ภาษาเซี่ยงไฮ้
ภาษาเซี่ยงไฮ้ (上海閒話 ในภาษาเซี่ยงไฮ้; จีนตัวย่อ: 上海话 หรือ 沪语; จีนตัวเต็ม: 上海話 หรือ 滬語) หรือบางครั้งเรียกสำเนียงเซี่ยงไฮ้เป็นสำเนียงของภาษาอู๋ที่ใช้พูดในเมืองเซี่ยงไฮ้และบริเวณโดยรอบ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาเซี่ยงไฮ้เป็นเช่นเดียวกับสำเนียงอื่น ๆ ของภาษาอู๋คือสามารถเข้าใจกันได้กับภาษาจีนสำเนียงอื่น ๆ น้อยมากโดยเฉพาะภาษาจีนกลาง หรือแม้แต่กับสำเนียงย่อยอื่น ๆ ของภาษาอู๋ ภาษาเซี่ยงไฮ้เป็นตัวแทนของภาษาอู๋เหนือ (บริเวณทางใต้ของเจียงซูและทางเหนือของเจ้อเจียง) มีผู้พูดเกือบ 14 ล้านคน จัดเป็นสำเนียงที่มีผู้พูดมากที่สุดในบรรดาสำเนียงของภาษาอู๋ทั้งหมด ในเอกสารทางตะวันตก คำว่าภาษาเซี่ยงไฮ้หมายถึงภาษาอู๋ทั้งหมดโดยไม่ได้เน้นเฉพาะสำเนียงของภาษาอู๋ที่ใช้พูดในเซี่ยงไฮ้ สัทวิทยาภาษาเซี่ยงไฮ้มีรูปแบบของโครงสร้างพยางค์เช่นเดียวกับภาษาจีนอื่น ๆ โดยสามารถแบ่งออกเป็นหน่วยเสียงส่วนต้นและส่วนท้าย โดยส่วนท้ายสามารถมีส่วนแกนพยางค์ (medial) หรือไม่ก็ได้ และต้องมีส่วนท้ายพยางค์ (obligatory rime) เสียงวรรณยุกต์ก็เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพยางค์ในภาษาเซี่ยงไฮ้[1]: 6–16 โดยวรรณยุกต์ในพยางค์ (syllabic tone) ซึ่งเป็นคุณสมบัติทั่วไปของภาษาในตระกูลภาษาซินิติก ส่วนใหญ่กลายเป็นระดับน้ำเสียง (verbal tone) ในภาษาเซี่ยงไฮ้[ต้องการอ้างอิง] ต้นพยางค์
ภาษาเซี่ยงไฮ้มีชุดหน่วยเสียงอโฆษะสิถิล, อโฆษะธนิต และหน่วยเสียงโฆษะ ในพยัญชนะเสียงระเบิดและพยัญชนะเสียงกักเสียดแทรก เช่นเดียวกับมีหน่วยเสียงอโฆษะและโฆษะในพยัญชนะเสียงเสียดแทรก พยัญชนะต้นที่มีฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก (alveolo-palatal) ก็พบในภาษาเซี่ยงไฮ้เช่นกัน การออกเสียงพยัญชนะหยุด จะใช้การเปล่งเสียงคลาย (slack voice) ของหน่วยเสียงอโฆษะในตำแหน่งเริ่มต้นของคำที่เน้นเสียง[2] การออกเสียงนี้ (มักพบในเสียงพึมพำ) ยังเกิดขึ้นในพยางค์ที่ไม่มีหน่วยเสียงต้นพยางค์, พยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียงเสียดแทรก และพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียงก้องกังวาน (sonorants) พยัญชนะเหล่านี้จะเปล่งเป็นเสียงโฆษะในตำแหน่งที่อยู่ระหว่างสระ[3] ท้ายพยางค์ตารางด้านล่างแสดงเสียงสระในตำแหน่งแกนกลางพยางค์ของภาษาเซี่ยงไฮ้[4]
แผนภูมิต่อไปนี้แสดงส่วนท้ายพยางค์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด (พยัญชนะกลาง medial + แกนพยางค์ nucleus + พยัญชนะท้าย coda) ในภาษาเซี่ยงไฮ้ที่แสดงด้วย สัทอักษรสากล[4][5][1]: 11
การถอดเสียงข้างต้นใช้เป็นการทั่วไป และประเด็นต่อไปนี้เป็นข้อควรทราบซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกเสียงจริง:[4]
คนรุ่นใหม่หลายคนออกเสียงควบกล้ำสระ /e, ɤ/ เป็น [ei, ɤɯ]
พยางค์ท้าย [-ŋ] ซึ่งมีในภาษาจีนยุคกลางยังคงอยู่ ในขณะที่ [-n] และ [-m] อาจจะยังคงอยู่หรือหายไปแล้วในภาษาเซี่ยงไฮ้ พยางค์ท้ายของภาษาจีนยุคกลาง [-p -t -k] ได้กลายเป็นเสียงหยุดเส้นเสียง [-ʔ][6] วรรณยุกต์ภาษาเซี่ยงไฮ้มีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกันห้าเสียงสำหรับคำพยางค์เดียวที่พูดแยกต่างหาก วรรณยุกต์เหล่านี้แสดงไว้ด้านล่างในแบบ "อักษรวรรณยุกต์จ้าว (Chao tone letters)" ในแง่ของการกำหนดวรรณยุกต์ของภาษาจีนยุคกลางหมวดวรรณยุกต์ยิน มีสามเสียง (เสียงยินซั่ง และยินชู่ รวมกันเป็นเสียงเดียว) ในขณะที่ประเภทหยาง มีสองเสียง (หยางผิง, หยางซั่ง และหยางชู่ รวมกันเป็นเสียงเดียว)[7][1]: 17
ปัจจัยของเงื่อนไขที่นำไปสู่การแยกยิน–หยางยังคงมีอยู่ในภาษาเซี่ยงไฮ้เช่นเดียวกับในภาษาอู๋อื่น ๆ : วรรณยุกต์หยางจะพบเฉพาะกับพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเสียงโฆษะ [b d ɡ z v dʑ ʑ m n ɲ ŋ l ɦ] ในขณะที่วรรณยุกต์ยินนั้น พบเฉพาะกับพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเสียงอโฆษะเท่านั้น [ต้องการอ้างอิง] เสียงของวรรณยุกต์ รู่ จะดังขึ้นอย่างฉับพลัน และแสดงถึงพยางค์ท้ายคำเหล่านั้นซึ่งลงท้ายด้วยเสียงหยุดเส้นเสียง /ʔ/ นั่นคือทั้งความแตกต่างของยิน–หยาง และวรรณยุกต์ รู่ เป็นแบบหน่วยเสียงย่อย (allophonic) ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างพยางค์ ภาษาเซี่ยงไฮ้มีความแตกต่างของการออกเสียงวรรณยุกต์แบบสองทางเท่านั้น[8] คือเสียงเปลี่ยนตกและเสียงเปลี่ยนขึ้น และจะมีเฉพาะในพยางค์เปิดที่มีพยัญชนะต้นเสียงอโฆษะเท่านั้น วรรณยุกต์สนธิวรรณยุกต์สนธิ เป็นกระบวนการที่เสียงวรรณยุกต์ที่อยู่ติดกันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในระหว่างการพูดที่ติดต่อกัน เช่นเดียวกับสำเนียงอื่น ๆ ของภาษาอู๋ภาคเหนือ ภาษาเซี่ยงไฮ้มีลักษณะวรรณยุกต์สนธิสองรูปแบบ: วรรณยุกต์สนธิคำ และวรรณยุกต์สนธิวลี วรรณยุกต์สนธิคำ ในภาษาเซี่ยงไฮ้ สามารถอธิบายได้ว่าคำที่มีความเด่นด้านซ้าย (เน้นพยางค์แรกเด่น) จะมีลักษณะการครอบงำของพยางค์แรกเหนือรูปร่างของขอบเขตเสียงทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เสียงวรรณยุกต์หลักของพยางค์อื่นที่ไม่ใช่พยางค์ซ้ายสุดจึงไม่มีผลกระทบต่อรูปร่างของขอบเขตเสียง รูปแบบโดยทั่วไปอธิบายว่าเป็นการกระจายของเสียงวรรณยุกต์ (T1-4) หรือการเปลี่ยนวรรณยุกต์ (T5 ยกเว้นสำหรับคำประกอบ 4 และ 5 พยางค์ ซึ่งอาจเกิดการกระจายหรือการเปลี่ยนก็ได้) ตารางด้านล่างแสดงการผสานเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นไปได้
ตัวอย่างเช่น ในการแยกพยางค์สองพยางค์ของคำว่า 中国 จะออกเสียงด้วยวรรณยุกต์ T1 และ T4: /tsʊŋ˥˨/ และ /kwəʔ˦/ อย่างไรก็ตามเมื่อออกเสียงรวมกันเสียง T1 จาก /tsʊŋ/ กระจายไปทั่วคำประกอบทำให้เกิดรูปแบบ /tsʊŋ˥kwəʔ˨/ ในทำนองเดียวกันพยางค์ในนิพจน์ 愚蠢的 มีการแสดงการออกเสียงและวรรณยุกต์ตามลำดับดังนี้: /zəʔ˨˦/ (T5), /sɛ˥˨/ (T1), และ /ti˧˦/ (T2) อย่างไรก็ตามพยางค์ที่รวมกันจะแสดงรูปแบบการเปลี่ยน T5 โดยที่ T5 พยางค์แรกจะเปลี่ยนไปเป็นพยางค์สุดท้ายในขอบเขต: /zəʔ˩sɛ˩ti˨˦/[1]: 38–46 วรรณยุกต์สนธิวลี ในภาษาเซี่ยงไฮ้สามารถอธิบายได้ว่ามีความโดดเด่นด้านขวาและมีลักษณะที่พยางค์ด้านขวาจะรักษาเสียงวรรณยุกต์ไว้และพยางค์ด้านซ้ายได้รับเสียงระดับกลางตามพื้นฐานของเสียงวรรณยุกต์ระดับ ตารางด้านล่างแสดงเสียงพยางค์ด้านซ้ายที่เป็นไปได้ในคำประกอบที่มีความโดดเด่นด้านขวา[1]: 46–47
ตัวอย่างเช่นเมื่อรวม /ma˩˦/ (买) และ /tɕjɤ˧˦/ (酒) จะกลายเป็น /ma˧tɕjɤ˧˦/ (买酒) บางครั้งความหมายอาจเปลี่ยนไป โดยขึ้นอยู่กับว่าใช้วรรณยุกต์สนธิโดยมีความเด่นด้านซ้ายหรือด้านขวา ตัวอย่างเช่น /tsʰɔ˧˦/ (炒) และ /mi˩˦/ (面) เมื่อออกเสียง /tsʰɔ˧mi˦/ (กล่าวคือวรรณยุกต์สนธิเด่นด้านซ้าย) หมายถึง "บะหมี่ผัด" เมื่อออกเสียงว่า /tsʰɔ˦mi˩˦/ (ซึ่งวรรณยุกต์สนธิเด่นด้านขวา) จะแปลว่า "ผัดบะหมี่" [1] : 35 การเมืองของภาษาภาษาเซี่ยงไฮ้ไม่มีการสอนในโรงเรียน ไม่ได้ใช้ในการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และมีการควบคุมการใช้ในสื่อออกอากาศ ทำให้ผู้ดำเนินรายการไม่เสี่ยงที่จะใช้ภาษาเซี่ยงไฮ้ รายการทางโทรทัศน์ที่ใช้ภาษาเซี่ยงไฮ้เริ่มมีหลัง พ.ศ. 2533 แต่เป็นจำนวนน้อย ชาวเซี่ยงไฮ้ในชนบทที่อายุมากยังฟังวิทยุภาษาเซี่ยงไฮ้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้รณรงค์ให้ใช้ภาษาจีนกลางมากขึ้น เช่น คำขวัญที่ว่า "เป็นคนเซี่ยงไฮ้สมัยใหม่ พูดภาษาจีนกลาง" ใน พ.ศ. 2548 รัฐบาลได้พยายามสนับสนุนให้ชาวเซี่ยงไฮ้ใช้ภาษาจีนกลางมากยิ่งขึ้น คนงานในอุตสาหกรรมบริการในเซี่ยงไฮ้ต้องใช้ภาษาจีนกลางเท่านั้น และตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ต้องผ่านการทดสอบภาษาจีนกลางก่อน ถ้าไม่ผ่านหรือออกเสียงไม่ถูกต้องต้องกลับไปเรียนภาษาจีนกลางใหม่ ความเข้าใจกันได้และความแปรผันผู้พูดภาษาเซี่ยงไฮ้ไม่สามารถเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาจีนกลางสำเนียงใดเลย โดยมีความเข้าใจกันได้กับภาษาจีนกลางมาตรฐานเพียง 50% ซึ่งใกล้เคียงกับความเข้าใจกันได้ระหว่างภาษาฝรั่งเศสกับภาษาเยอรมัน ผู้พูดภาษาเซี่ยงไฮ้ยุคใหม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนกลาง ทำให้ภาษาเซี่ยงไฮ้ของวัยรุ่นในเมืองต่างจากภาษาเซี่ยงไฮ้ของคนรุ่นก่อน และมีการสอดแทรกประโยคจากภาษาจีนกลางเข้าไปในการสนทนาในชีวิตประจำวัน ภาษาเซี่ยงไฮ้จัดอยู่ในกลุ่มของภาษาอู๋ซึ่งสำเนียงต่าง ๆ ของภาษาในกลุ่มนี้สามารถที่จะเข้าใจกันได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนไปพูดภาษาจีนกลาง แม้จะมีความแตกต่างทางด้านวรรณยุกต์และความแปรผันในแต่ละพื้นที่บ้าง คำและวลีที่ใช้ทั่วไปในภาษาเซี่ยงไฮ้หมายเหตุ: อักษรจีนที่ใช้ไม่ได้เป็นมาตรฐานและใช้เฉพาะการอ้างอิงเท่านั้น IPA ถอดเสียงจากภาษาเซี่ยงไฮ้ยุคกลาง (中派上海话) ซึ่งใช้โดยผู้ที่มีอายุ 20 - 60 ปี
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ภาษาเซี่ยงไฮ้ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาอู๋
|