เอ็ดวาโด กอรี เกร์เรโร ยาเนส (Eduardo Gori Guerrero Llanes; 9 ตุลาคม ค.ศ. 1967(1967-10-09 ) – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2005)[ 5] [ 1] นักมวยปล้ำอาชีพที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในชื่อ เอ็ดดี เกร์เรโร (Eddie Guerrero)[ 6] เป็นหนึ่งในสมาชิกตระกูลนักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียงตลอดกาลที่สุดของเม็กซิโกนั่นก็คือตระกูลเกร์เรโร ซึ่งบิดาของเขาคือกอรี เกร์เรโร ถือว่าเป็นหนึ่งในตำนานนักมวยปล้ำเม็กซิโกเลยทีเดียว เอ็ดดีมีพี่น้องอยู่ 4 คน เป็นผู้หญิง 2 คน เป็นผู้ชาย 3 คน ส่วนที่เป็นผู้ชายเป็นนักมวยปล้ำอาชีพทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น แมนโด เกร์เรโร สุดยอดนักมวยปล้ำเม็กซิโก, เฮกเตอร์ เกร์เรโร ผู้ที่มีหน้าคล้ายกับเอ็ดดีมากที่สุด และชาโว เกร์เรโร ซีเนียร์ อดีตแชมป์จูเนียร์เฮฟวี่เวทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการมวยปล้ำโลก เอ็ดดีมีหลานอยู่หนึ่งคนชื่อว่า ชาโว เกร์เรโร จูเนียร์ ซึ่งเป็นลูกของชาโว ซีเนียร์ ซึ่งเขากับชาโวอายุห่างกันเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น และเอ็ดดียังมีญาติอย่าง Enrique Llanes และ Javier Llanes ทั้งคู่เป็นนักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียงแห่งเม็กซิโกด้วย ถึงจะเกิดที่เม็กซิโก แต่ตระกูลก็ยังเป็นทั้งสัญชาติเม็กซิกันและอเมริกันด้วย เอ็ดดีได้เสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจวายฉับพลัน ในปี 2005 และได้เข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี ประจำปี 2006
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
เอ็ดดีโตขึ้นที่เมือง El Paso, Texas จบการศึกษาจาก University of New Mexico ขณะที่เรียนอยู่เขาก็ได้เป็นนักมวยปล้ำสมัครเล่นของมหาวิทยาลัยด้วย ก่อนที่จะกลับมาอยู่ที่บ้านตัวเอง เพื่อมาฝึกเป็นนักมวยปล้ำอาชีพเหมือนกับพี่ๆ ตัวเองที่เป็นและมีชื่อเสียงโด่งดัง[ 4] เอ็ดดีฝึกซ้อมมวยปล้ำกับพ่อของตัวเอง ก่อนที่จะเริ่มปล้ำอย่างเป็นจริงเป็นจังเมื่อปี 1987 โดยอยู่ที่สมาคม Empresa Mexicana de Lucha Libre Promotion และเขาก็เริ่มเป็นที่รู้จักทั้งในเม็กซิโก รวมถึงที่อเมริกาด้วย ในปี 1993 เอ็ดดีเริ่มย้ายไปปล้ำที่สมาคม นิวเจแปนโปรเรสต์ลิง ที่ญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อในการปล้ำว่า แบล็ค ไทเกอร์ II เป็นนักมวยปล้ำใส่หน้ากาก[ 7] แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรมากมายนัก จึงย้ายกลับมาปล้ำที่เม็กซิโกอีกครั้ง และเริ่มปล้ำในรูปแบบของ แทคทีม โดยจับคู่กับ El Hijo del Santo ในนามทีม La Pareja Atomica หลังจากนั้นไม่นานก็แตกทีมกัน เอ็ดดีจึงย้ายไปจับคู่กับอาร์ต บาร์ ในนามของทีม La Pareja Del Terror ถือว่าเป็นแทคทีมที่มีคนเกลียดมากที่สุดในประวัติศาสตร์มวยปล้ำ เม็กซิโก ต่อมาก็มาร่วมทีมกับ คอนนัน และ มาดอนนา โดยเปลี่ยนชื่อทีมเป็น Los Gringos Locos ก็ยังคงเป็นทีมที่มีคนเกลียดมากที่สุดเหมือนเดิม ต่อมา เอ็ดดี และ อาร์ต บาร์ ก็ย้ายมาอยู่สมาคม ECW เมื่อปี 1994 จากการเชิญโดย พอล เฮย์แมน [ 8] [ 9] แต่ก็อยู่ได้ไม่ถึงปี เอ็ดดี กับบาร์ ก็ต้องแตกทีมกัน เพราะบาร์มาเสียชีวิต ในปี 1995 เอ็ดดีจึงต้องกลายมาเป็นศิลปินเดี่ยวปล้ำเดี่ยวเพียงแค่ครั้งแรกใน ECW ก็ได้แชมป์ TV ทันที และมีเรื่องในบทอยู่กับ ดีน มาเลนโก อยู่นานมากจนกระทั่งทั้งคู่ย้ายมาอยู่ WCW ด้วยกัน[ 10] [ 11] [ 12] [ 13]
เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง
ใน WCW ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่ทำให้เอ็ดดีมีชื่อเสียงมากที่สุด เขาประสบความสำเร็จได้เป็น แชมป์ยูเอส ในปี 1996[ 14] และได้เป็นแชมป์ครูเซอร์เวท 2 สมัย ในปี 1997[ 15] [ 16] และยังเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม Latino World Order (L.W.O)[ 17] เนื่องจากในกลุ่ม nWo ไม่รับนักมวยปล้ำ ลาติน จึงย้ายมาอยู่ LWO กันเกือบหมด ไม่ว่าจะเป็น ไซโคซิส, เรย์ มิสเตริโอ , ลอส วิลาโนส์ และคนอื่นๆ อีกมากมาย ต่อมาไม่นาน เอ็ดดีก็เริ่มไม่มีบทบาทใน WCW จึงประท้วงเอริก บิสชอฟฟ์ ด้วยการเอากาแฟราดตัวเอง และออกจากสนามของ WCW ไป ขณะที่ไม่ได้ปล้ำ เอ็ดดีก็ติดนิสัยเสเพล ดื่มสุราจนตัวเองได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ ถึงขนาดต้องเกือบเลิกปล้ำ และก็ได้กลับมาปล้ำอีกครั้งในปี 1999 แต่ด้วยสภาพอันไม่ไหวและมีแมตช์ปล้ำมากเกิน ทำให้เกิดอาการติดยาแก้ปวดขนาดหนักอีกครั้ง แต่ก็รักษาตัวมาได้อีก และไม่พอใจการบริหารงานของ WCW จึงย้ายออกมาจาก WCW พร้อมกับ คริส เบนวา , ดีน มาเลนโก และ เพอร์รี ซาเทิร์น ไปอยู่ที่สมาคม WWE ในปี 2000[ 18]
เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์
หลังจากที่ย้ายออกมาจาก WCW มาอยู่ที่ WWE เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2000 ก็มาตั้งกลุ่มกับนักมวยปล้ำที่ย้ายมาด้วยกันคือ เดอะ ราดิคาลซ์ และได้ถือกำเนิดเป็น "เดอะ ลาติโน ฮีท" แต่ในช่วงแรก เอ็ดดีไม่ค่อยได้ปล้ำเพราะว่าแขนหัก จากการไปทำฟ็อกซ์สแปลชใส่คู่ต่อสู้ เอ็ดดีจึงได้อยู่แค่รอบๆ เวที[ 19] ในเดือนมีนาคม 2000 เอ็ดดีเริ่มมีบทบาทกุ๊กกิ๊กกับไชนา ทั้งคู่ได้เป็นแฟนกันตามบท โดยที่เอ็ดดีจะเรียกไชนาว่า "Mamacita" ซึ่งคำนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง และเอ็ดดีก็ได้ฉายาใหม่ว่า "ลาติโน ฮีท"[ 20] [ 21] [ 22] และเอ็ดดีก็ได้รับบทเป็นขวัญใจตั้งแต่บัดนั้น ตำแหน่งแรกที่เอ็ดดีได้รับก็คือแชมป์ยุโรป WWF ซึ่งชิงได้จากคริส เจริโค เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2000[ 23] และเขาก็สามารถป้องกันแชมป์ได้นานถึง 3 เดือน ก่อนที่จะเสียแชมป์ไปให้กับ เพอร์รี ซาเทิร์น ในศึก Fully Loaded เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2000 หลังจากนั้นเพียงแค่เดือนเดียวความหมาดหมางระหว่าง เอ็ดดี กับ ไชนา ก็เกิดขึ้นเมื่อไชนาได้คว้า แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล [ 24] ในซัมเมอร์สแลม 2000 ต่อมาก็มีการปล้ำแมตช์สามเส้าขึ้นระหว่าง เคิร์ต แองเกิล , ไชนา และเอ็ดดี โดยเอ็ดดีกดไชนาอย่างไม่ได้ตั้งใจ จนตัวเองได้เป็นแชมป์อินเตอร์[ 25] ต่อมาทั้งคู่ก็มีปัญหากันเรื่อยๆ จนต้องเลิกกันไป
เอ็ดดีได้กลับไปร่วมทีมเดอะราดิคัลซ์อีกครั้ง และได้เป็นแชมป์ยุโรปอีก 1 สมัย ก่อนที่จะเสียแชมป์ให้แมต ฮาร์ดี [ 26] และเอ็ดดีก็คิดจะเข้าร่วมกับฮาร์ดี บอยซ์ ไม่ทันไร เอ็ดดีก็หายไปจากวงการมวยปล้ำอย่างยาวนาน เพื่อไปรักษาเนื้อรักษาตัวจากอาการติดยา ในเดือนพฤษภาคม 2001 เอ็ดดีก็ถูกส่งเข้าสถานบำบัด ต่อมาอีกไม่นาน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2001 เอ็ดดีได้เมาสุราและขับรถไปชนบ้านของคนอื่น 3 วันหลังเกิดเหตุ เอ็ดดีก็ถูกออกจากการเป็นนักมวยปล้ำของ WWE ขณะที่ไม่ได้ปล้ำใน WWE เอ็ดดีก็ไปที่ปล้ำค่ายอิสระรวมถึงริงออฟออเนอร์ และเวิลด์เรสต์ลิงออลสตาส์ จนกระทั่งได้ถูกเรียกตัวกลับมา WWE เมื่อเดือนมีนาคม 2002 โดยกลับมาในรอว์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2002 เพื่อมาเล่นงานร็อบ แวน แดม [ 27] [ 28] และในแบคแลช เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2002 เอ็ดดีก็สามารถกระชากแชมป์อินเตอร์ได้จากร็อบ แวน แดม[ 29] [ 30] ก่อนที่จะเสียแชมป์กลับคืนให้คนเดิม และเขาก็ย้ายไปสแมคดาวน์พร้อมกับเพื่อนซี้อย่างคริส เบนวา
วันที่ 1 สิงหาคม 2002 เอ็ดดีและเบนวาได้ย้ายมาอยู่สแมคดาวน์ เบนวาเริ่มไปจับคู่กับเคิร์ต แองเกิล ส่วนเอ็ดดีก็ได้จับคู่แทกทีมกับหลานชายตัวเองอย่างชาโว เกร์เรโร โดยใช้ชื่อทีมว่าโลสเกร์เรโรส์ และมีสโลแกนประจำทีมว่า "Lie, Cheat and Steal"[ 31] [ 32] ทีมนี้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยการได้คว้าแชมป์แทกทีมคู่กันสมัยแรกจากเรย์และเอดจ์ ในเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ 2002 และก็ครองมาจนมาเสียให้กับ ทีมแองเกิล ต่อมาทีม ลอส เกร์เรโรส์ มีโอกาสชิงแชมป์อีกครั้ง ในศึกจัดจ์เมนเดย์ 2003 แต่เผอิญว่า ชาโวได้รับอาการบาดเจ็บก่อน ทำให้เอ็ดดีต้องหาคู่ใหม่ สรุปแล้วก็ได้คู่แทกทีมคือทะจิริ ในจัดจ์เมนเดย์ เอ็ดดีและทะจิริก็ได้ครองแชมป์ด้วยกัน[ 33] [ 34] จนกระทั่งเอ็ดดีหักหลังทะจิริ เพื่อจะได้เป็นนักมวยปล้ำเดี่ยวสำหรับแชมป์เดี่ยวต่อไป[ 35] [ 36]
ในต้นปี 2004 เอ็ดดีได้แตกทีมกับชาโว[ 37] [ 38] และตัวเองก็ได้มีโอกาสได้เป็นผู้ท้าชิงเพราะได้ชนะในแมตช์รอยัลรัมเบิล 15 คน ในสแมคดาวน์[ 39] และได้ไปเจอกับบร็อก เลสเนอร์ ในโนเวย์เอาท์ 2004 และเอ็ดดีก็คว้าแชมป์ WWE ได้เป็นสมัยแรก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2004[ 40] [ 41] หลังจากนั้นเอ็ดดีก็ประสบความสำเร็จ สามารถป้องกันแชมป์ได้จากนักมวยปล้ำหลายๆคน ไม่ว่าจะเป็นเคิร์ต แองเกิล ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 [ 42] [ 43] แต่ก็ต้องมาเสียแชมป์ให้เจบีแอล ในเดอะเกรทอเมริกันแบช 2004[ 44] หลังจากนั้นเอ็ดดีก็ไม่ได้เป็นแชมป์โลกอีกเลย แต่ก็ยังได้เป็นแชมป์แทกทีมกับเรย์ มิสเตริโอ[ 45] [ 46] แต่ไม่นานก็มาแตกทีมกัน และเอ็ดดีก็กลายเป็นศัตรูกับเรย์ และได้ขึ้นปล้ำกับเรย์ในจัดจ์เมนเดย์ 2005 แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะเรย์ได้[ 47] จากนั้นเอ็ดดีก็ได้ขึ้นปล้ำกับเรย์ หลายต่อหลายครั้ง แต่ปล้ำกี่ครั้งแทบจะไม่ชนะเรย์เลยสักครั้ง ต่อมาก็เลยแฉว่า โดมินิก ลูกชายของเรย์ ว่าไม่ใช่ลูกของเรย์ เขาเป็นลูกของเอ็ดดี[ 48] และได้มีเรื่องกับเรย์จนยาวนาน แต่เรย์สามารถเอาชนะเอ็ดดีไปได้ ในการชิงการเป็นผู้ปกครองของโดมินิก ในซัมเมอร์สแลม 2005[ 49] ต่อมาเอ็ดดีก็สามารถเอาชนะเรย์มาได้ในสแมคดาวน์[ 50] พร้อมกับเป็นผู้ท้าชิงหมายเลข 1 เจอกับบาทิสตา ในศึก โนเมอร์ซี 2005 แต่ก็ไม่ชนะอยู่ดี[ 51] และเอ็ดดีก็จะได้ชิงแชมป์อีกครั้งใน SuperShow แต่ก็ไม่มีโอกาส อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน
การเสียชีวิต
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2005 เอ็ดดีได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายฉับพลัน ซึ่งเสียชีวิตตอนกำลังแปรงฟันอยู่ที่ห้องพักในโรงแรมมาร์ริออส ที่มินนิแอโปลิส มินเนโซตา วันนั้นจึงเกิดศึก SuperShow ขึ้น เพื่อไว้อาลัยให้กับเอ็ดดีซึ่งสื่อบอกว่าวันนี้เป็นวันที่เอ็ดดีจะได้แชมป์จากบาทิสตา แต่ก็ไม่มีโอกาส สร้างความโศกเศร้าไปทุกวงการมวยปล้ำด้วยวัยเพียง 38 ปีเท่านั้น ในปี 2006 เอ็ดดีได้รับบรรจุชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี ซึ่งวิกกี เกร์เรโร ภรรยาของเขาเป็นผู้มารับรางวัลแทน
แชมป์และรางวัล
แชมป์ WWE เอ็ดดี และแชมป์โลกเฮฟวี่เวท คริส เบนวา ชูมือฉลองชัยร่วมกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20
แชมป์แท็กทีม WWE กับเรย์ มิสเตริโอ
แมตช์ที่มีสิ่งต่างๆ เป็นเดิมพัน
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Eddie Guerrero Profile" . Online World Of Wrestling. สืบค้นเมื่อ March 23, 2008 .
↑ 2.0 2.1 "WCW Bio" . WCW. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ May 8, 1999. สืบค้นเมื่อ June 23, 2008 .
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Eddie Guerrero Hall of Fame profile" . WWE. สืบค้นเมื่อ March 29, 2011 .
↑ 4.0 4.1 Loverro, Thom (2006). The Rise & Fall of ECW: Extreme Championship Wrestling . mon and Schuster. p. 71 . ISBN 1-4165-1058-3 .
↑ Guerrero, Eddie; Krugman, Michael (2005). Cheating Death, Stealing Life: The Eddie Guerrero Story . London: Pocket. p. 10. ISBN 0-7434-9353-2 . Last, but definitely not least, came the baby of the family, yours truly, Eduardo Gory Guerrero Llanes.
↑ 6.0 6.1 "I.W.A. Mid-South Heavyweight Title" . The Great Hisa's Puroresu Dojo. สืบค้นเมื่อ February 16, 2008 .
↑ "Eddie Guerrero's WCW Career (1996)" . Accelerator's Wrestling Rollercoaster.
↑ Loverro, Thom (2006). The Rise & Fall of ECW: Extreme Championship Wrestling . Simon and Schuster. p. 85 . ISBN 1-4165-1058-3 .
↑ 9.0 9.1 "ECW World Television Championship history" . WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-03-13 .
↑ Fritz, Brian (2006). Between the Ropes: Wrestling's Greatest Triumphs and Failures . ECW Press. p. 85 . ISBN 1-55022-726-2 .
↑ "ECW results - July 21, 1995" . Pro Wrestling History. 1995-07-21.
↑ "ECW results - August 25, 1995" . Pro Wrestling History. 1995-08-25.
↑ "ECW results - August 26, 1995" . Pro Wrestling History. 1995-08-26.
↑ "Eddie Guerrero's first United States Championship reign" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2005-11-27. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ "Eddie Guerrero's first Cruiserweight Championship reign" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-09-02. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ "WWE Cruiserweight Championship official title history" . WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ "Latino World Order (lWo) Profile" . Online World of Wrestling . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ Fritz, Brian (2006). Between the Ropes: Wrestling's Greatest Triumphs and Failures . ECW Press. p. 51 . ISBN 1-55022-726-2 .
↑ "Eddie Guerrero's WWF Career (2000)" . Accelerator's Wrestling Rollercoaster. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ "WrestleMania 2000 official results" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-12-01. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ "Eddie Guerrero's first European Championship reign" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-02-12. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ "RAW is WAR results, 2000" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-06-07. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ "Judgment Day 2000 official results" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-02-15. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ "SummerSlam 2000 official results" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-06-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15 .
↑ "Eddie Guerrero's first Intercontinental Championship reign" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-02-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "Armageddon 2000 official results" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-03-31. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "Eddie Guerrero's WWF Career (2002)" . Accelerator's Wrestling Rollercoaster. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "RAW results - April 1, 2002" . Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "Backlash 2002 official results" . WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "Eddie Guerrero's second Intercontinental Championship reign" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-04-27. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "Los Guerreros Profile" . Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "Eddie Guerrero's SmackDown! Career (2002)" . Accelerator's Wrestling Rollercoaster. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "Judgment Day 2003 official results" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2006-10-26. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "Eddie Guerrero and Tajiri's first Tag Team Championship reign" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2005-11-24. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "SmackDown! results - May 22, 2003" . Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "SmackDown! results - July 3, 2003" . Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16 .
↑ "Eddie Guerrero's SmackDown! Career (2004)" . Accelerator's Wrestling Rollercoaster. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "SmackDown! results - January 8, 2004" . Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "SmackDown! results - January 29, 2004" . Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "Brock Lesnar vs. Eddie Guerrero for the WWE World Championship" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-03-25. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "Eddie Guerrero's first WWE World Championship reign" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2005-06-30. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "WrestleMania XX official results" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-07-23. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "Chris Benoit vs. Shawn Michaels vs. Triple H for the World Heavyweight Championship" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-02-23. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "JBL vs. Eddie Guerrero in a Texas Bullrope Match for the WWE Championship" . WWE. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "No Way Out 2005 official results" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "Eddie Guerrero and Rey Mysterio's first Tag Team Championship reign" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2005-07-10. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "Judgment Day 2005 official results" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "Jackpot!" . WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "SummerSlam 2005 official results" . WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2006-07-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "Changing Friday Nights" . WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ "Batista vs. Eddie Guerrero for the World Heavyweight Championship" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-11-14. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17 .
↑ 52.0 52.1 52.2 52.3 52.4 Royal Duncan & Gary Will (2000). Wrestling Title Histories . Archeus Communications. ISBN 0-9698161-5-4 .
↑ "Eddie Guerrero" . Lucha Libre AAA World Wide . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ June 18, 2011 .
↑ "Latino Heat's profile" . BodySlamming.com. สืบค้นเมื่อ August 31, 2009 .
↑ Royal Duncan & Gary Will (2000). "Japan; Top of the Super Junior Heavyweight Champions". Wrestling Title Histories . Archeus Communications. p. 375 . ISBN 0-9698161-5-4 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners — Comeback of the Year" . Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 16, 2008. สืบค้นเมื่อ May 5, 2008 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners — Inspirational Wrestler of the Year" . Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 16, 2008. สืบค้นเมื่อ May 5, 2008 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners — Editor's Award" . Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 3, 2011. สืบค้นเมื่อ May 5, 2008 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2004" . Pro Wrestling Illustrated . The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ May 8, 2015 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated's Top 500 Wrestlers of the PWI Years" . Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ July 7, 2011. สืบค้นเมื่อ September 15, 2010 .
↑ "Pro Wrestling Illustrated's Top 100 Tag Teams of the PWI Years" . Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 25, 2009. สืบค้นเมื่อ July 20, 2011 .
↑ "Eddie Guerrero's first WCW Cruiserweight Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2013.
↑ "Eddie Guerrero's second WCW Cruiserweight Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2013.
↑ "Eddie Guerrero's first WCW United States Heavyweight Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 13, 2013.
↑ Palma, Richard. "WWAS — WWA International Cruiserweight Championship history" . Solie. สืบค้นเมื่อ June 26, 2008 .
↑ "Eddie Guerrero's first WWE Championship reign" . World Wrestling Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 21, 2013.
↑ "Eddie Guerrero's first Intercontinental Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 25, 2013.
↑ "Eddie Guerrero's second Intercontinental Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ November 10, 2013.
↑ "Eddie Guerrero's second United States Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ มกราคม 21, 2016.
↑ "Eddie Guerrero's first European Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 22, 2012.
↑ "Eddie Guerrero's second European Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 22, 2012.
↑ "Los Guerreros' first WWE Tag team Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 8, 2013.
↑ "Eddie Guerrero and Tajiri's first WWE Tag Team Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ ตุลาคม 19, 2013.
↑ "Los Guerreros' second WWE Tag Team Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 17, 2013.
↑ "Rey Mysterio and Eddie Guerrero's first WWE Tag Team Championship reign" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 19, 2013.
↑ 76.0 76.1 76.2 76.3 76.4 76.5 Meltzer, Dave (January 26, 2011). "Biggest issue of the year: The 2011 Wrestling Observer Newsletter Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter . Campbell, CA: 1–40. ISSN 1083-9593 .
แหล่งข้อมูลอื่น
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง
ยุค 2010
2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019
แกรนด์สแลม แชมเปียนชิป
ทริปเปิลคราวน์ แชมเปียนชิป
ยุค1960 ยุค1970 ยุค1980 ยุค1990 ยุค2000 ยุค2010 ยุค2020
ยุค1970 ยุค1980 ยุค1990 ยุค2000 ยุค2010 ยุค2020
1990s (IWC) 2000s (AAA) 2010s (AAA) 2020s (AAA)
Shiro Koshinaka (1988 )
Norio Honaga (1991 )
Jyushin Thunder Liger (1992 , 1994 , 2001 )
Pegasus Kid/Wild Pegasus (1993 , 1995 )
Black Tiger (1996 )
El Samurai (1997 )
Koji Kanemoto (1998 , 2002 , 2009 )
Kendo Kashin (1999 )
Tatsuhito Takaiwa (2000 )
Masahito Kakihara (2003 )
Tiger Mask (2004 , 2005 )
Minoru (2006 )
Milano Collection A. T. (2007 )
Wataru Inoue (2008 )
Prince Devitt (2010 , 2013 )
Kota Ibushi (2011 )
Ryusuke Taguchi (2012 )
Ricochet (2014 )
Kushida (2015 , 2017 )
Will Ospreay (2016 , 2019 )
Hiromu Takahashi (2018 , 2020 , 2021 , 2022 )
Master Wato (2023 )