Share to:

 

การยึดเอ๊กจิ๋วของเล่าปี่

การยึดเอ๊กจิ๋วของเล่าปี่
ส่วนหนึ่งของ สงครามเมื่อปลายราชวงศ์ฮั่น
วันที่มกราคมหรือกุมภาพันธ์ ค.ศ. 213[1] – กรกฎาคม ค.ศ. 214[2]
สถานที่
เอ๊กจิ๋ว (ปัจจุบันคือมณฑลเสฉวนและฉงชิ่ง) ประเทศจีน
ผล เล่าปี่ชนะ
คู่สงคราม
เล่าปี่ เล่าเจี้ยง
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เล่าปี่ เล่าเจี้ยง Surrendered
กำลัง
มากกว่า 30,000 นาย[3]
ไม่ทราบจำนวนกำลังเสริมของเตียวหุย, จูล่ง และจูกัดเหลียง[4]
อย่างน้อย 30,000 นายที่ป้องกันเฉิงตู[5]
ไม่ทราบจำนวนกองทัพภายใต้การนำของขุนศึกคนอื่นในภูมิภาค
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ไม่ทราบ
การยึดเอ๊กจิ๋วของเล่าปี่
อักษรจีนตัวเต็ม劉備爭奪益州之戰
อักษรจีนตัวย่อ刘备争夺益州之战

การยึดเอ๊กจิ๋วของเล่าปี่เป็นการทัพของขุนศึกเล่าปี่เพื่อเข้ายึดครองเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมมณฑลเสฉวนและฉงชิ่งในปัจจุบัน) จากเจ้ามณฑลเล่าเจี้ยง การทัพนี้เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 211 — 214 อันตรงกับช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก แม้ว่าความขัดแย้งระหว่างเล่าปี่กับเล่าเจี้ยงเกิดขึ้นในเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ ค.ศ. 213 เมื่อฝ่ายหลังค้นพบบนสนทนาลับของเล่าปี่และภายหลังทำการประหารชีวิตเตียวสง[a] สงครามนี้สิ้นสุดลงที่เล่าปี่เป็นฝ่ายชนะและยึดครองเอ๊กจิ๋วจากเล่าเจี้ยงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 214 เอ๊กจิ๋ว (โดยเฉพาะเมืองหลวงเฉิงตูและเมืองโดยรอบ) จะเป็นรากฐานของรัฐจ๊กก๊ก (สู่ฮั่น) ระหว่างสมัยสามก๊ก

ภูมิหลัง

หลังยุทธการที่เซ็กเพ็ก ซุนกวนชวนเล่าปี่ให้เข้ายึดเอ๊กจิ๋วกับตน แต่ฝ่ายหลังโต้แย้งฝ่ายแรกอย่างแข็งกร้าวโดยกล่าวว่า: "หากเจ้าจะพิชิตดินแดนสู่ ข้าจะปล่อยผมและกลายเป็นฤๅษีในหุบเขาลึก ปฐพีใต้สวรรค์รับฟังคำสัญญาของข้า และข้าจะรักษาคำพูดของข้า!"[6] ซุนกวนเชื่อเล่าปี่จึงละทิ้งแผนนี้ แต่อันที่จริงเล่าปี่พยายามยึดเอ๊กจิ๋วด้วยตนเองและเจรจาเอาอำเภออี๋หลิงกับหนานจฺวิ้นจากซุนกวน[b] ใน ค.ศ. 211 เล่าเจี้ยง เจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว ได้ยินว่าโจโฉวางแผนโจมตีเตียวฬ่อที่เมืองฮันต๋ง เนื่องจากเมืองฮันต๋งเป็นที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์และเป็น "ประตู" สู่เอ๊กจิ๋ว เล่าเจี้ยงจึงส่งหวดเจ้งไปสร้างพันธมิตรกับเล่าปี่หลังจากเตียวสงโน้มน้าวให้เขาทำเช่นนั้น จากนั้นเล่าปี่นำคนของเขาไปยังเอ๊กจิ๋วโดยอ้างว่าจะช่วยเล่าเจี้ยงพิชิตเมืองฮันต๋ง[7]

การทัพ (211–214)

ผลที่ตามมา

หลังได้ยินว่าเล่าปี่ยึดเอ๊กจิ๋วแล้ว ซุนกวนส่งทูตไปที่เล่าปี่เพื่อขอดินแดนของตนในเกงจิ๋วคืน แต่เล่าปี่กล่าวว่า: "ข้าจะเข้าพิชิตเลียงจิ๋ว ดังนั้น ข่าจะต้องใช้เกงจิ๋วทั้งหมด" ซุนกวนโกรธมากเมื่อทูตของตนกลับมารายงานคำพูดของเล่าปี่ และเล่าปี่ส่งลิบองและเล่งทองกับนายทหารอีก 4 คนเพื่อยึดเกงจิ๋วตอนใต้คืน หลังลิบองและผู้ร่วมทัพเข้ายึด 3 จฺวิ้น เล่าปี่จึงเดินทางกลับอำเภอกงอานและเตรียมยึด 3 จฺวิ้นคืนด้วยกำลัง กระนั้นเมื่อเล่าปี่ได้ยินว่าโจโฉกำลังวางแผนที่จะโจมตีเมืองฮันต๋ง เล่าปี่จึงบรรลุสนธิสัญญาชายแดนกับซุนกวนในที่สุด[8]

หมายเหตุ

  1. ปีที่ 17 ของศักราช Jian'an สิ้นสุดในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 213 ในปฏิทินจูเลียน การประหารชีวิตเตียวสงเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สุดท้ายที่มีการบันทึกในปีนั้น ดังนั้น เตียวสงน่าจะเสียชีวิตในเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ ค.ศ. 213
  2. อี๋หลิงเป็นทางเข้าสู่เอ๊กจิ๋วจากเกงจิ๋ว (ครอบคลุมมณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานในปัจจุบัน)

อ้างอิง

  1. Sima (1084), vol. 66.
  2. Sima (1084), vol. 67.
  3. (先主並軍三萬餘人,車甲器械資貨甚盛。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
  4. (諸葛亮、張飛、趙雲等將兵溯流定白帝、江州、江陽,惟關羽留鎮荊州。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
  5. (城中尚有精兵三萬人,谷帛支一年,) สามก๊กจี่ เล่มที่ 31.
  6. ((孫權)遣孫瑜率水軍住夏口。備不聽軍過,謂瑜曰:「汝欲取蜀,吾當被發入山,不失信於天下也。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
  7. (十六年,益州牧劉璋遙聞曹公將遣鍾繇等向漢中討張魯,內懷恐懼。別駕從事蜀郡張松說璋曰:「曹公兵強無敵於天下,若因張魯之資以取蜀土,誰能御之者乎?」璋曰:「吾固憂之而未有計。」松曰:「劉豫州,使君之宗室而曹公之深讎也,善用兵,若使之討魯,魯必破。魯破,則益州強,曹公雖來,無能為也。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
  8. (二十年,孫權以先主已得益州,使使報欲得荊州。先主言:「須得涼州,當以荊州相與。」權忿之,乃遣呂蒙襲奪長沙、零陵、桂陽三郡。先主引兵五萬下公安,令關羽入益陽。是歲,曹公定漢中,張魯遁走巴西。先主聞之,與權連和,分荊州、江夏、長沙、桂陽東屬,南郡、零陵、武陵西屬,引軍還江州。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
  • ตันซิ่ว. สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
  • ฉาง ฉฺวี (คริสต์ศตวรรษที่ 4). หฺวาหยางกั๋วจื้อ.
  • เผย์ ซงจือ. อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
  • Sima, Guang (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
Kembali kehalaman sebelumnya