กองทัพประชาชนลาว
กองทัพประชาชนลาว (ลาว: ກອງທັບປະຊາຊົນລາວ) มีสาขาประกอบด้วย กองทัพอากาศ และ กองทัพเรือ กองทัพประชาชนลาวเป็นกองทัพขนาดเล็ก ใช้อาวุธส่วนใหญ่เป็นอาวุธในช่วงสงครามเย็น ในสมัยปัจจุบันกองทัพประชาชนลาวได้รับการสนับสนุนและฝึกฝนจากรัสเซียและได้มีการซื้ออาวุธบางอย่างจากสหรัฐอเมริกามาใช้ ภารกิจหลักของกองทัพประชาชนลาวคือการป้องกันชายแดนและปราบปรามการก่อการร้ายของกลุ่มรัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นหรือลาวนอก กองทัพปะเทดลาวได้แปรสภาพเป็นกองทัพประชาชนลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ประวัติ
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นซึ่งปกครองลาวในช่วงสงครามได้ถอนทหารออกไป คณะปกครองลาวอันประกอบด้วยพระราชวงศ์ ขุนนาง และกลุ่มปัญญาชนในลาว ได้จัดตั้งรัฐบาลลาวอิสระขึ้นชั่วคราว ซึ่งเป็นการผสมทั้งฝ่ายซ้ายที่นิคมแนวคิดคอมมิวนิสต์ และฝ่ายขวาที่นิยมแนวคิดเสรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2488 โดยฝ่ายซ้ายลาวได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมรัฐบาล คือ เจ้าสุภานุวงศ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้บัญชาการกองทัพลาวอิสระ อันเป็นการถือกำเนิดกองทัพประเทศลาวครั้งแรก ภายหลังฝรั่งเศสที่กลับเข้ามาปกครองอินโดจีนอีกครั้ง รัฐบาลลาวอิสระฝ่ายขวายอมเข้ากับฝรั่งเศส และขับไล่ลาวอิสระฝ่ายซ้ายออกจากรัฐบาลผสม กองทัพลาวอิสระฝ่ายซ้ายไปตั้งอยู่ที่เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ฝ่ายฝรั่งเศสและกองทัพฝ่ายซ้ายได้สู้รบกันอย่างดุเดือนในเมืองท่าแขกเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 เจ้าสุภานุวงศ์ถูกยิงบาดเจ็บและหนีข้ามมาลี้ภัยที่จังหวัดนครพนม กองทัพลาวฝ่ายซ้ายได้แตกกระจายกันและหลบหนีไปอยู่ตามป่าเขา และทำสงครามกองโจรกับฝ่ายฝรั่งเศส โดยมีกองทัพเวียดมินห์และสหภาพโซเวียตให้การสนับสนุน โดยมีไกสอน พมวิหาน สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนเป็นผู้นำกองทัพ โดยได้สถาปนากองทัพลาวอิสระขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2502 ณ ฐานที่มั่นตาแสงลาวฮุ่ง เมืองเชียงค้อ แขวงหัวพัน ภายใต้ชื่อกองทัพว่า "กองราชวงศ์" (ກອງລາດສະວົງ) โดยมีนายไกสอน พมวิหาน เป็นผู้ประกาศจัดตั้งและดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพ จึงถืิอเอาวันที่ 20 มกราคม เป็นวันสถาปนากองทัพประชาชนลาว (ວັນສ້າງຕັ້ງກອງທັບປະຊາຊົນລາວ) จนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ได้เปลี่ยนชื่อกองทัพเป็น "กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาว" (ກອງທັບປົດປ່ອຍປະຊາຊົນລາວ) กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวทำสงครามกับกองทัพอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส จนเมื่อฝรั่งเศสถอนทัพจากอินโดจีนและแทนที่ด้วยการเข้ามาแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคอินโดจีนเพื่อหยุดยั้งการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิส์ กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวจึงต้องทำสงครามกับกองทัพสหรัฐอเมริกา แต่เนื่องจาก ข้อตกลงเจนีวา กองทัพสหรัฐอเมริกาจึงสามารถนำทหารเข้าไปปฏิบัติการในลาวได้อย่างเป็นทางการ ซีไอเอจึงจัดตั้งกองทหารรับจ้างขึ้นมาเพื่อสู้รบในลาว นอกจากนี้กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวยังต้องสู้รบกับกองทัพของรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว และกองทัพชนเผ่าม้งของนายพลวังเปา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์ สามารถเอาชนะและเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวได้สำเร็จ และสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขึ้นปกครองประเทศเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวจึงถือเป็นกองทัพอย่างเป็นทางการของรัฐตั้งแต่นั้นเป็นมา และต่อมาในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 รัฐบาลลาวได้เปลี่ยนชื่อกองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวเป็น "กองทัพประชาชนลาว" และใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน[2] กองทัพประชาชนลาว (LPAF) ให้บริการในประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีขนาดเล็ก ได้รับทุนต่ำ และไม่มีทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ภารกิจที่มุ่งเน้นคือชายแดนและความมั่นคงภายใน ส่วนใหญ่ในการปราบปรามภายในของกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยและฝ่ายค้านในลาว ซึ่งรวมถึงการปราบปรามการประท้วงประชาธิปไตยของนักศึกษาลาว พ.ศ. 2542 ในเวียงจันทน์ และในการต่อต้านกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบชาติพันธุ์ม้งและกลุ่มอื่นๆ ของชาวลาวและม้งที่ต่อต้านรัฐบาลพรรคมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ LPRP และการสนับสนุนที่ได้รับจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ร่วมกับพรรคประชาชนปฏิวัติลาวและรัฐบาล กองทัพประชาชนลาว(LPA) เป็นเสาหลักที่สามของกลไกของรัฐ และด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าจะระงับความไม่สงบทางการเมืองและทางแพ่ง และเหตุฉุกเฉินระดับชาติที่คล้ายคลึงกันที่รัฐบาลในเวียงจันทน์เผชิญหน้า รายงาน LPA ยังได้ยกระดับทักษะในการตอบสนองต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนก ปัจจุบันยังไม่มีการรับรู้ถึงภัยคุกคามภายนอกที่สำคัญต่อรัฐและ LPA ยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับกองทัพเวียดนามที่อยู่ใกล้เคียง (พ.ศ. 2551) นักข่าวองค์กรพัฒนาเอกชน(NGOs) องค์กรด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน ระบุว่า กองทัพประชาชนลาวได้ดำเนินการซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและการทุจริตในลาว LPAF และหน่วยข่าวกรองทางทหารมีบทบาทสำคัญในการจับกุม การคุมขัง และการทรมานนักโทษต่างชาติในเรือนจำโพนทองฉาวโฉ่ของเวียงจันทน์และระบบคอมมิวนิสต์ลาวกูลักซึ่งชาวออสเตรเลียเคอร์รีและเคย์เดนถูกคุมขังและที่ซึ่งสมบัด สมพอน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองอาจถูกคุมขังตามเขาในการจับกุมในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ในปี พ.ศ. 2556 กองทัพประชาชนลาวโจมตีชาวม้งรุนแรงขึ้น โดยทหารได้สังหารครูโรงเรียนม้งที่ไม่มีอาวุธ 4 คน นอกเหนือจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามรายงานของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งลาว ศูนย์วิเคราะห์นโยบายสาธารณะ และอื่นๆ รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ
เสนาธิการสูงสุดกองทัพปลดปล่อยประชาชนลาว • ไกสอน พมวิหาน 2492-2518 (ໄກສອນ ພົມວິຫານ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ • พลเอก คำไต สีพันดอน 2518-2534 (ພົອ ຄຳໄຕ ສີພັນດອນ) • พลโท จูมมาลี ไซยะสอน 2534-2544 (ພົທ ຈູມມາລີ ໄຊຍະສອນ) • พลโท ดวงใจ พิจิตร 2544-2557(ພົທ ດວງໃຈ ພິຈິດ) • พลโท แสงนวล ไซยะลาด 2557-2559(ພົທ ແສງນວນ ໄຊຍະລາດ) •พลเอก จันสะหมอน จันยาลาด 2559-ปัจจุบัน(ພົອ ຈັນສະໝອນ ຈັນຍາລາດ) โครงสร้างกองทัพประชาชนลาว อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ แบ่งการบัญชาการออก 4 กรมใหญ่ ประกอบด้วย 1. กรมใหญ่เสนาธิการกองทัพ (ກົມໃຫຍ່ເສນາທິການກອງທັບ) มีหัวหน้ากรมใหญ่เสนาธิการกองทัพ (อัตรายศ พลตรี - พลโท) เป็นผู้บัญชาการ เป็นหน่วยงานหลักของภาระกิจตามยุทธศาสตร์ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ภารกิจในการปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังของกองทัพ การเตรียมพร้อมในการสู้รบ และภารกิจด้านการช่วยเหลือประชาชน โดยหัวหน้ากรมใหญ่เสนาธิการกองทัพ มีอำนาจในการแต่งตั้งนายทหารชั้นร้อยตรี - ร้อยโท 2. กรมใหญ่การเมืองกองทัพ (ກົມໃຫຍ່ການເມືອງກອງທັບ) 3. กรมใหญ่พลาธิการกองทัพ (ກົມໃຫຍ່ພະລາທິການກອງທັບ) 4. กรมใหญ่เทคนิคกองทัพ (ກົມ ໃຫຍ່ເຕັກນິກກອງທັບ) • คณะรัฐมนตรีปัจจุบัน • พลเอก จันสะหมอน จันยาลาด (ພົອ ຈັນສະໝອນ ຈັນຍາລາດ) • พลโท ศาตราจารย์ ดร ทอง ลอย สิลิวง (ພົທ ສຈ ປອ ທອງລອນ ສິລິວົງ) • พลโท คำเลียง อุทะไกสอน (ພົທ ຄຳລຽງ ອຸທະໄກສອນ) • ทลโท ศาตราจารย์ ดร วงคำ พมมะกอน (ພົທ ສຈ ປອ ວົງຄຳ ພົມມະກອນ) • พลตรี จันทอง สอนตะอาด (ພົຕ ຈັນທອງ ສອນຕະອາດ) • พลตรี สายใจ กมมะสิด (ພົຕ ສາຍໃຈ ກົມມະສິດ) • พลตรี ปะสิด เที่ยงทำ (ພົຕ ປະສິດ ທ່ຽງທຳ)
การบังคับบัญชากองทัพประชาชนลาว แบ่งระดับการบังคับบัญชาออกเป็น 11 ชั้น ประกอบด้วย
งบประมาณ$ 14.5M
บุคลากรพล.อ. คำไต สีพันดอน อดีตเลขาธิการพรรคปฏิวัติประชาชนลาว
กำลังพลประจำการโดยประมาณ 40,000 นาย กำลังพลสำรองโดยประมาณ 180,000 นาย การศึกษาโรงเรียนนายสิบชั้นต้นประจำแขวงต่างๆ ยุทธภัณฑ์อาวุธประจำกาย
ปืนเล็กยาว
อาวุธประจำหน่วยรถถัง
ปืนใหญ่
อาวุธป้องกันภัยทางอากาศ
ปืนครก
ศาลทหาร
ความสัมพันธ์ทางทหารอืงตามตามสนธิสัญญามิตรภาพแบบพิเศษลาวเวียดนามจึงทำให้มีการส่งบุคลากรของภาครัฐทุกระดับชั้นไปเรียนในโรงเรียนสาขาต่างๆของเวียดนามในแต่ละจังหวัดของเวียดนามส่วนในปี 2016 ถึงปี 2020 ถึงจะมีส่งไปเรียนรัสเซียจีนบ้างตามลำดับประเทศพันธมิตรทางการทหาร ดูเพิ่มอ้างอิงเชิงอรรถบรรณานุกรม
หนังสืออ่านเพิ่มเติมแหล่งข้อมูลอื่น |