Share to:

 

ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดีกับดาวบริวารบริวารที่ใหญ่ที่สุด 4 ดวง

ดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวารเท่าที่ค้นพบและยืนยันแล้ว 80 ดวง จึงเป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์บริวารมากเป็นอันดับ 2 รองจากดาวเสาร์ [1] ดาวบริวารที่มีมวลมากที่สุด 4 ดวงหรือดวงจันทร์ของกาลิเลโอ ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1610 ถือเป็นวัตถุในระบบสุริยะกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกค้นพบว่าโคจรรอบดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลกหรือดวงอาทิตย์ นับตั้งแต่สิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีดาวบริวารขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกค้นพบและได้รับการตั้งชื่อตามชื่อคนรักหรือธิดาของเทพเจ้าจูปิเตอร์ของโรมัน (หรือเทพเจ้าซุสของกรีก)

ดาวบริวาร 8 ดวงของดาวพฤหัสบดีเป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ กล่าวคือ มีวงโคจรเกือบเป็นวงกลมไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก ดาวบริวารของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีลักษณะเป็นทรงกลม ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง ส่วนดาวบริวารอีก 4 ดวงมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากกว่าดาวบริวารของกาลิเลโอ เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นซึ่งคอยเสริมความหนาแน่นให้กับวงแหวนของดาวพฤหัสบดี

ดาวบริวารอื่น ๆ ที่เหลือเป็นบริวารขนาดเล็กซึ่งอยู่ห่างไกลจากดาวพฤหัสบดีมากกว่า จัดเป็นดาวบริวารผิดปกติ คือ มีความเอียงและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูง (วงโคจรไม่มีจุดศูนย์กลางจุดเดียวกันสม่ำเสมอ) บางดวงโคจรไปในทางเดียวกันและบางดวงโคจรสวนทางกับบริวารดวงอื่น ๆ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเคยเป็นดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์มาก่อน แต่ถูกอำนาจแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจับไว้ในภายหลัง มีดาวบริวารที่เพิ่งถูกค้นพบ 16 ดวงในกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ

ลักษณะ

ลักษณะทางกายภาพและลักษณะวงโคจรของดาวบริวารต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างมาก ดาวบริวารของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร ดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ แกนีมีด เป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ (เมื่อไม่นับรวมดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวง) ในขณะที่ดาวบริวารดวงอื่น ๆ ทั้งหมดมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวน้อยกว่า 250 กิโลเมตรและส่วนใหญ่ยาวไม่เกิน 5 กิโลเมตร แม้แต่ยูโรปาซึ่งเป็นดาวบริวารที่เล็กที่สุดในกลุ่มกาลิเลโอ ยังมีมวลมากกว่ามวลของดาวบริวารนอกกลุ่มทั้งหมดรวมกันถึง 5,000 เท่า วงโคจรก็มีทั้งเกือบเป็นวงกลมสมบูรณ์ เอียง และเป็นวงรี หลายดวงยังโคจรไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุนของดาวพฤหัสบดีอีกด้วย เวลาที่ใช้โคจรรอบดาวพฤหัสบดีก็ต่างกันตั้งแต่ 7 ชั่วโมงโลก (ซึ่งน้อยกว่าเวลาที่ดาวพฤหัสบดีใช้หมุนรอบตัวเอง) จนถึงประมาณ 3 ปีโลกในดาวพฤหัสมีทอนาโดที่เราสามารถเห็นได้เป็นจุดๆและยังเป็นก๊าสอีกด้วย

ตารางรายชื่อดาวบริวาร

รายชื่อด้านล่างเป็นรายชื่อของดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีเรียงตามคาบดาราคติ

อันดับ
[# 1]
ลำดับ
ค้นพบ
[# 2]
ชื่อ
ภาษาอังกฤษ ภาพ เส้นผ่านศูนย์กลาง
(ก.ม.)
มวล
(1016 ก.ก.)
กึ่งแกนเอก
(ก.ม.) [2]
คาบดาราคติ
(วัน) [2][# 3]
ความเอียงของวงโคจร
(°) [2]
ความเยื้องศูนย์กลาง
[3]
ปีที่ค้นพบ
[4]
ผู้ค้นพบ
[4]
กลุ่ม
[# 4]
1 XVI มีทิส Metis
60×40×34 ~3.6 127 690 +7h 4m 29s 0.06°[5] 0.000 02 1979 ซินนอตต์
(วอยเอเจอร์ 1)
รอบใน
2 XV แอดรัสเทีย Adrastea
20×16×14 ~0.2 128 690 +7h 9m 30s 0.03°[5] 0.0015 1979 จิวอิตต์
(วอยเอเจอร์ 2)
รอบใน
3 V อมัลเทีย Amalthea
250×146×128 208 181 366 +11h 57m 23s 0.374°[5] 0.0032 1892 บาร์นาร์ด รอบใน
4 XIV ทีบี Thebe
116×98×84 ~43 221 889 +16h 11m 17s 1.076°[5] 0.0175 1979 ซินนอตต์
(วอยเอเจอร์ 1)
รอบใน
5 I ไอโอ Io
3660.0×3637.4
×3630.6
8 900 000 421 700 +1.769 137 786 0.050°[5] 0.0041 1610 กาลิเลโอ กาลิเลโอ
6 II ยูโรปา Europa
3121.6 4 800 000 671 034 +3.551 181 041 0.471°[5] 0.0094 1610 กาลิเลโอ กาลิเลโอ
7 III แกนีมีด Ganymede
5262.4 15 000 000 1 070 412 +7.154 552 96 0.204°[5] 0.0011 1610 กาลิเลโอ กาลิเลโอ
8 IV คัลลิสโต Callisto
4820.6 11 000 000 1 882 709 +16.689 018 4 0.205°[5] 0.0074 1610 กาลิเลโอ กาลิเลโอ
9 XVIII เทมิสโต Themisto 8 0.069 7 393 216 +129.87 45.762° 0.2115 1975/2000 โควาลและโรเมอร์/
เชปเพิร์ดและคณะ
เทมิสโต
10 XIII เลดา Leda 16 0.6 11 187 781 +241.75 27.562° 0.1673 1974 โควาล ฮิมาเลีย
11 VI ฮิมาเลีย Himalia
170 670 11 451 971 +250.37 30.486° 0.1513 1904 เพอร์รีน ฮิมาเลีย
12 X ไลซิเทีย Lysithea 36 6.3 11 740 560 +259.89 27.006° 0.1322 1938 นิโคลสัน ฮิมาเลีย
13 VII เอลารา Elara
86 87 11 778 034 +261.14 29.691° 0.1948 1905 เพอร์รีน ฮิมาเลีย
14 ดีอา Dia 4 0.009 0 12 570 424 +287.93 27.584° 0.2058 2001 เชปเพิร์ดและคณะ ฮิมาเลีย
15 XLVI คาร์โป Carpo 3 0.004 5 17 144 873 +458.62 56.001° 0.2735 2003 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์โป
16 S/2003 J 12 1 0.000 15 17 739 539 −482.69 142.680° 0.4449 2003 เชปเพิร์ดและคณะ ?
17 XXXIV ยูพอเรีย Euporie 2 0.001 5 19 088 434 −538.78 144.694° 0.0960 2002 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
18 S/2003 J 3 2 0.001 5 19 621 780 −561.52 146.363° 0.2507 2003 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
19 S/2003 J 18 2 0.001 5 19 812 577 −569.73 147.401° 0.1569 2003 แกล็ดแมนและคณะ อะแนงคี
20 XLII เทลซิโนอี Thelxinoe 2 0.001 5 20 453 753 −597.61 151.292° 0.2684 2003 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
21 XXXIII ยูแอนที Euanthe 3 0.004 5 20 464 854 −598.09 143.409° 0.2000 2002 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
22 XLV เฮลิกี Helike 4 0.009 0 20 540 266 −601.40 154.586° 0.1374 2003 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
23 XXXV ออร์ทอเซีย Orthosie 2 0.001 5 20 567 971 −602.62 142.366° 0.2433 2002 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
24 XXIV ไอโอแคสตี Iocaste 5 0.019 20 722 566 −609.43 147.248° 0.2874 2001 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
25 S/2003 J 16 2 0.001 5 20 743 779 −610.36 150.769° 0.3184 2003 แกล็ดแมนและคณะ อะแนงคี
26 XXVII แพรกซิดิกี Praxidike 7 0.043 20 823 948 −613.90 144.205° 0.1840 2001 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
27 XXII ฮาร์แพลิกี Harpalyke 4 0.012 21 063 814 −624.54 147.223° 0.2440 2001 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
28 XL นีมี Mneme 2 0.001 5 21 129 786 −627.48 149.732° 0.3169 2003 แกล็ดแมนและคณะ อะแนงคี
29 XXX เฮอร์มิปพี Hermippe 4 0.009 0 21 182 086 −629.81 151.242° 0.2290 2002 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี?
30 XXIX ไทโอนี Thyone 4 0.009 0 21 405 570 −639.80 147.276° 0.2525 2002 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี
31 XII อะแนงคี Ananke Ananké.jpg 28 3.0 21 454 952 −642.02 151.564° 0.3445 1951 นิโคลสัน อะแนงคี
32 S/2003 J 17 2 0.001 5 22 134 306 −672.75 162.490° 0.2379 2003 แกล็ดแมนและคณะ คาร์มี
33 XXXI ไอต์นี Aitne 3 0.004 5 22 285 161 −679.64 165.562° 0.3927 2002 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
34 XXXVII เคลี Kale 2 0.001 5 22 409 207 −685.32 165.378° 0.2011 2002 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
35 XX เทย์จิที Taygete 5 0.016 22 438 648 −686.67 164.890° 0.3678 2001 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
36 S/2003 J 19 2 0.001 5 22 709 061 −699.12 164.727° 0.1961 2003 แกล็ดแมนและคณะ คาร์มี
37 XXI แคลดีนี Chaldene 4 0.007 5 22 713 444 −699.33 167.070° 0.2916 2001 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
38 S/2003 J 15 2 0.001 5 22 720 999 −699.68 141.812° 0.0932 2003 เชปเพิร์ดและคณะ อะแนงคี?
39 S/2003 J 10 2 0.001 5 22 730 813 −700.13 163.813° 0.3438 2003 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี?
40 S/2003 J 23 2 0.001 5 22 739 654 −700.54 148.849° 0.3930 2004 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี
41 XXV แอรินอมี Erinome 3 0.004 5 22 986 266 −711.96 163.737° 0.2552 2001 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
42 XLI เออีดี Aoede 4 0.009 0 23 044 175 −714.66 160.482° 0.6011 2003 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี
43 XLIV คาลลิคอรี Kallichore 2 0.001 5 23 111 823 −717.81 164.605° 0.2041 2003 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี?
44 XXIII แคลิกี Kalyke 5 0.019 23 180 773 −721.02 165.505° 0.2139 2001 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
45 XI คาร์มี Carme 46 13 23 197 992 −721.82 165.047° 0.2342 1938 นิโคลสัน คาร์มี
46 XVII คาลลีโรอี Callirrhoe
9 0.087 23 214 986 −722.62 139.849° 0.2582 2000 แกล็ดแมนและคณะ พาซิเฟอี
47 XXXII ยูริโดมี Eurydome 3 0.004 5 23 230 858 −723.36 149.324° 0.3769 2002 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี?
48 XXXVIII พาซิเทีย Pasithee 2 0.001 5 23 307 318 −726.93 165.759° 0.3288 2002 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
49 XLVIII ซิลีนี Cyllene 2 0.001 5 23 396 269 −731.10 140.148° 0.4115 2003 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี
50 XLVII ยูเคลาดี Eukelade 4 0.009 0 23 483 694 −735.20 163.996° 0.2828 2003 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
51 S/2003 J 4 2 0.001 5 23 570 790 −739.29 147.175° 0.3003 2003 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี
52 VIII พาซิเฟอี Pasiphaë 60 30 23 609 042 −741.09 141.803° 0.3743 1908 แกล็ดแมนและคณะ พาซิเฟอี
53 XXXIX ฮิเจมอนี Hegemone 3 0.004 5 23 702 511 −745.50 152.506° 0.4077 2003 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี
54 XLIII อาร์คี Arche 3 0.004 5 23 717 051 −746.19 164.587° 0.1492 2002 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
55 XXVI ไอซอโนอี Isonoe 4 0.007 5 23 800 647 −750.13 165.127° 0.1775 2001 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
56 S/2003 J 9 1 0.000 15 23 857 808 −752.84 164.980° 0.2761 2003 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
57 S/2003 J 5 4 0.009 0 23 973 926 −758.34 165.549° 0.3070 2003 เชปเพิร์ดและคณะ คาร์มี
58 IX ซิโนพี Sinope 38 7.5 24 057 865 −762.33 153.778° 0.2750 1914 นิโคลสัน พาซิเฟอี
59 XXXVI สปอนดี Sponde 2 0.001 5 24 252 627 −771.60 154.372° 0.4431 2002 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี
60 XXVIII ออทอโนอี Autonoe 4 0.009 0 24 264 445 −772.17 151.058° 0.3690 2002 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี
61 XLIX คอรี Kore 2 0.001 5 23 345 093 −776.02 137.371° 0.1951 2003 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี
62 XIX เมกาไคลตี Megaclite 5 0.021 24 687 239 −792.44 150.398° 0.3077 2001 เชปเพิร์ดและคณะ พาซิเฟอี
63 S/2003 J 2 2 0.001 5 30 290 846 −1 077.02 153.521° 0.1882 2003 เชปเพิร์ดและคณะ ?
  1. อันดับเรียงตามระยะทางเฉลี่ยจากดาวบริวารไปยังดาวพฤหัสบดี
  2. ลำดับเรียงตามเลขโรมัน เป็นลำดับที่เรียงตามการค้นพบดาวบริวารนั้น ๆ
  3. คาบการโคจรที่เป็นลบ แสดงว่าดาวนั้นโคจรทวนกับดาวดวงอื่นที่มีคาบเป็นบวก
  4. "?" แสดงถึงดาวบริวารที่ยังมีกลุ่มไม่แน่นอน

อ้างอิง

  1. "Solar System Bodies". JPL/NASA. สืบค้นเมื่อ 2008-09-09.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Natural Satellites Ephemeris Service". IAU: Minor Planet Center. สืบค้นเมื่อ 2008-09-03. Note: some semi-major axis were computed using the µ value, while the eccentricities were taken using the inclination to the local Laplace plane
  3. Sheppard, Scott S. "Jupiter's Known Satellites". Departament of Terrestrial Magnetism at Carniege Institution for science. สืบค้นเมื่อ 2008-08-28.
  4. 4.0 4.1 "Gazetteer of Planetary Nomenclature". Working Group for Planetary System Nomenclature (WGPSN). U.S. Geological Survey. 2008-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Siedelmann P.K.; Abalakin V.K.; Bursa, M.; Davies, M.E.; de Bergh, C.; Lieske, J.H.; Obrest, J.; Simon, J.L.; Standish, E.M.; Stooke, P. ; Thomas, P.C. (2000). The Planets and Satellites 2000 (Report). IAU/IAG Working Group on Cartographic Coordinates and Rotational Elements of the Planets and Satellites. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-08-31.{{cite report}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
Kembali kehalaman sebelumnya