Share to:

 

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ

อักษรจีน คืออักษรภาพที่ถูกใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) ในปัจจุบัน นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก[1][2][3] นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต่า

พ.ศ. 2442 หวัง อี้หรง (王㦤榮) นักวิชาการจากปักกิ่ง พบสัญลักษณ์คล้ายอักษรบนกระดูกมังกร (กระดูกสัตว์ที่ชาวบ้านคิดว่าเป็นกระดูกมังกร) ที่เขาได้รับจากเภสัชกร ในเวลานั้น กระดูกมังกรซึ่งมักเป็นซากฟอสซิลของสัตว์ ยังใช้ในการแพทย์แผนจีน กระดูกสัตว์เหล่านั้นพบมาก ในซากปรักหักพังของเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ซัง ทางเหนือของมณฑลเหอหนาน

ระบบการเขียนภาษาจีน

อักษรจีนอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ฮั่นจื้อ (漢字) สัญลักษณ์แต่ละตัวแสดงคำในภาษาจีนและความหมาย มีจุดกำเนิดจากรูปคน สัตว์ หรือสิ่งอื่นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป รูปร่างของอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างและไม่เหมือนกับสิ่งที่เลียนแบบอีกต่อไป สัญลักษณ์หลายตัวเกิดจากสัญลักษณ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน

ระบบอักษรจีนไม่มีข้อกำหนดเรื่องจำนวนอักษร พจนานุกรมที่ใหญ่ที่สุดชื่อ Zhonghua Zihai (中華字海) มีอักษร 85,568 ตัว [4] แต่ส่วนใหญ่มีที่ใช้น้อย การรู้อักษรจีนเพียง 3,000 ตัวจะสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาจีนได้ราว 99 % ในการอ่านวรรณคดี งานเขียนทางเทคนิคหรือหนังสือโบราณ ต้องรู้ประมาณ 6,000 ตัว

ขีด

อักษรจีนประกอบด้วยขีดตั้งแต่ 1-64 ขีด ในพจนานุกรมจะเรียงอักษรตามหมวดนำและจำนวนขีด เมื่อเขียนอักษรจีน อักษรแต่ละตัวจะมีระยะห่างเท่าๆ กัน ไม่ขึ้นกับจำนวนขีดที่มีอยู่ อักษรที่รวมเป็นคำประสมจะไม่รวมกลุ่มเป็นอักษรเดียวกัน เพราะฉะนั้นในการอ่านภาษาจีน นอกจากต้องรู้ถึงความหมายและการออกเสียงของแต่ละคำแล้ว ยังต้องรู้ด้วยว่าอักษรใดรวมเป็นคำเดียวกัน

อักษรจีนต่อไปนี้เป็นอักษรจีนที่มีขีดมากที่สุดและเขียนยุ่งยากมากที่สุด

อักษรจีนตัวย่อ

อักษรจีนราว 2,000 ตัวที่ใช้ในประเทศจีนและประเทศสิงคโปร์ได้เปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่เขียนง่ายขึ้น แต่ในไต้หวัน ฮ่องกงและมาเก๊ายังใช้อักษรตัวเต็มอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อักษรทั้ง 2 แบบก็ยังได้รับความนิยมจนปัจจุบัน

ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนอักษรจีนเป็นตัวย่อ รัฐบาลจีนออกแถลงการณ์ให้เหตุผลว่า ต้องการให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้อักษรจีนมากขึ้น จึงต้องลดจำนวนขีดของตัวอักษรลงมาเพื่อลดระดับความยาก โดยย่อหมวดนำหรือตัดบางส่วนออก และย่อรูปรวม

ใช้เขียน

  • ภาษาจีนทุกสำเนียง (ยกเว้นสำเนียงดันกันที่พูดโดยชาวจีนมุสลิมในเอเชียกลางจะใช้อักษรซีริลลิกอาหรับหรือลาติน)
  • อักษรจีนที่มีการดัดแปลงไปเล็กน้อยใช้เขียนภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่น
  • ในประเทศเวียดนามเคยนำมาใช้เขียนเป็นภาษาหนังสือหรือภาษาทางการหรือภาษาจีนโบราณที่เรียกว่าหานวัน(漢文) หรืออีกกรณีคือใช้อักษรจีนเป็นตัวอักษรเสริมเพื่อเขียนคำจีนปนในการเขียนประโยคภาษาพูดเวียดนามที่ใช้อักษรจื๋อโนม(อักษรที่คนเวียดนามประดิษฐ์ขึ้นเองเพื่อใช้เขียนคำเวียดนามแท้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นคนละชนิดกับอักษรจีนหรือหานตึ(漢字) เนื่องจากภาษาพูดเวียดนามที่เป็นคำเวียดนามแท้ไม่สามารถนำอักษรจีนมาใช้เขียนได้ อนึ่ง อักษรจีน และอักษรจื๋อโนมถือเป็นอักษรคนละชนิดกัน
  • ภาษาจ้วง เคยมีการใช้สือดิบผู้จ่อง ซึ่งเป็นอักษรที่เกิดจากการนำตัวอักษรจีนมาประดิษฐ์เป็นอักษรของตัวเองเพื่อใช้เขียนคำภาษาจ้วงโดยเฉพาะและอาจมีการใช้อักษรจีนมาทับคำจีนปนในประโยคในกรณีที่คำๆนั้นเป็นคำจีน อนึ่ง อักษรจีน และสือดิบผู้จ่องถือเป็นอักษรคนละชนิดกัน

อ้างอิง

  1. "Chinese Writing Symbols". Kwintessential. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-27. สืบค้นเมื่อ 2010-03-20.
  2. "History of Chinese Writing Shown in the Museums". CCTV online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-03-20.
  3. Jane P. Gardner; J. Elizabeth Mills. "Journey to East Asia". Everything.com, F+W Media. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
  4. Updated from Norman, Jerry. Chinese. New York: Cambridge University Press. 1988, p. 72. ISBN 0-521-29653-6
Kembali kehalaman sebelumnya