กรีฑาชิงแชมป์โลก (อังกฤษ: World Athletics Championships; หรือชื่อเดิม อังกฤษ: World Championships in Athletics จนถึงปี 2019) เป็นการแข่งขันกรีฑาที่จัดขึ้นทุกสองปี ซึ่งจัดขึ้นโดยกรีฑาโลก (เดิมชื่อ ไอเอเอเอฟ; สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ)
การแข่งขันชิงแชมป์โลกเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1976 เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากลตัดสินใจยกเลิกการแข่งขันรายการเดิน 50 กิโลเมตร ชายออกจากโปรแกรมโอลิมปิกในการแข่งขันที่มอนทรีออล 1976 แม้ว่ารายการดังกล่าวจะได้เข้าร่วมในโอลิมปิกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ก็ตาม ดังนั้นไอเอเอเอฟจึงได้จัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกของตนเองแทน ซึ่งใช้เวลาหนึ่งเดือนครึ่งหลังการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก[1][2] นับเป็นการแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่ไอเอเอเอฟ จัดขึ้นแยกจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (ตามธรรมเนียมแล้วการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก) การแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งที่สองจัดขึ้นในปี ค.ศ. 1980 โดยสองครั้งนี้ถือว่าเป็นการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกอย่างไม่เป็นทางการ
การแข่งขันชิงแชมป์โลกในปี ค.ศ. 1983 ถือเป็นการแข่งขันกรีฑาอย่างเป็นทางการ ในช่วงแรกของการแข่งขันได้จัดขึ้นทุกสี่ปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1991 การแข่งขันได้เปลี่ยนมาจัดขึ้นทุกสองปี
สรุปการแข่งขัน
ครั้งที่
|
ปี
|
เมืองเจ้าภาพ
|
ประเทศ
|
วันที่
|
สถานที่
|
รายการ
|
ชาติเข้าร่วม
|
นักกีฬา
|
เจ้าเหรียญทอง
|
1
|
1983
|
เฮลซิงกิ
|
ฟินแลนด์
|
7–14 สิงหาคม
|
สนามกีฬาโอลิมปิก
|
41
|
153
|
1,333
|
เยอรมนีตะวันออก
|
2
|
1987
|
โรม
|
อิตาลี
|
28 สิงหาคม – 6 กันยายน
|
สตาดีโอโอลิมปีโก
|
43
|
156
|
1,419
|
เยอรมนีตะวันออก
|
3
|
1991
|
โตเกียว
|
ญี่ปุ่น
|
23 สิงหาคม – 1 กันยายน
|
สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติ
|
43
|
162
|
1,491
|
สหรัฐอเมริกา
|
4
|
1993
|
ชตุทท์การ์ท
|
เยอรมนี
|
13–22 สิงหาคม
|
ก็อตต์ลีฟเดมเลอสตาดีโยน
|
44
|
187
|
1,630
|
สหรัฐอเมริกา
|
5
|
1995
|
กอเทนเบิร์ก
|
สวีเดน
|
5–13 สิงหาคม
|
อุลเลวี
|
44
|
190
|
1,755
|
สหรัฐอเมริกา
|
6
|
1997
|
เอเธนส์
|
กรีซ
|
1–10 สิงหาคม
|
สนามกีฬาโอลิมปิก
|
44
|
197
|
1,785
|
สหรัฐอเมริกา
|
7
|
1999
|
เซบิยา
|
สเปน
|
20–29 สิงหาคม
|
สนามกีฬากาตูจา
|
46
|
200
|
1,750
|
สหรัฐอเมริกา
|
8
|
2001
|
เอดมันตัน
|
แคนาดา
|
3–12 สิงหาคม
|
สนามกีฬาเครือจักรภพ
|
46
|
189
|
1,677
|
รัสเซีย
|
9
|
2003
|
แซ็ง-เดอนี
|
ฝรั่งเศส
|
23–31 สิงหาคม
|
สตาดเดอฟร็องส์
|
46
|
198
|
1,679
|
สหรัฐอเมริกา
|
10
|
2005
|
เฮลซิงกิ
|
ฟินแลนด์
|
6–14 สิงหาคม
|
สนามกีฬาโอลิมปิก
|
47
|
191
|
1,688
|
สหรัฐอเมริกา
|
11
|
2007
|
โอซากะ
|
ญี่ปุ่น
|
24 สิงหาคม – 2 กันยายน
|
สนามกีฬานางาอิ
|
47
|
197
|
1,800
|
สหรัฐอเมริกา
|
12
|
2009
|
เบอร์ลิน
|
เยอรมนี
|
15–23 สิงหาคม
|
โอลึมเพียชตาดิโยน
|
47
|
200
|
1,895
|
สหรัฐอเมริกา
|
13
|
2011
|
แทกู
|
เกาหลีใต้
|
27 สิงหาคม – 4 กันยายน
|
แทกูสเตเดียม
|
47
|
199
|
1,742
|
สหรัฐอเมริกา
|
14
|
2013
|
มอสโก
|
รัสเซีย
|
10–18 สิงหาคม
|
สนามกีฬาลุจนีกี
|
47
|
203
|
1,784
|
สหรัฐอเมริกา
|
15
|
2015
|
ปักกิ่ง
|
จีน
|
22–30 สิงหาคม
|
สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง
|
47
|
205
|
1,771
|
เคนยา
|
16
|
2017
|
ลอนดอน
|
สหราชอาณาจักร
|
5–13 สิงหาคม
|
สนามกีฬาโอลิมปิก
|
48
|
199
|
2,036
|
สหรัฐอเมริกา
|
17
|
2019
|
โดฮา
|
กาตาร์
|
28 กันยายน – 6 ตุลาคม
|
สนามกีฬานานาชาติเคาะลีฟะฮ์
|
49
|
206
|
1,775
|
สหรัฐอเมริกา
|
18
|
2022
|
ยูจีน
|
สหรัฐอเมริกา
|
15–24 กรกฎาคม
|
เฮย์เวิร์ดฟิลด์
|
49
|
180
|
1,705
|
สหรัฐอเมริกา
|
19
|
2023
|
บูดาเปสต์
|
ฮังการี
|
19–27 สิงหาคม
|
ศูนย์กีฬากรีฑาแห่งชาติ
|
49
|
202
|
2,187
|
สหรัฐอเมริกา
|
20
|
2025
|
โตเกียว
|
ญี่ปุ่น
|
13–21 กันยายน
|
กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น
|
|
|
|
|
สรุปตารางเหรียญตอลดกาล
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น