Share to:

 

ดาวเคราะห์เก้า

ภาพในจินตนาการของดาวเคราะห์เก้าจากศิลปิน
ความสัมพันธ์ของวงโคจรของวัตถุพ้นดาวเนปจูน 6 ชิ้น ซึ่งนำมาสู่ทฤษฎีการมีอยู่ของดาวเคราะห์เก้า

ดาวเคราะห์เก้า (อังกฤษ: Planet Nine) คือ ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ซึ่งมีการตั้งสมมติฐานว่าอยู่ในบริเวณรอบนอกของระบบสุริยะ ได้รับการเสนอครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2557 เพื่ออธิบายวงโคจรที่ผิดปกติของวัตถุพ้นดาวเนปจูนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีวงโคจรเลยแถบไคเปอร์ไปเป็นส่วนใหญ่[1][2][3]

ในปี พ.ศ. 2557 จดหมายถึงวารสารเนเจอร์ ซึ่งเขียนโดยแชด ทรูคีลโล และ สก็อตต์ เอส. เชพเพิร์ด นักดาราศาสตร์ ได้อนุมานถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ จากความคล้ายคลึงกันของวงโคจรของวัตถุพ้นดาวเนปูจนไกล อย่างเซดนาและ 2012 VP113[2] ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 คอนสแตนติน บาทิกิน และไมเคิล อี. บราวน์ นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ได้อธิบายถึงความคล้ายคลึงในวงโคจรของดาวหกดวงที่อยู่ไกลออกไป และพวกเขาได้กำหนดตัวแปรเฉพาะสำหรับวงโคจรเหล่านี้ขึ้นมา[1] ดาวเคราะห์ที่ถูกทำนายนี้จะมีมวลมากกว่าโลกราว 10 เท่า (5,000 เท่าของดาวพลูโต) มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าโลกราว 2-4 เท่า มีชั้นบรรยากาศไฮโดรเจนและฮีเลียมหนา มีวงโคจรที่เยื้องศูนย์กลางมากและอยู่ห่างออกไปมากจนอาจใช้เวลาถึง 15,000 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์[4]

ในการอภิปราย มีการพิจารณาแบบจำลองการก่อตัวของดาวเคราะห์ดวงนี้ ซึ่งอาจรวมไปถึงการย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์จากระบบสุริยะชั้นใน เช่นเดียวกับสมมติฐานดาวเคราะห์ยักษ์ดวงที่ห้า โดยบาทิกินและบราวน์เสนอว่าอาจเป็นแก่นดาวเคราะห์ดึกดำบรรพ์ที่ถูกเคลื่อนที่ออกไปจากวงโคจรเดิมในช่วงยุคเนบิวลาของวิวัฒนาการระบบสุริยะ[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Batygin, Konstantin; Brown, Michael E. (2016). "Evidence for a Distant Giant Planet in the Solar System". The Astronomical Journal. 151 (2): 22. arXiv:1601.05438. Bibcode:2016AJ....151...22B. doi:10.3847/0004-6256/151/2/22. S2CID 2701020.
  2. 2.0 2.1 Trujillo, Chadwick A.; Sheppard, Scott S. (2014). "A Sedna-like Body with a Perihelion of 80 Astronomical Units" (PDF). Nature. 507 (7493): 471–474. Bibcode:2014Natur.507..471T. doi:10.1038/nature13156. PMID 24670765. S2CID 4393431. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 December 2014. สืบค้นเมื่อ 20 January 2016.
  3. Burdick, Alan (20 January 2016). "Discovering Planet Nine". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 20 January 2016.
  4. Achenbach, Joel; Feltman, Rachel (20 January 2016). "New evidence suggests a ninth planet lurking at the edge of the solar system". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 20 January 2016.


Kembali kehalaman sebelumnya