ยี่หร่าฝรั่ง
|
|
ต้นยี่หร่าฝรั่งกำลังออกดอก
|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
|
อาณาจักร:
|
พืช Plantae
|
เคลด:
|
พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta
|
เคลด:
|
พืชดอก Angiosperms
|
เคลด:
|
พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots
|
เคลด:
|
แอสเทอริด Asterids
|
อันดับ:
|
อันดับผักชี
|
วงศ์:
|
วงศ์ผักชี
|
สกุล:
|
Foeniculum
Mill.
|
สปีชีส์:
|
Foeniculum vulgare
|
ชื่อทวินาม
|
Foeniculum vulgare Mill.
|
ชื่อพ้อง[1]
|
- Anethum dulce DC.
- Anethum foeniculum L.
- Anethum minus Gouan
- Anethum panmori Roxb.
- Anethum panmorium Roxb. ex Fleming
- Anethum piperitum Ucria
- Anethum rupestre Salisb.
- Foeniculum azoricum Mill.
- Foeniculum capillaceum Gilib.
- Foeniculum divaricatum Griseb.
- Foeniculum dulce Mill.
- Foeniculum foeniculum (L.) H.Karst.
- Foeniculum giganteum Lojac.
- Foeniculum officinale All.
- Foeniculum panmorium (Roxb.) DC.
- Foeniculum piperitum C.Presl
- Foeniculum rigidum Brot. ex Steud.
- Ligusticum foeniculum (L.) Roth
- Ligusticum foeniculum (L.) Crantz
- Meum foeniculum (L.) Spreng.
- Meum piperitum Schult.
- Ozodia foeniculacea Wight & Arn.
- Selinum foeniculum E.H.L.Krause
- Seseli dulce Koso-Pol.
- Seseli foeniculum Koso-Pol.
- Seseli piperitum Koso-Pol.
- Tenoria romana Schkuhr ex Spreng.
|
ยี่หร่าฝรั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Foeniculum vulgare) เป็นไม้ดอกในวงศ์ผักชี[2] นิยมใช้ผลเป็นเครื่องเทศอย่างแพร่หลายมาช้านาน ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก กล่าวกันว่าเดิมนั้นเป็นพืชประจำท้องถิ่นของแถบเมดิเตอร์เรเนียน นับเป็นพืชที่ให้น้ำมันระเหย ซึ่งมีกล่าวไว้ในนิทานปรัมปราของกรีก และนิทานพื้นบ้านของอิตาลีด้วย
ยี่หร่าฝรั่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า fennel มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า fenum อันเป็นคำศัพท์ที่ใช้บรรยายกลิ่นที่หอมหวาน เล่ามาว่าสตรีชาวโรมันนิยมรับประทานยี่หร่าฝรั่งเพื่อลดความอ้วน ปัจจุบันมีการใช้ยี่หร่าฝรั่งมากมายในตำรับอาหาร ซึ่งมีส่วนช่วยให้อาหารที่มีมันมากไม่เลี่ยน และย่อยได้ง่าย
เชื่อกันว่ายี่หร่าฝรั่งนั้นช่วยเสริมความแข็งแกร่งและความกล้าหาญ และยังทำให้มีชีวิตยืนยาวด้วย เชื่อกันว่างูนั้นกินยี่หร่าฝรั่งเพื่อช่วยให้ลอกคราบ ในสมัยกลางมีการห้อยยี่หร่าฝรั่งไว้เหนือประตูเพื่อขจัดวิญญาณชั่วร้าย ดอกยี่หร่าฝรั่งนั้นมีสีเหลือง เป็นพืชปรุงรสที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีกลิ่นฉุนรสร้อนแรง ใช้ปรุงอาหารหลายชนิด เชื่อว่ายังช่วยรักษาโรคตา และรักษาสายตาด้วย
ระเบียงภาพ
-
หัวยี่หร่าฝรั่ง
-
ช่อดอกยี่หร่าฝรั่ง
-
ช่อซี่ร่มยี่หร่าฝรั่ง
-
ผลยี่หร่าฝรั่ง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น