ตำบลโคราช
โคราช เป็นตำบลในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ ปราสาทเมืองเก่า ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโคราฆปุระ ต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองโคราช อันเป็นต้นกำเนิดเมืองนครราชสีมา ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลโคราช มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ประวัติสูงเนิน มีเมืองที่สำคัญอยู่ 2 เมือง คือ เมืองเสมา และเมืองโคราฆะปุระหรือเมืองโคราช ซึ่งเมืองทั้งสองเป็นเมืองประวัติศาสตร์ของชาติไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ เคยเจริญรุ่งเรืองในสมัยขอม แต่ในปัจจุบันเป็นเมืองร้างตั้งอยู่ริมลำตะคอง ต่อมาจึงได้ยุบเมืองทั้งสองไปเป็นเมืองนครราชสีมา รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นเมืองชั้นเอก ผู้สำเร็จราชการเมืองมียศเป็นเจ้าพระยา โดยเจ้าพระยานครราชสีมาคนแรกชื่อ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้เมืองนครราชสีมาได้นำช้างเผือก 2 เชือกขึ้นน้อมเกล้าถวาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ก่อการกบฏยกกองทัพมาตีเมืองนครราชสีมาและกวาดต้อนพลเมืองไปเป็นเชลย คุณหญิงโม ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา (พระสุริยเดชวิเศษ ฤทธิ์ทศทิศวิชัย) ผู้รักษาเมืองแสร้งทำกลัวเกรงและประจบเอาใจทหารลาว เมื่อถูกกวาดต้อนมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์ในเขตอำเภอพิมาย ก็หยุดพักกลางทางพอได้โอกาส คุณหญิงโม ก็จัดกองทัพโจมตีกองทัพเวียงจันทน์แตกพ่ายไป วีรกรรมที่คุณหญิงโมได้ประกอบขึ้นนี้ รัชกาลที่ 3 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา คุณหญิงโม ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น "ท้าวสุรนารี" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูง ให้นครราชสีมาเป็นที่ว่าการมณฑลลาวกลาง ในปี พ.ศ. 2434 (ร.ศ. 110) ในปี พ.ศ. 2490 ได้แบ่งพื้นที่หมู่ 1 บ้านใหญ่กกลาน, หมู่ 2 บ้านตากแดด, หมู่ 3 บ้านพลับ, หมู่ 4 บ้านทัดทา, หมู่ 5 บ้านบุ่งขี้เหล็ก, หมู่ 6 บ้านกุดเวียน, หมู่ 7 บ้านหนองเอื้อง, หมู่ 8 บ้านมะม่วง, หมู่ 9 บ้านหนองกระดี่, หมู่ 10 บ้านดอน หมู่ 11-12 บ้านโคกมะกอก ของตำบลโคราช รวม 12 หมู่บ้าน แยกตั้งเป็น ตำบลบุ่งขี้เหล็ก[2] ตำบลโคราชจึงเหลือพื้นที่เพียง 8 หมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคตำบลโคราชแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ตำบลโคราช มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลโคราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคราชทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลโคราช ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[3] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโคราชในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542[4] จนถึงปัจจุบัน อ้างอิง
|