กองทัพกัมพูชา
กองทัพพระราชาณาจักรกัมพูชา มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กองยุทธพลเขมรภูมินท์ (เขมร: កងយោធធពលខេមរភូមិន្ទ; กงโยธพลเขมรภูมินฺท, ฝรั่งเศส: Forces armées royales khmères; FARK) เป็นกำลังทหารแห่งชาติของประเทศกัมพูชา มีองค์พระมหากษัตริย์กัมพูชา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนีทรงเป็นจอมทัพ (เทียบเท่าผู้บัญชาการทหาร) และ สมเด็ต ฮุน เซ็น เป็นจอมพล กองทัพกัมพูชาประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศและกองกำลังพิเศษ ประวัติกองทัพเขมร (2496-2513)กองทัพพระราชอาณาจักรกัมพูชาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ภายใต้สนธิสัญญาฝรั่งเศส - เขมร สนธิสัญญานี้ทำให้เกิดการสิ้นสุดของสถานะรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสและทำให้กัมพูชาได้รับสิทธิในการบริหารจัดการกิจการทหารของตนเป็นครั้งแรก ในช่วงเริ่มแรกบทบาทของกองทัพมีดังต่อไปนี้:
มีกองกำลัง 50,000 นาย กองทัพเขมร ได้จัดขึ้นที่ระดับกองพันภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพบกประมุขแห่งรัฐ ในช่วงเริ่มต้นของกองทัพนี้ไม่มีอาวุธอะไรมากกว่าปืนเล็กยาวปลอมที่ทำด้วยไม้เพื่อลวงกองทหารเวียดมิญ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กษัตริย์นโรดมสีหนุทรงจำใจลงนามในสนธิสัญญากับเวียดนามซึ่งไม่เป็นผลดีต่อกัมพูชาอย่างมาก ส่งผลให้กัมพูชาเสียดินแดนจำนวนมากให้แก่เวียดนามเหนือ โครงสร้าง
งบประมาณ
บุคลากร
กำลังพลประจำการ
กำลังพลสำรอง
เครื่องแบบ
การศึกษา
ภาคกองยุทธพลเขมรภูมินทร์แบ่งเขตทหารตามสภาพภูมิศาสตร์ออกเป็น 5 ภูมิภาคทหารและ 1 ภูมิภาคทหารพิเศษ แต่ละภูมิภาคดูแลขึ้นตรงต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามเมืองและจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้[2]:
อาวุธและยุทโธปกรณ์กองทัพบกกัมพูชากองทัพบกกัมพูชาเป็นเหล่าทัพที่สำคัญที่สุดในจำนวน 3 เหล่าทัพ อาวุธส่วนมากของกัมพูชาจะเป็นอาวุธที่ได้รับการบริจาคหรือซื้อมาจากค่ายสังคมนิยมเดิมอย่างรัสเซียและจีน กองทัพกัมพูชาประกอบด้วย กรมทหารราบ 9 กรม, กองพันยานเกราะ 3 กองพัน, กรมทหารช่าง 4 กรม, และกองพลน้อยต่อต้านการก่อการร้าย 3 กองพล มีกำลังทหาร 124,000 นาย งบประมาณกลาโหม 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีโดยประมาณ อาวุธส่วนมากเป็นอาวุธในยุคสงครามเย็น เช่น ที-54/55 ที่เคยใช้ในสงครามกลางเมือง ในปัจจุบันอาวุธหลายรายการได้รับการบริจาคจากจีน รัสเซีย และสหรัฐ สำหรับอาวุธหลักของกองทัพบกกัมพูชาประกอบไปด้วย อาวุธประจำกาย (ในหน่วยหลัก)ปืนเล็ก
อาวุธประจำหน่วยทหารราบอาวุธต่อสู้รถถัง
อาวุธประจำหน่วยทหารปืนใหญ่ปืนใหญ่
จรวด
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานปืนกลต่อสู้อากาศยาน Soviet Army ZU-23-2 (ขนาด 23 มม. 4 ลำกล้อง) อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานระดับต่ำ ประทับบ่ายิง Kolomna Strela 2 หรือ SA-7 (นำวิถีด้วยอินฟราเรด) ยานพาหนะสายสรรพาวุธรถถัง100 x รถถังหลักแบบ Morozov T-54 (ติดตั้ง ป. 100 มม. ปก. 7.62 มม. 2 กระบอก) รถสายพานสนับสนุนการรบ50 x รถรบทหารราบแบบ Kurganmashzavod BMP-3 (ติดตั้ง ป. 100 มม.) รถสายพาน70 x รถรบทหารราบแบบ Pavel Isakov BMP-1 (ติดตั้ง ปก. 7.62 มม. 3 กระบอก) รถเกราะ204 x รถเกราะลำเลียงพล Gorkovsky Avtomobilny Zavod BTR-60 อากาศยาน1 x เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ Eurocopter SA 365 Dauphin กองทัพเรือกัมพูชากองทัพเรือกัมพูชายังมีสถานการณ์เป็นกองทัพเรือใกล้ฝั่ง (Green Navy) โดยกัมพูชามีเรือตรวจการณ์ลำน้ำชั้น Kaoh จำนวน 2 ลำ และเรือเร็วโจมตี (ปืน) อีก 2 ลำ กองทัพเรือกัมพูชาไม่มีเรือฟริเกตประจำการ ในปี 2548 รัฐบาลจีนได้บริจาคเรือตรวจการณ์ขนาด 46 เมตรจำนวน 4 ลำ เรือตรวจการณ์ขนาด 20 เมตรจำนวน 3 ลำ และเรือลำเลียงสัมภาระอีก 1 ลำให้กองทัพเรือกัมพูชาเพื่อช่วยเหลือในการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายทางทะเลและลาดตระเวนปราบโจรสลัด ทั้งนี้หลังจากการค้นพบแหล่งน้ำมันของกัมพูชาในบริเวณอ่าวไทย ทำให้เชื่อได้ว่ากองทัพเรือกัมพูชาอาจจำเป็นต้องจัดหาเรือตรวจการณ์ที่มีขนาดใหญ่เพิ่มเติมเพื่อลาดตระเวนคุ้มกันแหล่งผลิตน้ำมันในอ่าวไทย กองทัพอากาศกัมพูชากองทัพอากาศกัมพูชามีฐานบินอยู่สองฐานคือ ฐานทัพอากาศพระตะบองและฐานทัพอากาศพนมเปญ แต่มีเครื่องบินประจำการที่ฐานทัพอากาศพนมเปญเพียงที่เดียว กัมพูชาเคยจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ MiG-21 จำนวน 22 ลำจากรัสเซียในปี 2529 แต่เครื่องบินถูกสั่งกราวน์ทั้งหมดในปี 2535 เนื่องจากขาดงบประมาณ ต่อมาในปี 2539 กองทัพอากาศกัมพูชาว่าจ้างบริษัท Israel Aircraft Industry ให้ทำการปรับปรุง MiG-21 จำนวน 12 ลำ และจัดหา L-39C มือสองที่ได้รับการปรับปรุงอีก 6 ลำ โดยกองทัพอากาศกัมพูชาได้รับมอบ L-39C ทั้งหมดในปี 2540 แต่จากการที่สมเด็จฮุนเซ็นขับเจ้านโรดมรณฤทธิ์ออกจากการร่วมรัฐบาล ทำให้ธนาคารโลกและสหรัฐตัดความช่วยเหลือต่อกัมพูชา ซึ่งส่งผลกระทบกับโครงการปรับปรุง MiG-21 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้อิสราเอลส่งมอบ MiG-21 คืนให้กับพูชา 2 ลำ ปัจจุบันเราไม่ทราบสถานะของเครื่องบินทั้ง 2 ลำนี้ แต่คาดว่าไม่สามารถทำการบินได้เนื่องจากขาดงบประมาณและขาดนักบินที่มีความชำนาญ กองทัพอากาศกัมพูชามีอากาศยานดังต่อไปนี้ - เครื่องบินขับไล่ MiG-21 Bis และ MiG-21UM จากรัสเซียอย่างละ 1 ลำ (ใช้งานหรือทำการบินไม่ได้) - เครื่องบินขับไล่ฝึก L-39C จากสาธารณรัฐเช็กจำนวน 6 ลำ ( - เครื่องบินลำเลียง Y-12 จากจีนจำนวน 2 ลำ - เครื่องบินลำเลียง An-24RV จากรัสเซียจำนวน 2 ลำ (รับโอนจากกัมพูชาแอร์ไลน์) - เครื่องบินลำเลียงเบา BN-2A Islander จากอังกฤษจำนวน 2 ลำ - เครื่องบินรับส่งบุคคลสำคัญ Falcon 20E จากฝรั่งเศสจำนวน 1 ลำ (ได้รับบริจาคจากฝรั่งเศส) - เฮลิคอปเตอร์ AS350 Ecureuil จำนวน 2 ลำ (ได้รับบริจาคจากฝรั่งเศส) - เฮลิคอปเตอร์ SA365 Dauphin จำนวน 1 ลำ (ได้รับบริจาคจากฝรั่งเศส) - เฮลิคอปเตอร์ Mi-8/Mi-17 จำนวน 6 ลำ - เฮลิคอปเตอร์ Mi-26 จำนวน 2 ลำ - เฮลิคอปเตอร์ Zhi-9 จากสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 20 ลำ ศาลทหาร
ความสัมพันธ์ทางทหาร
อ้างอิงวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ กองทัพกัมพูชา
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น |