Share to:

 

ภาษาจ้วง

ภาษาจ้วง
話僮
ประเทศที่มีการพูดประเทศจีน
จำนวนผู้พูด16 ล้านคน ทั้งหมดมาจากกลุ่มภาษาจ้วงเหนือ  (2007)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบมาตรฐาน
ระบบการเขียนจ้วง, จ้วงเก่า, สือดิบผู้จ่อง, Sawgoek
รหัสภาษา
ISO 639-1za
ISO 639-2zha
ISO 639-3zhaรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
zch – จ้วงแบบหงสุ่ยเหอตอนกลาง
zhd – จ้วงแบบไต้ (เหวินหมา)
zeh – จ้วงแบบหงสุ่ยเหอตะวันออก
zgb – จ้วงแบบกุ้ยเป่ย์
zgn – จ้วงแบบกุ้ยเปียน
zln – จ้วงแบบเหลียนซาน
zlj – จ้วงแบบหลิ่วเจียง
zlq – จ้วงแบบหลิ่วเฉียน
zgm – จ้วงแบบหมิน
zhn – จ้วงแบบหนง (ยั่นกว่าง)
zqe – จ้วงแบบชิวเป่ย์
zyg – จ้วงแบบยาง (เต๋อจิ้ง)
zyb – จ้วงแบบหย่งเป่ย์
zyn – จ้วงแบบหย่งหนาน
zyj – จ้วงแบบโย่วเจียง
zzj – จ้วงแบบจั่วเจียง
การกระจายทางภูมิศาสตร์ของสำเนียงภาษาจ้วงในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและภาษาใกล้เคียงในเวียดนามเหนือและมณฑลกุ้ยโจว
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาจ้วง (จ้วง: Vahcuengh ก่อน ค.ศ. 1982: Vaƅcueŋƅ, สือดิบผู้จ่อง: 話僮, จาก วา, 'ภาษา' และ ชูง, 'จ้วง'; จีนตัวย่อ: 壮语; จีนตัวเต็ม: 壯語; พินอิน: Zhuàngyǔ) เป็นภาษาของชาวจ้วงในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไท มีวรรณยุกต์ 6 เสียง ระบบการเขียนมีทั้งแบบที่ยืมมาจากอักษรจีน คล้ายกับอักษรจื๋อโนมของเวียดนาม เรียก สือดิบผู้จ่อง และแบบที่เขียนด้วยอักษรละติน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2500 และปรับปรุงอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2529

ระบบการออกเสียง

พยัญชนะ

ภาษาจ้วงมีพยัญชนะ 22 ตัว

เสียงผิวปาก b [p]

mb [ɓ]

m [m]

ม, หม

f [f]

ฟ, ฝ

v [β]

ว, หว

เสียงหางลิ้น d [t]

nd [ɗ]

n [n]

s [θ]

ซ, ส

l [l]

ล, หล

เสียงต้นลิ้น/เสีนงคอ g [k]

gv [kʷ]

กฺว

ng [ŋ]

ง, หง

h [h]

ฮ, ห

r [ɣ]

ร, หร

เสียงหน้าลิ้น/เสียงปากกลม c [ɕ]

y [ˀj]

ย, หย

ny [ɲ]

ญ*, หญ

ngv [ŋʷ]

งฺว*, หงฺว

by [pʲ]

ปฺย*

gy [kʲ]

กฺย*

my [mʲ]

มฺย*, หมฺย

ตัวอย่างและเทียบกับภาษาไทย

b --- bae ไป bingj ปิ้ง baek ปัก baet ปัด bag ปาก bangj ไล่ bongq ป่อง

mb --- mbaj บ้า mbang บาง mbaeu เบา mbiengj(mbwengj)เบื้อง mbag บาก mbanj บ้าน mbauq บ่าว

m --- maz มา ma หมา miz มี mwngz มึง maeuz เมา mok หมอก mok ท้อง

f --- fax ฟ้า fiengz(fangz)ฟาง faenz ฟัน feiz ไฟ faek ฟัก faet ฟัด fongz ฟอง

v --- vah ว่า vangq ว่าง vanz วาน vieng เหวียง?

d --- da ตา dou ประตู daem ตำ daengj ตั้ง daep ตับ

nd --- ndaq ด่า ndaeng ดัง ndaengq ด่าง ndai ดาย

n --- nou หนู naz นา naj หน้า naeng หนัง nanz นาน

s --- song สอง sam สาม sang(sung)สูง saek ซัก saenq สั่น sanq แยกย้าย

l --- lingz ลิง lungz ลุง langq ล้าง lai หลาย laeux เล้า linx ลิ้น

g --- gangj ก้าง goenj ก้น gad กาด gaet กัด gaem กำ gu กู

gv --- gvad กวาด gvangj กว้าง gvengj ขว้าง gvang กวาง gvan กวาน gvaek กวัก

ng --- ngaenz(ngwnz)เงิน ngaz งา ngaeuz เงา

h --- ha หา hau หาว haeuq เห่า heuq เหี่ยว hanq ห่าน

r --- ruz รู rox(rux)รู้ rangz ราง raeq ไร่ raemz รำ rungh รุ่ง

c --- caz ชา cingz เชียง congq ช่อง caemj ช้ำ caiz ชาย cog จอก(แก้ว)

y --- youq อยู่ yaemq ย้ำ yiengq อย่าง(เยี่ยง) yieb เหยียบ yiek อยาก yied เหยียด

ny --- nyaj หญ้า nying หญิง nyungz ยุง nyeuh(neuh) เยี่ยว nyod ยอด

ngv --- ngvaenz (vaenz)วัน

by --- bya ปลา byaix ผ้าย byaek ผัก byak ผาก byaeuh เปล่า

gy --- gyang กลาง gyoen กลน gyueng กลวง gyu เกลือ

my --- myaiz(laiz)ลาย

สระ

ภาษาจ้วงมีสระ 78 ตัว.

e อยู่หลังตัว a,o หมายถึง a,o ออกเสียงสั้น ,อยู่หลัง i,u,w หมายถึง i,u,w ออกเสียงยาว.

aei ย่อเป็น ae.

สระเสียงนุ่ม a [aː]

อา

e [eː]

เอ(แอ)

i [iː]

อี

o [oː]

โอ(ออ)

u [uː]

อู

w [ɯː]

อือ

ai [aːi]

อาย

ae [ai]

ไอ

ei [ei]

เอ็ย (เอ-อิ)

(ie)

เอีย

oi [oːi]

ออย

ui [uːi]

อูย

wi [ɯːi]

เอย/เอือย, อืย

au [aːu]

อาว

aeu [au]

เอา

eu [eːu]

แอว, เอว

iu [iːu]

อีว

ou [ou]

โอว

aw [aɯ]

ใอ

(ieu)

เอียว

am [aːm]

อาม

aem [am]

อำ

em [eːm]

เอม

iem [iːm]

เอียม

im [im]

อิม

om [oːm]

โอม

oem [om]

อม

uem [uːm]

อูม

um [um]

อุม

(wem)

เอือม

(wm)

อึม/อืม

an [aːn]

อาน

aen [an]

อัน

en [eːn]

เอน

ien [iːn]

เอียน

in [in]

อิน

on [oːn]

ออน

oen [on]

อน

uen [uːn]

อูน

un [un]

อุน

wen [ɯːn]

เอือน

wn [ɯn]

อืน/อึน

ang [aːŋ]

อาง

aeng [aŋ]

อัง

eng [eːŋ]

แอง

ieng [iːŋ]

เอียง

ing [iŋ]

อิง

ong [oːŋ]

ออง

oeng [oŋ]

อง

ueng [uːŋ]

อูง/วง

ung [uŋ]

อุง

(weng)

เอือง

wng [ɯŋ]

อึง

check tone ap [aːp]

อาบ

aep [ap]

อับ

ep [eːp]

แอบ

iep [iːp]

เอียบ

ip [ip]

อิบ

op [oːp]

ออบ

oep [op]

อบ

uep [uːp]

อูบ/วบ

up [up]

อุบ

(wep)

เอือบ

(wp)

อืบ/อึบ

at [aːt]

อาด

aet [at]

อัด

et [eːt]

แอด

iet [iːt]

เอียด

it [it]

อิด

ot [oːt]

ออด

oet [ot]

อด

uet [uːt]

อูด/วด

ut [ut]

อุด

wet [ɯːt]

เอือด

wt [ɯt]

อึด/อืด

ak [aːk]

อาก

aek [ak]

อัก

ek [eːk]

แอก

iek [iːk]

เอียก

ik [ik]

อิก

ok [oːk]

ออก

oek [ok]

อก

uek [uːk]

อูก/วก

uk [uk]

อุก

(wek)

เอือก

wk [ɯk]

อึก

ตัวอย่างและเทียบกับภาษาไทย

2.1 กลุ่ม a

a --- maz มา aj อ้า ra/ha หา vah ภาษา

ai --- gai ขาย dai ตาย lai หลาย vaiz วาย aih รัก

ae(aei)--- bae ไป lae ไหล mae ไหม saej ไส้ hae เปิด

au --- mbauh บ่าว hau หาว auh อาว nauq ไม่

aeu --- baeuq เป่า mbaeu เบา laeux เหล้า haeux ข้าว saeu เก็บ

aw --- daw ไต lawz ไร saw ใส fawh ตลาด

am --- nam หนาม lamq ล่าม vamz ความ am หุงข้าว

aem --- gaem กำ raem หำ raemx น้ำ yaemq เหยียบ

an --- lan หลาน van หวาน nan นาน mbanj บ้าน ganj สบู่

aen --- baen ปัน maen หมัน haen ขัน daenj กลับกัน

ang --- langx ล้าง gyang กลาง nangz นาง dangq ต่าง vangj ผิด

aeng --- haeng ขัง daengj ตั้ง laeng หลัง caengz ยังไม่

ap --- nap นาบ hap หาบ

aep --- haep ปิด daep นับ

ab --- ab อาบ gab กาบ

aeb --- naeb ลดลง gaep จับ

at --- sat สาด gat กาด

aet --- naet รัก laet ลด

ad --- bad ปาด mbad บาด

aed --- gaed กับ aed เต็ม/เยอะ

ak --- mak หมาก fak ฝาก

aek --- naek หนัก gaek ตนเอง

ag --- bag ปาก lag ลาก

aeg --- daeg หัก myaeg ด่า

2.2 กลุ่ม --- e

e --- geq แก่ meq แม่ lez แล

ei --- fei ไฟ myeiz แลก

eu --- heuj เกี่ยว meuz แมว ceuj ผัด neuq เยี่ยว

(ieu --- bieu ปลิว dieu เจ้าเล่ห์ jieuh ดู )

em --- gemj แก้ม dem เต็ม nemj หนีบ

en --- benj แผ่นใม้ gen แขน nenj กด

eng --- rengz แรง deng แตง mengz แมรง gengz ตะแคง seng เกิด

ep --- hep แหบ sep แสบ dep กิน gep เก็บ

eb --- meb กลัว yeb ราบ eb บังคับ

et --- het ทำ net เหนื่อย get เกลียด met เม็ด

ek --- dek/bekแตก hek หม้อ lek เหล็ก

eg --- mbeg แบก deg วาง ndeg เด็ก

2.3 กลุ่ม --- i

i --- miz มี miq ไม่ bi ปี

(ie --- vieq เขียน cie รถ )

iu --- ndiuj ชัง niuj นิ้ว hiuj หิ้ว

(ieu --- bieu ปลิว lieu เที่ยว mieuh วัด)

iem --- riemj เหล็ม giemh กระบี่

ien --- vienh หัน bienh เปลี่ยน bienq เพี้ยน

ieng --- biengz ราบ gieng เขียง nieng เหนียง

iep/ieb --- yieb เหยียบ ndieb เดียบ(รัก)

iet/ied --- yied เหยียด died เตียด(ตกใจ)

iek/ieg ---giek เกียก(ผ่า) ciek ฉีก bieg(เปิดอ่าน)

im dim --- เต็ม imq อิ่ม byimq ปลิม(มอง) cimz ชิม

in --- hin(rin)หิน mbin บิน minz มัน yinz ยิน

ing --- lingzลิง bingj ปิ้ง nding(ndeng) แดง hing ขิง

ip/ib --- gib กีบเท้า yip หยิบ sip สีบ

it/id --- lid ลิด(ลื้อ) cit ฉีด mak-it องุ่น(หมาก อิด)

ik/ig --- big ปิก dik ถิบ gik เหมน

2.4 กลุ่ม o

o --- moj หม้อ o ออ/รวม goq ก่อ hoz คอ

oi --- hoij ห้อย moi หมอย noix น้อย doi ถอย

ou --- ou ส่วนใหญ่แปลงมาจากสระ u เฉ่น mou/mu หมู dou/du ประตู nou/nu หนู

om --- hom หอม gyomq กล่อม byom ผอม lomj ล้อม

on --- bonj ป้อน mon หมอน non หนอน hon หงอน son สอน

ong --- song สอง dong ตอง gyong กลอง bongq ป่อง rongx ร้อง

oem --- hoemz คม noemz นม loemz ลม doemj ต้ม loemj ล้ม

oen --- loenq/lwnq หล่น boenx/bwnx พ้น gyoen/gywn กรน

oeng --- soengq ส่ง loengz ลง goeng กองไฟ

op/ob --- hop หอบ gop คอบ dop ครั้ง gob กอบ hob หิบ myob(มลอบ) แอบดู

ot/od --- hot หอด got คอด dot ถอด lot ฮอด/ถึง god กอด mbod บอด dod ทอดทิ้ง

ok/og --- hok หงอก mok หมอก sok ศอก cog จอก/แก้ว mbyog(บลอก) ดอก og ออก

oep/oeb --- doep ตบ oep อบ

oet/oed --- doet ตด

oek/oeg --- doek ตก

2.5 กลุ่ม u

u --- ตังนี้ในภาษาจ้วงเหนือส่วนมากออกเสียงเป็น เอา แต่ในจ้วงใต้ยังออกเสียงเป็น อู

ui --- duij ถ้วย nduij ด้วย cuiq ซวย

un --- vunz คน unq อุ่น

um --- lum เหมือน

ung --- lungz ลุง

uen --- suenq กระเทียม luenh วุ่นวาย duenh ทวน

uem --- duemx ถ้วม ruemj ห้องนอน ruemh ร่วม

ueng --- lueng หลวง duengx ทักทาย

up/b ---

uk/g ---lug ลูก suk สุก

ut/d ---gud ผักกุด

uep/b --- tuep ทบ

uek/g --- lueg ลวก

uet/d --- luet หลุด nued นวด

วรรณยุกต์

ภาษาจ้วงมี 6 วรรณยุกต์, ลดเป็น 2 (หมายเลข 3 และ 6) ในคำตาย:

Tones
วรรณยุกต์ หมายเลขรูปร่าง IPA Letters
1957
Letters
1982
ชื่อเรียก ตัวอย่าง คำอ่านและคำแปล
1 24 /ǎ/ /˨˦/ (none) จัตวา son สอน
2 31 /a᷆/ /˧˩/ Ƨ ƨ Z z เอก mwngz คุณ/เธอ/มึง
3 55 /a̋/ /˥/ З з J j ตรี hwnj ปีน
-p/t/k ตรี + คำตาย bak ปาก
4 42 /â/ /˦˨/ Ч ч X x โท max ม้า
5 35 /a᷄/ /˧˥/ Ƽ ƽ Q q ตรี gvaq ข้าม
6 33 /ā/ /˧/ Ƅ ƅ H h สามัญ dah แม่น้ำ
-b/g/d สามัญ + คำตาย bag ฟัน(คำกริยา)
7 - เสียงเบา (เสียงเอกตาย) doek ตก

ประโยคของคำว่า Son mwngz hwnj max gvaq dah (Son mɯŋƨ hɯnз maч gvaƽ daƅ) "สอนขี่ม้าข้ามแม่น้ำ" มักใช้เพื่อช่วยให้ผู้คนจดจำวรรณยุกต์ทั้งหก

น้ำเสียงวรรณยุกต์สำหรับพยางค์เปิด (ไม่ลงท้ายด้วยพยัญชนะปิด) จะเขียนไว้ที่ท้ายพยางค์

สำเนียงย่อย

ภาษาจ้วงแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

ภาษาจ้วงเหนือ (รหัสเดิม ccx ยกเลิกเมื่อปี 2007) คือภาษาถิ่นทางตอนเหนือของแม่น้ำหย่ง (หย่งเจียง 邕江) มีผู้พูด 8,572,200 คน ถือว่าเป็นสำเนียงมาตรฐาน แบ่งออกเป็น

  • แบบกุ้ยเป่ย์ (桂北: zgb) มีผู้พูด 1,290,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Luocheng, Huanjiang, Rongshui, Rong'an, Sanjiang, Yongfu, Longsheng, Hechi, Nandan, Tian'e, Donglan
  • แบบหลิ่วเจียง (柳江: zlj) มีผู้พูด 1,297,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Liujiang, Laibin North, Yishan, Liucheng, Xincheng
  • แบบหงสุ่ยเหอ (红水河) มีผู้พูด 2,823,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Laibin South, Du'an, Mashan, Shilong, Guixian, Luzhai, Lipu, Yangshuo
    • Castro และ Hansen (2010) ได้แบ่งสำเนียงนี้ออกเป็น 3 ภาษาที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ ได้แก่ หงสุ่ยเหอตอนกลาง (中红水河: zch), หงสุ่ยเหอตะวันออก (东红水河: zeh), และหลิ่วเฉียน (柳黔: zlq)
  • แบบหย่งเป่ย์ (邕北: zyb) มีผู้พูด 1,448,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yongning North, Wuming (สำเนียงมาตรฐาน), Binyang, Hengxian, Pingguo
  • แบบโย่วเจียง (右江: zyj) มีผู้พูด 732,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Tiandong, Tianyang, และพื้นที่บางส่วนของเมือง Baise; ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโย่ว
  • แบบกุ้ยเปียน (桂边: zgn) มีผู้พูด 827,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Fengshan, Lingyun, Tianlin, Longlin, Yunnan Guangnan North
  • แบบชิวเป่ย์ (丘北: zqe) มีผู้พูด 122,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yunnan Qiubei
  • แบบเหลียนซาน (连山: zln) มีผู้พูด 33,200 คน อาศัยอยู่บริเวณ Guangdong Lianshan, Huaiji North

ภาษาจ้วงใต้ (รหัสเดิม ccy ยกเลิกเมื่อปี 2007) คือภาษาถิ่นทางตอนใต้ของแม่น้ำหย่ง มีผู้พูด 4,232,000 คน แบ่งออกเป็น

  • แบบหย่งหนาน (邕南: zyn) มีผู้พูด 1,466,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yongning South, Fusui Central และ North, Long'an, Jinzhou, Shangse, Chongzuo
  • แบบจั่วเจียง (左江: zzj) มีผู้พูด 1,384,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Longzhou (Longjin), Daxin, Tiandeng, Ningming; อยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำจั่ว
  • แบบเต๋อจิ้ง (得靖) มีผู้พูด 979,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Jingxi, Debao, Mubian, Napo
    • Jackson และ Lau (2012) ได้แบ่งสำเนียงนี้ออกเป็น 2 ภาษาที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ ได้แก่ ยาง (央: zyg), และหมิน (民: zgm)
  • แบบยั่นกว่าง (砚广: zhn) หรือแบบหนง (侬) มีผู้พูด 308,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yunnan Guangnan South, Yanshan
  • แบบเหวินหมา (文麻: zhd) หรือแบบไต้ (岱) มีผู้พูด 95,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yunnan Wenshan, Malipo, Guibian

อ้างอิง

  1. Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin

บรรณานุกรม

  • Zhuàng-Hàn cíhuì 壮汉词汇 (ภาษาจีน). Nanning: Guangxi minzu chubanshe. 1984.
  • Edmondson, Jerold A.; Solnit, David B., บ.ก. (1997). Comparative Kadai: The Tai Branch (ภาษาอังกฤษ). Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington.
  • Johnson, Eric C. (2010). "A Sociolinguistic Introduction to the Central Taic Languages of Wenshan Prefecture, China" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). SIL International. SIL Electronic Survey Report 2010-027.
  • Zhuàng-Hàn-Yīng cídiǎn / Guengh Gun Yingh swzdenj / Zhuang–Chinese–English Dictionary 壮汉英词典. Beijing: Minzu chubanshe. 2004. ISBN 7-105-07001-3.
  • Tan, Xiaohang 覃晓航 (1995). Xiàndài Zhuàngyǔ 现代壮语 (ภาษาจีน). Beijing: Minzu chubanshe.
  • Tan, Guosheng 覃国生 (1996). Zhuàngyǔ fāngyán gàilùn 壮语方言概论 (ภาษาจีน). Nanning: Guangxi minzu chubanshe.
  • Wang, Mingfu 王明富; Johnson, Eric 江子杨 (2008). Zhuàngzú wénhuà yíchǎn jí zhuàngyǔ yánjiū / Zhuang Cultural and Linguistic Heritage 壮族文化遗产及壮语研究 (ภาษาจีน และ อังกฤษ). Kunming: Yunnan minzu chubanshe / The Nationalities Publishing House of Yunnan. ISBN 978-7-5367-4255-0.
  • Wei, Qingwen 韦庆稳; Tan, Guosheng 覃国生 (1980). Zhuàngyǔ jiǎnzhì 壮语简志 (ภาษาจีน). Beijing: Minzu chubanshe.
  • Zhang, Junru 张均如; และคณะ (1999). Zhuàngyǔ fāngyán yánjiū 壮语方言研究 [A Study of Zhuang Dialects] (ภาษาจีน). Chengdu: Sichuan minzu chubanshe.
  • Zhou, Minglang (2003). Multilingualism in China: The Politics of Writing Reforms for Minority Languages, 1949–2002 (ภาษาอังกฤษ). Berlin: Mouton de Gruyter. pp. 251–258. ISBN 3-11-017896-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya