อำเภอเสิงสาง
เสิงสาง เป็นอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของเขื่อนลำปลายมาศ และมีพื้นที่เกือบ 40% เป็นพื้นที่ภูเขาและป่าไม้ต้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน[1] ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอเสิงสาง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติเดิมอำเภอเสิงสาง อยู่ในพื้นที่ของตำบลสระตะเคียน อำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัย) ในปี พ.ศ. 2450 ตำบลแซะ ตำบลจระเข้หิน และตำบลสระตะเคียน ของอำเภอกระโทก อยู่ห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอ จึงแยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า "กิ่งอำเภอแชะ" เนื่องจากที่ตั้งของที่ว่าการกิ่งอยู่ในเขตหมู่บ้านแชะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ทางราชการได้ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช และโอนพื้นที่ตำบลครบุรี ไปรวมขึ้นกับกิ่งอำเภอแซะ[2] พร้อมยกขึ้นเป็นอำเภอและตั้งชื่ออำเภอใหม่ตามตำบลที่ได้รับโอนมา เป็น อำเภอครบุรี[3] ตำบลสระตะเคียนจึงเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอครบุรี ปี พ.ศ. 2519 ตำบลสระตะเคียน มีพื้นที่ 7 หมู่บ้านใหญ่ ได้แก่ บ้านสระตะเคียน บ้านกุดโบสถ์ บ้านสระประทีป บ้านโคกเตาเหล็ก บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านสุขไพบูลย์ บ้านดอนแขวน และอีก 25 หมู่บ้านย่อย ขนาดพื้นที่ถึง 1,200.2 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่กว้างขวาง จึงขอแยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอชื่อ กิ่งอำเภอเสิงสาง[4] โดยชื่อ "เสิงสาง" หมายความว่า "ใกล้รุ่ง" หรือ รุ่งอรุณ เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวอีสาน ท้าวปาจิตเจ้าเมืองกัมพูชา ได้ออกติดตามหานางอรพิมพ์ที่เมืองพิมาย เมื่อได้พบกันแล้วจึงพากันเดินทางกลับ แต่มีเหตุต้องพลัดหลงกันและได้มาพบกันอีกที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งตอนพระอาทิตย์กำลังจะขึ้นจึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านเสิงสาง" ปี พ.ศ. 2520 ตำบลสระตะเคียนมีพื้นที่การปกครองเพียงตำบลเดียวมีพื้นที่มากถึง 36 หมู่บ้าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจตรายากลำบาก จึงแยกหมู่ที่ 4 บ้านเสิงสางรวมกับ 10 หมู่บ้านของตำบลสระตะเคียน ตั้งเป็น ตำบลเสิงสาง และแยกหมู่ที่ 8 บ้านโนนสมบูรณ์ รวมกับ 8 หมู่บ้านของตำบลสระตะเคียน ตั้งเป็น ตำบลโนนสมบูรณ์ และแยกหมู่ที่ 2 บ้านกุดโบสถ์รวมกับ 7 หมู่บ้านของตำบลสระตะเคียน ตั้งเป็น ตำบลกุดโบสถ์[5] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 ทางราชการได้ 4 ตำบล 52 หมู่บ้านในเขตกิ่งอำเภอเสิงสาง เป็น อำเภอเสิงสาง[6] ออกเป็นเอกเทศจากอำเภอครบุรี โดยมีนายอำเภอคนแรกคือ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หมู่บ้านโนนสมบูรณ์และหมู่บ้านเสิงสาง มีประชากรและบ้านเรือนจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2525 จึงตั้งชุมชนบ้านโนนสมบูรณ์ เป็น สุขาภิบาลโนนสมบูรณ์[7] และตั้งชุมชนบ้านเสิงสาง เป็น สุขาภิบาลเสิงสาง[8] และจัดตั้งตำบลเพิ่มอีก 2 ตำบล โดยในปี พ.ศ. 2528 ได้แยกหมู่ที่ 5 บ้านสุขไพบูลย์ รวมกับอีก 6 หมู่บ้านในตำบลเสิงสาง ตั้งเป็น ตำบลสุขไพบูลย์[9] และปี พ.ศ. 2538 ได้แยกหมู่ที่ 20 บ้านราษฎร์บำรุง รวมกับอีก 7 หมู่บ้านในตำบลโนนสมบูรณ์ ตั้งเป็น ตำบลบ้านราษฎร์[10] เป็นตำบลลำดับที่ 6 ของทางอำเภอจนถึงปัจจุบัน การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอเสิงสางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 87 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอเสิงสางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
อ้างอิง
|