Share to:

 

ฐานบินนครพนม

ฐานบินนครพนม
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
นครพนม
ฐานบินนครพนม ราวทศวรรษ พ.ศ. 2500 มองจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
แผนที่
พิกัด17°23′02″N 104°38′35″E / 17.38389°N 104.64306°E / 17.38389; 104.64306 (ฐานบินนครพนม)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยสงครามกลางเมืองลาว
Flag of the กองทัพอากาศสหรัฐ กองทัพอากาศสหรัฐ (พ.ศ. 2504–2518)
กองทัพอากาศไทย
ฝูงบิน 238 กองบิน 23 (พ.ศ. 2518–ปัจจุบัน)
สภาพฐานทัพอากาศและท่าอากาศยานพลเรือน
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2506
สร้างโดยกองพันก่อสร้างเคลื่อนที่ที่ 3
การใช้งานพ.ศ. 2506–ปัจจุบัน
การต่อสู้/สงคราม
สงครามเวียดนาม
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์ฝูงบิน 238 กองบิน 23
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุIATA: KOP, ICAO: VTUW
ความสูง587 ฟุต (179 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
15/33 2,500 เมตร (8,202 ฟุต) คอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต
การแสดงคริสต์มาสของบ๊อบ โฮป ปี พ.ศ. 2509 ที่ฐานบินนครพนม

ฐานบินนครพนม[1] (อังกฤษ: Nakhon Phanom Air Force Base) เป็นฐานบินและที่ตั้งทางทหารของฝูงบิน 238 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 587 กิโลเมตร (365 ไมล์) และห่างจากเมืองฮานอย ประเทศเวียดนามประมาณ 411 กิโลเมตร (255 ไมล์) และอยู่ติดกับประเทศลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ ปัจจุบันบางส่วนถูกใช้งานเป็นพื้นที่สนามบินพลเรือน

ประวัติ

ฐานบินนครพนมก่อตั้งขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1950 เพื่อเป็นฐานทัพอากาศไทย

สงครามกลางเมืองในลาวและความกลัวว่าสงครามจะลุกลามเข้ามาสู่ไทย ทำให้รัฐบาลไทยยอมให้สหรัฐ ใช้ฐานบินของไทย 5 แห่งอย่างลับ ๆ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เพื่อป้องกันภัยทางอากาศของไทยและทำการบินลาดตระเวนทั่วประเทศลาว โดยฐานบินนครพนมเป็นหนึ่งในฐานเหล่านั้น

ภายใต้ "ข้อตกลงสุภาพบุรุษ" ของไทยกับสหรัฐ ฐานทัพอากาศไทยที่กองทัพอากาศสหรัฐใช้งานจะได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ไทย ตำรวจอากาศของไทยจะคอยควบคุมการเข้าถึงฐานต่าง ๆ พร้อมด้วยตำรวจรักษาความปลอดภัยของกองทัพสหรัฐ ซึ่งช่วยเหลือพวกเขาในการป้องกันฐานโดยใช้สุนัขเฝ้ายาม หอสังเกตการณ์ และบังเกอร์ปืนกล เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐทุกคนไม่ได้ติดอาวุธ เนื่องจากอาวุธมีไม่เพียงพอ และลักษณะภารกิจที่ฐานบินนครพนม บ่อยครั้งมีการให้คำแนะนำก่อนเจ้าหน้าที่จะออกไปนอกฐานเพื่อหลีกเลี่ยงการตอบคำถามต่าง ๆ ที่สื่อมวลชนได้ตั้งคำถาม

กองกำลังทหารอากาศสหรัฐที่นครพนมอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของทัพอากาศแปซิฟิก (PACAF)

รหัสที่ทำการไปรษณีย์กองทัพบกสหรัฐ (Army Post Office: APO) สำหรับฐานบินนครพนม คือ "APO San Francisco, 96310"

กองทัพอากาศสหรัฐที่นครพนม

ในช่วงสงครามเวียดนามฐานบินนครพนมเป็นฐานบินแนวหน้าของกองทัพอากาศไทย ถูกใช้งานโดยสหรัฐในความพยายามที่จะปกป้องเวียดนามใต้จากการก่อความไม่สงบโดยเวียดนามเหนือและกองโจรปะเทดลาวในลาวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2518

ตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 เวียดนามเหนือเริ่มเคลื่อนทัพไปยังพื้นที่ทางตะวันออกของลาวเพื่อสนับสนุนปะเทดลาว และยังเป็นมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงการก่อความไม่สงบในเวียดนามใต้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 เวียดนามเหนือได้จัดตั้งกลุ่ม 959 ในลาว โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างปะเทดลาวให้มีกำลังที่แข็งแกร่งขึ้นในสงครามกองโจรซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลลาว กลุ่ม 959 จัดหาการฝึกอบรม และสนับสนุนทางการทหารปะเทดลาวอย่างเปิดเผย

เนื่องจากประเทศไทยมีพรมแดนร่วมกันอันยาวนานกับลาวตามแม่น้ำโขง รัฐบาลไทยจึงมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการแพร่กระจายของการก่อความไม่สงบของพรรคคอมมิวนิสต์เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งกำลังเผชิญกับการก่อความไม่สงบที่เพิ่มมากขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอยู่แล้ว รัฐบาลไทยมีความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงเปิดกว้างต่อแนวคิดที่จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐใช้อาณาเขตของไทยเพื่อปฏิบัติการสนับสนุนรัฐบาลลาว และสนับสนุนเวียดนามใต้

เจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันกลุ่มแรกที่มาถึงฐานบินนครพนมในปี พ.ศ. 2505 คือกองพันก่อสร้างเคลื่อนที่ที่ 3 ของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งรับหน้าที่สร้างทางวิ่งและก่อสร้างอาคารชุดแรกที่ฐานทัพใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันของสหรัฐอเมริกาภายใต้องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต) ด้วยการก่อสร้างทางวิ่งความยาว 6,000 ฟุต (1,800 เมตร) ด้วยวัสดุมาร์สตัน แมท เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2506[2][3]

ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เครื่องบิน HH-43B 2 ลำของฝูงบินกู้ภัยทางอากาศที่ 33 และทีมงานถูกส่งไปยังฐานบินนครพนมเพื่อทำการค้นหาและช่วยเหลือทางตะวันตกของลาวสำหรับเครื่องบินของสหรัฐที่เข้าร่วมในภารกิจของทีมแยงกี อย่างไรก็ตาม ระยะพิสัยใกล้การปฏิบัติการของพวกเขาทำได้เพียงใกล้ ๆ เท่านั้น[3]: 50–1  เงื่อนไขการใช้งานที่ฐานบินนครพนมในช่วงแรกเป็นแบบเรียบง่ายโดยไม่มีการก่อสร้างห้องน้ำหรือระบบไฟฟ้า กระทั่งปลายเดือนมิถุนายน ได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเริ่มสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย[3]: 51 

ฝูงบินควบคุมทางยุทธวิธีที่ 507 เดินทางมาถึงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507 โดยมีบุคลากรจำนวนมากติดตามมาถึงในปี พ.ศ. 2507

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2507 หน่วยแยกที่ 1 (ชั่วคราว) ประจำการ HH-43F ที่ปรับปรุงแล้ว และนำเข้ามาแทนที่ HH-43B จำนวน 2 ลำที่ฐานบินนครพนม[3]: 60 

กลุ่มควบคุมทางยุทธวิธีที่ 5 ใช้อำนาจสั่งการเหนือฝูงบินควบคุมทางยุทธวิธีที่ 507 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2508 เมื่อมีการจัดตั้งฝูงบินฐานทัพอากาศที่ 6235 จากนั้นจึงส่งมอบการควบคุมโดยรวมของกองทัพอากาศสหรัฐให้กับกลุ่มยุทธวิธีที่ 35 ที่ฐานทัพอากาศดอนเมือง ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2509 ฝูงบินฐานทัพอากาศที่ 6235 ถูกยกเลิก และกลุ่มสนับสนุนการต่อสู้ที่ 634 พร้อมด้วยฝูงบินรองก็ได้เริ่มปฏิบัติการ[4]

วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 เครื่องบิน CH-3C จำนวน 2 ลำที่ได้รับมอบหมายให้ประจำที่หน่วยแยกที่ 1 ของฝูงบินกู้ภัยทางอากาศที่ 38 เดินทางมาถึงฐานบินนครพนมเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถในการช่วยเหลือที่นั่น[3]: 69 

เนื่องจากสหรัฐได้เริ่มการปฏิบัติการสงครามนอกแบบจากฐานบิน ทำให้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 รัฐบาลไทยจึงอนุมัติการจัดตั้งหน่วยคอมมานโดทางอากาศของกองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย โดยใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของกองทัพอากาศสหรัฐที่มีอยู่ที่ในฐานบินนครพนม เพื่อให้ดูเหมือนว่าสหรัฐไม่ได้นำอีกหน่วยเข้ามาเสริมกำลังในประเทศไทย กองกำลังทหารอากาศที่ฐานบินนครพนมอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของทัพอากาศแปซิฟิก (PACAF)

ฐานบินนครพนมเดิมเป็นที่ตั้งกองกำลังค้นหาและช่วยเหลือของกองทัพอากาศสหรัฐ และคอยรักษาขีดความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อสนับสนุนภารกิจของกองทัพอากาศสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฐานบินนครพนมเป็นที่ตั้งของสถานี TACAN "ช่อง 89" และอ้างอิงโดยตัวระบุในการสื่อสารด้วยเสียงระหว่างปฏิบัติภารกิจทางอากาศ ต่อมากลุ่มสนับสนุนการรบที่ 634 ยุติการปฏิบัติงาน และกองบินคอมมานโดอากาศที่ 56 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2510[5] ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 606 โดยมีระบบงานในการปฏิบัติงานของกองบินใหม่ และกลุ่มสนับสนุนการรบที่ 56 เข้ามารับหน้าที่สนับสนุนหลัก กองบินคอมมานโดที่ 56 เปลี่ยนชื่อเป็นกองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511[5]: 90 

พร้อมด้วยหน่วยคอมมานโดอากาศของกองทัพอากาศสหรัฐ และกองกำลังปฏิบัติการพิเศษ หน่วย MACV-SOG ปฏิบัติการโดยใช้ฐานบินนครพนม พร้อมด้วยแอร์อเมริกา, เอคโค 31 และองค์กรลับอื่นๆ ที่ใช้ฐานบินนครพนมเป็นฐานปฏิบัติการสำหรับกิจกรรมของพวกเขาในลาว, กัมพูชา และเวียดนามเหนือ

มีเพียงเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยใบพัดรุ่นเก่าและเครื่องบินเฉพาะทางเท่านั้นที่ปฏิบัติการจากที่ตั้งทางทหารแห่งนี้ เครื่องบินบางลำที่ปฏิบัติการจากฐานบินนครพนมติดเครื่องหมายพลเรือนหรือไม่มีการทำเครื่องหมาย นอกจากนี้ กองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 56 เอช ยังปฏิบัติงานใกล้ชิดกับสถานทูตสหรัฐในลาวและไทยเพื่อจัดการฝึกสำหรับหน่วยสงครามพิเศษทางอากาศ

ฝูงบินของกองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56

เครื่องบิน B-26K/A-26A ของฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 609 กำลังสตาร์ทเครื่องยนต์ในปี พ.ศ. 2512

ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษ

ทีมช่วยเหลือทางอากาศของกองทัพอากาศสหรัฐฯ: เครื่องบิน A-1 Skyraiders จากฐานบินนครพนมจำนวน 4 ลำ และเครื่องบินกู้ชีพ Lockheed HC-130P Hercules จำนวน 1 ลำ กำลังเติมเชื้อเพลิงให้กับเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky HH-3E Jolly Green Giant
  • ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 1 (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 1 เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 สัญญาณเรียกขาน โฮโบ Hobo (เอ-1อี/จี/เอช/เจ, รหัสแพนหาง: TC)[5]: 90 
  • ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 18: ประจำการ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2514 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2515 สัญญาณเรียกขาน สตริงเจอร์ Stinger (เอซี-119, รหัสแพนทาง: EH)[5]: 90 
  • ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ที่ 21 (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 21 เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 27 พฤศจิกายน 2510 - 30 มิถุนายน 2518 สัญญาณเรียกขาน ดัสตี้ แอนด์ ไนท์ Dusty & Knife (ซีเอช-3ซี/อี, ซีเอช-53อี)[5]: 90 
  • ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 22 ดี: ประจำการ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2511 - 30 กันยายน พ.ศ. 2513 สัญญาณเรียกขาน โซโร Zorro (เอ-1อี/จี/เอช/เจ, รหัสแพนหาง TS)[5]: 90 
  • ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 602 ดี (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 602 ดี เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 8 เมษายน พ.ศ. 2510 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2513 สัญญาณเรียกขาน แซนดี้/ไฟร์ฟลาย Sandy/Firefly (เอ-1อี/เอช/เจ, รหัสแพนหาง: TT)[5]: 90 
  • ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 606 (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 606 เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 8 เมษายน พ.ศ. 2510 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2514 สัญญาณเรียกขาน แคนเดิลสติ๊ก Candlesticks (ซี-123) และ ลาวด์เมาท์/ลิตเตอบัค Loudmouth/Litterbugs (ยู-10ดี, ซี-123, ที-28ดี, รหัสแพนหาง TO)[5]: 90 
  • ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 609 (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 609 เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 15 กันยายน พ.ศ. 2510 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2512 สัญญาณเรียกขาน นิมโรด Nimrod (เอ-26เอ/เค, ที-28ดี, ยูซี/ซี-123, รหัสแพนหาง: TA)[5]: 90 

ฝูงบินควบคุมอากาศยานหน้า

  • ฝูงบินสนับสนุนยุทธวิธีทางอากาศที่ 23 ดี: ประจำการ 15 เมษายน พ.ศ. 2509 - 22 กันยายน พ.ศ. 2518 สัญญาณเรียกขาน เนล Nail (โอ-1, โอ-2, โอวี-10)[5]: 90 

ฝูงบินอื่น ๆ ของกองทัพอากาศสหรัฐ

  • ฝูงบินลาดตระเวนที่ 460: ประจำการ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2513 - 30 กันยายน พ.ศ. 2515 (อีซี-47เอ็น/พี)
  • ฝูงบินลาดตระเวนที่ 554: ประจำการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 - 30 กันยายน พ.ศ. 2515 สัญญาณเรียกขาน แวมไพร์ (คิวยู-22บี)[5]: 90 
  • ฝูงบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ทางยุทธวิธีที่ 361: ประจำการ 1 กันยายน พ.ศ. 2515 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2517 (อีซี-47)[5]: 90 

กองทัพเรือสหรัฐ

Lockheed OP-2E Neptune ของฝูงบินสังเกตการณ์ VO-67 ในภารกิจเหนือประเทศลาวในปี พ.ศ. 2510-2511
  • ฝูงบินสังเกตการณ์ 67: ประจำการ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 - กรกฎาคม พ.ศ. 2511 ใช้งานเครื่องบิน โอพี-2อี โดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการฝังเซ็นเซอร์ระดับต่ำในปฏิบัติการอิกลูไวท์รหัสแพนหาง MR (Mud River แม่น้ำโคลน)[6]

หน่วยอื่น ๆ ที่ใช้ฐานบิน

  • ฝูงบินกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 38 (ฝูงบินกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 38 ได้รับการจัดหน่วยใหม่เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2509): 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 สัญญาณเรียกขาน จอลลี่ กรีน Jolly Green ปฏิบัติการด้วยเฮลิคอปเตอร์ CH-3C/E, HH-3E และ HH-53E[3]: 69 
  • ฝูงบินกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 40: ประจำการ 18 มีนาคม พ.ศ. 2511 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ปฏิบัติการด้วย HH-3s, HH-43s, HH-53B/C และ HC-130Ps[3]: 114 
  • ฝูงบินสื่อสารที่ 1987, กลุ่มสื่อสารที่ 1974, บริการสื่อสารกองทัพอากาศ ประจำการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2509
  • ฝูงบินควบคุมทางยุทธวิธีที่ 621 หน่วยแยกที่ 5 ผกผัน
  • กองกำลังเฉพาะกิจอัลฟ่า (ศูนย์ประมวลผลสัญญาณปฏิบัติการอิกลูไวท์)[7]
  • ฝูงบินสภาพอากาศที่ 10 กองบัญชาการขนส่งทหารทางอากาศ (MAC)
  • กลุ่มสนับสนุนการรบที่ 56
  • ฝูงบินซ่อมบำรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ 456
  • ฝูงบินรักษาความปลอดภัยที่ 6994
  • ฝูงบินรักษาความปลอดภัยที่ 6908
  • ฝูงบินท่าเรือทางอากาศที่ 6 (MAC) หน่วยแยกที่ 4
  • ฝูงบินควบคุมทางยุทธวิธีที่ 621 (หน่วยแยก)
  • ฝูงบินเรดฮอร์ส

เครื่องอิสริยาภรณ์กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56

กลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7

ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาสันติภาพปารีส กองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) และกองกำลังอเมริกันและประเทศที่สามทั้งหมดจะต้องถูกถอนออกจากเวียดนามใต้ภายใน 60 วันหลังจากการหยุดยิง องค์กรที่ให้บริการหลากหลายจำเป็นต้องวางแผนสำหรับการใช้กำลังทางอากาศและทางเรือของสหรัฐในเวียดนามเหนือหรือใต้ กัมพูชา หรือลาว หากจำเป็นและสั่งการ เรียกว่ากลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7th AF) โดยจะตั้งอยู่ที่ฐานบินนครพนม[8]: 18  นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีกองบัญชาการทหารขนาดเล็กของสหรัฐเพื่อดำเนินโครงการช่วยเหลือทางทหารต่อไปสำหรับกองทัพเวียดนามใต้ และกำกับดูแลความช่วยเหลือด้านเทคนิคที่ยังคงจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายของการขยายประเทศเวียดนาม และรายงานข่าวกรองด้านปฏิบัติการและทางการทหารผ่านช่องทางทางทหารไปยังหน่วยงานกระทรวงกลาโหม สำนักงานใหญ่นี้ ต่อไปจะกลายเป็นสำนักงานผู้ช่วยทูตกลาโหม ไซ่ง่อน[9]: 48 

ส่วนของกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7AF) ย้ายจากฐานทัพอากาศเตินเซินเญิ้ต (Tan Son Nhut Air Base) ไปยังนครพนมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2516 การถ่ายโอนโครงสร้างหลักของหน่วยซึ่งส่วนใหญ่มาจากส่วนปฏิบัติการและข่าวกรองของกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) แลทัพอากาศที่ 7 เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ USSAG เข้าประจำการเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาของกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) แต่ในเวลา 08:00 น. ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พลเอก จอห์น ดับเบิลยู. โวกต์ จูเนียร์ ของกองทัพอากาศสหรัฐในฐานะผู้บัญชาการกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7AF) ได้เข้ามารับช่วงต่อจากการควบคุมกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) ของการปฏิบัติการของแอร์อเมริกา[10]: 397 [9]: 48  ปฏิบัติการสนับสนุนทางอากาศของสหรัฐในกัมพูชายังคงดำเนินต่อไปภายใต้กลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7th AF) จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2516[8]: 18  DAO ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนบัญชาการย่อยของกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) และยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) จนกระทั่งการยุติการปฏิบัติงานกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2516 เวลา ซึ่งคราวนั้นได้ส่งต่อภารกิจไปยังผู้บังคับการกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 ที่ฐานบินนครพนม[9]: 52 

การปฏิบัติการหลักที่เกี่ยวข้องกับฐานบิน

Douglas A-1E และ A-1H Skyraiders ของ ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 1 และ ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 602 ณ ฐานบินนครพนม
A-26 Invader ของฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 609 ในปี พ.ศ. 2512

ปฏิบัติการบาเรลโรลล์

ปฏิบัติการบาเรลโรลล์ เป็นปฏิบัติการลับของกองพลอากาศที่ 2 ของกองทัพอากาศสหรัฐ (ต่อมาคือทัพอากาศที่ 7) และกองกำลังเฉพาะกิจกองทัพเรือสหรัฐ 77 ปฏิบัติการขัดขวางและสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิดที่ดำเนินการในประเทศลาวระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ถึง 29 มีนาคม พ.ศ. 2516 พร้อมกันกับสงครามเวียดนาม วัตถุประสงค์เริ่มแรกของปฏิบัติการคือเพื่อใช้เป็นการส่งสัญญาณไปยังเวียดนามเหนือเพื่อยุติการสนับสนุนการก่อความไม่สงบของเวียดกงในเวียดนามใต้ ปฏิบัติการดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้นในการให้การสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิดแก่กองทัพราชอาณาจักรลาว กองกำลังม้งที่ได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอ และส่วนแยกของกองทัพไทยในสงครามลับภาคพื้นดินในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว สหรัฐถอนตัวออกจากลาวเมื่อต้นปี พ.ศ. 2516 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพปารีส และการแก้ไขกรณี-คริสตจักรในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2516 ขัดขวางไม่ให้ดำเนินกิจกรรมทางทหารของสหรัฐในลาว กัมพูชา และเวียดนามต่อไปโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา

ปฏิบัติการไอวอรีโคสต์

ฐานบินนครพนม เป็นหนึ่งในฐานปฏิบัติการสำหรับภารกิจช่วยเหลือนักโทษเชลยศึกค่ายกักกันเซินเตย์ที่ล้มเหลวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2513 วัตถุประสงค์คือการช่วยเหลือเชลยศึกชาวอเมริกันประมาณ 90 คนจากค่าย การพยายามช่วยเหลือนั้นล้มเหลวเนื่องจากนักโทษถูกเคลื่อนย้ายเมื่อหลายเดือนก่อน[3]: 112 

การโจมตีซอน เทย์ - พ.ศ. 2513

กรณีมายาเกวซ

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 พลโท จอห์น เจ. เบิร์นส์ ผู้บัญชาการทัพอากาศที่ 7 ของสหรัฐ และเจ้าหน้าที่ของเขาได้จัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อยึดเรือ เอสเอส มายาเกวซ กลับคืนโดยใช้กองกำลังจู่โจมที่ประกอบด้วยกำลังพลจากฝูงบินตำรวจรักษาความปลอดภัยที่ 56 นครพนม อาสาสมัครเจ็ดสิบห้าคนจากฝูงบิน 56 จะถูกปล่อยลงบนตู้คอนเทนเนอร์บนดาดฟ้าเรือ มายาเกวซในเช้าวันที่ 14 พฤษภาคม เพื่อเตรียมการสำหรับการโจมตีครั้งนี้ ประกอบด้วย HH-53 จำนวน 5 ลำ และ CH-53 จำนวน 7 ลำ ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปยังสนามบินกองทัพเรืออู่ตะเภาเพื่อปฏิบัติการ[11] เมื่อเวลาประมาณ 21:30 น. หนึ่งในเครื่องบิน CH-53 ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 21 (หมายเลข 68-10933 สัญญาณเรียก ขานไนท์ 13) เกิดอุบัติเหตุ ส่งผลให้ตำรวจรักษาความปลอดภัย 18 นาย และลูกเรือ 5 นายเสียชีวิต[12]

พาเลซไลต์นิง - การถอนกำลังของกองทัพอากาศสหรัฐ

ด้วยการล่มสลายในลาว การล่มสลายของทั้งกัมพูชาและเวียดนามใต้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 และผลพวงของการใช้ฐานทัพไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงกรณีมายาเกวซ บรรยากาศทางการเมืองระหว่างวอชิงตันและกรุงเทพเริ่มเลวร้าย และรัฐบาลไทยเรียกร้องให้สหรัฐถอนกำลังทหารออกจากไทยภายในสิ้นปี ภายใต้ปฏิบัติการพาเลซไลต์นิง (Palace Lightning) กองทัพอากาศสหรัฐเริ่มถอนกำลังเครื่องบินและบุคลากรออกจากประเทศไทย ตามคำสั่งของเสนาธิการร่วม CINCPAC เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้สั่งการให้ยุบกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7th AF) การถอนกำลังมีผลเมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน ด้วยการยกเลิกการจัดตั้งการควบคุม กลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 ของชุดกำลังทหารร่วม 4 ฝ่ายที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อตกลงสันติภาพปารีส ศูนย์แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุร่วมและสำนักงานผู้ช่วยทูตด้านกลาโหมที่เหลือจึงเปลี่ยนกลับเป็น CINCPAC[13] ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2518 กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56 ถูกยุติใช้งานและกองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 656 เริ่มปฏิบัติงานเป็นหน่วยปฏิบัติการที่ฐานบินนครพนมจนกว่ากองทัพอากาศสหรัฐจะสามารถถอนกำลังออกได้เสร็จสิ้น หน่วยค้นหาและกู้ภัยเป็นหนึ่งในหน่วยสุดท้ายที่เดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 หน่วยสุดท้ายของกองทัพอากาศสหรัฐได้ออกจากฐานบินนครพนมพร้อมกับฝูงบินกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 40 และย้ายไปปฏิบัติการที่ฐานบินโคราช และกลุ่มกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 3 ดี ได้ย้ายไปยังสนามบินทหรเรืออู่ตะเภา[3]: 154 

อุบัติเหตุและเหตุการณ์ต่าง ๆ

  • เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 เครื่องบิน Douglas EC-47Q, AF Ser หมายเลข 43-49771 ของฝูงบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ทางยุทธวิธีที่ 361 ประสบเหตุตก ทำให้มีผู้เสียชีวิตบนเครื่องบิน 2 รายจาก 10 ราย[14] ในการปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธีภายใต้สัญญาณเรียกขาน บารอน 56 ออกเดินทางเมื่อเวลาประมาณ 10:44 น. ตามเวลาท้องถิ่น (03:44 UTC) เมื่อเวลา 17.00 น. เครื่องบินกำลังเดินทางกลับจากภารกิจ ขณะกำลังลงจอดและเริ่มออกนอกรันเวย์ทางด้านซ้าย นักบินพยายามดึงกลับมากเกินไป ทำให้เครื่องบินออกตัวไปทางขวาของรันเวย์ แม้ว่าจะมีสามารถควบคุมเครื่องบินให้หมุนและเหมือนจะควบคุมได้ แต่เครื่องบินก็ชนต้นไม้ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับใบพัดของเครื่องบิน นักบินผู้ช่วยพิจารณาแล้วว่าเครื่องยนต์กราบขวาขัดข้องและใบพัดของเครื่องยนต์ จนเครื่องบินชนต้นไม้อีกต้นหนึ่งห่างออกไป 2 ไมล์ทะเล (3.7 กิโลเมตร) เลยสุดทางวิ่ง เครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุถูกทำลายในเหตุการณ์ดังกล่าวจากเพลิงไหม้หลังเกิดอุบัติเหตุ[15]

หลังการถอนตัวของสหรัฐ

หลังจากกองทัพอากาศสหรัฐได้ถอนตัวออกไปจากฐานบินนครพนมและมอบฐานบินให้อยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศไทย โดยจัดกำลังจากฝูงบิน 238 เข้าประจำการในฐานบินนครพนม และสนับสนุนให้มีการใช้งานฐานบินในเชิงพาณิชย์โดยดัดแปลงโรงเก็บอากาศยานเป็นอาคารผู้โดยสาร[16]

ในปี พ.ศ. 2521 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้เปิดเส้นทางการบินในเส้นทางกรุงเทพมหานคร–นครพนม และเชื่อมต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกันเองกับจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่น ด้วยเครื่องบินดักลาส DC-3 หรือแอฟโร Bae HS748 เปิดให้บริการเส้นทางสัปดาห์ละ 3-4 เที่ยวบิน[16]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2537 บริษัท การบินไทย จำกัด ได้เปิดเส้นทางบินอีกครั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ในเส้นทางการบิน กรุงเทพมหานคร–สกลนคร–นครพนม–กรุงเทพมหานคร ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง B737 และเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานนครพนมตามผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2539 - 2543 โดยดำเนินก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่และเปิดใช้งานวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ในส่วนของท่าอากาศยานพลเรือน และถูกกำหนดให้เป็นสนามบินศุลกากรในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544[16]

บทบาทและปฏิบัติการ

กองทัพอากาศไทย

ฐานบินนครพนม เป็นที่ตั้งหลักของฝูงบิน 238 ในฐานะฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามจากกองบิน 23 อุดรธานี[17] กองทัพอากาศไทย ทำหน้าที่เป็นกองรักษาการณ์ประจำฐานบินนครพนม

กรมท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานนครพนม ได้ใช้พื้นที่และทางวิ่งของฐานบินนครพนมในการให้บริการเชิงพาณิชย์[18]

มหาวิทยาลัยนครพนม

วิทยาลัยการบิน การศึกษา และวิจัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ใช้พื้นที่ของฐานบินนครพนมในการเป็นสนามบินสำหรับการฝึกบินของนักศึกษา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 มีการเรียนการสอนด้านการบินทั้งหลักสูตรการบินต่าง ๆ ทั้งระดับหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี[19]

หน่วยในฐานบิน

กองทัพอากาศไทย

ฝูงบิน 238 กองบิน 23

  • ฝูงบิน 238 – ปัจจุบันไม่มีอากาศยานประจำการถาวร เป็นฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม

กรมท่าอากาศยาน

มหาวิทยาลัยนครพนม

สิ่งอำนวยความสะดวก

ฐานบินนครพนมประกอบไปด้วยพื้นที่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ พื้นที่ฐานบินของกองทัพอากาศ และพื้นที่พลเรือนของท่าอากาศยานนครพนม[18]

ลานบิน

ฐานบินนครพนมประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 2,500 เมตร (8,202 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 587 ฟุต (179 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 15/33 หรือ 144.96° และ 324.96° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[20]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-06-14.
  2. Tregaskis, Richard (1975). Southeast Asia:Building the Bases, The History of Construction in Southeast Asia (PDF). U.S. Navy Seabee Museum. p. 57. ISBN 9781461097235.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 Tilford, Earl (1980). Search and Rescue in Southeast Asia 1961–1975 (PDF). Office of Air Force History. p. 113. ISBN 9781410222640. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2018.
  4. : //www.tlc-brotherhood.org/bases.htm
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 Ravenstein, Charles A. (1984). Air Force Combat Wings, Lineage & Honors Histories 1947-1977. Office of Air Force History. pp. 90-1. ISBN 0912799129.
  6. Mobley, Richard (2015). Knowing the enemy: Naval Intelligence in Southeast Asia. Naval History and Heritage Command. p. 32-3. ISBN 9780945274780.
  7. "Call of Chicago: Task Force Alpha".
  8. 8.0 8.1 Le Gro, William (1985). Vietnam from Cease Fire to Capitulation (PDF). United States Army Center of Military History. ISBN 9781410225429. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  9. 9.0 9.1 9.2 "CINCPAC Command History 1973". 17 September 2012. สืบค้นเมื่อ 12 May 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  10. Cosmas, Graham (2006). The United States Army in Vietnam MACV: The Joint Command in the Years of Withdrawal, 1968-1973. Center of Military History United States Army. ISBN 978-0160771187. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  11. Wetterhahn, Ralph (2002). The Last Battle: The Mayaguez Incident and the end of the Vietnam War. Plume. pp. 76–7. ISBN 0-452-28333-7.
  12. Dunham, George R (1990). U.S. Marines in Vietnam: The Bitter End, 1973-1975 (Marine Corps Vietnam Operational Historical Series). Marine Corps Association. p. 240. ISBN 9780160264559.
  13. "CINCPAC Command History 1975" (PDF). Commander in Chief Pacific. 7 October 1976. p. 36. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  14. "43-49771 Accident description". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 7 September 2010.
  15. "EC-47 43-49771 Crashed on Takeoff November 21, 1972". EC-47. สืบค้นเมื่อ 9 September 2010.
  16. 16.0 16.1 16.2 "ท่าอากาศยานนครพนม". minisite.airports.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ให้การต้อนรับประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ และคณะฯ". wing23.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-06-14. สืบค้นเมื่อ 2024-06-14.
  18. 18.0 18.1 "ทย.ขยายเทอร์มินัล "สนามบินนครพนม" เสร็จแล้ว เพิ่มขีดรับผู้โดยสาร 1.7 ล้านคน/ปี". mgronline.com. 2020-12-29.
  19. "วิทยาลัยการบิน การศึกษา และวิจัยนานาชาติ - Nakhon Phanom University : มหาวิทยาลัย นครพนม". www.npu.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "Aedrome/Heliport VTUW". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-09-23.

บรรณานุกรม

  • Glasser, Jeffrey D. (1998). The Secret Vietnam War: The United States Air Force in Thailand, 1961–1975. McFarland & Company. ISBN 0-7864-0084-6.
  • Martin, Patrick (1994). Tail Code: The Complete History of USAF Tactical Aircraft Tail Code Markings. Schiffer Military Aviation History. ISBN 0-88740-513-4.
  • Robbins, Christopher (1985) Air America. Avon, ISBN 0-380-89909-4
  • Robbins, Christopher (1987) The Ravens: Pilots of the Secret War in Laos. Crown, ISBN 0-517-56612-5
  • Warner, Roger (1998) Shooting at the Moon: The Story of America's Clandestine War in Laos. Steerforth, ISBN 1-883642-36-1

แหล่งข้อมูลอื่น


Kembali kehalaman sebelumnya