทุกอากาศยาน

ต้นกำเนิด

เรือบรรทุกเครื่องบินทะเลวากะมิยะของญี่ปุ่นซึ่งทำการโจมตีด้วยเครื่องบินจากเรือเป็นลำแรกของโลกเมื่อปีพ.ศ. 2457
ภาพถ่ายจากอากาศของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่แสดงให้เห็นเรือบรรทุกเครื่องบินโฮโชที่เสร็จสมบูรณ์ในเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2465

ไม่นานหลังจากที่มีการสร้างอากาศยานที่มีน้ำหนักมากกว่าอากาศขึ้นมาในปีพ.ศ. 2443 สหรัฐก็ได้ทำการทดลองใช้อากาศยานแบบดังกล่าวทำการบินขึ้นจากดาดฟ้าเรือในปีพ.ศ. 2453 และตามมาด้วยการทดสอบการลงจอดในปีพ.ศ. 2454 ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เครื่องบินลำแรกที่ทำการบินขึ้นจากดาดฟ้าเรือสำเร็จได้ทำการบินจากเรือเอชเอ็มเอส ฮิเบอร์นาของราชนาวีอังกฤษ

ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 ก็เกิดเรือบรรทุกเครื่องบินทะเลลำแรกขึ้นคือ เรือบรรทุกเครื่องบินทะเลวากะมิยะของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรือลำแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการเข้าโจมตีด้วยเครื่องบินจากทะเล[2][3] เรือลำดังกล่าวได้ต่อสู้กับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยบรรทุกเครื่องบินมัวริซ ฟาร์แมนสี่ลำ ซึ่งจะนำขึ้นลงดาดฟ้าเรือด้วยเครนยก ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2457 เครื่องบินมัวริซ ฟาร์แมนลำหนึ่งได้ทำการบินจากเรือวากะมิยะและเข้าโจมตีเรือลาดตระเวนไคเซอร์ริน อลิซาเบธของออสเตรียฮังการีและเรือปืนจากัวร์ของเยอรมนี แต่กลับพลาดเป้าทั้งสอง[4][5]

การพัฒนาเรือดาดฟ้าเรียบทำให้เกิดเรือขนาดใหญ่ลำแรกๆ ขึ้น ในปีพ.ศ. 2461 เรือเอชเอ็มเอส อาร์กัสได้กลายเป็นเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกของโลกที่สามารถนำเครื่องบินขึ้นและลงจอดได้[6] เมื่อถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 2463 การปฏิวัติเรือบรรทุกแบบต่างๆ ก็เป็นไปได้ด้วยดี ส่งผลให้เกิดเรืออย่าง เรือโฮโช (พ.ศ. 2465) เอชเอ็มเอส เฮอร์เมส (พ.ศ. 2467) และเรือเบียน (พ.ศ. 2470) เรอืบรรทุกอากาศยานลำแรกๆ นั้นเป็นเรือที่ดัดแปลงมาจากเรือหลายแบบ เช่น เรือบรรทุก เรือลาดตระเวน เรือลาดตระเวนประจัญบาน หรือเรือประจัญบาน สนธิสัญญาวอชิงตันในปีพ.ศ. 2465 มีผลต่อการสร้างเรือบรรทุก สหรัฐและราชอาณาจักรได้รับอนุญาตให้สร้างเรือบรรทุกที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 135,000 ตัน ในขณะที่บางกรณีที่มีข้อยกเว้นให้สามารถดัดแปลงเรือหลักขนาดใหญ่กว่าให้เป็นเรือบรรทุกได้ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเลกซิงตัน (พ.ศ. 2470)

ความสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2

เรือบรรทุกอากาศยานอาร์ครอยัลของราชนาวีอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2482 กับเครื่องบินทิ้งระเบิดปีกสองปีกบินผ่านเหนือศีรษะ เรือบรรทุกเครื่องบินของอังกฤษมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายล้างของเยอรมันเรือประจัญบานบิสมาร์ค ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484
โชกากุเมื่อสร้างเสร็จ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2484
ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ (CV-6)เรือรบสหรัฐที่ตกแต่งมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง
อาคากิในปี พ.ศ. 2484

ในช่วงทศวรรษที่ 2456 กองทัพเรือมากมายเริ่มสั่งซื้อและสร้างเรือบรรทุกอากาศยานที่ทำการออกแบบเป็นพิเศษ นี่ทำให้การออกแบบนั้นตอบรับกับบทบาทในอนาคตและทำให้เกิดเรือที่ทรงอานุภาพ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือเหล่านี้ได้กลายมาเป็นกำลังสำคัญของกองเรือสหรัฐ อังกฤษ และญี่ปุ่น โดยเรียกเรือเหล่านี้ว่า กองเรือบรรทุกเครื่องบิน

เรือบรรทุกอากาศยานถูกใช้อย่างหนักในสงครามโลกครั้งที่สองและมีแบบที่หลากหลายตามมา เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน เช่น ยูเอสเอส โบกถูกสร้างขึ้นแต่ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าเรือบางลำจะถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์นั้นๆ แต่เรือส่วนมากเป็นเรือดัดแปลงจากเรือสินค้าเพราะว่าเป็นเรือที่มีระยะหยุดเหมาะที่จะให้การสนับสนุนทางอากาศแก่ขบวนเรือและการรุกสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เรือบรรทุกอากาศยานขนาดเบาที่สร้างขึ้นโดยสหรัฐ เช่น ยูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์เป็นเรือที่นำแนวคิดเรือบรรทุกอากาศยานคุ้มกันมาทำเป็นเรือที่ใหญ่ขึ้นและมีศักยภาพทางทหารมากขึ้น แม้ว่าเรือบรรทุกขนาดเบามักจะบรรทุกกองบินที่มีขนาดเท่ากับกองบินบนเรือบรรทุกคุ้มกัน แต่เรือบรทุกขนาดเบามีความได้เปรียบด้วยความเร็วที่เหนือกว่าเพราะเรือเหล่านี้ถูกดัดแปลงมาจากเรือครุยเซอร์

ไฟสงครามทำให้เกิดการสร้างเรือและการดัดแปลงเรือที่ไม่ได้ทำตามแบบปกติ เรือแคม (CAM) เช่น เรือเอสเอส ไมเคิล อี เป็นเรือบรรทุกสินค้าที่สามารถส่งเครื่องบินขึ้นฟ้าด้วยเครื่องดีด แต่ไม่สามารถรับเครื่องบินลงจอดได้ เรือเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในภาวะฉุกเฉินในสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับเรือพาณิชย์บรรทุกอากาศยาน เช่น เรือเอ็มวี เอ็มไพร์ แมคอัลไพน์ เรือดำน้ำบรรทุกอากาศยาน เช่น เรือดำน้ำบรรทุกอากาศยานเซอร์คูฟของฝรั่งเศส และเรือดำน้ำชั้นI-400 ของญี่ปุ่นที่สามารถบรรทุกเครื่องบินไอชิ เอ็ม6เอได้สามลำ ซึ่งถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในทศวรรษที่ 2463 แต่ไม่ประสบความสำเร็จนักในสงครามโลกครั้งที่ 1

กองทัพเรือสมัยใหม่ที่ใช้เรือแบบดังกล่าวจะใช้เรือบรรทุกอากาศยานเป็นเรือหลักของกองเรือ ซึ่งเดิมที่เป็นหน้าที่ของเรือประจัญบาน ในขณะที่บางคนจดจำการที่เรือเหล่านี้เป็นเรือหลักดำน้ำพร้อมขีปนาวุธ แต่ที่จดจำกันได้มากคืออำนาจการยิงของเรือที่ใช้เป็นเครื่องขัดขว้างนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ มากกว่าหน้าที่ของเรือเหล่านี้ในกองเรือ[7] การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อตอบสนองกับการที่อำนาจทางอากาศเริ่มมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะศัตรู สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือเครื่องบินพิสัยไกล คล่องแคล่ว และมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติการเรือบรรทุกเครื่องบินยังคงดำเนินต่อไปภายหลังสงครามทั้งในด้านขนาดและความสำคัญ เรือบรรทุกอากาศยานขนาดหนักที่มีระวางขับน้ำ 75,000 ตันหรือมากกว่านั้น ได้กลายมาเป็นจุดสุดยอดของการพัฒนา บางลำใช้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เป็นแหล่งพลังงานและเป็นแกนหลักของกองเรือที่ทำหน้าที่ระยะไกล เรือจู่โจมสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เช่น ยูเอสเอส ทาราวาและเอชเอ็มเอส โอเชียน มีหน้าที่บรรทุกและรับส่งนาวิกโยธินและยังใช้เฮลิคอปเตอร์จำนวนมากเพื่อทำปฏิบัติการดังกล่าว เรือเหล่านี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า"เรือบรรทุกเครื่องบินคอมมานโด"หรือ"เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์"ซึ่งมีบทบาทรองในการบรรทุกและใช้งานอากาศยานขึ้นลงในแนวดิ่ง

ด้วยสาเหตุที่เรือเหล่านี้ไม่มีอำนาจการยิงเท่าเรือแบบอื่น ทำให้เรือบรรทุกเครื่องบินตกเป็นเป้าของเรือ เครื่องบิน เรือดำน้ำ และขีปนาวุธของศัตรู ดังนั้นเรือบรรทุกอากาศยานจึงต้องร่วมเดินทางพร้อมกับเรือแบบอื่นๆ ในจำนวนมากเพื่อให้การป้องกัน ให้เสบียง และให้การสนับสนุนเชิงรุก โดยเรียกกองเรือแบบนี้ว่ากองยุทธการหรือกองเรือบรรทุกเครื่องบิน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สนธิสัญญาอย่างสนธิสัญญาวอชิงตัน สนธิสัญญาลอนดอน และสนธิสัญญาลอนดอนครั้งที่ 2 ได้จำกัดขนาดของเรือ เรือบรรทุกอากาศยานตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกสร้างอย่างไร้ข้อจำกัดโดยขึ้นอยู่กับงบประมาณและทำให้เรือสามารถบรรทุกเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ เรือบรรทุกเครื่องบินยุคใหม่ที่มีขนาดใหญ่อย่างเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ของกองทัพเรือสหรัฐมีระวางขับน้ำมากกว่าเรือยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงสี่เท่า แต่กระนั้นก็ยังคงใช้อากาศยานที่ไม่เปลี่ยนไปมากนัก ซึ่งเป็นผลมาจากขนาดและน้ำหนักของเครื่องบินที่เพิ่มขึ้นอย่างคงที่ตลอดหลายปี

อากาศยานบนเรือที่สำคัญ

ความสำคัญในยุคสมัยใหม่

เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้นอิโวจิมาทริโปลี ของสหรัฐ
เรือบรรทุกเครื่องบินมินาส เกเรียสของบราซิลในปี พ.ศ. 2527

ปัจจุบันเรือบรรทุกอากาศยานเป็นเรือที่มีราคาแพงมากจนทำให้ชาติที่ครอบครองเรือชนิดดังกล่าวสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาทางการเมือง การเงิน และการทหารถ้าหากสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยานหรือนำพวกมันไปใช้ในสงครามก็ตาม ผู้สังเกตการณ์มองว่าอาวุธต่อต้านเรือสมัยใหม่ เช่น ตอร์ปิโดและขีปนาวุธ ทำให้เรือบรรทุกอากาศยานตกเป็นเป้าอย่างง่ายในการรบสมัยใหม่ อาวุธนิวเคลียร์สามารถสร้างภัยให้กับกองเรือได้ทั้งกองเรือหากทำการรบแบบเปิดเผย ในอีกทางหนึ่งบทบาทของเรือบรรทุกอากาศยานก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นเรือที่มีหน้าที่สำคัญในการสงครามไม่สมมาตรเหมือนอย่างนโยบายเรือปืนที่เกิดขึ้นในอดีต นอกจากนี้เรือบรรทุกอากาศยานยังช่วยสร้างอำนาจทางทหารเหนือฝ่ายศัตรูได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำโดยเฉพาะเมื่อต้องทำการรบนอกประเทศ[8]

พลเรือเอกเซอร์มาร์ค แสตนโฮป หัวหน้ากองทัพเรืออังกฤษได้กล่าวไว้ว่า "พูดง่ายๆ คือ ประเทศที่ต้องการมีอิทธิพลทางยุทธศาสตร์นานาชาติต่างมีเรือบรรทุกอากาศยานในครอบครองทั้งนั้น"[9]

เรือบรรทุกเครื่องบินในประจำการ

เรือบรรทุกเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ของแต่ละประเทศ

กองทัพเรือทั่วโลกส่วนใหญ่มักจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินเพียงแค่หนึ่งหรือสองลำเท่านั้น หากมีสหรัฐอเมริกาเป็นข้อยกเว้นที่โดดเด่น โดยมีการสร้างเป็นจำนวนมาก

ผู้ใช้เรือบรรทุกเครื่องบินในมีกองเรือทั้งหมด 20 ลำกำลังให้ใช้กับกองทัพเรือ 10 ลำ นอกจากนี้ กองทัพเรือของ ออสเตรเลีย, บราซิล, จีน, ฝรั่งเศส, อินเดีย, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สเปน, ไทย, สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ยังใช้งานเรือที่สามารถบรรทุกและใช้งานเฮลิคอปเตอร์หลายลำและเครื่องบิน STOVL ได้

  • ประเภท CATOBAR ยังดำเนินการโดยบราซิล ,ฝรั่งเศส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสิบประเภทให้ใช้
  • ประเภท STOBAR ดำเนินการโดยจีน ,อินเดีย และรัสเซีย
  • ประเภท STOVL ดำเนินการโดยอินเดีย ,อิตาลี ,สเปน และสหรัฐอเมริกา

ในบรรดาประเภทเฮลิคอปเตอร์ :

  • เรือ ASW ดำเนินการโดยญี่ปุ่น
  • เรือสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์นอกชายฝั่งดำเนินการโดยประเทศไทย
  • เรือจู่โจมสะเทินน้ำสะเทินบกดำเนินการโดยฝรั่งเศส,เกาหลีใต้,สหราชอาณาจักร และโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีทั้งหมด 9 ลำ

ดาดฟ้าบิน

เครื่องบินแฮร์ริเออร์กำลังเตรียมบินขึ้นจากเรือแบบคาโทบาร์ ยูเอสเอส แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์
การลงจอดของเครื่องบินไอพ่นลำแรกบนเรือบรรทุกเครื่องบินเอชเอ็มเอส โอเชียนเมื่อปี พ.ศ. 2488

ด้วยการที่เป็นเสมือนทางวิ่งที่ลอยอยู่กลางทะเล เรือบรรทุกอากาศยานสมัยใหม่จึงมีดาดฟ้าเรือที่แบบเรียบคอยทำหน้าที่เป็นลานบินให้กับเครื่องบินที่จะบินขึ้นหรือลงจอด เครื่องบินจะถูกดีดไปด้านหน้าของเรือและทำการลงจอดทางด้านท้ายเรือ เรือจะแล่นด้วยความเร็ว 35 นอท (65 กม./ชม.) เข้าหาลมเพื่อเพิ่มความเร็วลมบนดาดฟ้าให้อยู่ในระดับปลอดภัย การทำแบบนี้จะเพิ่มความเร็วลมที่มีประสิทธิภาพที่จำทำให้เครื่องบินที่บินขึ้นทำความเร็วได้มากขึ้นเมื่อถูกส่งออกไปแล้ว นอกจากนี้ยังทำให้ตอนลงจอดมีความปลอดภัยมากขึ้นด้วยการลดความแตกต่างของความเร็วสัมพันธ์ของเครื่องบินและเรือ

สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินแบบคาโทบาร์นั้น จะมีเครื่องยิงพลังไอน้ำที่คอยทำหน้าที่ส่งเครื่องบินเข้าสู่ความเร็วที่ปลอดภัย หลังจากเครื่องบินลำนั้นๆ ขึ้นสู่อากาศแล้วก็จะสามารถใช้ความเร็วจากเครื่องยนต์ของตัวเองได้ สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินแบบเอสโทฟล์และสโบตาร์จะไม่ใช้เครื่องยิงแบบดังกล่าว แต่จะมีดาดฟ้าที่มีปลายทางมีลักษณะโค้งขึ้นด้านบนเพื่อช่วยส่งเครื่องบินเมื่อทำการวิ่งสุดรันเวย์ แม้ว่าเครื่องบินแบบเอสโทฟล์นั้นจะสามารถบินขึ้นได้โดยไม่พึ่งรันเวย์แบบดังกล่าวหรือด้วยเครื่องยิงโดยการลำเชื้อเพลิงและอาวุธลง บทบาทของเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องบินบนเรือและการออกแบบเรือ

เอฟ/เอ-18 ขณะทำการลงจอด

สำหรับเรือแบบคาโทบาร์และสโตบาร์จะใช้สายสลิงขนาดยาวที่พาดขวางลานบินสำหรับเครื่องบินใช้ขอเกี่ยวเกี่ยวสายสลิงขณะลงจอด หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ราชนาวีอังกฤษได้ทำการวิจัยหาวิธีลงจอดที่ปลอดภัยกว่าซึ่งทำให้เกิดการสร้างพื้นที่สำหรับการลงจอดที่วางแนวเฉียงออกจากแกนหลักของเรือซึ่งทำให้เครื่องบินที่เกี่ยวสายสลิงพลาดสามารถเร่งเครื่องเพื่อบินให้พ้นจากเรือและป้องกันบินชนตัวเรือเอง สำหรับเฮลิคอปเตอร์และอากาศยานขึ้นลงในแนวดิ่งและระยะสั้นหรือวีเอสโทล (V/STOL) มักจะลงจอดเป็นแถวหน้ากระดานที่ด้านข้างของเรือและลงจอดได้โดยไม่ต้องใช้สายสลิง เครื่องบินที่ต้องใช้ขอเกี่ยวและสายสลิงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ให้สัญญาน ซึ่งจะคอยดูเครื่องบินที่กำลังบินเข้าเพื่อทำการลงจอดโดยตรวจทั้งแนวการร่อนลง ระดับความสูง และความเร็วลม จากนั้นเจ้าหน้าที่จะส่งข้อมูลไปยังนักบิน ก่อนทศวรรษที่ 2493 เจ้าหน้าที่ให้สัญญาณใช้ป้ายสีเพื่อให้สัญญาณแก่นักบิน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2493 มีการใช้เครื่องส่งสัญญาณไฟและระบบลงจอดช่วยลงจอดที่คอยให้ข้อมูลในการลงจอดให้กับนักบิน แต่กระนั้นเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณก็ยังคงมีบทบาทในการส่งข้อมูลผ่านทางวิทยุแก่นักบิน

เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทบนดาดฟ้าบินของเรือ ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ของสหรัฐ

สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ กะลาสีจะสวมเสื้อสีที่บอกถึงหน้าที่ของแต่ละฝ่าย มีเสื้ออย่างน้อยทั้งหมด 7 สีที่กะลาสีเรือสหรัฐใส่ ประเทศอื่นๆ ก็มีการใช้สีที่คล้ายๆ กันนี้เช่นกัน

เจ้าหน้าที่ที่สำคัญบนดาดฟ้าเรือประกอบด้วยชูทเตอร์ (shooters) แฮนด์เลอร์ (handler) และแอร์บอส (air boss) ชูทเตอร์เป็นเจ้าหน้าที่การบินทางเรือ (Naval Flight Officer) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการส่งเครื่องบินสู่อากาศ แฮนด์เลอร์จะคอยทำหน้าที่จัดส่งเครื่องบินให้เข้าสู่ทำแหน่งบินขึ้นและคอยนำเครื่องบินเก็บเมื่อเสร็จจากการลงจอด แอร์บอสจะทำหน้าที่อยู่บนสะพานเดินเรือและคอยควบคุมการส่งเครื่องบิน การรับเครื่องบิน และให้คำสั่งเครื่องบินที่บินอยู่ใกล้กับเรือ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องบินบนดาดฟ้า[10] กัปตันเรือใช้เวลาส่วนใหญ่ที่สะพานเดินเรือนำร่องซึ่งอยู่ใต้สะพานเดินเรือควบคุมการบิน อีกชั้นลงมาคือสะพานเดินเรือส่วนที่มีไว้สำหรับพลเรือและนายทหาร

ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2493 เป็นที่รู้กันดีว่าเครื่องบินจะต้องลงจอดเป็นแนวเฉียงจากแกนหลักของตัวเรือ วิธีนี้ทำให้เครื่องบินที่เกี่ยวสลิงพลาดสามารถบินขึ้นสู่อากาศได้อีกครั้งและหลีกเลี่ยงการชินกับเครื่องบินที่จอดอยู่ ลานบินที่ทำมุมเฉียงยังช่วยให้สามารถส่งเครื่องบินและรับเครื่องบินได้พร้อมกันถึงสองลำ

โครงสร้างส่วนบนของเรือ (เช่น สะพานเดินเรือและหอควบคุมการบิน) จะอยู่ติดไปทางกราบขวาของดาดฟ้าเรือเช่นเดียวกับหอบัญชาการ รูปแบบการสร้างแบบดังกล่าวถูกใช้บนเรือเอชเอ็มเอส เฮอร์เมสเมื่อปีพ.ศ. 2466 มีเรือบรรทุกเครื่องบินไม่กี่ลำที่ออกแบบมาให้ไม่มีศูนย์บัญชาการ การที่ไม่มีส่วนบัญชาการหรือหอบัญชาการส่งผลเสียหลายอย่าง เช่น การนำร่องที่ยุ่งยาก ปัญหาในการควบคุมจราจรทางอากาศ และอีกมากมาย

กระโดดสกีบนเรือบรรทุกเครื่องบินของราชนาวีอังกฤษ

สำหรับรูปแบบล่าสุดที่พัฒนาขึ้นโดยราชนาวีอังกฤษนั้นจะมีลานบินที่ส่วนปลายเป็นทางลาดเอียงขึ้น ส่วนนี้ถูกเรียกว่าสกีจัมพ์ (Ski jump) มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้เครื่องบินประเภทบินขึ้นด้วยระยะสั้นและลงจอดในแนวดิ่งหรือสโทฟล์ปปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ง่ายขึ้น เครื่องบินประเภทสโตฟล์เช่นซีแฮร์ริเออร์สามารถบินขึ้นพร้อมน้ำหนักที่มากขึ้นได้เมื่อใช้ลานบินบนเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตบาร์ สกีจัมพ์ทำหน้าที่ด้วยการเปลี่ยนการเคลื่อนไหวไปทางด้านหน้าของเครื่องบินให้เป็นแรงกระโดดเมื่อเครื่องบินถึงสุดปลายทางดาดฟ้า เมื่อแรงกระโดดรวมเข้ากับแรงไอพ่นที่ดันเครื่องบินขึ้นจะทำให้เครื่องบินที่บรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงในจำนวนมากสามารถสร้างความเร็วลมและยกตัวให้อยู่ในระดับการบินปกติได้ หากไม่มีสกีจัมพ์แล้วเครื่องบินแฮร์ริเออร์ที่บรรทุกอาวุธเต็มอัตราจะไม่สามารถบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กได้ แม้ว่าเครื่องบินประเภทสโตฟล์จะสามารถขึ้นบินในแนวดิ่งได้ แต่การใช้สกีจัมพ์นั้นจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและให้การส่งที่ดีกว่าเมื่อต้องบรรทุกอาวุธขนาดหนัก การใช้เครื่องดีดนั้นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินที่มีสกีจัมพ์จึงสามารถลดน้ำหนัก ความยุ่งยาก และพื้นที่ที่ต้องใช้กับอุปกรณ์ไอน้ำหรือแม่เหล็กไฟฟ้าลงไปได้ อากาศยานที่ขึ้นลงในแนวดิ่งเองไม่จำเป็นต้องใช้สายสลิงเวลาลงจอดอีกด้วย เรือบรรทุกเครื่องบินของรัสเซีย จีน และอินเดียจะติดตั้งสกีจัมพ์เข้าไปแต่มีสายสลิงด้วยเช่นกัน

ข้อเสียของสกีจัมพ์คือขนาดของเครื่องบิน น้ำหนักอาวุธ และปริมาณเชื้อเพลิง เครื่องบินที่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไปจะไม่สามารถใช้สกีจัมพ์ได้เพราะมันจะต้องใช้ระยะทางที่ยาวกว่าดาดฟ้าเรือ หรือต้องใช้เครื่องดีดในการช่วยออกตัว ตัวอย่างเช่น เครื่องบินซู-33 ที่สามารถบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน"คุตเนตซอฟ"แต่ต้องบรรจุอาวุธและเชื้อเพลิงในระดับน้อย อีกข้อเสียหนึ่งคือการผสมผสานปฏิบัติการ กล่าวคือบนดาดฟ้าจะมีเฮลิคอปเตอร์อยู่ด้วยจะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่หากมีสกีจัมพ์อยู่เพราะมันกินพื้นที่มากเกินไป ดาดฟ้าเรือแบบเรียบอาจจำกัดการบรรทุกเครื่องแฮรร์เออร์แต่ก็ชดเชยได้ด้วยการมีระยะวิ่งที่ยาวกว่าเมื่อเทียบกับเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตฟล์

มีการคิดสร้างลานบินแบบไม่ธรรมดาคือมาเพื่อตอบรับกับเครื่องบินไอพ่น เช่น การใช้อุปกรณ์สกัดส์ (SCADS) สกายฮุค เครื่องบินทะเลขับไล่ หรือแม้กระทั่งดาดฟ้าที่ทำจากยาง ระบบป้องกันทางอากาศบนเรือหรือสกัดส์เป็นชุดอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งกับเรือบรรทุกสินค้าเพื่อให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตฟล์โดยใช้เวลาเพียงสองวันในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องบินไอพ่นได้สามสิบวัน อาวุธ ระบบป้องกันขีปนาวุธ เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือดำน้ำ พื้นที่สำหรับลูกเรือ เรดาร์ และสกีจัมพ์ อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถยกเลิกการติดตั้งได้ มันเป็นเหมือนเรือพาณิชย์บรรทุกเครื่องบินแบบใหม่นั่นเอง สกายฮุค (Skyhook) เป็นความคิดของบริติชแอโรสเปซที่หวังจะใช้เครนที่มีส่วนปลายเป็นตัวเติมเชื้อเพลิง ส่งและรับเครื่องบินแฮร์ริเออร์[11] คอนแวร์ เอฟ2วาย ซีดาร์ทเป็นเครื่องบินทะเลเครื่องยนต์ไอพ่นที่ทำความเร็วเหนือเสียงซึ่งใช้สกีแทนล้อ เพราะกองทัพเรือสหรัฐเชื่อว่าเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงไม่สามารถลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ จึงใช้วิธีให้ลงจอดในทะเลและใช้เครนยกขึ้นมาบนเรือแทน เรือเอชเอ็มเอส วอร์ริเออร์เป็นเรือที่ได้ทดสอบการใช้ดาดฟ้าบินที่ทำจากยางโดยมีเครื่องบินขับไล่เดอร์ ฮาวิลแลนด์ แวมไพร์ทำการลงจอดโดยไม่ใช้ล้อหรือสายสลิง

เรือบรรทุกเครื่องบิน

A total of 20 fleet carriers are in active service by ten navies. Additionally, the navies of ออสเตรเลีย, บราซิล, จีน, ฝรั่งเศส, อินเดีย, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สเปน, ไทย, the สหราชอาณาจักร, and the สหรัฐ also operate ships capable of carrying and operating multiple helicopters and STOVL aircraft.

ออสเตรเลีย

ปัจจุบัน

The Canberra class of landing helicopter docks, based on the Spanish vessel Juan Carlos I, are currently under construction, intended to enter service between 2014 and 2016. The class is being built by Navantia and BAE Systems Australia; and HMAS Canberra is the largest ship ever built for the Royal Australian Navy.[12] Canberra underwent sea trials in late 2013 and is to be commissioned in early 2014, while HMAS Adelaide is expected to enter service in 2016. The Australian version retains the ski-ramp from the Juan Carlos I design, although the RAN has opted against a carrier based fixed-wing aircraft capability for the time being.

บราซิล

ปัจจุบัน

1 CATOBAR carrier: NAe São Paulo (A12): 32,800 tonne ex-French carrier Foch (launched 1960), purchased in 2000.

จีน

ปัจจุบัน

1 STOBAR carrier: The เหลียวหนิง was originally built as the 57,000 tonne Soviet Kuznetsov-class carrier Varyag[1] and was later purchased as a stripped hulk by China in 1998 on the pretext of use as a floating casino, then partially rebuilt and towed to China for completion.[13][14] The Liaoning was commissioned on 25 September 2012, and began service for testing and training.[15] On 24 or 25 November 2012, Liaoning successfully launched and recovered several Shenyang J-15 jet fighter aircraft.[16][17][18]

ฝรั่งเศส

ปัจจุบัน

1 CATOBAR carrier: Charles de Gaulle (R91): 42,000 tonne nuclear-powered aircraft carrier, commissioned in 2001.

3 Amphibious assault ships: Mistral-class 21,500 tonne full deck amphibious assault ships with hospital and well deck .

อินเดีย

เรือบรรทุกอากาศยานของกอทัพเรืออินเดีย INS Vikramaditya และ INS Viraat ใน ค.ศ. 2014.

ปัจจุบัน

1 STOBAR carrier: INS Vikramaditya, 45,400 tonnes, modified Kiev-class. The carrier was purchased by India on 20 January 2004 after years of negotiations at a final price of $2.35 billion. The ship successfully completed her sea trials in July 2013 and aviation trials in September 2013. She was formally commissioned on 16 November 2013 at a ceremony held at Severodvinsk, Russia.[19]

1 STOVL carrier: INS Viraat: 28,700 tonne ex-British STOVL converted carrier เอชเอ็มเอส Hermes (launched 1953), purchased in 1986 and commissioned in 1987, scheduled to be decommissioned in 2019.[20]

อนาคต

India started the construction of a 40,000-tonne, 260-metre-long Vikrant-class aircraft carrier in 2009.[21] The new carrier will cost US$762 million and will operate MiG-29K, naval HAL Tejas, and Sea Harrier aircraft along with the Indian-made helicopter HAL Dhruv.[21] The ship will be powered by four gas-turbine engines and will have a range of 8,000 nautical miles (14,000 km), carrying 160 officers, 1,400 sailors, and 30 aircraft. The carrier is being constructed by Cochin Shipyard.[21] The ship was launched in August 2013 and is scheduled for commissioning in 2018.[22][23][24][25]

อิตาลี

ปัจจุบัน

2 STOVL carriers:

  • Giuseppe Garibaldi (551): 14,000 tonne Italian STOVL carrier, commissioned in 1985.
  • Cavour (550): 27,000 tonne Italian STOVL carrier designed and built with secondary amphibious assault facilities, commissioned in 2008.[26]

ญี่ปุ่น

ปัจจุบัน

2 ASW ships:เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้นฮีวงะ 13,950 ton helicopter-only anti-submarine warfare carrier with enhanced command-and-control capabilities allowing them to serve as fleet flagships.

อนาคต

In August 2013, A launching ceremony for Japan's largest military ship since World War II is held in Yokohama on Tuesday, August 6. The 820-foot-long, 19,500-ton flattop เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้นอิซูโมะ will be deployed in March 2015.[27]

รัสเซีย

Russian aircraft carrier Admiral Kuznetsov

ปัจจุบัน

1 STOBAR carrier: Admiral Flota Sovetskovo Soyuza Kuznetsov: 55,000 tonne Kuznetsov-class STOBAR aircraft carrier. Launched in 1985 as Tbilisi, renamed and operational from 1995. Without catapults she can launch and recover lightly fueled naval fighters for air defense or anti-ship missions but not heavy conventional bombing strikes.[ต้องการอ้างอิง] Officially designated an aircraft carrying cruiser, she is unique in carrying a heavy cruiser's compliment of defensive weapons and large P-700 Granit offensive missiles. The P-700 systems will be removed in the coming refit to enlarge her below decks aviation facilities as well as upgrading her defensive systems.[28][29]

สเปน

ปัจจุบัน

1 STOVL carrier: Juan Carlos I (L61): 27,000 tonne, Specially designed multipurpose strategic projection ship which can operate as an amphibious assault ship or STOVL carrier depending on mission requirement, has full facilities for both functions including a ski jump ramp, well deck, and vehicle storage area which can be used as additional hangar space, launched in 2008, commissioned 30 September 2010.[30]

เกาหลีใต้

ปัจจุบัน

One Dokdo-class amphibious assault ship 18,860 ton full deck amphibious assault ship with hospital and well deck and facilities to serve as fleet flagship.

ไทย

ปัจจุบัน

1 Offshore helicopter support ship: เรือหลวงจักรีนฤเบศร helicopter carrier: 11,400 tonne STOVL carrier based on Spanish Príncipe de Asturias design. Commissioned in 1997. The AV-8S Matador/Harrier STOVL fighter wing, mostly inoperable by 1999,[31] was retired from service without replacement in 2006.[32] Ship now used for royal transport, helicopter operations, and as a disaster relief platform.[33]

สหราชอาณาจักร

ปัจจุบัน

2 Amphibious assault ships:

  • HMS Illustrious: 22,000 tonne STOVL Invincible class carrier, commissioned in 1982. Originally there were three of her class but the other two have since been retired and recycled to save money. Fixed-wing aircraft carrier operations ended after first Sea Harrier and then RAF/RN joint force Harrier II aircraft were retired by the UK as a cost-saving measure in 2010, now operating as a Landing Platform Helicopter until Ocean is out of refit in 2014[34] and then to be preserved as a memorial.[35]
  • HMS Ocean amphibious assault ship 21,750 ton full deck amphibious assault ship based on the Invincible-class aircraft carrier hull[36] but without facilities for fixed wing aviation.

อนาคต

ราชนาวีอังกฤษกำลังสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินเอสโทฟล์ขนาดใหญ่สองลำ คือ เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นควีนอลิซาเบธ เพื่อแทนที่เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นอินวินซิเบิล เรือดังกล่าวจะมีชื่อว่าเอชเอ็มเอส ควีน อลิซาเบธและเอชเอ็มเอส พรินซ์ออฟเวลส์[37][38] ทั้งสองลำจะสามารถบรรทุกอากาศยานได้ 40 ลำและมีระวางขับน้ำประมาณ 65,000 ตัน เรือทั้งสองลำจะปฏิบัติการได้ในปีพ.ศ. 2563[39] อากาศยานที่ใช้บนเรือจะประกอบด้วยเอฟ-35บี ไลท์นิง 2[40] เรือทั้งสองลำจะเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดที่ราชนาวีอังกฤษเคยสร้าง

สหรัฐ

Amphibious assault ship USS Wasp

ปัจจุบัน

10 CATOBAR carriers: เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์: ten 101,000 ton nuclear-powered supercarriers, the first of which was commissioned in 1975. A Nimitz-class carrier is powered by two nuclear reactors and four steam turbines and is 1,092 feet (333 m) long.

9 Amphibious assault ships:

  • Tarawa class a class of 40,000 ton amphibious assault ships, of which one, ยูเอสเอส Peleliu (LHA-5), remains in service. Ships of this class have been used in wartime in their secondary mission as a light carriers with 20 AV-8B Harrier II aircraft after unloading their Marine expeditionary unit. Scheduled to be decommissioned in 2014 and replaced by the 45,000 ton USS America (LHA-6).
  • Wasp class a class of eight 41,000 ton amphibious assault ships, members of this class have been used in wartime in their secondary mission as light carriers in the with 20 to 25 AV-8Bs after unloading their Marine expeditionary unit.

อนาคต

เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด

กองเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ของสหรัฐบางส่วนจะถูกแทนที่ด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด คาดกันว่าเรือแบบดังกล่าวจะระบบอัตโนมัติมากขึ้นเพื่อลดงบประมาณในการซ่อมบำรุงและใช้งาน เอกลักษณ์ใหม่ของเรือคือการใช้ระบบส่งเครื่องบินด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออีมัลส์ (EMALS) ซึ่งจะเข้ามาแทนที่ระบบส่งพลังไอน้ำ และรวมทั้งการใช้งานอากาศยานไร้คนขับบนเรืออีกด้วย[41]

จากการยกเลิกใช้เรือยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 (ปลดประจำการในปีพ.ศ. 2556) ทำให้สหรัฐเหลือเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดหนักอยู่ 10 ลำ ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 คณะกรรมการอำนาจทางทะเลของสหรัฐแนะนำว่าควรสร้างเรือใหม่ขึ้นอีก 7-8 ลำ (ทุกสี่ปีจะมีหนึ่งลำ) อย่างไรก็ตามมีการถกเถียงในเรื่องงบประมาณที่สูงถึง 12,000-14,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมทั้งค่าพัฒนาและวิจัยอีก 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการสร้างเรือชั้นเจอรัลด์ขนาด 1 แสนตัน (คาดว่าจะเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2558) เมื่อเทียบกับเรือขนาดเล็กกว่าอย่างเรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกชั้นอเมริกาขนาด 45,000 ตันมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่สามารถใช้งานเอฟ-35บี ซึ่งเรือดังกล่าวอยู่ขณะก่อสร้างสองลำและอีกสิบสองลำในแผนการสร้าง[42]

รายชื่อประเทศที่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน

เรือบรรทุกอากาศยานแบบต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก
  ประเทศที่มีเรือบรรทุกอากาศยานแบบปีกตรึงประจำการ (9)
  ประเทศที่มีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ประจำการ (6)
  ประเทศที่เคยประจำการเรือบรรทุกอากาศยาน (3)
Number of aircraft carriers by operating nation
ประเทศ ประจำการ ปลดประจำการ ถูกทำลาย อยู่ระหว่างการก่อสร้าง สร้างไม่เสร็จ ทั้งหมด
อาร์เจนตินา Argentina 0 0 2 0 0 2
ออสเตรเลีย Australia 0 0 3 0 0 3
บราซิล Brazil 0 0 2 0 0 2
แคนาดา Canada 0 0 5 0 0 5
จีน China 1 0 0 1 0 2
ฝรั่งเศส France 1 0 7 0 7 8
เยอรมนี Germany 0 0 0 0 8 0
อินเดีย India 1 0 2 1 2 4
อิตาลี Italy 2 0 0 0 2 2
ญี่ปุ่น Japan 0 0 4 0 4 4
เนเธอร์แลนด์ Netherlands 0 0 2 0 0 2
รัสเซีย Russia 1 0 1 1 2 7
สเปน Spain 1 1 1 0 1 3
ตุรกี Turkey 0 0 0 1 0 1
ไทย Thailand 1 0 0 0 0 1
สหราชอาณาจักร United Kingdom 0 0 40 2 12 42
สหรัฐอเมริกา United States 12 1 56 2 12 69
Total 20 2 125 8 52 155

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "China aircraft carrier confirmed by general". BBC News. 8 June 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-09. สืบค้นเมื่อ 9 June 2011.
  2. Wakamiya is "credited with conducting the first successful carrier air raid in history"Source:GlobalSecurity.org
  3. "Sabre et pinceau", Christian Polak, p. 92.
  4. Donko, Wilhelm M.: Österreichs Kriegsmarine in Fernost: Alle Fahrten von Schiffen der k.(u.)k. Kriegsmarine nach Ostasien, Australien und Ozeanien von 1820 bis 1914. epubli, Berlin, (2013) - Page 4, 156-162, 427.
  5. "IJN Wakamiya Aircraft Carrier". globalsecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 9 June 2011.
  6. Geoffrey Till, "Adopting the Aircraft Carrier: The British, Japanese, and American Case Studies" in Murray, Williamson; Millet, Allan R, บ.ก. (1996). Military Innovation in the Interwar Period. New York: Cambridge University Press. p. 194. ISBN 0-521-63760-0.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-12. สืบค้นเมื่อ 2013-07-11.
  8. Lekic, Slobodan, Associated Press. "Navies expanding use of aircraft carriers"[ลิงก์เสีย]. Navy Times
  9. "Aircraft carriers crucial, Royal Navy chief warns." BBC, 4 July 2012.
  10. "The US Navy Aircraft Carriers". Navy.mil. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-19. สืบค้นเมื่อ 2013-07-19.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Naval-technology.com
  13. "China brings its first aircraft carrier into service, joining 9-nation club". Behind The Wall. NBC. Sep 25, 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  14. "Liaoning, ex-Varyag". Global Security. สืบค้นเมื่อ 30 September 2013.
  15. "China's first aircraft carrier enters service". BBC News. 25 September 2012. สืบค้นเมื่อ 30 September 2013.
  16. Axe, David (26 November 2012). "China's aircraft carrier successfully launches its first jet fighters". Wired. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-29. สืบค้นเมื่อ 30 September 2013.
  17. "China lands first jet on its aircraft carrier". News. Fox. 2012-11-25. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  18. "China lands first jet on its aircraft carrier". News info. Inquirer. 2012-11-25. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  19. "Aircraft carrier INS Vikramaditya inducted into Indian Navy". IBN Live. IN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-18. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
  20. "Naval Air: Where There Were None, Now There Is One", Strategy page, Aug 20, 2009
  21. 21.0 21.1 21.2 "Indian Aircraft Carrier (Project 71)". Indian Navy [Bharatiya Nau Sena]. Bharat Rakshak. สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.
  22. "First indigenous aircraft carrier to be launched next year: Navy chief". India Today. 2 December 2009. สืบค้นเมื่อ 9 June 2011.
  23. "Russian aircraft carrier ready in 2012 if India pays $2 bln more". RIA Novosti. 13 November 200. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 9 June 2011.
  24. "INS Vikrant, India's first indigenous aircraft carrier, to be launched on August 12". NDTV. 1 August 2013. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
  25. "India launches own aircraft carrier INS Vikrant". Livemint. 12 August 2013. สืบค้นเมื่อ 13 August 2013.
  26. "Cavour Page". World Wide Aircraft Carriers. Free webs. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Indiastrategic.in
  28. "Moscow set to upgrade Admiral Kuznetsov aircraft carrier". RIA Navosti. 6 April 2010. สืบค้นเมื่อ 30 September 2013.
  29. "Admiral Flota Sovetskogo Soyuza Kuznetsov". Rus navy. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  30. Head, Jeff, "BPE", World wide aircraft carriers, Free webs
  31. Carpenter & Wiencek, Asian Security Handbook 2000, p. 302.
  32. Author Index. "End of a Legend - Harrier Farewell | Pacific Wings". Pacificwingsmagazine.com. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  33. "Thai Aircraft Carrier Assists Southern Relief Efforts | Pattaya Daily News - Pattaya Newspaper, Powerful news at your fingertips". Pattaya Daily News. 2010-11-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  34. Ministry of Defence (2010-12-15). "Changes to Royal Navy's surface fleet announced" (announcement). UK: MoD. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  35. "Royal Navy's HMS Illustrious to be preserved". BBC News. 10 September 2012. สืบค้นเมื่อ 30 September 2013.
  36. "HMS Ocean (LPH01) Helicopter Carrier". Naval Technology. 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  37. "Queen Elizabeth class Future Aircraft Carrier CVF (002)." Pike, J. GlobalSecurity.org.
  38. "UK, £3.2bn giant carrier deals signed". BBC News. 3 July 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
  39. House of Commons Hansard Debates for 10 May 2012, UK Parliament, 10 May 2012
  40. "Facts and Figures : Queen Elizabeth Class, Royal Navy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-07-19.
  41. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2013-07-19.
  42. Kreisher, Otto (2007). "Seven New Carriers (Maybe)". Air Force Magazine. Air Force Association. 90 (10): 68–71. ISSN 0730-6784. สืบค้นเมื่อ 2 October 2007. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya