Share to:

 

ยุทธนาวีที่มิดเวย์

ยุทธนาวีมิดเวย์
ส่วนหนึ่งของ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

เครื่องบินทิ้งระเบิดดักลาส เอสบีดี - 3 จากเรือยูเอสเอสฮอร์เน็ต ขณะดำดิ่งทิ้งระเบิดเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นซึ่งกำลังเกิดเพลิงไหม้ ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2485
วันที่4-7 มิถุนายน พ.ศ. 2485
สถานที่
มิดเวย์อะทอลล์
28°12′N 177°21′W / 28.200°N 177.350°W / 28.200; -177.350
ผล สหรัฐอเมริกาได้รับชนะอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม
 สหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐอเมริกาเชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์
สหรัฐอเมริกาFrank Jack Fletcher
สหรัฐอเมริกาRaymond A. Spruance
จักรวรรดิญี่ปุ่น อิโซโรกุ ยามาโมโตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โนบุตาเกะ คนโดะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ชูอิชิ นางุโมะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทามอน ยามางุจิ (เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่)
จักรวรรดิญี่ปุ่น ริวซากุ ยานางิโมโตะ (เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่)
กำลัง
เรือบรรทุกเครื่องบิน 3 ลำ
เรือสนับสนุน ~25 ลำ
อากาศยาน 233 ลำ
อากาศยานจากฐานบินบนบก 127 ลำ
เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ
เรือประจัญบาน 2 ลำ
เรือสนับสนุน ~15 ลำ (เรือลาดตระเวนหนักและเบา เรือพิฆาต)
อากาศยาน 248 ลำ[1]เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ 16 ลำ
เรือที่ไม่ได้ร่วมรบ:
เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 2 ลำ
เรือประจัญบาน 5 ลำ
เรือสนับสนุน ~41 ลำ
ความสูญเสีย
เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ
เรือพิฆาต 1 ลำ
อากาศยาน 150 ลำ,
เสียชีวิต 307 นาย[2]
เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ
เรือลาดตระเวน 1 ลำ
อากาศยาน 248 ลำ
เสียชีวิต 3,057 นาย

ยุทธนาวีมิดเวย์ (อังกฤษ: Battle of Midway, ญี่ปุ่น: ミッドウェー海戦) เป็นยุทธนาวีที่สำคัญที่สุดในแนวรบด้านมหาสมุทรแปซิฟิก[3][4][5] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 4 - 7 มิถุนายน 1942 ประมาณหนึ่งเดือนหลังยุทธนาวีทะเลคอรัล และประมาณหกเดือนหลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์[6][7][5] กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด จากการต่อต้านการโจมตีของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มิดเวย์อะทอลล์ และเป็นการคาดโทษ ความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ของกองเรือรบญี่ปุ่น จอห์น คีแกนได้เรียกมันว่า"ที่สุดของความประหลาดใจและเด็ดเดี่ยวอย่างคาดไม่ถึง ในประวัติศาสตร์ของการทำสงครามกองทัพเรือ" ยุทธนาวีนี้เคยเป็นการพ่ายแพ้ที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพเรือญี่ปุ่นในระยะ 350 หลา

ภายหลังยุทธนาวีทั้งสอง กองเรือสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกเสียหายอย่างหนัก กองทัพญี่ปุ่นจึงคิดเข้าโจมตีมิดเวย์อะทอลล์ เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ในแนวป้องกันทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น และเป็นฐานในปฏิบัติการสำหรับแผนขั้นต่อไป รวมไปถึงการทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกาที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม สหรัฐอเมริกาจึงสามารถเตรียมการป้องกันและจัดวางกำลังพล จนสามารถทำลายกองทัพเรือของญี่ปุ่นได้ ยุทธนาวีมิดเวย์ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลับมาชิงความได้เปรียบในยุทธบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มเป็นฝ่ายรุกโจมตีกองทัพเรือญี่ปุ่นจนจบสงคราม

ภูมิหลัง

หลังจากขยายสงครามในแปซิฟิกเพื่อรวมอาณานิคมทางตะวันตกเข้าด้วยกัน จักรวรรดิญี่ปุ่นก็สามารถบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในช่วงต้นได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ ฮ่องกงของอังกฤษ ฟิลิปปินส์ มาเลเซียอังกฤษ สิงคโปร์ และหมู่เกาะอินโดนีเซียของดัตช์ โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันในหมู่เกาะอินโดนีเซียซึ่งมีความสำคัญต่อญี่ปุ่นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ การวางแผนเบื้องต้นสำหรับการปฏิบัติการระยะที่สองจึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 1942

เนื่องจากมีความไม่เห็นด้วยทางยุทธศาสตร์ระหว่างกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJA) และกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) รวมถึงการต่อสู้ภายในระหว่างกองบัญชาการทั่วไปของกองทัพเรือและกองเรือผสมของ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ การวางแผนกลยุทธ์สำหรับการปฏิบัติการต่อไปจึงไม่เกิดขึ้นจนถึงเดือนเมษายน 1942 ยามาโมโตะสามารถชนะการต่อสู้ทางราชการได้สำเร็จด้วยการขู่ว่าจะลาออก[8][9] หลังจากนั้นแผนของเขาก็ได้รับการยอมรับ เป้าหมายหลักของยามาโมโตะคือการกำจัดกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกา ซึ่งเขามองว่าเป็นภัยคุกคามหลักต่อสงครามแปซิฟิกโดยรวม ความกังวลนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากการโจมตีของกองทัพอากาศสหรัฐ ในวันที่ 18 เมษายน 1942 ที่เครื่องบินทิ้งระเบิด B-25 มิทเชลล์ จำนวน 16 ลำ ขึ้นจากเรือยูเอสเอสฮอร์เน็ต โจมตีเป้าหมายในกรุงโตเกียวและเมืองอื่นๆ ในญี่ปุ่น การโจมตีครั้งนี้ แม้ว่าจะไม่สร้างผลกระทบทางทหารมากนัก แต่กลับเป็นการสร้างความตกใจให้กับญี่ปุ่น และทำให้เห็นถึงช่องโหว่ในระบบป้องกันรอบๆ เกาะหลักของญี่ปุ่น รวมถึงความเสี่ยงที่อาณาเขตญี่ปุ่นจะถูกโจมตีจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของอเมริกา

ยามาโมโตะเชื่อว่า การโจมตีทางอากาศอีกครั้งที่ฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์จะกระตุ้นให้กองเรืออเมริกันทั้งหมดออกทะเลเพื่อสู้รบ รวมถึงเรือบรรทุกเครื่องบินด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งที่เพิ่มขึ้นของกำลังอากาศทางบกของอเมริกาที่หมู่เกาะฮาวายตั้งแต่การโจมตีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1941 เขาจึงตัดสินใจว่า การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์โดยตรงนั้นเสี่ยงเกินไป

แทนที่จะโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ยามาโมโตะเลือกเกาะมิดเวย์ ซึ่งเป็นแอทอลล์ขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ที่ปลายสุดของหมู่เกาะฮาวายทางตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 1,300 ไมล์ (1,100 ไมล์ทะเล; 2,100 กิโลเมตร) จากโออาฮู เกาะมิดเวย์อยู่นอกขอบเขตการปฏิบัติการของเครื่องบินอเมริกันเกือบทั้งหมดที่ประจำการอยู่ในหมู่เกาะฮาวายหลัก มิดเวย์ไม่ได้มีความสำคัญโดยตรงในแผนการใหญ่ของญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นเชื่อว่าอเมริกาจะมองว่าเกาะมิดเวย์เป็นป้อมปราการสำคัญของเพิร์ลฮาร์เบอร์ และจะต้องปกป้องมันอย่างเข้มข้น[10]

อ้างอิง

  1. Parshall & Tully, p. 90-91
  2. "The Battle of Midway". Office of Naval Intelligence.
  3. "Battle of Midway: June 4–7,1942". Naval History & Heritage Command. 27 April 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 20 February 2009. "...considered the decisive battle of the war in the Pacific."
  4. Dull, Paul S (1978). Battle History of the Imperial Japanese Navy, 1941–1945. US Naval Institute Press. ISBN 1-59114-219-9. "Midway was indeed "the" decisive battle of the war in the Pacific.", p. 166
  5. 5.0 5.1 "A Brief History of Aircraft Carriers: Battle of Midway". U.S. Navy. 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 12 June 2007. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Midway Decisive" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  6. "Battle of Midway: June 4–7, 1942". Naval History & Heritage Command. 26 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
  7. Dull 1978, p. 166
  8. Prange, Goldstein & Dillon 1982, pp. 13–15, 21–23; Willmott 1983, pp. 39–49; Parshall & Tully 2005, pp. 22–38
  9. Parshall & Tully 2005, p. 33; Prange, Goldstein & Dillon 1982, p. 23
  10. "After the Battle of Midway". Midway Atoll National Wildlife Refuge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya