ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนสมาชิกคู่
ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนสมาชิกคู่ (อังกฤษ: Dual-member proportional representation, ย่อ: DMP) หรือ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่มีสมาชิกผสมคู่ (อังกฤษ: Dual-member mixed proportional) เป็นระบบการลงคะแนนที่ออกแบบให้ผลการเลือกตั้งมีความเป็นสัดส่วนโดยการเลือกผู้แทนสองคนพร้อมกันในแต่ละเขตเลือกตั้ง[1][2] โดยที่นั่งแรกนั้นจะตกเป็นของผู้สมัครรายที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ซึ่งคล้ายกับระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) ที่นั่งที่สองนั้นจะให้แก่หนึ่งในผู้สมัครรายที่เหลืออยู่โดยคำนึงถึงความเป็นสัดส่วนของทั้งเขตเลือกตั้งเป็นหลักโดยใช้การคำนวนเพื่อมุ่งเน้นให้ที่นั่งแก่พรรคการเมืองในเขตที่ได้รับคะแนนสูงสุด ระบบสัดส่วนสมาชิกคู่ (DMP) นั้นถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 2013 โดยนักศึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแอลเบอร์ตา ฌอน เกรแฮม[3] โดยระบบนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเสนอระบบเพื่อใช้แทนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในแคนาดา ในขณะที่การรณรงค์เพื่อสนับสนุนแบบสัดส่วนผสม (MMP) และแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ไม่ผ่านการรับรองในการลงประชามติในหลายรัฐในแคนาดา (อาทิเช่น ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ค.ศ. 2005 รัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ ค.ศ. 2005 รัฐออนแทรีโอ ค.ศ. 2007 และรัฐบริติชโคลัมเบีย ค.ศ. 2009) โดยเบื้องหลังการคิดค้นระบบ DMP คือเพื่อได้รับการยอมรับโดยประชาชนเพิ่มขึ้นเนื่องจากระบบนี้ยังคงไว้ซึ่งคุณสมบัติของระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) เช่น การใช้บัตรลงคะแนนที่มีเสียงเดียว ขนาดของเขตเลือกตั้งที่ค่อนข้างเล็ก (เมื่อเทียบกับระบบ STV) และมีผู้แทนราษฎรเพียงแบบเดียวคือแบบแบ่งเขต (โดยเปรียบเทียบกับ MMP)[4] ข้อเสนอการรับระบบ DMP ได้ถูกยื่นพิจารณาให้รัฐบาลแคนาดา[5][6] รัฐแอลเบอร์ตา[7] รัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ (PEI)[8] และรัฐบริติชโคลัมเบีย (BC)[9] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2016 คณะกรรมาธิการพิเศษของรัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าระบบ DMP เป็นหนึ่งในห้าตัวเลือกสำหรับใช้ในการลงประชามติในปีค.ศ. 2016 โดยต่อมาระบบที่ผ่านการลงประชามติคือ การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที (Instant-runoff)[10][11][12][13] โดยการลงประชามติมีขึ้นระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม ถึง 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016[14][15][16] ซึ่งระบบ DMP ตกรอบในรอบที่สามและคะแนนเสียงในภายหลังถูกเทไปให้ระบบ MMP ซึ่งเป็นผู้ชนะการลงประชามติโดยเอาชนะระบบ FTPT เดิมไป[17][18] (แต่อย่างไรก็ตามการลงประชามติครั้งนั้นไม่ได้มีผลผูกพันธ์และรัฐบาลในขณะนั้นเพิกเฉยต่อผลการลงประชามติ) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 DMP เป็นหนึ่งในสามระบบสัดส่วนที่ได้ถูกคัดเลือกเพี่อผ่านการลงประชามติในรัฐบริติชโคลัมเบีย[19][20][21] ซึ่งประกอบด้วคำถามสองข้อซึ่งจะต้องส่งคืนผลทางไปรษณีย์ภายในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2018[22] โดยในคำถามแรก ผู้ลงคะแนนจำนวนร้อยละ 61 เลือกที่จะคงไว้ซึ่งระบบการลงคะแนนเดิม คือ FTPT ส่วนคำถามที่สองจะเป็นคำถามเพื่อเลือกระบบที่เหมาะสมมาแทนที่ โดย MMP ได้คะแนนนำ ตามด้วย DMP และรั้งท้ายคือระบบสัดส่วนเขตกันดาร-เขตเมือง[23] การลงคะแนนในระบบ DMP ผู้ลงคะแนนจะได้รับบัตรลงคะแนนที่แตกต่างกันไปในแต่ละเขต โดยให้ผู้ลงคะแนนเลือกตัวเลือกต่างๆ ที่ระบุไว้ โดยแต่ละตัวเลือกนั้นจะต้องอยู่ในสามขอบเขตดังนี้
คล้ายคลึงกับกรณีของระบบ FPTP ผู้ลงคะแนนจะต้องเลือกกาเพียงหนึ่งแบบเท่านั้น โดยลักษณะเฉพาะของบัตรลงคะแนนของ DMP นี้คือพรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครเป็นคู่ได้ หากพรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครเป็นคู่ คะแนนเสียงที่ออกโดยผู้ลงคะแนนนั้นจะถือว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครหลักก่อน โดยผู้สมัครรอง (ลำดับที่สอง) จะได้รับพิจารณาก็ต่อเมื่อผู้สมัครหลักสามารถชนะที่นั่งแรกในเขตนั้นได้ ในกรณีนี้ คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองนี้ได้รับในเขตนั้นจะโอนให้แก่ผู้สมัครรองเป็นมูลค่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้สมัครรองได้รับเลือกเช่นกัน แต่น้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงพรรคที่โอนมานั้นทำให้ยากที่พรรคการเมืองเดียวจะเอาชนะได้ทั้งสองที่นั่งพร้อมๆ กัน ในกรณีทั่วไปผู้สมัครหลักของสองพรรคการเมืองจะได้รับเลือกตั้งไป คะแนนเสียงหนึ่งที่ลงให้กับผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองรายใดรายหนึ่ง (หรือทั้งคู่นั้น) สามารถส่งผลต่อการเลือกตั้งได้ในหลายมิติ ได้แก่:
คะแนนเสียงหนึ่งที่ลงให้แก่ผู้สมัครอิสระจะช่วยให้ผู้สมัครรายนี้ได้ที่นั่งในเขตนั้นๆ โดยผู้สมัครอิสระรายใดที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในเขตนั้น (คะแนนนำ) จะได้รับที่นั่งแรกไปซึ่งเหมือนกันกับกรณีผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง แต่แตกต่างกันตรงที่นั่งที่สองซึ่งผู้สมัครอิสระจะสามารถชนะที่นั่งที่สองได้หากผู้สมัครรายนั้นได้คะแนนนำเป็นลำดับที่สองในเขตเลือกตั้ง[1]: 32 ในทางตรงกันข้าม ผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองที่ได้คะแนนในเขตเป็นอันดับสอง สาม สี่ หรือห้า อาจชนะหรืออาจไม่ชนะที่นั่งสองก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับคะแนนเสียงส่วนของผู้สมัครรายนั้น และคะแนนเสียงของพรรคจากคะแนนนิยมจากทั้งภูมิภาค การคำนวนขั้นตอนที่ 1: การจัดสรรที่นั่งแก่พรรคการเมืองขั้นตอนที่ 2: การหาผู้ชนะตามเกณฑ์คะแนนนำและถ่ายโอนคะแนนขั้นตอนที่ 3: การหาผู้ชนะรายที่เหลือตัวแปรเปรียบเทียบกับระบบ MMPข้อได้เปรียบต่อ MMPข้อเสียเปรียบต่อ MMPดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |