ด็อยท์เชอเว็ลเลอ
ด็อยท์เชอเว็ลเลอ (เยอรมัน: Deutsche Welle, ออกเสียง: [ˈdɔʏtʃə ˈvɛlə] ; แปลว่า "คลื่นเยอรมัน" หรือ DW) เป็นบริการกระจายเสียงระหว่างประเทศสาธารณะที่ถือครองโดยรัฐ ซึ่งหนุนด้วยงบประมาณภาษีของรัฐบาลกลางเยอรมนี[4][2][3] บริการมีถึง 30 ภาษา บริการโทรทัศน์ดาวเทียมของ DW มีช่องในภาษาอังกฤษ เยอรมัน, อูรดู, ฮินดี, สเปน, เบงกอล และอาหรับ ผลงานของ DW เป็นไปตามกฎหมายด็อยท์เชอเว็ลเลอ[หมายเหตุ 1][5] ซึ่งก็คือเนื้อหาเป็นอิสระจากอิทธิพลของรัฐบาล DW เป็นสมาชิกของสหภาพการกระจายเสียงแห่งทวีปยุโรป (EBU)[6] DW นำเสนออัปเดตบทความเป็นประจำในเว็บไซต์ข่าว และดำเนินการสำหรับศูนย์การพัฒนาสื่อต่างประเทศ DW Akademie โดยมีการประกาศเป้าหมายที่ระบุไว้ คือการสร้างข่าวที่เชื่อถือได้ ให้เข้าถึงภาษาเยอรมันและส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชน[7] DW ได้ออกอากาศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1953 มีสำนักงานกลางที่บ็อนน์ ซึ่งมีการผลิตรายการวิทยุ อย่างไรก็ตาม รายการโทรทัศน์เกือบทั้งหมดผลิตที่เบอร์ลิน ทั้งสองที่ผลิงเนื้อหาข่าวสำหรับเว็บไซต์ DW ใน ค.ศ. 2019 มีพนักงานประมาณ 1,500 คนและทำงานอิสระ 1,500 คนจาก 60 ประเทศ ทำงานให้กับด็อยท์เชอเว็ลเลอในสำนักงานที่กรุงบอนน์และเบอร์ลิน[8] ประวัติด็อยท์เชอเว็ลเลอได้ ได้เปิดตัวสถานีวิทยุและโทรทัศน์อย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ผู้กล่าวปราศัยโดยนาย Theodor Heuss ประธานาธิบดีแห่งประเทศเยอรมัน (ในขณะนั้น) เป็นการออกอากาศทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นครั้งแรก วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ในชื่อ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธาราณะแห่งประเทศเยอรมัน ชื่อย่อ ARD และดอยเช่อ เวลเล่อได้เห็นผ้องร่วมกัน ผู้ควมคุมการผลิตอย่างแรกโดยเครือข่ายของ Nordwestdeutscher Rundfunk (WDR) รายการต่าง ๆ ของ ด็อยท์เชอเว็ลเลอจึงให้ WDR เป็นผู้รับผิดชอบ ใน ค.ศ. 1960 ดอยเช่อ เวลเล่อกลายเป็นสื่อมวนชนอิสระ และวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1972 จึงได้ร่วมกับ ARD ซึ่งเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ โลโก้
ภาษาที่ใช้ในการออกอากาศ
* สนับสนุนบางส่วนโดยด็อยช์ลันด์ฟุงก์ (จนถึง ค.ศ. 1993) ผู้อำนวยการทั่วไป
หมายเหตุ
อ้างอิง
ข้อมูล
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ด็อยท์เชอเว็ลเลอ
|