Share to:

 

ตำบลตะคุ

ตำบลตะคุ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Takhu
ประเทศไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอปักธงชัย
พื้นที่
 • ทั้งหมด106 ตร.กม. (41 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (31 ธันวาคม 2561)
 • ทั้งหมด12,302 คน
 • ความหนาแน่น116.05 คน/ตร.กม. (300.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30150
รหัสภูมิศาสตร์301402
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลตะคุ
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอปักธงชัย
การปกครอง
 • นายกนางกนิษฐา อ่วยสุข
รหัส อปท.06301409
ที่อยู่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตะคุ เลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ถนนสมเด็จพระธีรญาณมุนี ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 30150
เว็บไซต์www.tambontakhu.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตะคุ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตะคุ

ประวัติศาสตร์

ตำบลตะคุเป็นตำบลเก่าแก่จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าแก่และจากหลักฐานประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งแผ่นดินมหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเวียงจันทร์ พ.ศ. 2321-2322 เมื่อได้ชัยชนะแล้วได้ต้อนชาวเมืองเวียงจันทร์ส่วนหนึ่งมากับกองทัพไทย เจ้าพระยานครราชสีมาได้ขอให้ครอบครัวที่ถูกต้อนมาไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ด่านจะโปะ ปัจจุบันเป็นอำเภอปักธงชัย และบางครอบครัวยึดทำเลที่ลำสำลาย บ้านเดื่อ บ้านตูม บ้านห้วย ตะคุ ปัจจุบันเป็นบ้านตะคุ ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอปักธงชัย

อาณาเขต

หมู่บ้าน

ตำบลตะคุแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 21 หมู่บ้าน

  • หมู่ 1 บ้านตะคุ
  • หมู่ 2 บ้านครสาร
  • หมู่ 3 บ้านแดง
  • หมู่ 4 บ้านอุโลก-โนนรัง
  • หมู่ 5 บ้านโคกคึม
  • หมู่ 6 บ้านหนองตาอุด
  • หมู่ 7 บ้านหัน
  • หมู่ 8 บ้านหนองนมนาง
  • หมู่ 9 บ้านสุขัง
  • หมู่ 10 บ้านวังหิน
  • หมู่ 11 บ้านใหม่สุขัง
  • หมู่ 12 บ้านหนองตาด
  • หมู่ 13 บ้านแปะ
  • หมู่ 14 บ้านหนองเรือ
  • หมู่ 15 บ้านหันเหนือ
  • หมู่ 16 บ้านสุขังใต้
  • หมู่ 17 บ้านตะคุไทย
  • หมู่ 18 บ้านหันใต้
  • หมู่ 19 บ้านโนนบ้าน
  • หมู่ 20 บ้านดอนลำใย
  • หมู่ 21 บ้านสุขังไทยเจริญ

สถานศึกษา

โรงเรียนมัธยมศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา

สถานที่ท่องเที่ยว

ประกอบด้วยโบสถ์เก่าแก่ ภายในโบสถ์มีภาพเขียนฝาผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งศาสนิกชนชาวพุทธร่วมกันสร้างถวายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด พระสธูปเจดีย์ใช้บรรจุสารีลิกธาตุ สร้างขึ้นพร้อมวัดไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสำหรับบรรจุสาริลิกธาตุของผู้ใด ทางด้านหน้าอุโบสถหลังเก่า มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่กลางสระน้ำมีหอไตร 1 หลัง ทรงเตี้ยแบบหอไตรพื้นเมืองอีสาน อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ภายในมีคัมภีร์พระไตรปิฏกเก่าแก่มากมาย มีภาพลายรดน้ำที่บานประตู เป็นลวดลายวิจิตรสวยงามมาก กรมศิลปากรเคยนำไปแสดงที่กรุงเทพฯ

พระอุโบสถโบราณสร้างขึ้นพร้อมวัดเมื่อก่อนหลังคามุงหญ้าแฝก ปัจจุบันมุงด้วยกระเบื้อง ระหว่างหอไตรและอุโบสถหลังเก่า ยังมีพระธาตุเก่าอายุราวต้นรัตนโกสินทร์อีก 1 องค์ สร้างโดยชุมชนอพยพจากนครเวียงจันทน์ เป็นแบบอย่างพื้นบ้าน คือฐานเตี้ย เรือนธาตุสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดธาตุเรียวสอบมี 2 ชั้น อันเป็นลักษณะพระธาตุแบบลาวโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับพระธาตุศรีสองรักของจังหวัดเลย ภายในมีภาพวาดจิตกรรมฝาผนังอันงดงามแสดงให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ของชุมชน

อาหาร

  • หมี่ตะคุ

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya