การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียง
การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียง (อังกฤษ: limited voting, ย่อ LV) หรือ คะแนนเสียงจำกัด (อังกฤษ: limited vote) เป็นระบบการลงคะแนนที่ผู้ลงคะแนนมีจำนวนคะแนนเสียงน้อยกว่าจำนวนที่นั่งทั้งหมด โดยผู้สมัครหลายคนที่ได้คะแนนในกลุ่มที่สูงสุดจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ในกรณีพิเศษซึ่งผู้ลงคะแนนอาจลงคะแนนให้เพียงผู้สมัครคนเดียวในเขตที่มีหลายที่นั่ง จะเรียกว่า แบบเสียงเดียวโอนไม่ได้ (อังกฤษ: single non-transferable vote) หรือเรียกว่า คะแนนเสียงจำกัดอย่างเคร่งครัด (อังกฤษ: strictly limited vote)[1] ตัวอย่างในการเลือกตั้งผู้แทนจำนวนสามคน บัตรเลือกตั้งเป็นดังตัวอย่างนี้
ผู้ลงคะแนนมีสิทธิเพียงแค่คนละสองคะแนน โดยในกรณีนี้ได้เลือก Brian และ Beryl โดยไม่สามารถออกเสียงเลือกคนที่สามตามจำนวนที่นั่งที่มีในเขตได้ โดยแต่ละคะแนนเสียงที่กาให้ผู้สมัครนั้นจะถูกนับมารวมกันแยกเป็นรายผู้สมัคร ทางปฏิบัติและประเด็นถึงแม้ว่าวิธีนี้บ่อยครั้งจะช่วยให้กลุ่มเสียงข้างน้อยได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งไม่เหมือนกับแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) หรือแบบแบ่งเขตหลายเบอร์ (ยกชุด) หรือ Bloc voting แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนี้เสมอไปเนื่องจากประสิทธิภาพของคะแนนเสียงส่วนนั้นอาจจะถูกปรับขึ้นตามจำนวนผู้สมัคร จากตัวอย่างที่ผ่านมา ผู้ลงคะแนนร้อยละ 54 สนับสนุนพรรคน้ำเงิน และอีกร้อยละ 46 สนับสนุนพรรคแดง ให้สมมติว่าหากแบ่งการสนับสนุนทั่วทั้งเขตแล้ว พรรคน้ำเงินจะชนะทั้งสามที่นั่งทั้งในแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด และแบบแบ่งเขตหลายเบอร์ ในขณะที่แบบเสียงจำกัดนั้นพรรคแดงจะชนะได้ 1 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่พรรคน้ำเงินจะพยายามมากเกินไปจนทำให้ชนะเพียงแค่ที่นั่งเดียวจากทั้งหมดได้ เพราะพรรคน้ำเงินได้คะแนนเสียงเกือบร้อยละ 60 ของทั้งหมด โดยอาจมีความพยายามจะเอาชนะทั้งสามที่นั่ง โดยจะใช้วิธีส่งผู้สมัครให้ครบสามคน ในขณะที่พรรคแดงซึ่งรู้จุดอ่อนของตนจึงเลือกที่จะส่งผู้สมัครเพียงสองรายเพื่อพยายามรวบรวมเสียงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด สมมติว่าผู้ลงคะแนนจำนวน 100,000 คนสามารถออกเสียงได้คนละสองเสียง ผลการเลือกตั้งอาจจะได้เป็นดังนี้
โดยการส่งผู้สมัครเข้าชิงที่นั่งจำนวนเต็มสามคนนั้นพรรคนำ้เงินทำให้เกิดปรากฏการณ์เสียงแตกถึงแม้ว่าจะได้เสียงส่วนใหญ่ในเมืองก็ตาม จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียงนี้ไม่ใช่ระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วน อีกหนึ่งวิธีที่ระบบนี้อาจทำให้ความพยายามให้เป็นสัดส่วนอย่างเป็นธรรมนั้นล้มเหลวหากในกรณีที่พรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่มากนั้นมีการจัดการที่ดี และสามารถจัดการแบ่งสรรคะแนนเสียงต่อผู้สมัครได้โดยเกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ของการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1880 สำหรับเขตเลือกตั้งในเบอร์มิงแฮมที่มีผู้แทนจำนวนสามคน โดยผู้ลงคะแนนสามารถออกเสียงได้คนละไม่เกินสองเสียง
ชาลส์ ซีมัวร์ใน บทความเรื่อง การปฏิรูประบบการลงคะแนนในอังกฤษและเวลส์ อธิบายถึงปฏิกิริยาของเหล่าผู้สนับสนุนพรรคเสรีนิยมในเบอร์มิงแฮมภายหลังจากการเริ่มประกาศใช้ระบบจำกัดคะแนนเสียง
การใช้งานอดีตปัจจุบันอ้างอิง
Information related to การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียง |