Share to:

 

รายชื่อประเทศที่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร

รายชื่อประเทศและดินแดนดังต่อไปนี้ในอดีตถูกปกครองในฐานะอาณานิคมของสหราชอาณาจักร หรือเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ และยังมีวันเอกราชกำกับด้วย โดยบางประเทศไม่ได้รับเอกราชในวันใดวันหนึ่ง ดังนั้นจะแสดงวันที่ล่าสุดที่ได้รับเอกราชแทน โดยมีทั้งหมด 65 ประเทศที่ได้รับเอกราชเป็นของตน

อาณานิคม รัฐในอารักขา และดินแดนในอาณัติ

ประเทศ ชื่อก่อนได้รับเอกราช
(กรณีคนละชื่อ)
วันที่ ปีที่ได้รับเอกราช หรือระยะแรกของการได้รับเอกราช หมายเหตุ
 อัฟกานิสถาน เปอร์เซียเหนือ 19 สิงหาคม 1919 สนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกานิสถาน (ค.ศ. 1919)
 แอนทีกาและบาร์บิวดา แอนทีกา หมู่เกาะลีเวิร์ด 1 พฤศจิกายน 1981
 ออสเตรเลีย 11 ธันวาคม 1901 พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 และธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931
 ปาปัวนิวกินี ได้รับเอกราชจากออสเตรเลียเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1975
 บาฮามาส 10 กรกฎาคม 1973
 บาห์เรน 15 สิงหาคม 1971
 บาร์เบโดส 30 พฤศจิกายน 1966 สมเด็จพระราชินีนาถฯ ลงพระปรมาภิไธยให้สภาสามัญชนรับรองพระราชบัญญัติเอกราชบาร์เบโดส ค.ศ. 1966 ซึ่งยินยอมให้มีกิจกรรมทางการเมืองโดยอิสระในวันนักบุญอันดรูว์
 เบลีซ บริติชฮอนดูรัส 21 กันยายน 1981 September Celebrations of Belize
 บอตสวานา เบชวานาแลนด์ 30 กันยายน 1966
 บรูไน 1 มกราคม 1984
 แคเมอรูน เซาเทิร์นแคเมอรูนส์ 1 ตุลาคม 1961 เซาเทิร์นแคเมอรูนส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแคเมอรูนเมื่อ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1961
 แคนาดา 1 กรกฎาคม 1867 พระราชบัญญัติอเมริกาเหนือของบริเตนใหญ่ ค.ศ. 1867, 1 กรกฎาคม (วันแคนาดา)

ธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931
พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1982
รัฐเกแบ็กมีมติไม่รับรองเอกราชจากแคนาดาในการลงประชามติทั้งสองครั้งใน ค.ศ. 1980 และค.ศ. 1995

 ไซปรัส 16 สิงหาคม 1960 วันเอกราชไซปรัส โดยปกติเฉลิมฉลองกันในวันที่ 1 ตุลาคม[1]
 ดอมินีกา ดอมินีกา หมู่เกาะวินด์เวิร์ด 3 พฤศจิกายน 1978
 อียิปต์ 28 กุมภาพันธ์ 1922 อำนาจในการควบคุมคลองสุเอซคงอยู่จนถึง ค.ศ. 1952
 เอสวาตินี สวาซีแลนด์ 6 กันยายน 1968
 ฟีจี 10 ตุลาคม 1970
 แกมเบีย แกมเบีย 18 กุมภาพันธ์ 1965
 กานา โกลด์โคสต์และโตโกแลนด์ (โตโกแลนด์ถูกผนวกเข้ากับโกลด์โคสต์ใน ค.ศ. 1957) 6 มีนาคม 1957
 กรีเนดา กรีเนดา หมู่เกาะวินด์เวิร์ด 7 กุมภาพันธ์ 1974 วันเอกราช
 กายอานา บริติชกีอานา 26 พฤษภาคม 1966
 อินเดีย บริติชอินเดีย 15 สิงหาคม 1947 วันเอกราช
 อิรัก 3 ตุลาคม 1932
 อิสราเอล ปาเลสไตน์ในอาณัติ 14 พฤษภาคม 1948 สิ้นสุดการอยู่ภายใต้อาณัติของสหราชอาณาจักร
วันชาติอิสราเอล
 ปาเลสไตน์ ประกาศเอกราชจากอิสราเอลเมื่อ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988
 จาเมกา 6 สิงหาคม 1962 วันเอกราช (6 สิงหาคม)
 จอร์แดน ทรานส์จอร์แดน 25 พฤษภาคม 1946
 เคนยา 12 ธันวาคม 1963
 คิริบาส หมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ 12 กรกฎาคม 1979
 คูเวต 19 มิถุนายน 1961
 เลโซโท บาซูโตแลนด์ 4 ตุลาคม 1966
 ลิเบีย 24 ธันวาคม 1951 ลิเบียซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันตั้งแต่กลางศตวรรษที่สิบหก ซึ่งต่อมาภายหลังสงครามอิตาลี-ตุรกีใน ค.ศ. 1912 นั้น ลิเบียได้ตกเป็นอาณานิคมของอิตาลี ซึ่งเมื่อได้เป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง อิตาลีจึงเสียการควบคุมลิเบีย โดยต่อมาตกเป็นประเทศในกำกับดูแลขององค์การสหประชาชาติ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมระหว่างฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร โดยฝรั่งเศสกำกับดูแลจังหวัดเฟซซัน ในขณะที่สหราชอาณาจักรกำกับดูแลจังหวัดไซเรไนกาและตริโปลิเตเนีย ต่อมาใน ค.ศ. 1949 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ประกาศว่าลิเบียควรจะได้รับเอกราชภายในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1952 และเมื่อ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1951 ลิเบียได้ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรโดยกลายเป็นสหราชอาณาจักรลิเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระเจ้าอิดริสที่ 1เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก
 มาลาวี นยาซาแลนด์ 6 กรกฎาคม 1964
 มาเลเซีย สี่ส่วน ได้แก่ มาลายา บอร์เนียวเหนือ สิงค์โปร์ และซาราวัก 31 สิงหาคม 1957 ได้รับเอกราชในฐานะสหพันธรัฐมาลายา (พระราชบัญญัติเอกราชแห่งสหพันธรัฐมาลายา ค.ศ. 1957) บอร์เนียวเหนือ (รัฐซาบะฮ์ในปัจจุบัน), ซาราวัก และสิงคโปร์ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ และเข้าร่วมกับมาเลเซียเมื่อ 16 กันยายน ค.ศ. 1963 ภายใต้ข้อตกลงมาเลเซีย (พระราชบัญญัติมาเลเซีย ค.ศ. 1963)
 สิงคโปร์ ได้รับเอกราชจากมาเลเซียเมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965
 มัลดีฟส์ 26 กรกฎาคม 1965
 มอลตา 21 กันยายน 1964 แม้ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงการทำประชามติเพื่อควบรวมมอลตาเข้ากับสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1956 แต่เป็นไปตามการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1964
 มอริเชียส 12 มีนาคม 1968
 พม่า 4 มกราคม 1948 ได้รับเอกราชในนาม "เบอร์มา" ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น "เมียนมาร์" ใน ค.ศ. 1989 แต่ในสหราชอาณาจักรยังใช้เรียกโดยทางการว่า "เบอร์มา"
 นาอูรู 31 มกราคม 1968 รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เมื่อ 31 มกราคม ค.ศ. 1968
 นิวซีแลนด์ 11 ธันวาคม 1931 Dominion Day


 ซามัว ได้รับเอกราชจากนิวซีแลนด์เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1962
นิวซีแลนด์ มีดินแดนรัฐสัมพันธ์เสรีสองแห่ง ได้แก่
 หมู่เกาะคุก (ตั้งแต่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1965)
 นีวเว (ตั้งแต่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1974)

 ไนจีเรีย นอร์เทิร์นแคเมอรูนส์ 1 ตุลาคม 1960
 โอมาน รัฐสุลต่านแห่งมัสกัตและโอมาน 20 ธันวาคม 1951
 ปากีสถาน บริติชอินเดีย 14 สิงหาคม 1947 การขีดเส้นแบ่งอินเดีย
 บังกลาเทศ ได้รับเอกราชจากปากีสถานเมื่อ 26 มีนาคม ค.ศ. 1971
 กาตาร์ บริติชกาตารีในอารักขา 3 กันยายน 1971
 เซนต์ลูเชีย เซนต์ลูเชีย หมู่เกาะวินด์เวิร์ด 22 กุมภาพันธ์ 1979
 เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์คิตส์-เนวิส และแองกวิลลา หมู่เกาะลีเวิร์ด 19 กันยายน 1983
 เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เซนต์วินเซนต์ หมู่เกาะวินด์เวิร์ด 27 ตุลาคม 1979
 เซเชลส์ 29 มิถุนายน 1976
 เซียร์ราลีโอน 27 เมษายน 1961
 สิงคโปร์ 3 มิถุนายน 1959 ได้รับสถานะปกครองตนเองเมื่อ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1959 ต่อมาได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์จากมาเลเซียเมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965[2]
 หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะบริติชโซโลมอน 7 กรกฎาคม 1978
 แอฟริกาใต้ 22 พฤษภาคม 1934 สหภาพแอฟริกาใต้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1910 และต่อมาได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ภายหลังการรับรองธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ใน ค.ศ. 1934


 นามิเบีย ได้รับเอกราชจากแอฟริกาใต้เมื่อ 21 มีนาคม ค.ศ. 1990

 โซมาลีแลนด์ บริติชโซมาลีแลนด์ในอารักขา 26 มิถุนายน 1960 บริติชโซมาลีแลนด์ในอารักขาได้รับเอกราชเมื่อ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1960 จากนั้นได้เข้าร่วมกับดินแดนในภาวะทรัสตีโซมาเลียเมื่อ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 เพื่อก่อตั้งสาธารณรัฐโซมาลี และต่อมาได้แยกออกไปในภายหลังเพื่อก่อตั้งเขตปกครองตนเองโซมาลีแลนด์
 ศรีลังกา ซีลอน 4 กุมภาพันธ์ 1948 ได้รับเอกราชในฐานะประเทศซีลอนในเครือจักรภพ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นศรีลังกาใน ค.ศ. 1972
 ซูดาน 1 มกราคม 1956  ซูดานใต้ ได้รับเอกราชจากซูดานเมื่อ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
 แทนซาเนีย แทนกันยีกา 9 ธันวาคม 1961 แทนกันยีกาได้รับเอกราชเมื่อ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1961 และร่วมกับรัฐสุลต่านแห่งแซนซิบาร์เมื่อ 25 เมษายน ค.ศ. 1964 เพื่อก่อตั้งเป็นประเทศแทนซาเนีย
 ตองงา 4 มิถุนายน 1970
 ตรินิแดดและโตเบโก 31 สิงหาคม 1962
 ตูวาลู หมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ 1 ตุลาคม 1978
 ยูกันดา 9 ตุลาคม 1962
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รัฐทรูเชียล 2 ธันวาคม 1971 วันชาติ
 สหรัฐอเมริกา สิบสามอาณานิคมแห่งอเมริกา 4 กรกฎาคม 1776 วันประกาศอิสรภาพ แถลงการคำประกาศอิสรภาพจากราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ใน ค.ศ. 1776 และยุทธการสำคัญครั้งสุดท้ายในสงครามปฏิวัติอเมริกาใน ค.ศ. 1781 โดยรัฐบาลบริเตนใหญ่ได้รับรองเอกราชใน ค.ศ. 1783
 วานูวาตู นิวเฮบริดีส 30 กรกฎาคม 1980 ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1980
 เยเมน รัฐในอารักขาแห่งอาระเบียใต้
สหพันธรัฐอาระเบียใต้
30 พฤศจิกายน 1967 เยเมนใต้ ค.ศ. 1967
 แซมเบีย นอร์เทิร์นโรดีเชีย 24 ตุลาคม 1964
 ซิมบับเว เซาเทิร์นโรดีเชีย 18 เมษายน 1980 เซาเทิร์นโรดีเชียประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร เมื่อ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965

การเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศราชไปสู่เอกราช

ประเทศ วันที่ขึ้นเป็นประเทศราช วันที่ได้รับธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ วันที่สิ้นสุดอำนาจปกครองของสหราชอาณาจักร เหตุการณ์สุดท้าย วันสำคัญอื่นๆ
 ออสเตรเลีย 1 มกราคม 1901 9 ตุลาคม 1942 (มีผลตั้งแต่ ค.ศ. 1939) 3 มีนาคม 1986 พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986
 แคนาดา 1 กรกฎาคม 1867 11 ธันวาคม 1931 17 เมษายน 1982 พระราชบัญญัติแคนาดา ค.ศ. 1982
 ไอร์แลนด์ 6 ธันวาคม 1922 11 ธันวาคม 1931 18 เมษายน 1949 รัฐบัญญัติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และพระราชบัญญัติไอร์แลนด์ ค.ศ. 1949 ในการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐไอริช ค.ศ. 1916 และคำประกาศอิสรภาพไอริช ค.ศ. 1919 ไม่ได้รับการยอมรับโดยสหราชอาณาจักรแต่ใช้โดยผู้นำไอริชภายหลัง ค.ศ. 1922 ในเชิงสัญลักษณ์ โดยตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 1932 รัฐบาลไอร์แลนด์ในสมัยต่อๆ มาได้แก้ไขสถานะของรัฐโดยฝ่ายเดียวผ่านทางกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ (เพิกถอนสัตยาบัน) เมื่อ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นการยกเลิกสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์ ค.ศ. 1921, พระราชบัญญัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 27 พร้อมกับพระราชบัญญัติความสัมพันธ์ภายนอกเมื่อ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1936 เพื่อลดทอนบทบาทของพระมหากษัตริย์, การผ่านร่างรัฐธรรมนูญไอร์แลนด์เมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งจัดตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีไอร์แลนด์; กฎหมายสาธารณรัฐไอร์แลนด์เริ่มบังคับใช้เมื่อ 18 เมษายน ค.ศ. 1949 ซึ่งทำให้ไอร์แลนด์แยกตัวจากเครือจักรภพอย่างสมบูรณ์ ส่วนกฎหมายของสหราชอาณาจักรที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติเอเรอ (การรับรองข้อตกลง) ค.ศ. 1938 และพระราชบัญญัติไอร์แลนด์ ค.ศ. 1949
 นิวฟันด์แลนด์ 26 กันยายน 1907 17 เมษายน 1982 พระราชบัญญัติแคนาดา ค.ศ. 1982 นิวฟันด์แลนด์ลงมติเข้าร่วมกับแคนาดาใน ค.ศ. 1948 ด้วยคะแนนเสียง 52 ต่อ 48 ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1949
 แอฟริกาใต้ 31 พฤษภาคม 1910 11 ธันวาคม 1931 21 พฤษภาคม 1961 พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญแอฟริกาใต้ ค.ศ. 1961
 นิวซีแลนด์ 26 กันยายน 1907 25 พฤศจิกายน 1947 13 ธันวาคม 1986 พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1986 คำประกาศอิสรภาพนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1835, สนธิสัญญาไวตางี ค.ศ. 1840

อดีตดินแดนอาณานิคมของสหราชอาณาจักรที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอีกดินแดนอาณานิคมของสหราชอาณาจักรซึ่งต่อมาได้ขอคืนสถานะ

ประเทศ วันที่ ปี หมายเหตุ
 แองกวิลลา กรกฎาคม 1971

แองกวิลลาได้ประกาศเอกราชจากเซนต์คิตส์และเนวิสใน ค.ศ. 1967 ในเหตุการปฏิวัติแองกวิลลา เพื่อที่จะกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1971 และมีสถานะเป็นดินแดนอาณานิคมแห่งสหราชอาณาจักรอย่างเต็มตัว (ต่อมาใน ค.ศ. 2002 ได้เปลี่ยนการเรียกเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร) มีผลใน ค.ศ. 1980

ดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้กำกับของบริการอาณานิคมแห่งสหราชอาณาจักรที่ต่อมาได้รับเอกราช

ประเทศ ชื่อก่อนได้รับเอกราช
(กรณีต่างชื่อ)
วันที่ ปีที่ได้รับเอกราช
 แอนทีกาและบาร์บิวดา แอนทีกา หมู่เกาะลีเวิร์ด 1 พฤศจิกายน 1981
 บาฮามาส 10 กรกฎาคม 1973
 บาร์เบโดส 30 พฤศจิกายน 1966
 บอตสวานา เบชวานาแลนด์ 30 กันยายน 1966
 แคเมอรูน นอร์เทิร์นแคเมอรูนส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของไนจีเรียเมื่อ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1961 ส่วนเซาเทิร์นแคเมอรูนส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของแคเมอรูนเมื่อ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1961 1 ตุลาคม 1961
 ไซปรัส 16 สิงหาคม 1960
 ดอมินีกา ดอมินีกา หมู่เกาะวินด์เวิร์ด 3 พฤศจิกายน 1978
 เอสวาตินี สวาซีแลนด์ 6 กันยายน 1968
 แกมเบีย แกมเบีย 18 กุมภาพันธ์ 1965
 กานา โกลด์โคสต์ 6 มีนาคม 1957
 กรีเนดา กรีเนดา หมู่เกาะวินด์เวิร์ด 7 กุมภาพันธ์ 1974
 กายอานา บริติชกีอานา 26 พฤษภาคม 1966
 ฮ่องกง กลายเป็นเขตบริหารพิเศษแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน 1 กรกฎาคม 1997
 จาเมกา 6 สิงหาคม 1962
 เคนยา 12 ธันวาคม 1963
 คิริบาส หมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ 12 กรกฎาคม 1979
 เลโซโท บาซูโตแลนด์ 4 ตุลาคม 1966
 มาลาวี นยาซาแลนด์ 6 กรกฎาคม 1964
 มาเลเซีย สี่ส่วน ได้แก่ มาลายา บอร์เนียวเหนือ ซาราวัก และสิงคโปร์ 31 สิงหาคม 1957
 มัลดีฟส์ 26 กรกฎาคม 1965
 ไนจีเรีย 1 ตุลาคม 1960
 อิสราเอล 14 พฤษภาคม 1948
 เซนต์ลูเชีย เซนต์ลูเชีย หมู่เกาะวินด์เวิร์ด 22 กุมภาพันธ์ 1979
 เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์คิตส์-เนวิส และแองกวิลลา หมู่เกาะลีเวิร์ด 19 กันยายน 1983
 เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เซนต์วินเซนต์ หมู่เกาะวินด์เวิร์ด 27 ตุลาคม 1979
 เซเชลส์ 29 มิถุนายน 1976
 เซียร์ราลีโอน 27 เมษายน 1961
 โซมาเลีย บริติชโซมาลีแลนด์กลายเป็นส่วนหนึ่งของโซมาเลีย 26 มิถุนายน 1960
 ศรีลังกา ซีลอน 4 กุมภาพันธ์ 1948
 แทนซาเนีย แทนกันยีกา ซึ่งต่อมาได้รับเอกราชเมื่อ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1961 และต่อมาเข้าร่วมกับแซนซิบาร์ เมื่อ 25 เมษายน ค.ศ. 1964 เพื่อก่อตั้งประเทศแทนซาเนีย 9 ธันวาคม 1961
 ตรินิแดดและโตเบโก 31 สิงหาคม 1962
 ตูวาลู หมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ 1 ตุลาคม 1978
 ยูกันดา 9 ตุลาคม 1962
 วานูวาตู นิวเฮบริดีส 30 กรกฎาคม 1980
 เยเมน อาณานิคมเอเดนและดินแดนในอารักขา ต่อมากลายเป็นเยเมนใต้ใน ค.ศ. 1967 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเยเมนใน ค.ศ. 1990 30 พฤศจิกายน 1967
 แซมเบีย นอร์เทิร์นโรดีเชีย 24 ตุลาคม 1964
 ซิมบับเว 18 เมษายน 1980

ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรที่มีประชามติไม่รับเอกราช

ประเทศ วันที่ ปี หมายเหตุ
 เบอร์มิวดา 16 สิงหาคม 1995 ชาวเบอร์มิวดามีมติไม่รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในการลงประชามติใน ค.ศ. 1995 โดยคะแนนร้อยละ 73.6 ต่อ 25.7
 ยิบรอลตาร์ 7 พฤศจิกายน 2002 ยิบรอลตาร์มีการทำประชามติใน ค.ศ. 2002 โดยมีวัตถุประสงค์ในการรับรองการมีอธิปไตยร่วมกับประเทศ โดยผลการลงประชามติไม่รับถึงร้อยละ 98.48 ต่อร้อยละ 1.02 โดยยังคงถือเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรแต่เพียงประเทศเดียว
 หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ 11 มีนาคม 2013 ประชาชนชาวหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ลงประชามติใน ค.ศ. 2013 เพื่อยังคงสถานะการเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร โดยมีคะแนนรับรองถึงร้อยละ 99.8 ต่อร้อยละ 0.2

ดินแดนที่ไม่ได้มีประชามติในเอกราชซึ่งต่อมาพ้นสถานะการเป็นอาณานิคม

ประเทศ วันที่ ปี หมายเหตุ
 ฮ่องกง 30 มิถุนายน 1997 ใน ค.ศ. 1984 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ลงนามในปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ กับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน และตกลงจะส่งมอบฮ่องกงและดินแดนในปกครองให้กับประเทศจีนใน ค.ศ. 1997 โดยไม่เคยได้ผ่านการรับรองโดยการลงประชามติจากประชาชน และยังไม่เคยได้รับการรับรองโดยลงมติโดยสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง โดยการส่งมอบฮ่องกงคืนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997

ประเทศในสหราชอาณาจักรที่มีมติไม่รับเอกราช

ประเทศ วันที่ ปี หมายเหตุ
 ไอร์แลนด์เหนือ 8 มีนาคม 1973 ในการทำประชามติ ค.ศ. 1973 ผู้ลงคะแนนในไอร์แลนด์เหนือต้องทำการลงประชามติเพื่อจะคงอยู่ในสหราชอาณาจักรหรือจะแยกตนออกเป็นเอกราชและเข้าร่วมกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ โดยผลการลงประชามติมีเอกฉันท์เพื่อคงอยู่กับสหราชอาณาจักรด้วยคะแนนร้อยละ 98.9 ต่อร้อยละ 1.1 อย่างไรก็ตามเหล่าผู้รักชาติชาวไอริชได้คว่ำบาตรการลงคะแนนในครั้งนี้
 สกอตแลนด์ 18 กันยายน 2014 ในการลงประชามติเพื่อการรับเอกราชของสกอตแลนด์เมื่อ ค.ศ. 2014 ผู้ลงคะแนนร้อยละ 55.3 ของประชากรที่เป็นผู้มีถิ่นอาศัยในสกอตแลนด์ลงมติ "ไม่เห็นด้วย" ในคำถาม "สกอตแลนด์ควรจะแยกตนเป็นประเทศที่มีเอกราชหรือไม่?" ส่วนผู้ลงคะแนนร้อยละ 44.7 ตอบ "เห็นด้วย" ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 ได้มีการต่อรองเบื้องต้นเพื่อจะทำการเตรียมการด้านข้อตกลงในการลงประชามติเรื่องเอกราชของสกอตแลนด์ครั้งที่สองซึ่งได้ถูกเสนอโดยรัฐสภาสกอตแลนด์ แต่ได้ถูกปฏิเสธโดยนายกรัฐมนตรี โดยการยื่นขอลงประชามติครั้งที่สองนี้เกิดขึ้นในภายหลังจากผลของการลงคะแนนเบร็กซิต ซึ่งเสียงส่วนมากในอังกฤษและเวลส์นั้นต้องการออกจากสหภาพยุโรป ในขณะที่เสียงส่วนมากในสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือนั้นต้องการอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป

อ้างอิง

  1. "United Nations Member States". Un.org. สืบค้นเมื่อ 4 November 2008.
  2. https://www.bbc.com/news/world-asia-15971013
Kembali kehalaman sebelumnya