Share to:

 

โควตาแฮร์

โควตาแฮร์ (Hare quota) หรือเรียกว่า โควตาอย่างง่าย (simple quota) เป็นสูตรคำนวนที่ใช้สำหรับการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (single transferable vote) และใช้ในการคำนวนวิธีเหลือเศษสูงสุดสำหรับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ในระบบการลงคะแนนเหล่านี้จะมีโควตาซึ่งเป็นจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำสำหรับพรรคการเมืองหรือผู้สมัครต่อหนึ่งที่นั่ง และโควตาแฮร์เป็นจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดหารด้วยจำนวนที่นั่งที่มี

โควตาแฮร์เป็นโควตาแบบที่ง่ายที่สุดที่สามารถใช้คำนวนในระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ซึ่งในระบบนี้ ผู้สมัครรายที่ได้คะแนนถึงโควตาจะได้รับเลือกในขณะที่คะแนนเสียงส่วนเกินจากโควตานั้นจะถูกโอนไปให้ผู้สมัครรายอื่น

โควตาแฮร์เริ่มใช้โดยทอมัส แฮร์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการลงคะแนนในระบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ในระยะแรก ในค.ศ. 1868 เฮนรี ริชมอนด์ ดรูป (ค.ศ. 1831-1884) ผู้คิดค้นโควตาดรูป เพื่อเป็นอีกตัวเลือกแทนโควตาแฮร์ และโควตาดรูปนั้นใช้งานกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ส่วนโควตาแฮร์นั้นไม่ค่อยได้ใช้กันกับระบบถ่ายโอนคะแนนเสียง

ในบราซิลซึ่งใช้วิธีเหลือเศษสูงสุดนั้นใช้โควตาแฮร์ในการคำนวนหาจำนวนที่นั่งขั้นต่ำที่จัดสรรให้แต่ละพรรคการเมือง (หรือพันธมิตร) ที่นั่งส่วนที่เหลือนั้นจะจัดสรรในวิธีโดนต์[1] โดยขั้นตอนนี้ใช้ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติของรัฐ สภาเทศบาล และสภาเขต

เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีที่คล้ายกัน การใช้โควตาแฮร์กับวิธีเหลือเศษสูงสุดมักจะให้ผลลัพธ์แบบที่พรรคเล็กได้เปรียบในขณะที่พรรคใหญ่เสียประโยชน์ ดังนั้นในฮ่องกง การใช้โควตาแฮร์ทำให้แต่ละพรรคการเมืองนั้นใส่ชื่อผู้สมัครลงในรายชื่อที่แยกออกจากกัน ซึ่งในระบบนี้อาจจะได้ที่นั่งเพิ่มได้[2]

สูตรคำนวน

  • Total votes = จำนวนคะแนนเสียงทั้งหมด (บัตรดี) ที่ได้ในการเลือกตั้ง
  • Total seats = จำนวนที่นั่งทั้งหมดในการเลือกตั้ง

ตัวอย่างในระบบถ่ายโอนคะแนนเสียง

สมมติว่าในการเลือกตั้งซึ่งมี 2 ที่นั่ง และผู้สมัคร 3 คน ได้แก่ แอนเดรีย คาร์เตอร์ และแบรด โดยมีคะแนนเสียงทั้งหมด 100 คะแนนจากผู้ลงคะแนนทั้งหมด 100 คน คนละหนึ่งเสียงแต่สามารถให้ตัวสำรองได้ (ลำดับสอง) ในการบัตรลงคะแนนได้ผลลัพธ์ดังนี้

ผู้ลงคะแนน 60 คน

  1. แอนเดรีย
  2. คาร์เตอร์

ผู้ลงคะแนน 14 คน

  1. คาร์เตอร์

ผู้ลงคะแนน 26 คน

  1. แบรด
  2. แอนเดีย

เนื่องจากมีผู้ลงคะแนน 100 คน และ 2 ที่นั่ง จึงได้โควตาแฮร์ที่

โดยเริ่มทำการนับคะแนนเสียงจากเฉพาะลำดับแรกก่อนทั้งหมด โดยได้ผลคะแนนดังนี้

  • แอนเดรีย 60 คะแนน
  • คาร์เตอร์ 14 คะแนน
  • แบรด 26 คะแนน

แอนเดรียซึ่งได้เกินกว่า 50 คะแนน ดังนั้นถือว่าได้ตามโควตาและได้รับเลือกไปในที่สุด โดยยังเหลือคะแนนส่วนเกินจากโควตาจำนวน 10 คะแนน ดังนั้นคะแนนส่วนเกินจะถ่ายโอนให้กับคาร์เตอร์ตามที่ระบุไว้ในบัตรลงคะแนน โดยในรอบที่สองนี้สามารถรวมคะแนนได้ดังนี้

  • คาร์เตอร์ 24 คะแนน
  • แบรด 26 คะแนน

ในขั้นตอนต่อไปนั้นคือการกำจัดผู้สมัครที่มีคะแนนน้อยสุดให้ตกรอบ ในกรณีนี้คือ คาร์เตอร์ ถึงแม้แบรดจะไม่ได้รับคะแนนถึงโควตาแต่ได้รับเลือกตั้งไปเนื่องจากเหลือผู้สมัครแค่เพียง 2 คน และยังได้คะแนนมากกว่าคาร์เตอร์ (เกณฑ์คะแนนนำ)

ผู้ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้คือ แอนเดรีย และแบรด

เปรียบเทียบกับโควตาดรูป

อ้างอิง

  1. (ในภาษาโปรตุเกส) Brazilian Electoral Code, (Law 4737/1965), Articles 106 to 109.
  2. Tsang, Jasper Yok Sing (11 March 2008). "Divide then conquer". South China Morning Post. Hong Kong. p. A17.
Kembali kehalaman sebelumnya