ศาสตราจารย์ สตางค์ มงคลสุข (15 กรกฎาคม 2462 - 6 กรกฎาคม 2514) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางด้านอินทรีย์เคมีและสมุนไพร และเป็นนักบริหารการศึกษาระดับสูงของชาติ โดยเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้ขยายจนเป็นคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตราจารย์ สตางค์ มงคลสุข หรือ ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นคณบดีคนแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของประเทศไทยในระยะเริ่มแรก ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งวิทยาเขตหาดใหญ่และปัตตานี
ประวัติ
ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข เกิดที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรคนที่สอง ของนายแจ้ง และนางไน้ มงคลสุข มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 1 คน คือ นายแสตมป์ มงคลสุข ศาสตราจารย์สตางค์ มงคลสุข สมรสกับ นางสาวยุพิน (เบญจกาญจน์) เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 มีธิดาและบุตรรวม 4 คน คือ
ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลุสข เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 จากการถูกนางสาวลัดดาวัลย์ วรรณจำรัส อาจารย์โทสอนภาษาอังกฤษในคณะวิทยาศาสตร์ ชักปืนยิงจนเสียชีวิตภายในห้องพิเศษของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์[1] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
การศึกษา
การงาน
ตำแหน่งวิชาการ
- พ.ศ. 2486 - อาจารย์ผู้ช่วยสอนแผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2488 - อาจารย์โท แผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2490 - ลาราชการเพื่อศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2493 - อาจารย์โท แผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2494 - อาจารย์โท แผนกเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- พ.ศ. 2496 - อาจารย์เอก แผนกเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- พ.ศ. 2502 - ศาสตราจารย์แผนกเคมี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ตำแหน่งบริหาร
- พ.ศ. 2501 - ผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- พ.ศ. 2503 - รักษาการคณบดี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- พ.ศ. 2503 - คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และหัวหน้าภาควิชาเคมี (พ.ศ. 2512 เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
- พ.ศ. 2511 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- พ.ศ. 2512 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ
- กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- กรรมการพัฒนามหาวิทยาลัย
- กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์
- กรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการช่วยเหลือในระดับอุดมศึกษา ในด้านแพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์และสังคมศาสตร์
- กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
- กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
- กรรมการร่วมกับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันประเทศอังกฤษและประเทศออสเตรเลีย เพื่อจัดหาอาจารย์จากต่างประเทศ จัดหาทุน ให้อาจารย์และนักศึกษาไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
ผลงานวิจัย
ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและสารประกอบทางเคมีที่สกัดจากสมุนไพรของไทย และมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวนหลายเรื่อง ผลงานวิจัยโดยสรุปมีดังนี้
- การวิจัยเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะจาก Lichens บนภูกระดึง
- การพิสูจน์โครงสร้างของสารเคมีที่พบในต้นไม้หลายชนิด (Coniferin) โดยวิธีการทางฟิสิกส์
- การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของยาขับพยาธิจากสมุนไพร ปวกหาด (Artrocarpus lakoocha)
- การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของยาขับพยาธิจากสมุนไพร มะเกลือ (Diospyros mollis)
- การศึกษาองค์ประกอบของสารเคมีจากสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น กระชาย รงทอง สะแก เจตมูลเพลิงแดง เป็นต้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ศิษย์อาจารย์สตางค์
บรรดาลูกศิษย์ที่เคยศึกษาเล่าเรียน และได้รับการอบรมสั่งสอนจาก ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข ปัจจุบันได้กลายมาเป็นบุคคลสำคัญ ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในวงการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และนักวิจัยดีเด่นของประเทศ เป็นจำนวนมาก อาทิ
- ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ. พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศ.เกียรติคุณ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2527 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ผศ.ดร. ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2519-2534)
- ศ.เกียรติคุณ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2528
- ศ.เกียรติคุณ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2529
- ศ.เกียรติคุณ ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ ราชบัณฑิต สาขาชีววิทยา นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2533
- ศ.ดร. ประเสริฐ โศภน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2538
- ศ.ดร.นพ. เรือน สมณะ ราชบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
- รศ.ดร.คุณหณิงสุมณฑา พรหมบุญ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พลโท ประวิชช์ ตันประเสริฐ เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
อ้างอิง
- ↑ "ระบุถูกปล้ำจนได้เสียกันว่ามีอารมณ์เพศรุนแรง". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 6 June 1972. p. 16.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๑ ง หน้า ๕๑๘, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ป.ช. ป.ม. ท.จ. วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2514. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2514.
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 6 กรกฎาคม 2514. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2514.
- นักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้รับการยกย่อง. สร้างคนสร้างชาติด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 18-24 สิงหาคม 2529 สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, 34-35. กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน, 2529.
- ยอดหทัย เทพธรานนท์. อาจารย์สตางค์ มงคลสุข: Super mentor. Mentor-Mentee-Mentoring ศาสตร์และศิลป์ของการเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยงที่ดี, 262-279. กรุงเทพฯ : มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2548.
- ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. อดีต ปัจจุบัน อนาคต วิทยาการเคมีและเภสัชไทย, 67-74. กรุงเทพฯ : มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2549.
แหล่งข้อมูลอื่น