Share to:

 

มังกรจีน

มังกรจีน
มังกรห้าเล็บสีน้ำเงินปรากฏบนธงราชวงศ์ชิง
กลุ่มสัตว์ในตำนาน
กลุ่มย่อยมังกร
คติชนปรัมปราจีน
ประเทศจีน
มังกรจีน
"มังกร" ในอักษรจีนแบบ oracle bone script (บนซ้าย), bronze script (บนขวา), seal script (กลางซ้าย), ตัวเต็ม (กลางขวา), แบบญี่ปุ่น (ชินจิไต, ล่างซ้าย) และตัวย่อ (ล่างขวา)
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
ภาพแกะสลักมังกรจีน

มังกรจีน (จีนตัวย่อ: ; จีนตัวเต็ม: ; พินอิน: lóng) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ , คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง

เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย

มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร

ตำนานมังกรจีนโบราณ

มังกรจีนโบราณในตำนาน

ตำนานมังกรจีนโบราณมีอายุยาวนานกว่า 4,000 ปี ซึ่งลักษณะรูปร่างของมังกรจีนนั้น สุดแล้วแต่นักวาดรูปจะจินตนาการเสริมแต่งออกมา การขายจินตนาการของนักวาดรูปจะเขียนมังกรออกมาโดยยึดลักษณะรูปแบบที่เล่าต่อ ๆ กันมาคือ มังกรจีนจะมีลักษณะลำตัวที่ยาวเหมือนงู มีเกล็ดสีเขียว นัยน์ตาสีแดง มีหนวดและเขาอย่างละคู่ มีขา 4 ขาและกงเล็บที่แข็งแรง มังกรจีนโบราณถูกยกย่องว่าเป็นสัตว์เทพเจ้าซึ่งชาวจีนเคารพนับถือ เป็นสัตว์พาหนะของเทพเจ้าในลัทธิเต๋า ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของเทพเจ้าบนสวรรค์ มังกรจีนที่มีกงเล็บ 5 เล็บ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ของจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ มังกรบางตัวจะถือไข่มุกเม็ดใหญ่อยู่ที่ขาหน้า ครั้งหนึ่งคนเคยคิดว่าไข่มุกคือไข่ของมังกร มังกรบางชนิดวางไข่ในน้ำไหล

มังกรจีนในตำนานนั้น สามารถที่จะทำตัวเองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับจักรวาล คนเปอร์เซียโบราณก็เชื่อเช่นนี้ หรือมีขนาดเล็กเท่ากับหนอนไหมได้ และในบรรดาสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ของจีน มังกรจีนถือเป็นสัตว์แห่งเทพเจ้า ได้รับความนับถือมากที่สุด มังกรจีนมีลักษณะนิสัยที่เมตตากรุณา เป็นมิตร ทะเยอทะยาน และมองโลกในแง่ดี นอกจากนี้ยังมีความฉลาด มีปัญญามาก มีความเด็ดขาด และมีพลัง มังกรจีนจึงเป็นที่ปรึกษาของผู้นำในด้านต่าง ๆ แต่มังกรจีนมีทิฐิในตัว จะถือตัวว่าถูกหมิ่นประมาทเมื่อผู้นำไม่ยอมทำตามคำแนะนำของมังกรจีน หรือเมื่อผู้คนไม่ให้เคารพความสำคัญ มังกรจีนจะทำให้ฝนหยุดตก หรือเป่าเมฆดำออกมาซึ่งจะนำพาพายุ และน้ำท่วมมาให้ มังกรตัวเล็กก็ทำเรื่องยุ่งยากเล็ก ๆ เช่นทำหลังคารั่ว หรือทำให้ข้าวเกิดความเหนอะหนะ

มังกรจริง ๆ ในปัจจุบันก็คือซากของไดโนเสาร์ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งกลายเป็นหิน ไข่ไดโนเสาร์ถูกค้นพบในหลายพื้นที่ในประเทศจีน ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีไดโนเสาร์มากที่สุดในโลกในสมัยโบราณใช้ในการประกอบเป็นยาสมุนไพร เรียกกันว่า "ยากระดูกมังกร" ส่วนไข่ของมังกรจีนนั้นในสมัยเฉียนหลง ถือเอาไข่มังกรจีนเป็นเครื่องรางประจำราชสำนักภายในพระราชวังปักกิ่ง แต่ต่อมาเมื่อพระราชวังปักกิ่งแตก ไข่มังกรจีนก็ตกทอดมาจากประเทศจีนมาอยู่ที่ประเทศไทย

ซึ่งไข่มังกรที่ตกทอดมาอยู่ภายในประเทศไทยนั้น มีตำนานเล่าขานกันมาแต่โบราณว่า เมื่อคณะทูตหรือคณะผู้แทนจากประเทศจีนใช้เรือไฮจี่โดยการนำของ ยังชีขี มีผู้ติดตามมาด้วยจำนวน 449 คน มีทหารประจำเรือ 279 คน เพื่อขอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งอภิเศกดุสิต เมื่อเวลาบ่ายโมงของวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 โดยมีพระยาบริบูรณโกษากรเข้าเฝ้าฯ และมอบหมายให้พระยาบริบูรณโกษากร หรือ ฮวด โชติกะพุกกณะ หรือเจ้าคุณกิมจึ๋ง เป็นผู้จัดการประสานงาน และเลี้ยงต้อนรับในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ตามลักษณะของไข่มังกรที่สืบทอดกันมาเป็นตำนานนั้น มีลักษณะคล้ายกับลูกแก้วหินผลึกคล้ายคลึงกับลูกแก้วของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดของประเทศไทยแต่ถูกตกแต่งด้วยการเลี่ยมและห่อหุ้มคล้ายกับห่อด้วยแก้วนั่นเอง ทำให้เรื่องของไข่มังกรจีนกลายเป็นเรื่องที่กล่าวขานกันพอสมควรในสมัยนั้น

กำเนิดมังกรจีน

ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณนั้น จะมีสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อยู่ 4 ชนิด คือ กิเลน หงส์ เต่า และมังกร โดยชาวจีนจะเชื่อถือกันว่ามังกรนั้น เป็นสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้ง 4 ชนิดนั้น มังกรจีนหรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า "เล้ง-เล่ง-หลง-หลุง" ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการออกเสียงของในแต่ละท้องถิ่น ชาวจีนถือว่ามังกรนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ และเพศชาย

เนื่องจากมังกรจีนเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัตว์แห่งเทพเจ้าในสรวงสวรรค์และเป็นตัวแทนของจักรพรรดิ ผู้เป็นโอรสจุติมาจากสวรรค์ ชาวจีนจึงมีความเชื่อว่าหากผู้ที่ได้พบเห็นมังกร จะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองมาก ผู้ที่มีโอกาสจะได้ขี่หลังมังกรจะต้องเป็นคนมีศีล มีสัตย์ มีจิตใจบริสุทธิ์ดีงาม ถึงจะมีมังกรมารับไปเป็นเซียนอยู่บนสวรรค์ ในสมัยโบราณนั้นชาวจีนได้มีการจัดทำ ตำรามังกร ขึ้นมา ซึ่งเป็นการรวบรวมในรายละเอียดส่วนของประวัติ เผ่าพันธุ์และลักษณะของมังกรไว้อย่างละเอียดที่สุด แต่เนื่องมาจากตำราเหล่านั้นได้สูญหายไปตามกาลเวลาแล้ว การศึกษาเรื่องของมังกรจีนในปัจจุบัน จึงเป็นเพียงแค่การศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวจีนเท่านั้น

ตามตำนานในสมัยโบราณของจีน มี เจ้าแม่นึ่งออ หรือ หนี่วา มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่หัวเป็นงู ซึ่งในบางตำราก็มีการบอกต่อ ๆ กันมาว่าว่ามีลำตัวตัวท่อนบนเป็นคน แต่ท่อนล่างเป็นงู เมื่อเจ้าแม่นึ่งออสิ้นอายุไข นางได้ตายไปแล้วเป็นเวลา 3 ปี แต่ศพของนางกลับไม่เน่าเปื่อย และเมื่อมีคนลองเอามีดผ่าท้องของนางดู ก็ปรากฏมีมังกรเหลืองตัวหนึ่งพุ่งออกมาแล้วเหาะขึ้นฟ้าไป

ตามตำราดึกดำบรรพ์ของจีนกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้น ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระเจ้าฟูฮี,ฟูซี หรือฟูยี (หรือเมื่อประมาณ 3,935 ปีก่อนพุทธกาล) ประมาณ 6,500 ปีมาแล้ว ก่อนไคโรอิยิปต์ มีตำนานกล่าวกันไว้ว่า มีมังกรอยู่ตัวหนึ่งเป็นเจ้าเหนือน่านน้ำทั้งปวงเป็นระยะเวลาหลายพันปี ซึ่งแท้จริงแล้วมังกรตัวนั้นก็คือ พระเจ้าฟูฮี แปลงร่างนั่นเอง พระเจ้าฟูฮีนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นอย่างมาก เป็นพระเจ้าผู้สร้างหลักธรรมแห่ง หยิน-หยาง เป็นธรรมะอันแรกในโลก ทรงคิดประดิษฐ์ของหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น "โป๊ย-ก่วย" หรือ ยันต์แปดทิศ อีกทั้งยังทรงเป็นผู้กำหนดการที่ให้ชายหญิงมีการมั่นหมายกันเป็นคู่ครองอีกด้วย (ชาย1คน แต่งงานกับหญิง1คน)

ในหนังสือประวัติวัฒนธรรมจีนได้กล่าวกันไว้ว่า มังกรนั้นได้ถือกำเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอึ่งตี่ พระเจ้าอึ่งตี่, อึ้งตี่ หรือหวงตี้ ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ที่รวบรวมแผ่นดินจีนไว้เป็นผืนเดียวกัน โดยพระองค์ได้ทรงสร้างจินตนาการรูปมังกรขึ้นมา จากการรวมสัญลักษณ์ของเผ่าต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มังกรกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ว่าเผ่าต่าง ๆ ได้รวมกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อพระเจ้าอึ่งตี่สิ้นอายุไข ก็มีมังกรจากฟ้าลงมารับพระองค์และพระมเหสีขึ้นไปเป็นเซียนบนสวรรค์ โดยบางตำราได้กล่าวว่าพระองค์นั้นเป็นหวงตี้องค์เดียวกับที่ได้เป็นเจ้าสวรรค์ หรือเง็กเซียนฮ่องเต้ในเวลาต่อมา เพราะเหตุนี้ชาวจีนจึงถือว่ามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นเจ้าแห่งสัตว์ทั้งปวง

คนจีนกับความเชื่อเรื่องมังกร

ไฟล์:Chinese dragons.jpg
ตามความเชื่อของคนจีน การได้ขี่หลังมังกรถือเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของมังกรในคนจีนโบราณ เป็นความเชื่อเก่าแก่ตั้งแต่มนุษย์เริ่มที่จะรู้จักกับสัตว์เลี้อยคลานขนาดยักษ์ และให้ความเคารพยำเกรงดุจเทพเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้มีอยู่ทั่วทุกแห่งหน ทุกชนชาติทั่วทั้งโลกที่มีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ เช่น ประวัติศาสตร์ของยุคอียิปต์ ประวัติศาสตร์ของยุคกรีก ประวัติศาสตร์ของยุคโรมัน ประวัติศาสตร์ของยุคอินเดีย และประวัติศาสตร์ของยุคจีนซึ่งความเชื่อนี้สืบทอดกันมาตั้งแต่ความเชื่อเรื่องงูขนาดใหญ่ ที่สืบเนื่องยาวนานคู่กับมนุษย์โลกโดยเฉพาะชาวจีนแผ่นดินใหญ่

คนจีนโบราณจะเชื่อกันว่าน้ำลายของมังกรนั้น จะก่อให้เกิดลูกแก้ววิเศษที่เรียกกันว่า "ไข่มุกแห่งดวงจันทร์" และ "ไข่มุกแห่งความสมบูรณ์" จะบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แห่งพืชพรรณธัญญาหาร เพาะปลูกสิ่งใดก็จะเจริญงอกงาม และยังเชื่อกันอีกว่าเลือดของมังกรจีนนั้น เมื่อไหลออกจากตัวของมังกรจีนจะแทรกซึมเข้าไปในแผ่นดินจีนและจะกลายสภาพเป็นอำพัน เมื่อมังกรลอกคราบจะทำให้เขาของมังกรเรืองแสงได้ มีพลังในตัวเป็นอย่างมากและส่องแสงสว่างในความมืด คล้าย ๆ กับความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะของต้นโสม

คนจีนโบราณนับถือมังกรเป็นเทพเจ้า เชื่อกันว่ามังกรนั้นชอบนกนางแอ่นย่าง ดังนั้นก่อนเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล จึงต้องมีการพลีของถวายให้แก่มังกรเพื่อเป็นการเอาใจและขอให้เดินทางโดยปลอดภัย ตามความเชื่อของนักเดินเรือในสมัยโบราณ ซึ่งว่ากันว่ามังกรนั้น หวาดกลัวใบสนไหม 5 สี ขี้ผึ้ง เหล็ก และตะขาบ สำหรับไหม 5 สี นี้เป็นความเชื่อมาอย่างช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ ในการออกเดิน เรือ ในทะเล คนจีนจะใช้ไหม 5 สี ผูกที่หัวเรือเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากมังกร ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นความเชื่อเกี่ยวกับ แม่ย่านาง แทน แม่ย่านางของนักเดินเรือชาวจีนคืออมนุษย์เทพเจ้าองค์เล็ก ประจำท้องถิ่นในแต่ละแห่งที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการแต่งกายของแม่ย่านาง การผูกไหม 5 สีที่หัวเรือนี้ เป็นการเคารพ แม่ย่านาง หรือ เจ้าแม่ทับทิม (เทพยดาหม่าโจว) คือเทพธิดาในลัทธิเต๋า ที่นักเดินเรือทั้งหลายให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับนายพลเรือเจิ้งเห่อ หรือแต้ฮั้ว ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์หมิง ในยุคสมัยขององค์จักรพรรดิหย่งเล่อ

มังกรจีนเป็นสัตว์เทพเจ้าที่อยู่บนสรวงสวรรค์ตามความเชื่อของชาวจีน เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของชนชาติจีน ชาวจีนทั่วโลกต่างหยิ่งทะนงในการที่พวกตนนั้น สืบสายเลือดมาจากมังกร (Lung Tik Chuan Ren) ชาวจีนเชื่อกันว่ามังกรนั้นเป็นเทพเจ้าในตำนานที่จะนำมาซึ่งอายุยืนยาว ความเจริญรุ่งเรือง โชคลาภวาสนา และจากสัญลักษณ์ของจักรพรรดิและอำนาจอันยิ่งใหญ่ของฮ่องเต้ ตำนานมังกรของจีนได้ซึมซาบเข้าไปในวิถีชีวิตของชาวจีนโบราณ และกลายมาเป็นวัฒนธรรมของชาวจีนตราบจนถึงทุกวันนี้ มังกรจีนได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ ความดีงาม และอำนาจบารมี

มังกรจีนหรือ หลง แสดงถึงพลังอำนาจและคุณงามความดี ความองอาจกล้าหาญ ความเป็นวีรบุรุษและความอุตสาหะพยายาม ความมีคุณธรรมอันสูงส่งและยิ่งใหญ่ดุจดั่งเทพเจ้า มังกรจีนนั้นไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคขวากหนามใด ๆ จนกว่าจะทำในสิ่งที่ต้องการได้สำเร็จ มีความขยันขันแข็ง เด็ดขาด เฉลียวฉลาด มองโลกในแง่ดี และมีความทะเยอทะยาน ซึ่งแตกต่างจากพลังด้านมืดของมังกรตะวันตก มังกรตะวันตกนั้นส่วนใหญ่ขี้หงุดหงิด มีปีก บินและพ่นไฟได้ แต่มังกรตะวันออกจะมีลักษณะสวยงาม เป็นมิตร และมีความเฉลียวฉลาด มังกรจีนถือเป็นเทพเจ้าแห่งทิศบูรพา แทนที่จะถูกเกลียดชังเช่นมังกรตะวันตก มังกรตะวันออกกลับได้รับความรักและเคารพสักการะ วัดและศาลเจ้าถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ความเคารพสักการบูชาในฐานะผู้ควบคุมฝนแม่น้ำทะเลและมหาสมุทร หลายเมืองในประเทศจีนจะมีเจดีย์ซึ่งชาวจีนจะมาเผาเครื่องหอมเพื่ออ้อนวอนต่อมังกร ศาลเจ้ามังกรดำซึ่งตั้งอยู่ใกล้กรุงปักกิ่งถูกสงวนไว้เฉพาะมเหสีของจักรพรรดิเท่านั้น

ชาวจีนจะมีการบวงสรวงมังกรเป็นพิเศษที่นี่ทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน ศาลเจ้าและแท่นบูชามังกรยังคงปรากฏให้เห็นตามชายฝั่งทะเลและริมฝั่งแม่น้ำในหลาย ๆ ส่วนของจีนและดินแดนตะวันออกไกล เพราะมังกรจีนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ โบสถ์กลางน้ำในประเทศญี่ปุ่นกลายมาเป็นแหล่งแวะพักที่ได้รับความนิยมของผู้แสวงบุญซึ่งสวดอ้อนวอนต่อมังกร ตำนานของชาวจีนตำนานหนึ่งบันทึกไว้ว่า มังกรจีนเพศผู้และเพศเมียเคยแต่งงานกับมนุษย์และลูกหลานของมังกรจีนก็กลายมาเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จักรพรรดิญี่ปุ่นที่ชื่อ ฮิโรฮิโตะ สืบสาวต้นตระกูลของตนเองย้อนหลังไปจนถึง 128 รุ่น ซึ่งก็คือ เจ้าหญิง Fruitful Jewel ลูกสาวของราชามังกรแห่งท้องทะเลลึก จักรพรรดิของหลายประเทศในเอเชียอ้างว่าตนเองก๋มีบรรพบุรุษเป็นมังกร ซึ่งก็ทำให้มีความคิดที่ว่าทุกสิ่งที่ใช้จะต้องประดับด้วยมังกรเช่น บัลลังก์มังกร เสื้อคลุมมังกร เตียงมังกร เรือมังกร การที่ชาวจีนถือว่าจักรพรรดิเป็นมังกรเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ชาวจีนมีความเชื่อว่าจักรพรรดินั้นสามารถทำให้ตนเองกลายเป็นมังกรได้

ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมังกรจีนล้วนให้ความสุขความเจริญ ในทุก 12 ปี จะมีปีมังกรซึ่งยังให้เกิดความโชคดี โชคลาภวาสนาโหรตะวันออกในปัจจุบันอ้างว่าเด็กที่เกิดในปีมังกรจะมีสุขภาพดีและอายุยืนยาว เคยมีมังกรที่ชาญฉลาดมาเป็นที่ปรึกษาให้กษัตริย์ สามร้อยปีที่ผ่านมา กษัตริย์จีนใช้เวลาตอนกลางคืนอยู่ในหอคอยทอง ที่ซึ่งเขาจะได้ขอความเห็นกับผู้ปกครองที่แท้จริงของแผ่นดินแห่งเก้ามังกร (Land of Nine-Headed Dragon) มังกรจีนนั้นเชื่อในความคิดของตนมาก ถึงแม้ว่าจะสุขุม รอบรู้ แต่มังกรจีนจะรู้สึกว่าถูกดูถูกถ้าหากผู้ปกครองไม่ทำตามคำแนะนำ หรือประชาชนไม่คิดว่ามังกรจีนสำคัญ มังกรจะหยุดสร้างฝนและทำให้แผ่นดินแห้งแล้ง หรือน้ำท่วม มังกรที่ตัวเล็กกว่าจะแกล้งทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ นานาอย่างเช่นหลังคารั่วหรือข้าวเหนียว ชาวจีนจะจุดประทัดและถือมังกรกระดาษขนาดใหญ่ในขบวนแห่ที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ และจัดการแข่งขันเรือมังกรในลำน้ำเพื่อทำให้มังกรของพวกเขาพอใจ

มังกรกลายมาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตของผู้คนชาวจีน ในรูปของเทพเจ้าจากสรวงสวรรค์ อย่างที่ชาวโลกได้รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ Sheng Chi มังกรจีนคือผู้ที่ยอมสละชีวิตและพลังของตนออกมาในรูปของฤดูกาลของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ มังกรจีนเป็นผู้นำน้ำมาจากฝน ความอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ สายลมจากทะเลและผืนดินจากโลก มังกรเป็นตัวแทนของพลังที่ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ พลังอำนาจสูงสุดของโลก บางครั้งเราอาจพบมังกรจีนในรูปสัญลักษณ์ของเทพเจ้าแห่งการปกป้องและคุ้มครอง พวกมันถูกยกย่องให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเหนือกว่าสิ่งมีชีวิตทั้งมวล พวกมันมีสามารถอาศัยอยู่ในทะเล บินขึ้นไปถึงสวรรค์ และขดตัวบนพื้นดินในรูปของภูเขา ในหมู่ของสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายทั้งหลาย มังกรสามารถปัดเป่าวิญญาณที่ชั่วร้าย ปกป้องผู้บริสุทธิ์และทำให้ผู้ที่ถือเครื่องหมายของพวกมันรอดพ้นจากพยันตรายต่างๆ นานาได้ มังกรจีนถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แทนความโชคดีสูงสุด

มังกรจีนกับปีนักษัตร

ความเชื่ออย่างแปลกประหลาดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับมังกรของคนจีน คือการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้างหมูและม้า ซึ่งถือว่าสัตว์เหล่านี้เป็นเชื้อสายของมังกรเช่นกัน คนจีนใช้มังกรเป็นสัตว์สัญลักษณ์แทนปีมะโรงซึ่งจะแตกต่างกับคนไทยที่ใช้พญานาค บางท่านกล่าวว่าปีนักษัตรเกิดสมัยพระพุทธเจ้า[ใคร?] จีนคือผู้ที่คิดค้นแรกเริ่มตั้งแต่ราว 2,700 ปีมาแล้ว หรือภายหลังราชวงศ์โจวตะวันออกเล็กน้อย หลักฐานที่ยืนยันการคิดริเริ่มของจีนปรากฏอยู่บนแจกันสำริด ที่จัดแสดงอย่างถาวรอยู่ในพิพิธภัณฑสถานพระราชวังแห่งชาติไทเป ประเทศไต้หวัน ภายในห้องแสดงสำริดโบราณ การผสมข้ามสายพันธุ์ของมังกรนั้น ลูกหลานของมังกรได้แก่ ม้ามังกรในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณีของไทยและเขมร ส่วนหมูและช้างนั้นภาคเหนือของประเทศไทยนั้น นับเป็นปีนักษัตรคือ ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน ทางภาคเหนือใช้ช้างแทนสัตว์สัญลักษณ์ปีกุน ซึ่งไม่ใช่หมู


วงจรชีวิตของมังกรจีน

มังกรจีนมีวงจรชีวิตการเกิด 4,000 ปี จึงจะเป็นมังกรตัวโตเต็มวัยไข่มังกรจะมีลักษณะเป็นไข่อัญมณี มังกรจีนจะวางไข่ไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำและฝังไว้ลึกจนไม่ถูกรบกวนโดยใครหรืออะไร ระยะเวลา 1,000 ปีต่อมาไข่มังกรจีนจะฟักออกมาเป็นตัว ในระหว่างช่วงเวลา 500 ปีต่อมา ลูกมังกรจีนจะเจริญเติบโตขึ้น และจะเรียกลูกมังกรจีนว่า ไคอาส (Kias ,มังกรมีเกล็ด) ลูกมังกรจีนมีลักษณะเหมือนกับงูน้ำและหัวของปลาคาร์พผสมกัน และจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ขั้นนี้เรียกว่า ไคโอะ (Kio)

ต่อมาเมื่อเวลา 1,000 ถัดไป ลูกมังกรจีนจะถูกรู้จักในฐานะของ หล่ง (lung ,มังกรตามมาตรฐาน) รยางค์และเกล็ดของมังกรเจริญขึ้นแล้ว ความยาวของลูกมังกรจะเพิ่มขึ้น และหน้าเริ่มมีหนวดเครา 500 ปีต่อมา เป็นเวลาที่ใช้ในการงอกงามของเขา ตอนนี้มังกรจีนสามารถได้ยินเสียงได้แล้ว และจะเป็นที่รู้จักในฐานะของ ไคโอ หล่ง (Kioh-Lung ,มีเขา) 1,000 ปีต่อมาใช้ในการเจริญของปีก ตอนนี้มังกรจีนจะถูกรู้จักในฐานะ ยิ่น หลง (มังกรมีปีก) และเจริญเติบโตเป็นมังกรเต็มวัย

นิ้วของมังกรจีนในแต่ละเท้าจะมี 4 หรือ 5 นิ้ว ถ้ามี 4 นิ้วเป็นมังกรทั่วไป แต่ถ้ามี 5 นิ้ว เป็นมังกรหลวง ซึ่งในสมัยก่อนจะมีเฉพาะจักรพรรดิเท่านั้น ที่สามารถใช้สิ่งของที่มีรูปมังกรหลวงประดับอยู่ถ้ามีใครอื่นใช้จะถูกประหาร น้ำลายจากมังกรจีนจะทำให้เกิดลูกทรงกลมวิเศษซึ่งเรียกว่า ไข่มุกแห่งพลัง ดวงจันทร์ และ ไข่แห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อเลือดของมังกรจีนซึมซาบเข้าไปในแผ่นดินจะเปลี่ยนกลายเป็นอำพัน เมื่อมังกรลอกคราบเป็นเหตุให้เขาเรืองแสงอย่างน่าขนลุกในความมืด

มังกรจีนชอบกินนกนางแอ่นย่าง จึงมีการถวายให้ก่อนเดินทางข้ามน้ำ เพื่อที่จะเอาใจมังกรและเพื่อให้การเดินทางปลอดภัย ว่ากันว่ามังกรจีนกลัวใบของต้น แว่ง (wang) ,ใบของต้น ลีน (lien) ,ด้ายไหม 5 สี ,สีผึ้ง ,เหล็ก และตะขาบ ว่ากันว่าบางครั้งในยุคโบราณ มังกรจีนเพศผู้จะแต่งงานกับสัตว์ชนิดอื่น มังกรจะเป็นพ่อของช้างเมื่อแต่งงานกับหมู และเมื่อแต่งงานกับม้าจะได้ลูกเป็นม้าแข่ง การที่มังกรจีนจะนำฝนตกลงสู่พื้นดิน ขึ้นอยู่กับบุคคลสง่างามแห่งหยก หรือจักรพรรดิหยก ผู้ซึ่งมังกรจะรับคำสั่งว่า จะส่งน้ำจากท้องฟ้าเท่าไร จากนั้นพวกมังกรจะต่อสู้กับตัวอื่นอย่างมุ่งร้ายในอากาศ ฝนจะตกลงมาในจังหวะที่มังกรม้วนตัว และชักดิ้นชักงอ

นอกจากนี้มังกรมีความสามารถที่จะอยู่ในทะเล บินขึ้นไปยังสวรรค์ และขดตัวบนพื้นในรูปของภูเขา มังกรจีนสามารถปัดเป่าวิญญาณพเนจรชั่วร้าย ปกป้องผู้บริสุทธิ์ และให้ความปลอดภัยกับทุกคนที่ถือสัญลักษณ์ของเขามังกรจีนเป็นเครื่องหมายแห่งอำนาจและคุณงามความดี ความองอาจและความกล้าหาญ ความเป็นวีรบุรุษและความอุตสาหะ และความสูงส่งและความศักดิ์สิทธิ์ และนอกจากนี้ มังกรจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี ความเป็นมงคล และความมั่งคั่งอีกด้วย

ชนิดของมังกรจีน

มังกรจีน

คนจีนมีคติความเชื่อว่ามังกรของจีนแต่สมัยโบราณนั้นสามารถแบ่งแยกออกเป็น 9 ชนิด การแบ่งชนิดของมังกรนั้นในแต่ละตำราก็มีการแบ่งที่แตกต่างกันออกไป บางตำราบอกว่าแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

  1. มังกรแท้ ชิวเล้ง เป็นมังกรขนาดใหญ่ มีเขาและปีก เป็นพวกที่มีอำนาจมากที่สุด เป็นใหญ่เหนือมังกรทั้งปวง อาศัยอยู่บนฟ้าหรือบนสวรรค์
  2. มังกร หลี่ หรือ ลี่ เป็นมังกรไม่มีเขา อาศัยอยู่ในมหาสมุทร
  3. มังกร เจี่ยว หรือ เฉียว เป็นพวกมังกรมีเกล็ด อาศัยตามลุ่มหนองหรือถ้ำตามภูเขา มีขนาดตัวเล็กกว่ามังกรที่อยู่บนท้องฟ้า มีหัวและลำคอเล็ก ไม่มีเขา หน้าอกเป็นสีเลือดหมูหรือสีน้ำตาลเข้ม ด้านข้างลำตัวและสันหลังมีลายแถบเป็นสีเขียวและสีเหลือง มี 4 ขา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับงู มีลำตัวยาวประมาณ 13 ฟุต บางตำราบ่งบอกไว้ชัดเจนว่า หลง เป็นมังกรแห่งสวรรค์ หลี่ เป็นมังกรแห่งทะเล และเจี่ยว เป็นมังกรแห่งภูเขาและที่ลุ่ม

บางตำราได้เพิ่มลักษณะของมังกรจีนพื้นถิ่นเดิม ก่วย เป็นมังกรที่มีลักษณะทั่วไปคล้ายมังกรแท้ บุคลิกดูใจดี กล่าวกันว่ามันมีอำนาจที่เข้มแข็งในการต่อต้านกับความโลภและกิเลสทั้งปวง ชาวจีนนิยมนำมาเขียนเป็นลวดลายบนภาชนะสำริดยุคโบราณต่าง ๆ มังกรจีนทั้ง 9 ชนิดนั้นมีการผูกลายกันอย่างมากมายหลากหลายชนิด ตั้งแต่พระราชวังที่ประทับของฮ่องเต้ วัดและเคหสถานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ตลอดไปจนถึงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ มังกรจีนเป็นมังกรที่มีศักดิ์ศรี มีการแบ่งชั้นวรรณะกันอย่างชัดเจน

มังกรสวน

เป็นมังกรที่ใช้สลักบนบัลลังก์ขององค์พระประติมากรรม และใช้แทนฐานรูปสิงโต

มังกรเฉาฟง

เป็นมังกรที่ใช้สลักบนสถาปัตยกรรมชายคา โบสถ์ต่างๆ

มังกรฟูเหลา

เป็นมังกรที่ใช้ประดับบนยอดระฆังและกลอง ซึ่งเป็นเครื่องเสียงที่ใช้สำหรับต่อสู้หรือใช้ในการประกอบพิธีการที่สำคัญ

มังกรไยสู

เป็นมังกรที่ใช้สลักบนฝักดาบ บนกระบังดาบ และบริเวณใบดาบ รวมทั้งใบง้าว

มังกรฉีเหวิน

เป็นมังกรที่ใช้ประดับบนชื่อสะพาน เพราะมังกรฉีเหวินเป็นมังกรน้ำและยังใช้สลักบนบริเวณหลังคาอาคารสถาปัตยกรรม เพื่อปัองกันไฟอีกด้วย แต่บางครั้งก็จะย่อให้เหลือแต่ส่วนหางเท่านั้น จึงกลายเป็นปลามังกร หางปลา

มังกรปาเซียน

เป็นมังกรที่ใช้สลักที่บริเวณส่วนล่างของสถาปัตยกรรม เชื่อกันว่ามังกรปาเซียนนั้นจะสามารถช่วยพยุงน้ำหนักได้ ซึ่งเหมือนกันคนไทยที่มักจะใช้ยักษ์และคนแคระ ในการช่วยพยุงน้ำหนัก หรือบางครั้งก็จะใช้สิงห์แบกแทน

มังกรฉิวนิว

เป็นมังกรที่ใช้สลักบนลูกปิดของ"ซอ"เพราะมังกรฉิวนิวนั้นชอบฟังเพลง

มังกรปิกัน

เป็นมังกรที่ใช้สำหรับสลักบนประตูคุก เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของเหล่านักโทษ มังกรปิกันเป็นมังกรที่รักในการใช้พละกำลัง เป็นการแสดงความดุร้าย ซึ่งนักเลงมักจะนิยมสักมังกรชนิดนี้ไว้ที่บริเวณแขน หน้าอกและบริเวณกลางหลัง บางคนก็สักไว้ที่หน้าขาและที่อื่น ๆ นักเลงพวกนี้มักจะสักมังกร "คุก" และเรียกขานกันว่า พวก ตั้วหลักเล้ง จะใช้เป็นสัญลักษณ์

พญามังกร

เป็นมังกร 4 ตัว ซึ่งปกครองอยู่เหนือทะเลทั้งสี่ คือทะเล ตะวันออก(ตัง) ,ใต้(น่ำ) ,ตะวันตก(ไซ) และเหนือ(ปัก) พญามังกรอาศัยอยู่ในปราสาทมหาสมุทรหรูหรา(วังใต้ทะเล) และกินไข่มุกเจียงตู หรือไข่มุก และโอปอล เป็นอาหาร และพญามังกรทั้งสี่ตัวเป็นพี่น้องกัน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามังกร 4 ตัวนี้มีผู้ควบคุมชื่อ ฉิน แท็ง เป็นมังกรที่มีสีแดงเลือด มีแผงคอเป็นไฟ และยาว 900 ฟุต

ลักษณะของมังกรจีน

ไฟล์:Erich Schilling – Der hungrige Tschunkingdrache (The hungry Chongqing dragon) 1943 Satirical cartoon No known copyright (low-res).jpg
ลักษณะของมังกรจีนที่เกิดจากจินตนาการ

คนจีนแทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง ตามประเพณี แต่ละอย่างแสดงถึงลักษณะของมังกรที่แตกต่างกัน ลักษณะของ มังกรจีนในงานด้านจิตกรรมประติมากรรมของจีน ซึ่งใช้ในเวลาและโอกาสที่ต่างกัน คือ

  • ลักษณะหัวของมังกร คล้ายกับหัวของอูฐ บางตำราก็บอกว่ามาจากหัวม้าหรือหัววัวหรือหัวจระเข้
  • ลักษณะหนวดของมังกร คล้ายกับหนวดของมนุษย์
  • ลักษณะเขาของมังกร คล้ายกับเขาของกวาง มังกรจะมีเขาได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 500 ปี และเมื่ออายุถึง 1,000 ปี ก็จะมีปีกเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง
  • ลักษณะตาของมังกร คล้ายกับตากระต่าย บางตำราบอกว่ามาจากตาของมารหรือปีศาจหรือตาของสิงโต
  • ลักษณะหูของมังกร คล้ายกับหูวัว แต่ไม่สามารถได้ยินเสียง บางตำราก็ว่าไม่มีหู บางตำราบอกว่ามังกรได้ยินเสียงทางเขาที่เหมือนเขากวางนั้น
  • ลักษณะคอของมังกร คล้ายกับคองู
  • ลักษณะท้องของมังกร คล้ายกับท้องกบ บางตำราบอกว่ามาจากหอยแครงยักษ์
  • ลักษณะเกล็ดของมังกร คล้ายกับเกล็ดปลามังกร บางตำราว่ามาจากปลาจำพวกตะเพียนหรือกระโห้ โดยมังกรจะมีเกล็ดตลอดแนวสัน-หลัง จำนวน 81 เกล็ด มีเกล็ดตามลำคอจนถึงบนหัว บนหัวมังกรมีรูปลักษณะเหมือนสันเขาต่อกัน เป็นทอดๆ
  • ลักษณะกงเล็บของมังกร คล้ายกับกงเล็บของเหยี่ยว จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บหรือ 3 เล็บ
  • ลักษณะฝ่าเท้าของมังกร คล้ายกับฝ่าเท้าของเสือ

ลักษณะของมังกรจีน สัญลักษณ์แห่งเทพเจ้าที่จีนให้ความเคารพนับถือ ลักษณะของมังกรเกิดจากจินตนาการโดยการรวมเอาลักษณะของสัญลักษณ์เผ่าต่างๆมารวมกัน มีความแตกต่างกันตามคติความเชื่อถือและการประดิษฐ์ของช่าง มีกาลเทศะและวาสนาแตกต่างกันไปตามความเชื่อของคตินิยมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งว่ากันว่ามังกรของจีนนั้นมี 9 ท่า 9 สี คำว่า หลง ในภาษาจีนกลางหมายถึงมังกรที่มีลักษณะดังนี้

  • มังกรมีเขา หรือหลง เป็นลักษณะของมังกรที่มีเขาเหมือนกับกวางดาว ซึ่งคนญี่ปุ่นถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่มาจากฟากฟ้าแดนสวรรค์ มีอำนาจมากที่สุดสามารถทำให้เกิดฝนได้ และหูหนวกโดยสิ้นเชิง อินเดียนแดงถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่เป็นอมตะนิรันด์กาล แต่คนไทยกลับนิยมกินเนื้อกวาง ซึ่งจะชำแหละเนื้อไว้กินและหนังจะส่งขายให้กับประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำไปทำเป็นซับในของเสื้อเกราะญี่ปุ่นซึ่งหนังกวางนั้นเป็นสินค้าส่งออกที่มีความสำคัญของไทยมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
  • มังกรมีปีก หรือหว่านซี่ฟ่าน เป็นมังกรฝรั่งที่สามารถพ่นไฟ ได้ คนฝรั่งนิยมที่จะนำมังกรมีปีกนี้มาประกอบฉากเป็นพาหนะของผู้ร้ายหรือเป็นตัวแทนของมังกรที่ดุร้าย แต่ในสมัยราชวงศ์หมิง คนจีนนำมังกรชนิดนี้มาทำเป็นลวดลายบนถ้วยข้าวต้ม
  • มังกรสวรรค์ หรือเทียนหลง มีชื่อเรียกว่า มังกรฟ้า เป็น มังกรในหาดสวรรค์ บางครั้งก็จะเป็นพาหนะของเทพเจ้าเทวาในลัทธิเต๋า คนจีนมีความเชื่อกันว่า มังกรเทียนหลงนี้เป็นมังกรที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของเทพเจ้าบนสรวงสรรค์ และเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของฮ่องเต้อีกด้วย
  • มังกรวิญญาณเฉียนหลง หรือหลีเฉี่ยวหลง เป็นมังกรที่บันดาลให้เกิดลมฝนเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตรและมนุษยชาติของชาวจีน แต่โบราณ มังกรหลีเฉี่ยวหลงนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของจักรราศีอีกด้วย
  • มังกรเฝ้าทรัพย์ หรือฟูแซง เป็นมังกรบาดาล มังกรฟูแซงนี้น่าจะเป็นคติของอินตู้หรืออินเดียมากกว่าของจีน ซึ่งชาว กรีก โบราณเองก็มีความเชื่อกันในเรื่อง "มังกรบาดาล" เช่นกัน ความเชื่อเกี่ยวกับมังกรบาดาลนี้เป็นความเชื่อและคติที่เก่าแก่มาก
  • มังกรขด ไม่มีฝอย เป็นมังกร "หด" ธรรมดา
  • มังกรเหลือง เป็นมังกรจ้าปัญญา ทำหน้าที่คอยหาข้อมูลให้กับจักรพรรดิฟูใฉ่ที่เป็นตำนาน
  • มังกรบ้าน หรือลี่หลง เป็นมังกรที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและในทะเล บางตำนานเรียกว่า ไซโอ๊ะ มีเกล็ดปกคลุมทั่วทั้งตัว มักอาศัยอยู่ในหนองน้ำใกล้ ๆ กับถ้ำที่มีอากาศอับชื้น
  • พญามังกร คือมังกร 4 ตัว ซึ่งปกครองอยู่เหนือทะเลทั้งสี่ คือทะเล ตะวันออก (ตัง),ใต้ (น้ำ), ตะวันตก (ไซ) และเหนือ (ปัก) พญามังกรอาศัยอยู่ในปราสาทมหาสมุทรหรูหรา(วังใต้ทะเล) และกินไข่มุกเจียงตู หรือไข่มุก และโอปอล เป็นอาหาร และพญามังกรทั้งสี่ตัวเป็นพี่น้องกัน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามังกร 4 ตัวนี้มีผู้ควบคุมชื่อ ฉิน แท็ง (Chien-Tang) เป็นมังกรที่มีสีแดงเลือด มีแผงคอเป็นไฟ และยาว 900 ฟุต

มีการบรรจุคำว่ามังกรลงในพจนานุกรมของประเทศจีน มีความหมายว่า "มังกรเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูของมันคล้ายหูวัว ปีกของมันคล้ายนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมีลักษณะคล้ายกบ รูปร่างของมันคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงของมันคล้ายเสียงตีฆ้อง เมื่อมันหายใจ ลมหายใจของมันมีลักณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ"

ลวดลายของมังกรจีน

ลายมังกรไย่จู ใช้สลักบนด้ามดาบ

ลูกหลานของมังกรจีนทั้ง 9 ชนิด คือ เล้งแซเก้าจื้อ หรือหลงเชิงจิ่วจือตามคำอ่านภาษาจีนกลาง ตามตำนานได้บอกไว้ว่า มังกรได้ให้กำเนิดลูกหลานไว้ 9 ชนิด ซึ่งสัตว์ทั้ง 9 ชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะที่พิเศษแตกต่างกันออกไป แต่เนื่องจากหลังฐานได้สูญหายไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าตัวใดเป็นลูกของตัวใด ตัวใดเป็นตัวผู้หรือตัวใดเป็นตัวเมีย อย่างไรก็ตามต่อมาชาวจีนได้นำสัตว์ทั้ง 9 ชนิดมาวาดเป็นลวดลายไว้ในสิ่งของต่างๆเพื่อเสริมความเป็นมงคลตามลักษณะพิเศษของสัตว์ชนิดนั้นๆ ซึ่งลวดลายลูกหลานมังกรทั้ง 9 ชนิด คือ

  • ลายรูปปู่เหลา ชาวจีนมักปั้นเป็นหูของระฆัง หรือทำเป็นลายสลักอยู่บนยอดสุดของฆ้องหรือระฆัง สื่อให้เห็นลักษณะที่ชอบร้องเสียงดังของมังกรจีน เวลาที่ถูกปลาวาฬจู่โจม อันเป็นศัตรูตัวสำคัญ
  • ลายรูปจิวหนิว เป็นลายที่สลักอยู่บนก้านบิดของซอสำหรับทดสอบเสียง
  • ลายรูปปาเซีย เป็นรูปสลักบนยอดหินจารึก แสดงถึงว่ามังกรจีนชนิดนี้ชอบในวรรณคดี เป็นเครื่องหมายแสดงแทนเต่าทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งก้มหัวลงต่ำแสดงถึงความเศร้าโศก และยังถูกนำไปทำเป็นฐานของเสาหิน หรือรูปสลักสำหรับหลุมฝังศพ เป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำ เป็นสัตว์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความเข้มแข็งอดทน
  • ลายรูปปู-เซีย เป็นรูปสลักที่อยู่ก้นของอนุสาวรีย์หิน มีความหมายถึงให้ช่วยแบกรับน้ำหนักที่มากไว้
  • ลายรูปเจ้าเฟิง เป็นรูปลักษณะที่อยู่บนชายคาโบสถ์วิหาร เพื่อสะท้อนความที่มังกรจีนนั้นพอใจต่ออันตรายทั้งหลาย
  • ลายรูปฉี-เหวิน เป็นลายรูปที่สลักอยู่บนคานสะพาน เนื่องจากเป็นมังกรที่ชอบน้ำ จึงถูกสลักไว้บนยอดจั่วของอาคารเพื่อป้องกันไฟ มังกรจีนชนิดนี้ชอบจ้องมองออกไปข้างนอก ดังนั้นสัญลักษณ์ของมังกรจึงเป็นรูปปลายกหางขึ้นฟ้า
  • ลายรูปส้วน-นี่ เป็นลายรูปที่อยู่บนยอดอาสนะของพระพุทธรูป มีนิสัยชอบพักผ่อน ตำราบอกไว้ว่าเป็นพวกเดียวกับซีจู หรือสัญลักษณ์รูปสิงโต
  • ลายรูปไย่จู เป็นรูปลายที่สลักอยู่บนด้ามดาบ เพราะเป็นมังกรที่ชอบการฆ่าฟัน
  • ลายรูปปี๋-กัน เป็นลายรูปที่สลักอยู่ตามประตูคุก เพราะเป็นมังกรที่ชอบขึ้นศาลต่อสู้คดี ทะเลาะวิวาท มีพละกำลัง ความเข้มแข็ง และดุร้ายมาก เป็นสัตว์ที่มีเกล็ดและมีเขาหนึ่งเขา

มังกรจีนสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ

มังกร 5 เล็บ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิประดับบนฉลองพระองค์ ภาพนี่เป็นรูปภาพของ จักรพรรดิเสียนเฟิง ซึ่งเป็นพระสวามีของ พระนางซูสีไทเฮา

มังกรจีนโดยเฉพาะมังกร 5 เล็บจะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิหรือฮ่องเต้แห่งประเทศจีน โดยมีหงส์เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดินี เนื่องมาจากตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า หงส์เป็นพาหนะของพระแม่ซิหวั่งหมู่ ซึ่งเป็นเจ้าแม่ผู้ปกครองภูเขาคุนหลุน ซึ่งถ้าเทียบตามศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เขาคุนหลุนก็คือเขาพระสุเมรุของไทย ตามนิทานแล้วเจ้าแม่ซิหวั่งหมู่เป็นผู้ปกครองสวรรค์ฝั่งตะวันตกคู่กับเง็กเซียนฮ่องเต้ที่ปกครองสวรรค์ฝั่งตะวันออก เหมือนกับที่องค์จักรพรรดิเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองแต่องค์ฮองเฮาเป็นผู้ปกครองวังหลัง คอยให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านต่าง ๆ

มังกรเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิจีน แต่การใช้มังกรเป็นลวดลายประดับบนเสื้อนั้นเป็นการแสดงถึงความสูงต่ำของตำแหน่ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • รูปมังกร 5 เล็บ เป็นมังกรหลวงที่ใช้กับสมเด็จพระจักรพรรดิและองค์ชายในลำดับที่ 1 และ 2 เท่านั้น
  • รูปมังกร 4 เล็บ เป็นมังกรทั่วไปที่ใช้กับองค์ชายในลำดับที่ 3 และ 4 องค์ชายลำดับที่ 5 เป็นต้นไปรวมถึงข้าราชการชั้นธรรมดาใช้รูปคล้ายงูที่มีเล็บ 5 เล็บได้ บางตำราก็บอกว่าเป็นรูปมังกร 3 เล็บ

หลังปี ค.ศ. 1759 ได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ไว้อย่างแน่ชัด คือ จักรพรรดิ ขุนนางชั้นอัครมหาเสนาบดี เสนาบดี และราชบุตรเขยพระองค์แรก เจ้าชายพระองค์แรก รูปมังกรจะมี 4 เล็บ อัครมหาเสนาบดีที่โปรดปรานจะได้รับการพิจารณาเพิ่มเล็บมังกรเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามการกำหนดชั้นฐานะก็มีเรื่องของสีเสื้อเข้ามาเกี่ยวด้วย สีของเสื้อที่จะใช้กับลายมังกรมีอยู่ 3 สีคือ

  1. สีแดง
  2. สีเหลือง
  3. สีน้ำเงิน

สีแดงนั้นใช้ในงานพิธีมีความหมายถึงความสุข สีเหลืองใช้เฉพาะจักรพรรดิและพระมเหสี (สีเหลืองเป็นสีของราชวงศ์ชิง แต่หลายความเห็บบอกว่าจีนน่าจะใช้สีเหลืองเป็นสีของพระเจ้าแผ่นดินมาตั้งแต่ยุคโบราณ เนื่องมาจากจีนมีความเกี่ยวข้องกับสีเหลืองมาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็น ดินเหลือง แม่น้ำเหลือง ฯลฯ) สีน้ำเงินหมายถึงราชสมบัติและประเทศ

ฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินจีนตอนพิธีราชาภิเษก เป็นผ้าปักไหมสีสันต่าง ๆ เป็นรูปมังกร 5 เล็บอยู่ตรงกลางด้านหน้า ข้างบนตัวมังกรเป็นกลุ่มดาว 3 ดวงที่ฮ่องเต้ต้องบวงสรวง ข้างขวาของตัวมังกรเป็นอักษรคำว่า "ฮก" หมายถึงความสุข ข้างซ้ายของตัวมังกรเป็นรูปขวานโบราณหมายถึงอำนาจ ในความเป็นจริงแล้ว องค์จักรพรรดิของจีนนอกจากจะเป็นผู้นำของประเทศแล้ว ยังเป็นผู้นำในทางศาสนาอีกด้วย ดังจะเห็นจากที่พระเจ้าแผ่นดินจะเป็นผู้นำในการทำพิธีต่าง ๆ ซึ่งตามคติโบราณที่ว่าแต่เดิมมังกรนั้นก็คือมนุษย์หรือเกิดมาจากมนุษย์(ดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการกำเนิดมังกร) และรูปลักษณ์ของเทพเจ้าโบราณก็มีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งมังกร มังกรจึงถูกนำมาเปรียบให้เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์จีนนั่นเอง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • 杨静荣 (Yang Jirong); 刘志雄 (Liu Zhixiong) (2008), 龙之源 (The Origin of the Dragon), 中国书店, ISBN 7806635513

A to Z Photo Dictionary of Japanese Buddhism, onmarkproductions.com

Kembali kehalaman sebelumnya