Share to:

 

ตำบลบึงสำโรง

ตำบลบึงสำโรง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Bueng Samrong
ตำบลบึงสำโรงตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
ตำบลบึงสำโรง
ตำบลบึงสำโรง
ที่ตั้งในจังหวัดนครราชสีมา
พิกัด: 15°41′40″N 102°12′32″E / 15.69444°N 102.20889°E / 15.69444; 102.20889
ประเทศไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอแก้งสนามนาง
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด43 ตร.กม. (17 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[2]
 • ทั้งหมด5,446 คน
 • ความหนาแน่น130 คน/ตร.กม. (330 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30440
รหัสภูมิศาสตร์302305
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลบึงสำโรง
พิกัด: 15°41′40″N 102°12′32″E / 15.69444°N 102.20889°E / 15.69444; 102.20889
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอแก้งสนามนาง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีพเยาว์ เพราะไธสง
รหัส อปท.05302301
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 59 หมู่ที่ 3 ตำบลบึงสำโรง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา 30440
โทรศัพท์0 4475 6270-1
เว็บไซต์www.bsr.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บึงสำโรง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลบึงสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสำโรงทั้งตำบล

ประวัติ

ตำบลบึงสำโรง เป็นตำบลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 จัดให้มีการเลือกตั้ง กำนันเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2531 บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งคือ นายกวี ซาตัน ซึ่งเป็นกำนันคนแรกของตำบลบึงสำโรง ชื่อของ “ตำบลบึงสำโรง” ได้จัดตั้งมาจากชื่อของแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ประมาณ 1,102 ไร่ ที่ประชาชนในบริเวณนั้นเรียกว่า “หนองบึงสำโรง” เพราะมีต้นไม้ชนิดหนึ่งอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำมีชื่อว่า “ต้นสำโรง” จึงตั้งเป็นชื่อแหล่งน้ำนี้ว่า “หนองบึงสำโรง” จึงเป็นบึงขนาดใหญ่ที่ใช้หล่อเลี้ยงประชาชนภายในเขตตำบลบึงสำโรงและตำบลใกล้เคียงใช้ในการอุปโภค-บริโภค และประกอบอาชีพประมงน้ำจืดได้ตลอดทั้งปี และปัจจุบันอยู่ในพื้นที่บ้านกุดปลาฉลาด

การปกครองของตำบลบึงสำโรงมีหมู่บ้านอยู่ในเขตการปกครองของสภาตำบลบึงสำโรง ทั้งหมด 9 หมู่บ้าน

  • แยกมาจากตำบลบึงพะไล จำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 3 บ้านหนองโน หมู่ที่ 4 บ้านหัวหนอง
  • แยกมาจากตำบลแก้งสนามนาง 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 5 บ้านหนองปรือ หมู่ที่ 6 บ้านกุดปลาฉลาด
  • แยกออกมาจากตำบลสีสุก จำนวน 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 7 บ้านโมกมัน หมู่ที่ 8 บ้านโนนอุดม
  • เมื่อปี พ.ศ. 2542 บ้านหนองปรือ หมู่ที่ 5 ได้แยกพื้นที่หมู่บ้านออกมาอีก 1 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือใหม่

สาเหตุที่ตั้งตำบลขึ้นมาใหม่ก็เพื่อความสะดวกในการปกครองและพัฒนาตำบลบึงสำโรง จัดได้ว่าเป็นตำบลที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติตำบลหนึ่ง ในเขตอำเภอแก้งสนามนาง กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลบึงสำโรง" เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และยกฐานะเป็น "เทศบาลตำบลบึงสำโรง" เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลบึงสำโรงตั้งอยู่ในเขตอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 395 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 43 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

สภาพพื้นที่ของเทศบาลตำบลบึงสำโรง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ภูมิอากาศจะเป็นแบบร้อนชื้นมีฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม–เดือนตุลาคม)

หมู่บ้าน

ตำบลบึงสำโรงแบ่งออกเป็น 9 หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัว
  • หมู่ที่ 2 บ้านโนนสะอาด
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองโน
  • หมู่ที่ 4 บ้านหัวหนอง
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองปรือ
  • หมู่ที่ 6 บ้านกุดปลาฉลาด
  • หมู่ที่ 7 บ้านโมกมัน
  • หมู่ที่ 8 บ้านโนนอุดม
  • หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือใหม่

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลบึงสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสำโรงทั้งตำบล

ศาสนา

  • ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 99 มีจำนวนวัด 10 วัด
  • วัดศรีลำพอง บ้านหนองบัว
  • วัดโนนสะอาด บ้านโนนสะอาด
  • วัดบ้านหนองโน บ้านหนองโน
  • วัดป่าจตุพร บ้านหนองโน
  • วัดบ้านหัวหนอง บ้านหัวหนอง
  • วัดใหม่สามัคคีธรรม บ้านหนองปรือ
  • วัดบ้านกุดปลาฉลาด บ้านกุดปลาฉลาด
  • วัดป่าโมกอุดมพร บ้านโมกมัน
  • วัดทุ่งสว่างวณาราม บ้านโมกมัน
  • วัดสว่างอารมณ์ บ้านโนนอุดม
  • วัดหนองบัว หมู่ 1

การศึกษา

  • โรงเรียนบ้านกุดปลาฉลาดหนองปรือ
  • โรงเรียนบ้านหัวหนอง
  • โรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราฎรสามัคคี)
  • โรงเรียนบ้านมูกมันโนนอุดมสามัคคี
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสะอาด แห่งที่ 1
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุดปลาฉลาด แห่งที่ 2

อาชีพ

ประชากรในเขตเทศบาลตำบลบึงสำโรง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณ ร้อยละ 75 เช่น ทำไร่อ้อย ทำนา เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น นอกจากนั้นก็จะมีอาชีพ ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ ฯลฯ

ปัจจุบันมีกลุ่มอาชีพเป็นวิสาหกิจชุมชนดังนี้

  • วิสาหกิจชุมชนเอ็นแฟต ผลิตอาหารสัตว์ใช้เฉาะกลุ่ม
  • วิสาหกิจชุมชนผลิตผักอินทรีย์
  • วิสาหกิจชุมชนผลิตสมุนไพร (ป้าทรัพย์)
  • วิสาหกิจชุมชน ผลิตสมุนไพร (นายต๊อก)
  • วิสาหกิจชุมชน ผลิตเห็ดตำบลบึงสำโรง

กลุ่มเกษตรกรมีดังนี้

  • กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำหาดไทรสูง

สาธารณูปโภค

การโทรคมนาคม

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 14 ตู้ (ปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว) มีระบบอินเตอร์เท็ต จาก 3bb และ TOT เข้าถึงทุกหมู่บ้าน

การไฟฟ้า

เขตตำบลบึงสำโรงเป็นชุมชนชนบท ระบบการไฟฟ้าขยายทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนทำให้ประชาชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกคือ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เกือบครบทุกครัวเรือน

ระบบประปา

ประชาชนในตำบลบึงสำโรง ส่วนใหญ่ได้รับการบริการด้านการประปาจากการประปาหมู่บ้าน

การสาธารณสุข

  • สถานีอนามัยหัวหนอง

การคมนาคม

ปัจจุบันการคมนาคมในเขตเทศบาลตำบลบึงสำโรง มีความสะดวกมากขึ้นเพราะได้รับการพัฒนาจากเทศบาลตำบลบึงสำโรง มีการก่อสร้างถนนคอนกรีตประมาณ 3500 เมตรเกือบเต็มพื้นที่ มีการบูรณะซ่อมแซมซ่อมแซมถนนลูกรังให้สามารถใช้งานได้ดี พร้อมทั้งถนนเกษตรกรรมมีการก่อสร้างให้อยู่ในสภาพที่ดี เส้นทางการคมนาคมระหว่างตำบลกับอำเภอเป็นถนนลาดยาง (ถนนแก้งสนามนานางบ้านเหลื่อม)

อ้างอิง

  1. "สภาพทั่วไป". เทศบาลตำบลบึงสำโรง. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2563 ตำบลบึงสำโรง". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya