Share to:

 

ฐานบินสุราษฎร์ธานี

ฐานบินสุราษฎร์ธานี
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
สุราษฎร์ธานี
แผนที่
พิกัด9°08′10″N 99°08′20″E / 9.13616°N 99.13900°E / 9.13616; 99.13900 (ฐานบินสุราษฎร์ธานี)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดย กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น (พ.ศ. 2486–2488)
Flag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
กองบิน 53 ส่วนล่วงหน้า (พ.ศ. 2524–2525)
กองบิน 71 (พ.ศ. 2525–2542)
กองบิน 7 (พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน)
สภาพปฏิบัติการ
เว็บไซต์wing7.rtaf.mi.th
ประวัติศาสตร์
การต่อสู้/สงครามสงครามมหาเอเชียบูรพา
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองบิน 7
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุIATA: URT, ICAO: VTSB[1]
ความสูง20 ฟุต (6.1 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
04/22 3,000 เมตร (9,843 ฟุต) คอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต

ฐานบินสุราษฎร์ธานี[2][3] (อังกฤษ: Surat Thani Air Force Base[4]) เป็นฐานบินปฏิบัติการหลัก[5]และที่ตั้งทางทหารของกองบิน 7 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีใช้ทางวิ่งของฐานบินร่วมกัน

ประวัติ

ฐานบินสุราษฎร์ธานี แต่เดิมเป็นสนามบินเก่าของกองทัพจักรวรรรดิญี่ปุ่นชื่อว่า สนามบินม่วงเรียง ที่สร้างไว้ใช้งานตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2486 ซึ่งตรงกับปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อทหารญี่ปุ่นถอนกำลังออกไปทำให้สนามบินดังกล่าวถูกทิ้งร้างจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2495 รัฐบาลได้มอบหมายให้กองทัพอากาศเข้ามาดูแลในพื้นที่สนามบินและเรียกชื่อใหม่ว่า สนามบินหัวเตย ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีนโยบายในการก่อตั้งกองบินขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ กองทัพอากาศจึงเลือกสนามบินหัวเตยเป็นที่ตั้งของฐานบินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยในปี พ.ศ. 2523 ได้มีการนำกำลังทหารอากาศโยธินชุดแรกจากกองบิน 53 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้ามาวางกำลังเพื่อรักษาความปลอดภัยพื้นที่ก่อสร้างฐานบิน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2524 ได้นำกำลังจากกองบิน 71 สัตหีบมาสับเปลี่ยนกำลังพร้อมทั้งตั้งกองบังคับการกองบิน 53 ส่วนล่วงหน้าในสนามบินหัวเตยเพื่อเป็นกองบังคับการในพื้นที่ดังกล่าวไปพลางก่อน[6]

ต่อมากองทัพอากาศได้ปรับการวางกำลังทางอากาศใหม่ในปี พ.ศ. 2525 โดยได้ย้ายกองบิน 7 จากที่ตั้งเดิมคืออ่าวจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มาวางกำลังในฐานบินสุราษฎร์ธานีและปรับชื่อเป็นฐานบิน 71 และเคลื่อนย้ายเครื่องบินโจมตีแบบที่ 5 พร้อมด้วยแผนกซ่อมบำรุงเข้ามาในที่ตั้งของสนามบินหัวเตยและรวมเข้ากับกองบิน 71 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525[5] รวมถึงยกเลิกกองบังคับการกองบิน 53 ส่วนล่วงหน้า จึงถือว่าวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 เป็นวันสถาปนากองบิน[6]

นอร์ธรอป เอฟ-5 เครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ขณะที่ยังประจำการที่ฐานบินสุราษฎร์ธานีระหว่างการฝึกที่ฐานบินโคราช

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งยกสถานภาพของกองบิน 71 ขึ้นเป็นกองบิน 7 และกำหนดให้ฐานบินสุราษฎร์ธานีของกองบิน 7 เป็นฐานบินปฏิบัติการหลักของกองทัพอากาศ โดยบรรจุเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 18 และ 18 ข (เอฟ-5) เข้าประจำการในกองบิน[5]

ในปี พ.ศ. 2553 กองบิน 7 ได้บรรจุเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 20 (ยาส 39) เข้าประจำการแทนแบบที่ 18 จำนวน 1 ฝูง พร้อมด้วยครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนแบบที่ 1 ซึ่งทำให้ฐานบินสุราษฎร์ธานีมีเป้าหมายการพัฒนาไปสู่ฐานบินที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Air Base)[5]

ฐานบินสุราษฎร์ธานีได้เตรียมความพร้อมในการรองรับเครื่องบินขับไล่ยาส 39 โดยได้ก่อสร้างโรงเก็บอากาศยานรูปแบบใหม่มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท[7] และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานทั้ง 2 แบบ คือ ยาส 39 และ ซาบ 304 รวมถึงการสำรองอะไหล่และการฝึกวิศวกรจากผู้ผลิต โดยเครื่องบินขับไล่ยาส 39 ได้เดินทางมาถึงฐานบินสุราษฎร์ธานีครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[7]

บทบาทและปฏิบัติการ

กองทัพอากาศไทย

ฐานบินสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งหลักของกองบิน 7 ซึ่งเป็นกองบินหลักในการปฏิบัติการในพื้นที่ภาคใต้ในการปฏิบัติการปกป้องอธิปไตยทางบนบก ทางทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามัน[8] รวมถึงการปฏิบัติการตามภารกิจที่กองทัพอากาศได้กำหนด ประกอบไปด้วย 2 ฝูงบิน[9] คือ

และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ กองบังคับการ, กองร้อยสารวัตรทหาร, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกการเงิน ,ผนกสวัสดิการ[10] และหน่วยสมทบคือ แผนกคลังแสง 4, ฝ่ายคลังเชื้อเพลิงที่ 2, หน่วยบิน 2037, ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี และศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ 3 สุราษฎร์ธานี

กรมท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี ได้ใช้พื้นที่และทางวิ่งของฐานบินสุราษฎร์ธานีในการให้บริการเชิงพาณิชย์

หน่วยในฐานบิน

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินสุราษฎร์ธานี ประกอบไปด้วย

กองทัพอากาศ

ยาส 39 ฝูงบิน 701 ระหว่างการฝึก ณ ประเทศออสเตรเลีย
ซาบ 340 เออีดับเบิลยู ฝูงบิน 702 ณ ท่าอากาศยานขอนแก่น

กองบิน 7

  • ฝูงบิน 701 – ยาส 39[9]
  • ฝูงบิน 702 – ซาบ 340 AEW&C[9]
  • ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ สุราษฎร์ธานี

กองบิน 2

กรมท่าอากาศยาน

  • ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี

กรมอุตุนิยมวิทยา

  • สถานีอุตุนิยมวิทยาสุราษฎร์ธานี[12]

สิ่งอำนวยความสะดวก

ฐานบินสุราษฎร์ธานีประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนด้วยกันคือ พื้นที่ฐานบินของกองทัพอากาศ และพื้นที่พลเรือนของท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี

ลานบิน

ฐานบินสุราษฎร์ธานีประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 3,000 เมตร (9,843 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 20 ฟุต (6.1 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 04/22 หรือ 044.09° และ 224.09° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[13]

โรงพยาบาลกองบิน 7

โรงพยาบาลกองบิน 7 เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของกองบิน 7 ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ[14] กระทรวงกลาโหม[10] ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 50 เตียง[15]

ศูนย์พัฒนากีฬากองบิน 7

ศูนย์พัฒนากีฬา กองบิน 7 เป็นศูนย์ที่ดูแลพื้นที่สนามกีฬาภายในกองบิน ซึ่งเปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้บริการและเก็บค่าบริการ เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับกำลังพลในกองบิน เช่น สนามกอล์ฟกองบิน 7, สนามฟุตบอลหญ้าเทียม และสระว่ายน้ำ[16]

โรงเรียนอนุบาลกองบิน 7

โรงเรียนอนุบาลกองบิน 7[17] (Wing 7 Kindergarten) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตั้งอยู่ในอาณาเขตของฐานบินสุราษฎร์ธานี ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานของกำลังพลในฐานบินและประชาชนในชุมชนใกล้เคียง มีการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ได้แก่ ชั้นเตรียมอนุบาล, อนุบาล 1, อนุบาล 2 และ อนุบาล 3[18]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
  3. "F-16 ไทยเริ่มติดเรดาร์ใหม่ สหรัฐฯ ช่วยฝนเขี้ยวรับภัยรอบตัว". mgronline.com. 2012-03-18.
  4. Insinna, Valerie (2018-12-12). "Thailand's military is working to further link major weapon systems". Defense News (ภาษาอังกฤษ).
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "ประวัติความเป็นมาของหน่วยงาน | THE SPIRIT OF WING7". wing7.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 "กองทัพอากาศจัดงานครบรอบ 20 ปี วันสถาปนา กองบิน 7 วันที่ 15". ryt9.com.
  7. 7.0 7.1 "ต้อนรับ บ.โจมตี GRIPEN ที่กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี". www.thairath.co.th. 2011-02-23.
  8. "ทอ.แสดงสมรรถนะ "กริพเพน" เหนืออ่าวไทย". Thai PBS.
  9. 9.0 9.1 9.2 "เครื่องบินประจำการกองบิน 7 | THE SPIRIT OF WING7". wing7.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.
  11. "กองทัพอากาศ โดย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 7 ได้รับการประสาน จากโรงพยาบาลเกาะสมุย ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี". www.thaigov.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "กรมท่าอากาศยาน ซ้อมแผนฉุกเฉินสนามบินสุราษฎร์ธานี ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ICAO". thansettakij. 2017-05-25.
  13. "Aedrome/Heliport VTSB". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-12-19.[ลิงก์เสีย]
  14. "เกี่ยวกับหน่วยงาน - กรมแพทย์ทหารอากาศ". medical.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-28. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.
  15. "รหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ โรงพยาบาลกองบิน 7". hcode.moph.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "planwing7 | THE SPIRIT OF WING7". wing7.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "หนังสือไดอารี่ตำบลมะลวน - ดาวน์โหลดหนังสือ | 1-38 หน้า | AnyFlip". anyflip.com.
  18. Giggu (2012-11-03). "แผนการสอนอนุบาล.com: โรงเรียนอนุบาลกองบิน 7". แผนการสอนอนุบาล.com.
Kembali kehalaman sebelumnya