ธงทอง จันทรางศุ
ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ (เกิด 8 มิถุนายน พ.ศ. 2498) คณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน), กรรมการในคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย[1] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า, ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)[2], ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ภายใต้คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.), กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8, กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ[3], กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ[4], ประธานกรรมการ บริษัท ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี, อุปนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5], ประธานอนุกรรมการเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6, ประธานกรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, นายกสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 (ส.ส.ร.) ประเภทผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน, อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, อดีตสำนักนายกรัฐมนตรี, อดีตเลขาธิการสภาการศึกษา, อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม, อดีตรองโฆษกกระทรวงยุติธรรม, อดีตรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ, อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานกรรมการบริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด, ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม อดีตผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (CPLO) และนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด นอกจากนี้แล้ว ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ยังมีความเชี่ยวชาญในด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องราวประวัติศาสตร์ทางราชสำนัก และพระราชพิธีเป็นอย่างมาก จนได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องราวประวัติศาสตร์ทางราชสำนัก และพระราชพิธี เป็นจำนวนมาก ตลอดจนยังได้หนังสือกฎหมายต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านประวัติศาสตร์อีกด้วย และยังได้รับเชิญให้มาร่วมบรรยายถ่ายทอดสดในการพระราชพิธีต่าง ๆ ที่สำคัญมาแล้วหลายวาระ และล่าสุดในปี พ.ศ. 2559 ได้รับเชิญให้มาร่วมบรรยายถ่ายทอดสดในการพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประวัติศาสตราจารย์พิเศษ ธงทองเป็นบุตรของนาวาอากาศเอก ธัชทอง จันทรางศุ (บุตรคนสุดท้องของอำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดคนแรกของประเทศไทย เป็นอดีตผู้ถวายงานแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นต้นตระกูลจันทรางศุ (ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2457) และคุณหญิงแม้น สุนทรเทพกิจจารักษ์ (แม้น จันทรางศุ) (เดิมชื่อช้อย สกุลเดิม ปัตตะพงศ์)) และสุคนธ์ จันทรางศุ (ธิดาของพระประมวลวินิจฉัย (ขัติ สุวรรณทัต) และสุดใจ ประมวลวินิจฉัย (นามสกุลเดิม ฮุนตระกูล)) มีน้องชาย 1 คน คือ ธารทอง จันทรางศุ อดีตเลขานุการ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(ถึงแก่กรรมแล้ว) การศึกษา
ประวัติการทำงานการรับราชการอาจารย์ธงทองเริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ ระดับ 3 ภาควิชากฎหมายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2523 และได้เลื่อนเป็นอาจารย์ระดับ 4 เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2523 ต่อมาได้เป็นผู้อำนวยการหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6 ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ต่อมาเป็นรองศาสตราจารย์ ระดับ 7 ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2527 และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเลื่อนเป็นรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 และเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2542 ในระหว่างเป็นอาจารย์ ได้มีโอกาสปฏิบัติราชการถวาย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี หลายวาระ การรับราชการพลเรือนสามัญต่อจากนั้น ธงทองได้โอนมารับราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ ต่อมาดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 และดำรงตำแหน่งรองโฆษกกระทรวงยุติธรรมอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสภาการศึกษา (ระดับ 11) กระทั่งในปี 2554 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเมื่อปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็สั่งให้ธงทองย้ายไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จนถึงเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ได้รับแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ด้านนิติศาสตร์ วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
การทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างที่เป็นอาจารย์ ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง ได้มีโอกาสเข้าถวายงานปฏิบัติราชการถวาย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาทิการเสด็จพระราชดำเนินตรวจการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง ในโอกาสพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 เป็นต้น และถวายงานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในหลายวาระ พร้อมกับดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นต้น และรวมทั้งในฐานะผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในด้านราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทำให้ได้รับเชิญจากทางรัฐบาลในสมัยต่าง ๆ เข้ามารับหน้ากรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ ตั้งแต่งานพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และรวมทั้งยังเป็นกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ และกรรมการพิเศษต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กร เอกชน มูลนิธิ และหน่วยงานสาธารณกุศลต่าง ๆ หลายแห่ง และปัจจุบัน ธงทองดำรงตำแหน่งกรรมการที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่สำคัญ คือ ประธานกรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, ประธานอนุกรรมการเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6, กรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การทำงานด้านเอกชนต่อมาหลังจากเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ในตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559[6] ด้านการเมืองธงทองเคยได้รับแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเมืองหลายครั้ง อาทิ
ด้านสื่อสารมวลชนการบรรยายพระราชพิธีทางโทรทัศน์ธงทองเป็นผู้มีความรอบรู้ ชอบอ่านหนังสือ จึงสามารถให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี และใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) จึงเชิญให้เป็นผู้บรรยายประกอบ ในการต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องในพระราชสำนัก มาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 โดยงานแรกคือ การบรรยายสารคดีพระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2539 ทรท.ก็มอบหมายขึ้นเป็นหัวหน้าผู้บรรยายประกอบ ในการถ่ายทอดพระราชพิธีทางโทรทัศน์ ทั้งระดับพระราชพิธีประจำปี เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และทั้งระดับพระราชพิธีพิเศษเฉพาะกาล เช่น พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระราชพิธีพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้น และล่าสุดการเป็นการผู้บรรยายพระราชพิธีผ่านทางโทรทัศน์ในการถ่ายทอดพระราชพิธีบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในช่วงพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร 7 วัน พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การบรรยายและผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ธงทอง เคยเป็นผู้บรรยายและผู้ดำเนินรายการท้าพิสูจน์ และรายการสารคดีแฝดสยาม (Siamese twins) ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 รางวัล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
อ้างอิง
|