Share to:

 

ธิษะณา ชุณหะวัณ

ธิษะณา ชุณหะวัณ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 2
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 228 วัน)
ก่อนหน้าพัชรินทร์ ซำศิริพงษ์
เขตเลือกตั้งเขตสาทร เขตปทุมวัน
และเขตราชเทวี
คะแนนเสียง41,148 (44.63%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 ตุลาคม พ.ศ. 2534 (33 ปี)
พรรคการเมืองก้าวไกล (2566-2567)
ประชาชน (2567-ปัจจุบัน)
บุพการี
ญาติสิริจรรยา ชุณหะวัณ (น้องสาว)
ชาติชาย ชุณหะวัณ (ปู่)
บุญเรือน ชุณหะวัณ (ย่า)
ผิน ชุณหะวัณ (ทวด)
การศึกษาMA in Public International Law, Human Rights concentration
ศิษย์เก่าวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยลอนดอน
เว็บไซต์https://www.facebook.com/tisanach
ชื่อเล่นแก้วตา

ธิษะณา ชุณหะวัณ (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2534) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 2 สังกัดพรรคก้าวไกล ภายหลังการได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566[1] ต่อมาหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคก้าวไกล จึงได้มาสังกัดพรรคประชาชน[2]

ประวัติ

ธิษะณา ชุณหะวัณ เกิดวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นธิดาของไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ธิษะณามีศักดิ์เป็นเหลนของจอมพลผิน ชุณหะวัณ อดีตผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นหลานสาวของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี เธอมีน้องสาวหนึ่งคน[3] ด้านชีวิตส่วนตัว ธิษะณาได้หย่ากับคู่สมรส เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 และมีบุตร 1 คน [4]

ธิษะณา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการทั่วโลก จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และระดับปริญญาโท ในสาขาวิชากฎหมายมหาชนนานาชาติ ด้านสิทธิมนุษยชน (MA in Public International Law, Human Rights concentration) จากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน (SOAS university of London)[5]

ในส่วนของประสบการณ์ทำงาน ธิษะณา เคยเป็นผู้ช่วยนักการทูต (internship) กองการเมืองและความมั่นคง กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “รัฐธรรมนูญก้าวหน้า (CONLAB)" รณรงค์ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2565 ได้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น[5] รวมถึงเคยทำงานในองค์ไม่แสวงหากำไรหรือมูลนิธิ โดยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ทีมหุ้นส่วนและทีมสื่อสารองค์กรนานาชาติฟรีแลนด์ (Freeland Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรด้านการต่อต้านการลักลอบการค้ามนุษย์และสัตว์ป่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเลขานุการคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา อันเป็นองค์กรที่ทำงานด้านการศึกษาและการพัฒนาผู้ลี้ภัยและแรงงานข้ามชาติ อยู่ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

เมื่อปี พ.ศ. 2564 ธิษะณาถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำที่รุนแรงต่อผู้ร่วมชุมนุมเสื้อแดง ในช่วงปี พ.ศ. 2553 และการมีส่วนร่วมในการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ซึ่งธิษะณาได้ออกมายอมรับและขอโทษต่อการกระทำที่ผ่านมา โดยกล่าวว่าเป็นการขอโทษในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่แสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำที่ผิดพลาดของตนเองในอดีต[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ในการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ธิษะณาได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคก้าวไกล ในเลือกตั้งที่เขต 2 (เขตราชเทวี เขตปทุมวัน เขตสาธร) กรุงเทพมหานคร และได้รับหมายเลข 13[7][8] เนื่องจากพรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่มีอุดมการคล้ายกับของตน[3] อย่างไรก็ตาม ธิษะณาค่อนข้างมีความกังวลในการเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นลงสมัครรับการเลือกตั้งครั้งแรก ยังไม่ผลงาน ประกอบกับการมาจากครอบครัวชุณหะวัณซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นกลุ่มการเมืองเก่า[9] ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าธิษะณาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 กรุงเทพมหานคร ด้วยคะแนนเสียง 41,148 คะแนน (44.63%)[1][10]

ข้อวิจารณ์

ในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ระหว่างการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2567 ขณะที่ธิษะณากำลังอภิปรายงบประมาณของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้อ่านตัวเลขงบประมาณผิดหลายครั้ง จนนายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แต่งกลอนให้ในทวิตเตอร์ (X) ของตนว่า "ตัวเลขมันอ่านยาก แสนลำบากไม่อยากเห็น เกิดมาไม่เคยเป็น ไม่เคยเห็นเช่นนี้เลย ปวดหัวค่ะ ?" [11] ซึ่งธิษะณาได้ออกมายอมรับความผิดพลาดของตน โดยให้เหตุผลว่าพักผ่อนน้อย นอนไม่หลับเพราะอาการซึมเศร้า จากการสูญเสียผู้ช่วยของตน[11]

ต่อมาในการแถลงนโยบายของรัฐบาลแพทองธาร เมื่อวันที่ 12-14 กันยายน พ.ศ. 2567 ธิษะณาได้อภิปรายในมุมที่เห็นอกเห็นใจชาวเมียนมาร์ที่หนีภัยการสู้รบภายในประเทศเมียนมาร์ เข้ามาในประเทศไทย ควรมีการรับรองอย่างเป็นระบบ เช่น การศึกษาให้เด็กข้ามชาติ รวมถึงการอนุญาตให้ใบอนุญาตชั่วคราวบุคคลกรทางการแพทย์ของเมียนมาร์ ให้เข้ามารักษาเมียนมาร์ในไทย[12] จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในทวิตเตอร์ (X) ผ่านทางแฮชแท็ก "#พรรคประชาชนพม่า" ว่าควรช่วยให้เหมาะสม ไม่กลายมาเป็นภาระของประเทศมากเกินไป[12] จนกระทั่งพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคประชาชน ได้ให้สัมภาษณ์เพื่ออธิบายกรณีดังกล่าวว่า แม้ประเด็นดังกล่าวจะเป็นประเด็นละเอียดอ่อนและกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนจำนวนไม่น้อย แต่ยืนยันว่าแนวทางของพรรคประชาชน คือ ปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจะต้องหยิบขึ้นมาพูดคุยกันตรงไปตรงมา แม้ว่าจะมีความละเอียดอ่อน โดยการอภิปรายในประเด็นนี้เกิดจากการที่ปัจจุบันไทยมีแรงงานเมียนมาอยู่กว่า 6 ล้านคน ซึ่งเกินครึ่งไม่ได้อยู่ในระบบที่ถูกต้องตามกระบวนการกฎหมาย เกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และภาครัฐไม่มีฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ ทำให้กำกับดูแลยากขึ้น เพื่อให้บริหารจัดการปัญหานี้อย่างตรงจุด จะต้องดึงแรงงานเมียนมานอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบกฎหมายอย่างถูกต้อง[13] อีกส่วนหนึ่งได้มีการนำเสนอสืบเนื่องมาจากการอภิปรายของธิษะณาถึงข้อดี-ข้อเสียเกี่ยวกับการให้สวัสดิการแก่แรงงานเมียนมาร์[14]

ต่อมาในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 ธิษะณายังถูกวิจารณ์เนื่องจากมี สส. อีกคนหนึ่งบันทึกภาพเธอขณะกำลังสูบบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งยังไม่มีกฎหมายรองรับในทุกกรณี ถึงแม้จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ จะระบุว่าเธอสูบบุหรี่ในเขตสูบบุหรี่ที่สัปปายะสภาสถานจัดไว้ให้ก็ตาม[15]

จากข้อวิจารณ์ทั้ง 3 ข้อข้างต้น ส่งผลให้ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภาให้ฉายาเธอเป็น "ดาวดับ" ประจำปี พ.ศ. 2567 ร่วมกับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ[16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง,เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๖ ก หน้า ๑ ,๒๐ มิ.ย. ๒๕๖๖
  2. "สส.เท้ง ณัฐพงษ์ มั่นใจ ทุกคนย้ายเข้าบ้านใหม่วันนี้ ขณะที่ สส.จุลพงษ์มาแล้ว!". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2024-08-09.
  3. 3.0 3.1 'ธิษะณา ชุณหะวัณ' บนเส้นทางการเมือง ท่ามกลาง 'ตราบาป' ที่ไม่ได้ก่อ - มติชนสุดสัปดาห์ (matichonweekly.com)
  4. "ป.ป.ช. เปิดทรัพย์สิน สส. กทม. พรรคก้าวไกล 'รักชนก' โสด รวย 5.8 ล้านบาท สะสมหนังสือ 733 เล่ม 'ธิษะณา' หย่าสามี รวย 56 ล้าน". THE STANDARD. 2023-10-27.
  5. 5.0 5.1 ธิษะณา-ชุณหะวัณ (moveforwardparty.org)
  6. Kongsubto, Woratat. "'ธิษะณา ชุณหะวัณ'ขอโทษคนเสื้อแดง เสียใจเคยร่วมม็อบพธม.-กปปส. ปูทางรัฐประหาร". เดลินิวส์.
  7. ""ก้าวไกล" เปิดรายชื่อ 33 ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ". Thai PBS.
  8. "ตรวจสอบหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.กทม. 33 เขต พรรคก้าวไกล | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. 2024-10-11.
  9. "'ชุณหะวัณ' คือสัญลักษณ์การผูกขาดทางการเมือง ธิษะณา ทายาทรุ่นที่ 4 แห่งบ้านซอยราชครู" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-01-04.
  10. ผลการเลือกตั้ง สส. ทั่วไป 14 พฤษภาคม 2566 (ect.go.th)
  11. 11.0 11.1 โซเชียลแห่แชร์ ส.ส.ก้าวไกล อ่านตัวเลขงบผิด 'ธิษะณา' แจงป่วยซึมเศร้า หลังผู้ช่วยเสีย (matichon.co.th)
  12. 12.0 12.1 https://www.pptvhd36.com (2024-09-18). "ดรามา! "สส.แก้วตา" จี้ไทยรับรองชาวเมียนมาหนีสงคราม แฮชแท็กพรรคประชาชนพม่า". pptvhd36.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  13. Thailand, BECi Corporation Ltd. "'ไอติม' แจง #พรรคประชาชนพม่า ยัน ปชน. ไม่ใช่พรรคปฏิวัติ ต้องพูด แม้ละเอียดอ่อน". CH3Plus.com.
  14. หนึ่ง (2024-09-20). "นักวิชาการ ชำแหละ 10 ข้อ โซเชียลติดแฮชแท็ก 'พรรคประชาชนพม่า'".
  15. "จิรัฏฐ์ ป้อง'แก้วตา'ถามลั่นผิดยังไง 'สูบบุหรี่ไฟฟ้า'กลางสภาหมื่นล้าน ฉะคนแอบถ่าย". ข่าวสด. 23 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "ฉายา 67 สภาผู้แทนฯ'เหลี่ยม(จน)ชิน' สว.'เนวิ(น)เกเตอร์'-'บิ๊กป้อม-ธิษะณา'ดาวดับ". bangkokbiznews. 2024-12-26.
Kembali kehalaman sebelumnya