บางจาก ศรีราชา
บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Bangchak Sriracha Public Company Limited ชื่อย่อ:BSRC) [3] เป็นบริษัทของไทย ผู้ประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียม และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบครบวงจร (integrated) อีกทั้งบริษัทยังทำการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์อื่นโดยช่องทางขายผ่านทางลูกค้ารายย่อยและทางเครือข่ายที่กว้างขวางของสถานีบริการน้ำมันค้าปลีกภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่ รวมทั้งขายโดยตรงให้แก่ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ค้าส่ง การบินและการเดินเรือ [4] ประวัติบริษัทได้เริ่มจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2508 โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทได้เริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2514 และต่อมาบริษัทได้รับอนุญาตให้ขยายโรงงานและประกอบกิจการโรงงานกลั่นน้ำมันแร่ขนาดใช้น้ำมันดิบวันละไม่เกิน 35,000 บาร์เรล ภายใต้สัญญาประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมและเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับบริษัท ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2528 รัฐบาลได้อนุมัติให้บริษัทเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันดิบเป็นวันละ 63,000 บาร์เรล จากการปรับเพิ่มปริมาณการผลิต หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้อนุมัติการเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันดิบที่ได้รับอนุญาตของโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทเป็นวันละ 185,000 บาร์เรล บริษัทได้ทยอยเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันดิบของโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทด้วยการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมีกำลังกลั่นน้ำมันดิบในปัจจุบันอยู่ที่วันละ 174,000 บาร์เรล ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2539 บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในปี พ.ศ. 2541 บริษัทเริ่มก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ในพื้นที่โรงกลั่นน้ำมันศรีราชาของบริษัท การก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ของบริษัทได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542 โดยมีกำลังการผลิตพาราไซลีนปีละ 350,000 ตัน บริษัทได้เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[4] ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566 บางจาก คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญของเอสโซ่จากเอ็กซอนโมบิล ในสัดส่วนร้อยละ 65.99 โดยมีมูลค่ากิจการ 55,000 ล้านบาท การดำเนินการซื้อขายแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยหลังจากการเข้าซื้อกิจการเอสโซ่ เอ็กซอนโมบิลจะยังเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและเคมีภัณฑ์ในประเทศไทยต่อไป[5] ทั้งนี้เอ็กซอนโมบิลได้ให้บางจากใช้สิทธิ์ในตราสินค้า เอสโซ่ ต่อไปอีก 2 ปี[6] แต่ทว่าหลังจากวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 บางจากได้ดำเนินการทยอยปลดเครื่องหมายการค้า เอสโซ่ ออกจากปั๊มเอสโซ่เดิมและใช้เครื่องหมายการค้า บางจาก แทน[7] ก่อนที่ประชุมบริษัทฯ มีมติให้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[8] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับพระราชทานคืนตราตั้ง ที่บริษัทฯ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2541[9] การประกอบธุรกิจบริษัทเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือบางจาก คอร์ปอเรชั่น โดยบริษัทเป็นเจ้าของและผู้ประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (complex refinery) ซึ่งมีกำลังการกลั่นน้ำมันดิบ 174,000 บาร์เรลต่อวัน และเป็นเจ้าของและผู้ประกอบการโรงงานอะโรเมติกส์ (aromatics plant) ซึ่งมีกำลังการผลิตพาราไซลีน 500,000 ตันต่อปี และหน่วยผลิตสารทำละลายซึ่งมีกำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี โดยโรงงานแต่ละแห่งนี้ได้เชื่อมโยงเข้ากับหน่วยกลั่นน้ำมันและกระบวนการกลั่นน้ำมันของบริษัทแบบครบวงจร มีที่ตั้งใกล้กับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี [4] รายนามประธานกรรมการ
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ผลิตภัณฑ์และบริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์
ดีเซล
น้ำมันหล่อลื่นผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเครื่องยนต์
ผลิตภัณฑ์อื่นๆน้ำมันระบบเกียร์อัตโนมัติและระบบพวงมาลัยพาวเวอร์
จารบี
ระบบเกียร์และเฟืองท้าย
น้ำมันเบรก
น้ำมันหล่อเย็น
ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเครื่องยนต์เชิงพาณิชย์
บริการ
อ้างอิง
|