พระแม่คายตรี
คายตรี (Sanskrit: गायत्री, IAST:gāyatrī)เป็นเทวีในศาสนาฮินดูและเป็นบุคลาธิษฐานแห่งพระคาถาคายตรีของพระเวท อันเป็นมนตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากพระเวท[3] นามคำไวพจน์ของเจ้าแม่อันเป็นที่นิยมอื่น ๆ คือ สาวิตรี และ เวทมารดร (มารดรแห่งพระเวท) พระนางมีความเกี่ยวข้องกับพระสาวิตรี, พระสุริยเทพในพระเวท[4][5] และตามในคัมภึร์ สกันทะปุราณะ, คายตรี เป็นคำไวพจน์นามหนึ่งของพระสุรัสวดี หรือ เป็นเทพีภริยาอีกองค์หนึ่งของท้าวมหาพรหมธาดา[6] แต่ในลัทธิไศวะ, พระนางคือ พระเทพีมหาคายตรี อันเป็นเทพีภริยาศักติของพระศิวะ, ในภาคพระสทาศิวะอันมีห้าพักตร์สิบกรตามเทวประติมานวิทยา[7][8]ในบางท้องถิ่นพระนางคือเทพีภริยาศักติของพระวิษณุกรรม[9] เทพปกรณัมในบางปุราณะ, คายตรีเป็นคำไวพจน์นามหนึ่งของพระสุรัสวดี, เทพีเอกภริยาของพระพรหม[10] ตามคัมภีร์มัตยะปุราณะ, พลังของวรกายด้านซ้ายของพระพรหม คือ สตรี, ซึ่งคือพระสุรัสวดี, สาวิตรีและคายตรี[11] ในคัมภีร์กูรมะปุราณะพระฤๅษีโคดมได้รับการประสิทธิ์ประสาทพรจากเทวีในศาสนาฮินดูคายตรีและสามารถขจัดอุปสรรคที่ท่านเผชิญในชีวิตได้ และตามคัมภีร์สกันทะปุราณะ กล่าวว่าพระนางคายตรีเป็นสตรีอันได้เสกสมรสกับพระพรหม, ซึ่งเป็นอนุภริยารองจากพระสุรัสวดี[12] คัมภีร์ปุราณะไม่กี่เล่มกล่าวว่าพระแม่คายตรีเป็นเทวีอีกองค์หนึ่งอันมิใช่องค์กับพระสุรัสวดีและเสกสมรสกับพระพรหม ตามคัมภีร์ปัทมะปุราณะ นางคยาตรีคือ สตรีสามัญชนอันเป็นมนุษย์ชนชาติอภิระ (Abhira tribe) อันได้ช่วยเหลือพระพรหมในพิธีกรรมยัญโหมกูณฑ์ ณ นครบุษปกรสมบูณ์สัมฤทธิผล[13] โดยเอกภรรยาองค์ของพระพรหมคือ สาวิตรีและ คายตรี คืออนุภรรยา เรื่องราวยังปรากฏต่อไปว่าพระแม่สาวิตรีทรงพิโรธและไม่พอพระทัยในการเสกสมรสของพระพรหมกับนางคายตรี และกล่าวคำสาปแด่เทพบุรุษและเทพีทั้งมวลที่มีส่วนร่วมในพิธีครั้งนี้[14][15] อย่างไรก็ตาม ปัทมะปุราณาได้กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่พระเทพีสาวิตรีได้ทรงรับการขออภัยโทษจากพระพรหม พระวิษณุ และพระลักษมี ให้ทรงหายพิโรธแล้ว นางจึงยอมรับคยาตรี ซึ่งเป็นสตรีมุนษย์ชนชาติอภิระ โดยมีฐานะดังเช่นเป็นขนิษฐาของพระนางอย่างเกษมสันต์[16] เรื่องราวของพระแม่ได้รับการพัฒนาขนานนามต่อไปเป็นเทพีที่ทรงมีเทพลักษณะดุร้ายซึ่งสามารถสังหารปีศาจได้ ตามวราหะปุราณะ และ มหาภารตะ, พระแม่คายตรีได้ทรงปราบปรามปีศาจ เวตรสุระ (Vetrasura), บุตรชายของวฤตอสูร อันเกิดจากแม่น้ำเวตรวดี (Vetravati), อันตรงกับวันเทศกาลนวมี (Navami)[17][18] ในคติลัทธิไศวะ
ในลัทธิไศวะ มองว่า คายตรี เป็นมเหสีของ Parashiva ผู้สมบูรณ์ที่มีความสุขชั่วนิรันดร์ซึ่งปรากฏในรูปแบบของ พระสทาศิวะ มโนมณีมเหสีของพระสทาศิวะไม่ใช่ใครอื่นนอกจากรูปแบบมนต์ของคยาตรี ซึ่งครอบครองพลังของสามีของเธอ ภรกา ซึ่งอยู่ภายในตัวเธอ รูปแบบยอดนิยมของคายตรีที่มีห้าเศียรสิบกรพบครั้งแรกในภาพสัญลักษณ์ Saivite ของมโนมณีในอินเดียตอนเหนือเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ทัศนะของชาวไศวะเกี่ยวกับคายตรีดูเหมือนจะมีการพัฒนาในภายหลังจากการผสมผสานระหว่างการปฏิบัติพระเวทเกี่ยวกับความเคารพนับถือของคายตรีและการรวมชาวไศวะเข้าด้วยกันเป็นการสำแดงของ ศักติ นี่อาจเป็นที่มาของแง่มุมอันประเสริฐของ คายตรี ที่อธิบายไว้ในปุราณะในเวลาต่อมาว่านักฆ่าปีศาจ Vetra ระบุตัวเธอกับอาทิปราศักติ ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|