อำเภอพิมาย |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Phimai |
---|
|
คำขวัญ: ถิ่นอุตสาหกรรม เครื่องหวายงามล้ำค่า กระยาสารทรสเด็ด เป็ดย่างรสดี ผัดหมี่พิมาย ยอดมวยไทยยักษ์สุข สนุกพายเรือแข่ง แหล่งแมวสีสวาท ปราสาทหินถิ่นไทรงาม เรืองนามประเพณี วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์พระพุทธวิมายะ |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอพิมาย |
พิกัด: 15°13′14″N 102°29′9″E / 15.22056°N 102.48583°E / 15.22056; 102.48583 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | นครราชสีมา |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 896.9 ตร.กม. (346.3 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 127,883 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 142.58 คน/ตร.กม. (369.3 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 30110 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 3015 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพิมาย หมู่ที่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110 |
---|
|
พิมาย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา
ประวัติศาสตร์
เมืองพิมายมีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรโคตรบูรณ์ของขอม สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์
เดิมผู้ปกครองมีกรมการเมือง ปลัดเมือง ซึ่งมีบรรดาศักดิ์ชั้นพระ หลวง ขุน มาเป็นผู้ปกครองอำเภอพิมาย
เดิมชื่อ "อำเภอเมืองพิมาย" มีฐานะเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2443 โดยมีขุนขจิตสารกรรม ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2454
สมเด็จพระศรีพัชรินทร์พระบรมราชินีนาถในรัชการที่ 5 (สมเด็จพระพันปีหลวง) ได้เสด็จประพาสเมืองพิมายและได้เสด็จทรงพักผ่อนที่ไทรงามด้วย
คณะกรมการเมืองได้จัดรับเสด็จ โดยจัดสถานที่ประทับข้างลำน้ำตลาด (บริเวณติดลำน้ำด้านทิศใต้ของโรงเรียนพิมายวิทยาในปัจจุบัน)
ซึ่งเรียกชื่อสถานที่ในขณะนั้นว่า "วังเก่า" ในปี พ.ศ. 2457 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทหินพิมาย
(บริเวณที่จอดรถหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมายในปัจจุบัน) ผู้ปกครองมีคณะกรรมการเมือง นายอำเภอ ซึ่งมีบรรดาศักดิ์ชั้น หลวง ขุน
หม่อมเจ้า ดำรงตำแหน่ง และกำนันประจำตำบลจะมีบรรดาศักดิ์ชั้น ขุน หมื่น มาดำรงตำแหน่ง
- พ.ศ. 2440 ตั้งอำเภอมีชื่อว่า เมืองพิมาย
- วันที่ 15 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนชื่ออำเภอจากอำเภอเมืองพิมาย มาเป็น อำเภอพิมาย[1]
- วันที่ 14 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลในเมือง [2]
- วันที่ 29 สิงหาคม 2500 ตั้งตำบลดอนมัน แยกออกจากตำบลชีวาน และ ตั้งตำบลท่าลาด แยกออกจากตำบลโบสถ์ [3]
- วันที่ 30 สิงหาคม 2500 แยกพื้นที่ตำบลประสุข ตำบลกระเบื้องนอก ตำบลขุย ตำบลสาหร่าย ตำบลดอนมัน และตำบลท่าลาด อำเภอพิมาย ไปตั้งกิ่งอำเภอชุมพวง ขึ้นกับอำเภอพิมาย [4]
- วันที่ 1 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลรังกาใหญ่ แยกออกจากตำบลในเมือง ตั้งตำบลเมืองพลับพลา แยกออกจากตำบลงิ้ว และ ตั้งตำบลห้วยแถลง แยกออกจากตำบลงิ้ว [5]
- วันที่ 11 ธันวาคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอชุมพวง อำเภอพิมาย เป็นอำเภอชุมพวง [6]
- วันที่ 1 มกราคม 2504 แยกพื้นที่ตำบลห้วยแถลง ตำบลหินดาด ตำบลงิ้ว และตำบลเมืองพลับพลา อำเภอพิมาย มาตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยแถลง ขึ้นกับอำเภอพิมาย [7]
- วันที่ 17 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอห้วยแถลง อำเภอพิมาย เป็นอำเภอห้วยแถลง [8]
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2511 ตั้งตำบลนิคมสร้างตนเอง แยกออกจากตำบลในเมือง และตำบลหนองพลวง [9]
- วันที่ 1 เมษายน 2511 ยุบตำบลหนองพลวง [10] และวันเดียวกัน ตั้งตำบลหนองพลวง อีกครั้งหนึ่ง [11]
- วันที่ 25 ธันวาคม 2511 โอนตำบลหนองพลวง ไปขึ้นกับอำเภอจักราช [12]
- วันที่ 15 กันยายน 2514 โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในตอนนั้น) จากตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง มาขึ้นกับตำบลนิคมสร้างตนเอง [13]
- วันที่ 15 กันยายน 2523 ตั้งตำบลกระชอน แยกออกจากตำบลชีวาน [14]
- วันที่ 15 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลดงใหญ่ แยกออกจากตำบลท่าหลวง [15]
- วันที่ 6 กันยายน 2528 ตั้งตำบลธารละหลอด แยกออกจากตำบลสัมฤทธิ์ และ ตั้งตำบลหนองระเวียง แยกออกจากตำบลนิคมสร้างตนเอง [16]
- วันที่ 19 พฤษภาคม 2542 เปลี่ยนชื่อสุขาภิบาลในเมือง เป็น สุขาภิบาลพิมาย [17]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลพิมาย เป็น เทศบาลตำบลพิมาย
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอพิมายตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
เขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอพิมายแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 213 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอพิมายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลพิมาย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลในเมือง
- เทศบาลตำบลรังกาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรังกาใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมือง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพิมาย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสัมฤทธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสัมฤทธิ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโบสถ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระเบื้องใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระเบื้องใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชีวาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชีวานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสร้างตนเอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมสร้างตนเองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระชอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระชอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลธารละหลอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธารละหลอดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองระเวียงทั้งตำบล
ประชากร
ชื่อ |
ปีที่จัดตั้ง |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2555) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2555)
|
เทศบาลตำบลพิมาย |
2542 |
2.156 |
8,843 |
4,101.57 |
2,635
|
เทศบาลตำบลรังกาใหญ่ |
2551 (2539)
|
74.346 |
14,471 |
194.64 |
4,125
|
องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง |
2539
|
45.91 |
16,118 |
351.07 |
6,063
|
องค์การบริหารส่วนตำบลสัมฤทธิ์ |
2539
|
51.56 |
9,076 |
176.02 |
2,523
|
องค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ |
2538
|
156.3 |
19,458 |
124.49 |
4,868
|
องค์การบริหารส่วนตำบลกระเบื้องใหญ่ |
2538
|
80.32 |
6,301 |
78.44 |
1,718
|
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง |
2538
|
??? |
5,767 |
??? |
1,469
|
องค์การบริหารส่วนตำบลชีวาน |
2538
|
61.63 |
4,588 |
74.44 |
1,172
|
องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสร้างตนเอง |
2538
|
89.6 |
10,922 |
121.89 |
3,024
|
องค์การบริหารส่วนตำบลกระชอน |
2539
|
97.7 |
8,504 |
87.04 |
2,170
|
องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ |
2539
|
84.43 |
10,957 |
129.77 |
2,957
|
องค์การบริหารส่วนตำบลธารละหลอด |
2539
|
48 |
3,950 |
82.29 |
1,117
|
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียง |
2539
|
116 |
10,894 |
93.91 |
3,005
|
ทั้งหมด |
896.9 |
129,849 |
144.77 |
36,846
|
แหล่งท่องเที่ยว
เมืองพิมายมีลักษณะเป็นเมืองโบราณ สถานี่ท่องเที่ยวจึงเป็นลักษณะของเมืองประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมอย่างสม่ำเสมอ โดยสถิติการท่องเที่ยวข้อมูลปี พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 9,260 คน / ปี นักท่องเที่ยวชาวไทย 166,500 คน /ปี รายได้เฉลี่ย / นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 370,400 บาท /ปี รายได้เฉลี่ย / นักท่องเที่ยวชาวไทย 1,665,000 บาท /ปี
[18]
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
การทหาร | |
---|
|
---|
|