ปางประทานพรปางประทานพร เป็นพระพุทธรูปลักษณะทำห้อยพระหัตถ์เบื้องขวา หันฝ่าพระหัตถ์ไปข้างหน้าเป็นเครื่องหมาย แต่ส่วนองค์พระพุทธรูปนั้นทำท่านั่งขัดสมาธิอย่างปางสมาธิ ยืน หรือเดิน สำหรับประทับยืนของปางประทานพรแตกต่างกับปางขอฝนที่การห้อยพระหัตถ์อีกข้าง ซึ่งปางประทานพรจะทรงห้อยพระหัตถ์ลง แต่ปางขอฝนจะทรงหงายพระหัตถ์ขึ้นในกิริยารับน้ำฝน นอกจากนี้ยังแตกต่างกับปางประทานอภัยที่พระหัตถ์ข้างที่ทรงผายออก โดยปางประทานพรพระหัตถ์ข้างที่ทรงยกขึ้นจะงอปลายนิ้วลงมาเล็กน้อยหรือทรงทำมุทรา (สัญลักษณ์มือ) แต่ปางประทานอภัยจะทรงตั้งนิ้วขึ้นเสมอกันและมิทรงงอปลายนิ้วลงเลย[1] ประวัติปางประทานพรในท่านั่งเมื่อครั้งพระอานนท์ถูกเลือกให้ทำหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า ท่านได้ขอพร 8 ประการ จากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร 4 ข้อแรก ได้แก่
ทั้งนี้เพื่อป้องกันคำครหาว่าท่านอุปัฏฐากแล้วไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากพระพุทธองค์เลยพระพุทธองค์ได้ประทานพรทั้ง 8 ประการ แก่พระอานนท์ ปางประทานพรในท่ายืนเมื่อนางมหาอุบาสิกาวิสาขา บุตรีของธนัญชัยเศรษฐี ซึ่งเป็นหญิงที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเบญจกัลยาณี ได้แก่ มีผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม วัยงาม นางมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเป็นอริยะบุคคลตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ในช่วงฤดูฝนในพรรษาหนึ่ง นางวิสาขาได้ให้นางทาสีของนางมานิมนต์พระภิกษุ พอดีฝนตก พระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร นางทาสีเข้าใจว่าเป็นนักบวชลัทธิชีเปลือย จึงกลับไปบอกนางวิสาขา หลังจากถวายภัตตาหารและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว นางวิสาขาจึงกราบทูลขอประทานพรจากพระพุทธองค์เพื่อถวายสิ่งของต่าง ๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี ได้แก่ 1.ผ้าอาบน้ำฝน 2. อาหารสำหรับภิกษุอาคันตุกะ 3.อาหารสำหรับภิกษุผู้เตรียมจะไป 4.อาหารสำหรับภิกษุป่วยไข้ 5.อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุ 6.ยาสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้ 7.ขอให้ได้ถวายข้าวยาคู 8.ผ้าอาบน้ำสำหรับภิกษุณี พระพุทธองค์ทรงประทานพรทั้ง 8 ข้อแก่นางวิสาขา ความเชื่อและคตินิยมเป็นพระพุทธรูปปวงประทานพร อ้างอิง
|