Share to:

 

วงศ์ลิงใหญ่

Hominidae[1]
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีน–ปัจจุบัน, 17–0Ma
สปีชีส์โฮมินิดที่ยังมีอยู่ 8 ชนิด หนึ่งสกุลต่อแถว (มนุษย์ ชิมแปนซี กอริลลา อุรังอุตัง)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับวานร
อันดับย่อย: Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
อนุอันดับ: Catarrhini
วงศ์ใหญ่: โฮมินอยเดีย
วงศ์: ลิงใหญ่

Gray, 1825[2]
สกุลต้นแบบ
Homo
ลินเนีย, 1758
Subfamilies

วงศ์พี่น้อง: Hylobatidae

การกระจายตัวของลิงใหญ่
ชื่อพ้อง
  • Pongidae Elliot, 1913
  • Gorillidae Frechkop, 1943
  • Panidae Ciochon, 1983

วงศ์ลิงใหญ่[3] หรือ โฮมินิดี (Hominidae, /hɒˈmɪnɪd/) ซึ่งมีสมาชิกที่เรียกว่า ลิงใหญ่ (อังกฤษ: great ape) หรือเรียกเป็นคำภาษาอังกฤษว่า โฮมินิด (อังกฤษ: Hominid) เป็นวงศ์ทางอนุกรมวิธานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานรซึ่งรวมสปีชีส์ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ 8 สปีชีส์ใน 4 สกุล คือ Pongo (อุรังอุตังบอร์เนียว สุมาตรา และตาปานูลิ) Gorilla (กอริลลาตะวันออก และตะวันตก) Pan (ชิมแปนซีและโบโนโบ) และ Homo ซึ่งเหลือเพียงมนุษย์ปัจจุบัน (Homo sapiens) เท่านั้น[1]

มีการแก้ไขหมวดหมู่ของลิงใหญ่หลายครั้ง จึงเปลี่ยนความหมายของคำว่า "โฮมินิด" ไปเรื่อย ๆ ความหมายดั้งเดิมหมายถึงเฉพาะมนุษย์ (โฮโม) และญาติใกล้ชิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1990 มนุษย์และลิงไร้หาง (เอป) ชนิดอื่น ๆ ได้พิจารณาว่าเป็น "โฮมินิด"

ความหมายที่จำกัดก่อนหน้านี้เดี๋ยวนี้ใช้คำว่า โฮมินิน (hominin) แทนเป็นส่วนใหญ่ โดยหมายถึงสมาชิกทั้งหมดในเคลดมนุษย์หลังจากแยกสายพันธุ์ออกจากชิมแปนซี (Pan) แล้ว[A] ความหมายปัจจุบันของ "โฮมินิด" จึงรวมลิงใหญ่ทั้งหมดรวมทั้งมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การใช้คำก็ยังต่าง ๆ กันอยู่ เพราะนักวิทยาศาสตร์และบุคคลทั่วไปบางส่วนยังคงใช้ "โฮมินิด" ในความหมายเดิมที่จำกัด และวรรณกรรมทางวิชาการโดยทั่วไปก็ได้ใช้ความหมายดั้งเดิมจนถึงต้นศตวรรษที่ 21[7]

หน่วยอนุกรมวิธาน Hominidae มีทั้งสกุลที่ยังมีชีวิตอยู่และสูญพันธุ์ไปแล้วหลายสกุลโดยจัดกลุ่มร่วมกับมนุษย์ ชิมแปนซี และกอริลลาในวงศ์ย่อย Homininae ส่วนสกุลอื่น ๆ จัดกลุ่มร่วมกับอุรังอุตังในวงศ์ย่อย Ponginae (ดู รูปด้านล่าง) บรรพบุรุษร่วมล่าสุดของลิงใหญ่ทั้งหมดมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 14 ล้านปีก่อน[8] เป็นช่วงที่บรรพบุรุษของอุรังอุตังแยกออกจากสายบรรพบุรุษของอีก 3 สกุลที่เหลือ[9] ส่วนบรรพบุรุษของลิงใหญ่จริง ๆ ก็ได้แยกออกจากวงศ์ Hylobatidae (ชะนี) แล้วก่อนหน้านั้นเมื่อประมาณ 15–20 ล้านปีก่อน[9][10]

เนื่องจากมนุษย์สัมพันธ์ทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิดกับลิงใหญ่อื่น ๆ จึงมีองค์กรสิทธิสัตว์ต่าง ๆ เช่น Great Ape Project (โปรเจ็กต์ลิงใหญ่) ที่อ้างว่า ลิงใหญ่ที่ไม่ใช่มนุษย์จริง ๆ เป็นบุคคลและควรได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ประเทศ 29 ประเทศได้ออกกฎห้ามการวิจัยเพื่อปกป้องลิงใหญ่จากการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ทุกรูปแบบ[11]

วิวัฒนาการ

อุรังอุตังสุมาตรา (Pongo abelii)

ในสมัยไมโอซีนตอนต้นเมื่อประมาณ 22 ล้านปีที่แล้ว มีสปีชีส์ลิงโลกเก่า (Catarrhini) ดั้งเดิมที่ปรับตัวขึ้นต้นไม้ในแอฟริกาตะวันออกจำนวนมาก ความหลายหลากเช่นนี้บ่งประวัติการเกิดความหลากหลายอันยาวนานก่อนหน้านี้ ซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) จากเมื่อ 20 ล้านปีก่อนรวมชิ้นส่วนที่ระบุว่าเป็นของไพรเมต Victoriapithecus ซึ่งเป็นลิงโลกเก่าซึ่งเก่าแก่ที่สุด สกุลที่คิดว่าอยู่ในสายวิวัฒนาการของเอปจนถึง 13 ล้านปีที่แล้วได้แก่ Proconsul, Rangwapithecus, Dendropithecus, Limnopithecus, Nacholapithecus, Equatorius, Nyanzapithecus, Afropithecus, Heliopithecus และ Kenyapithecus ทั้งหมดอยู่ในแอฟริกาตะวันออก

ส่วนในแหล่งบรรพชีวินวิทยาซึ่งไกลจากแอฟริกาตะวันออก พบซากของไพรเมตที่ไม่อยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่าจากกลางสมัยไมโอซีน คือ Otavipithecus จากสิ่งทับถมถ้ำในประเทศนามิเบีย, Pierolapithecus และ Dryopithecus จากประเทศฝรั่งเศส สเปน และออสเตรีย นี่เป็นหลักฐานเพิ่มเติมสำหรับความหลากหลายของรูปแบบบรรพบุรุษเอปทั่วแอฟริกาและพื้นที่รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างอบอุ่นและสม่ำเสมอในช่วงต้นและกลางสมัยไมโอซีน ลิงยุคไมโอซีนเช่นนี้ (โฮมินอยด์) ซึ่งมีอายุน้อยที่สุดก็คือ Oreopithecus ได้พบซากในชั้นถ่านหินที่มีฟอสซิลมากในภาคเหนือของประเทศอิตาลีโดยมีอายุ 9 ล้านปีก่อน

หลักฐานทางอณูชีววิทยาแสดงว่า สายพันธุ์ชะนี (วงศ์ Hylobatidae) แยกออกจากสายพันธุ์ลิงใหญ่เมื่อประมาณ 18–12 ล้านปีที่แล้ว และสายพันธุ์อุรังอุตัง (วงศ์ย่อย Ponginae) แยกออกจากของลิงใหญ่อื่น ๆ เมื่อประมาณ 12 ล้านปีก่อน ไม่มีฟอสซิลที่แสดงบรรพบุรุษของชะนีอย่างชัดเจน ซึ่งอาจมีต้นกำเนิดมาจากประชากรเอปในเอเชียอาคเนย์ที่ยังไม่รู้จัก แต่ฟอสซิลของบรรพบุรุษอุรังอุตังที่ตรวจอายุได้ประมาณ 10 ล้านปี อาจใช้ Sivapithecus จากประเทศอินเดียและ Griphopithecus จากตุรกีเป็นตัวแบบ[12]

ส่วนสปีชีส์ที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษร่วมล่าสุดของกอริลลา ชิมแปนซี และมนุษย์ อาจใช้ฟอสซิลของ Nakalipithecus ที่พบในเคนยาและของ Ouranopithecus ที่พบในกรีซเป็นตัวแทน หลักฐานทางอณูชีววิทยาชี้ว่าระหว่าง 8–4 ล้านปีที่แล้ว กอริลลา (สกุล Gorilla) และต่อจากนั้น ชิมแปนซี (สกุล Pan) ได้แยกออกจากสายพันธุ์ที่กลายเป็นมนุษย์ ดีเอ็นเอของมนุษย์เหมือนกับของชิมแปนซีประมาณ 98.4% เมื่อเทียบโดยซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึม[13] อย่างไรก็ตาม ฟอสซิลของกอริลลาและชิมแปนซีก็มีจำกัด ทั้งการเสื่อมสภาพเพราะดินในป่าฝนมักเป็นกรดแล้วสลายกระดูก และความเอนเอียงโดยการสุ่มตัวอย่างน่าจะเป็นสาเหตุหลักของปัญหานี้

ส่วนสายพันธุ์มนุษย์อื่น ๆ น่าจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งกว่านอกเขตเส้นศูนย์สูตรของแอฟริกา ซึ่งเป็นเขตที่มีตัวแอนทิโลป ไฮยีนา ช้างและสัตว์อื่น ๆ ที่กำลังปรับตัวเพื่อการอยู่รอดในทุ่งหญ้าสะวันนาของแอฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะในเขตซาเฮลและ Serengeti เขตป่าชื้นที่เส้นศูนย์สูตรได้หดตัวลงหลังจากประมาณ 8 ล้านปีที่แล้ว และมีหลักฐานฟอสซิลน้อยมากในเรื่องการแยกตัวของสายพันธุ์มนุษย์จากของกอริลลาและชิมแปนซี ซึ่งเชื่อว่าเกิดในเวลานั้น ฟอสซิลอันเก่าแก่ที่สุดที่นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าเป็นส่วนของสายพันธุ์มนุษย์คือ Sahelanthropus tchadensis (7 ล้านปีก่อน) และ Orrorin tugenensis (6 ล้านปีก่อน) ตามด้วยสกุล Ardipithecus (5.5–4.4 ล้านปี) รวมทั้งสปีชีส์ A. kadabba และ A. ramidus

อนุกรมวิธาน

ศัพท์

มนุษย์เป็นสกุลหนึ่งของโฮมินิดที่ยังมีอยู่

มีการแก้ไขการจัดหมวดหมู่ของลิงใหญ่หลายครั้งในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา การใช้คำว่า "โฮมินิด" จึงหลากหลายตามกาลเวลา ความหมายดั้งเดิมหมายถึงเฉพาะมนุษย์และญาติผู้ใกล้ชิดที่สุดเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันจะระบุความหมายนี้ด้วยคำว่า "โฮมินิน"[A] ส่วนความหมายของหน่วยอนุกรมวิธาน Hominidae นั้นค่อย ๆ เปลี่ยน ดังนั้น คำว่า "โฮมินิด" ปัจจุบันจึงหมายถึงลิงใหญ่ทั้งหมดรวมทั้งมนุษย์

มีคำคล้ายกันจากภาษาอังกฤษหลายคำเพื่อจำแนกหมวดหมู่ คือ

  • โฮมินอยด์ (hominoid) บางครั้งเรียกว่าเอป เป็นสมาชิกของวงศ์ใหญ่ Hominoidea โดยสมาชิกที่ยังมีอยู่คือชะนี (วงศ์ Hylobatidae) และโฮมินิด
  • โฮมินิด (hominid) เป็นสมาชิกของวงศ์ Hominidae คือลิงใหญ่ รวมอุรังอุตัง กอริลลา ชิมแปนซี และมนุษย์
  • โฮมินีน (hominine) เป็นสมาชิกของวงศ์ย่อย Homininae รวมกอริลลา ชิมแปนซี และมนุษย์ (เว้นอุรังอุตัง)
  • โฮมินิน (hominin) เป็นสมาชิกของเผ่า Hominini รวมชิมแปนซีและมนุษย์[A]
  • โฮมินินัน (homininan) ตามข้อเสนอของวู้ดและริชมอนด์ (2000) เป็นสมาชิกของเผ่าย่อย Hominina อันเป็นส่วนของเผ่า Hominini ซึ่งก็คือ มนุษย์ปัจจุบันและญาติที่ใกล้ชิดที่สุดรวมถึง Australopithecina เว้นชิมแปนซี[A][14][15]
  • มนุษย์ เป็นสมาชิกของสกุล Homo ซึ่ง Homo sapiens เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีอยู่ โดยมี Homo sapiens sapiens เป็นสปีชีส์ย่อยเดียวที่ยังอยู่รอด

แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ (cladogram) ซึ่งแสดงชื่อสามัญ (เทียบกับแผนภาพที่ละเอียดกว่าด้านล่าง)

Hominoidea

Hylobatidae
   ชะนี

Hominidae
Ponginae
Pongo
อุรังอุตัง
Homininae
Gorillini
Gorilla

Gorilla gorilla

Gorilla beringei

กอริลลา
Hominini
Panina
Pan
ชิมแปนซี
Hominina

Homo sapiens
     มนุษย์

โฮมินีน
โฮมินิด, ลิงใหญ่
โฮมินอยด์, ลิงไม่มีหาง, เอป

ญาติของมนุษย์ที่ยังมีอยู่และที่เหลือแต่ฟอสซิล

นิทรรศการซากดึกดำบรรพ์โฮมินิดที่พิพิธภัณฑ์วิทยากระดูก เมืองโอคลาโฮมาซิตี รัฐโอคลาโฮมา

Hominidae เดิมเป็นชื่อที่ให้กับวงศ์ของมนุษย์และญาติสนิท (ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว) โดยจัดลิงใหญ่อื่น ๆ (อุรังอุตัง กอริลลา และชิมแปนซี) ในวงศ์แยกต่างหากคือ Pongidae อย่างไรก็ตาม นิยามดังกล่าวในที่สุดก็ทำให้ Pongidae กลายเป็นกลุ่มแบบ paraphyletic คือกลุ่มที่รวมบรรพบุรุษร่วมล่าสุดแต่ไม่ได้รวมลูกหลานทุก ๆ สาย เพราะจริง ๆ มีลิงใหญ่อย่างน้อยหนึ่งสปีชีส์ (ชิมแปนซี) ที่สัมพันธ์กับมนุษย์อย่างใกล้ชิดกว่าลิงใหญ่อื่น ๆ นักอนุกรมวิธานปัจจุบันส่วนใหญ่สนับสนุนให้จัดกลุ่มแบบ monophyletic คือ กลุ่มที่รวมบรรพบุรุษร่วมล่าสุดและลูกหลานทั้งหมด ซึ่งในกรณีนี้จะต้องจำกัดการใช้หน่วย Pongidae กับกลุ่มที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเพียงกลุ่มเดียว ดังนั้น นักชีววิทยาปัจจุบันจึงมักจัดสกุล Pongo (ในวงศ์ย่อย Ponginae) ให้อยู่ในวงศ์ Hominidae แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์บนแสดงการจัดกลุ่มแบบ monophyletic ตามความเข้าใจปัจจุบันถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับลิงใหญ่

มนุษย์และญาติใกล้ชิดรวมถึงเผ่า Hominini และ Gorillini รวมกันเป็นวงศ์ย่อย Homininae (นักวิจัยบางคนถึงขั้นจัดชิมแปนซีและกอริลลาให้อยู่ในสกุล Homo เช่นเดียวกับมนุษย์)[16][17][18] แต่ก็มีสปีชีส์ฟอสซิลที่เป็นญาติใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าชิมแปนซี[19]

มีการศึกษาโฮมินิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วหลายชนิดเพื่อช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ปัจจุบันกับโฮมินิดที่ยังมีชีวิตอยู่ชนิดอื่น ๆ สมาชิกที่สูญพันธุ์ไปแล้วของวงศ์นี้รวมสกุล Gigantopithecus, Orrorin, Ardipithecus, Kenyanthropus และเผ่าย่อย Australopithecina รวมทั้งสกุล Australopithecus และ Paranthropus[20]

เมื่ออาศัยความเข้าใจในปัจจุบันในเรื่องต้นกำเนิดมนุษย์ เกณฑ์ในการจัดเป็นสมาชิกในเผ่า Hominini ก็จะไม่ชัดเจน แต่โดยทั่วไปแล้ว หน่วยอนุกรมวิธานนี้รวมสปีชีส์ที่มีดีเอ็นเอร่วมกันกับจีโนมมนุษย์ปัจจุบันยิ่งกว่า 97% และแสดงศักยภาพในการใช้ภาษาหรือมีวัฒนธรรมอย่างง่าย ๆ ที่ยิ่งไปกว่าครอบครัวหรือกลุ่มในท้องถิ่น ส่วนแนวคิดเรื่องทฤษฎีจิต ซึ่งรวมถึงความสามารถต่าง ๆ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ การเข้าใจสภาวะจิตใจของตนและผู้อื่น และแม้แต่การหลอกลวงเพื่อประโยชน์ของบุคคลนั้น เป็นเกณฑ์ที่ยังมีการโต้แย้ง เป็นสมรรถภาพที่แยกมนุษย์ผู้ใหญ่จากโฮมินิดอื่น ๆ มนุษย์จะพัฒนาสมรรถภาพนี้หลังจากอายุประมาณ 4 ขวบ ในขณะที่ยังไม่มีการพิสูจน์ (หรือหักล้าง) ว่ากอริลลาหรือชิมแปนซีสามารถพัฒนาทฤษฎีจิตได้หรือไม่[21] แต่นี่ก็จริงด้วยสำหรับลิงโลกใหม่บางชนิดที่อยู่นอกวงศ์ลิงใหญ่ด้วย เช่น ลิงคะพูชิน

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่สามารถทดสอบได้ว่าสมาชิกต้น ๆ ของ Hominini ว่ามีสมรรถภาพทางทฤษฎีจิตหรือไม่ แต่การทำเป็นไม่สนใจความคล้ายคลึงกันกับสายพันธุ์ลูกพี่ลูกน้องก็เป็นเรื่องยาก เช่น อุรังอุตังมีการพัฒนาวัฒนธรรมที่เทียบเท่ากับของชิมแปนซี[22] นักวิชาการบางคนยังกล่าวด้วยว่า อุรังอุตังอาจเข้าเกณฑ์ในเรื่องสมรรถภาพทางทฤษฎีจิตด้วย การอภิปรายทางวิทยาศาสตร์นี้มีนัยสำคัญทางการเมืองสำหรับผู้สนับสนุนแนวคิดความเป็นบุคคลของลิงใหญ่

คำอธิบาย

กอริลลา

ลิงใหญ่เป็นไพรเมตไร้หาง สปีชีส์ที่เล็กที่สุดคือโบโนโบ มีน้ำหนัก 30–40 กิโลกรัม ชนิดใหญ่ที่สุดคือกอริลลาตะวันออก ตัวผู้หนัก 140–180 กก. ในลิงใหญ่ทั้งหมด ตัวผู้โดยเฉลี่ยจะใหญ่และแข็งแรงกว่าตัวเมีย แต่ระดับภาวะทวิสัณฐานทางเพศ (คือความแตกต่างทางเพศ) จะต่างกันมากตามสายพันธุ์ ฟันของโฮมินิดจะกล้ายกับของลิงโลกเก่าและชะนี โดยของลิงกอริลล่าจะใหญ่เป็นพิเศษ สูตรจำนวนฟันกับชนิดฟันของกรามซีกหนึ่งก็คือ คือแบ่งเป็น ฟันตัด.ฟันเขี้ยว.ฟันกรามน้อย.ฟันกราม โดยเหนือเส้นระบุฟันบน ใต้เส้นระบุฟันล่าง ฟันและขากรรไกรมนุษย์เล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับขนาดกายโดยเปรียบเทียบกับเอปอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นการปรับตัวไม่ใช่เพียงไปใช้เครื่องมือเพื่อแทนที่บทบาทของขากรรไกรในการล่าสัตว์และการต่อสู้เท่านั้น แต่ปรับตัวไปกินอาหารปรุงสุกตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนด้วย[23][24]

พฤติกรรม

แม้สปีชีส์โฮมินิดที่ยังมีส่วนใหญ่จะเดินสี่ขาเป็นหลัก แต่ทั้งหมดก็ใช้มือเพื่อเก็บอาหารหรือเก็บวัสดุทำที่นอน และในบางกรณีก็ใช้เครื่องมือได้[25] สามารถสร้างที่นอนที่ซับซ้อน หรือที่เรียกว่ารัง บนต้นไม้เพื่อนอนในตอนกลางคืน แต่ชิมแปนซีและกอริลลาก็สร้างรังบนพื้นดินด้วย และกอริลลายังสามารถนอนบนพื้นดินเปล่าได้[26]

ทุก ๆ สปีชีส์กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แม้ชิมแปนซีและอุรังอุตังจะกินผลไม้เป็นหลัก[27] เมื่อกอริลลาขาดแคลนผลไม้ในบางช่วงของปีหรือในบางภูมิภาค ก็จะหันไปกินหน่อและใบไม้ โดยเฉพาะไผ่ซึ่งเป็นพืชในวงศ์หญ้า กอริลลาได้ปรับตัวอย่างสุด ๆ ในการเคี้ยวและย่อยอาหารคุณภาพต่ำ แม้ก็ยังชอบผลไม้มากกว่าเมื่อมีให้กิน โดยมักจะเดินทางไกลเป็นหลาย ๆ กิโลเพื่อไปหาผลไม้ที่ชอบ ส่วนมนุษย์ตั้งแต่การปฏิวัติยุคหินใหม่ ได้บริโภคธัญพืชและอาหารจำพวกแป้งเป็นหลัก รวมถึงอาหารที่แปรรูปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดจนพืชเพาะปลูกอื่น ๆ (รวมถึงผลไม้) และเนื้อสัตว์

ระยะการตั้งครรภ์ของลิงใหญ่อยู่ที่ 8–9 เดือน โดยคลอดลูกตัวเดียวหรือน้อยครั้งเป็นแฝด ทารกเกิดใหม่จะช่วยตัวเองไม่ได้และต้องดูแลเป็นเวลานาน ลิงใหญ่มีช่วงวัยรุ่นที่ยาวนานและไม่หย่านมเป็นเวลาหลายปีเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่[28] และจะไม่โตเต็มที่จนถึงอายุ 8–13 ปีในสปีชีส์โดยมาก (และยาวกว่านี้อีกในอุรังอุตังและมนุษย์) ดังนั้น เพศเมียจึงมักคลอดลูกเพียงตัวเดียวทุก 2–3 ปี ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน[25]

กอริลลาและชิมแปนซีอยู่เป็นครอบครัวประมาณ 5–10 ตัว แต่บางครั้งก็พบกลุ่มใหญ่กว่านี้ ชิมแปนซีอาศัยอยู่เป็นกลุ่มใหญ่กว่า แต่จะแตกออกเป็นกลุ่มเล็กลงเมื่อผลไม้หายากขึ้น เมื่อชิมแปนซีตัวเมียแยกเป็นกลุ่มเล็กไปในทิศต่าง ๆ เพื่อหาผลไม้ จ่าฝูงตัวผู้ก็จะไม่สามารถควบคุมแล้วตัวเมียก็มักจะผสมพันธุ์กับตัวผู้ที่เป็นลูกน้อง ในทางตรงกันข้าม กอริลลามักจะอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มไม่ว่าจะหาผลไม้ได้หรือไม่ เมื่อผลไม้หายาก ก็จะหันไปกินหน่อและใบแทน

ระดับภาวะทวิสัณฐานทางเพศ (คือความแตกต่างทางเพศ) จะต่างกันมากตามสายพันธุ์ กอริลลามีภาวะทวิสัณฐานทางเพศยิ่งกว่าชิมแปนซี นั่นคือ ความแตกต่างของขนาดระหว่างกอริลลาตัวผู้กับตัวเมียนั้นยิ่งกว่าของชิมแปนซีเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้ตัวผู้สามารถข่มตัวเมียทางกายได้ง่ายกว่า ทั้งในชิมแปนซีและกอริลลา จะมีจ่าฝูงอย่างน้อยหนึ่งตัว และตัวผู้วัยรุ่นจะออกจากกลุ่มเมื่อโตแล้ว

สถานะทางกฎหมาย

เนื่องจากมนุษย์สัมพันธ์ทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิดกับลิงใหญ่อื่น ๆ องค์กรสิทธิสัตว์บางแห่ง เช่น โครงการลิงใหญ่ (Great Ape Project) จึงอ้างว่าลิงใหญ่ที่ไม่ใช่มนุษย์จริง ๆ เป็นบุคคล และตามปฏิญญาลิงใหญ่ (Declaration on Great Apes) ควรได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในปี 1999 นิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกที่ห้ามการทดลองกับลิงใหญ่ทุกชนิด โดยปัจจุบันมีประเทศ 29 ประเทศที่ได้ห้ามการวิจัยเพื่อปกป้องลิงใหญ่จากการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ทุกรูปแบบ

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2008 รัฐสภาสเปนได้สนับสนุนกฎหมายใหม่ที่จะทำให้ "การเลี้ยงลิงใหญ่เพื่อใช้ในละครสัตว์ โฆษณาโทรทัศน์ หรือการถ่ายทำภาพยนตร์" ผิดกฎหมาย[29] เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2010 สหภาพยุโรปได้ห้ามการทดสอบลิงใหญ่[30]

การอนุรักษ์

ตารางต่อไปนี้แสดงจำนวนโดยประมาณของลิงใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ในสวนสัตว์

สปีชีส์ จำนวน
โดยประมาณ
สถานะ
การอนุรักษ์
อ้างอิง
อุรังอุตังบอร์เนียว 104,700 ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ [31]
อุรังอุตังสุมาตรา 6,667 ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ [32]
อุรังอุตังตาปานูลี 800 ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ [33]
กอริลลาตะวันตก 200,000 ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ [34]
กอริลลาตะวันออก <5,000 ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ [35]
ชิมแปนซี 200,000 ใกล้สูญพันธุ์ [36][37]
โบโนโบ 10,000 ใกล้สูญพันธุ์ [36]
มนุษย์ (2024) 8,073,260,400 [38]

วิวัฒนาการชาติพันธุ์

ด้านล่างนี้คือแผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์โดยรวมสปีชีส์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว[39][40][41][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] มีการระบุโดยประมาณว่าแยกออกเป็นเคลดใหม่เมื่อกี่ล้านปีก่อน (Mya)[42]

Hominidae (18)
Ponginae (14)

Kenyapithecus (†13 Mya)

Sivapithecus (†9)

Crown Ponginae

Ankarapithecus (†9)

Gigantopithecus (†0.1)

Khoratpithecus (†7)

(13)
(12)

Pierolapithecus (†11)

Hispanopithecus (†10)

Lufengpithecus (†7)

Khoratpithecus (†9)

Homininae (13)
Hominini (7)

Ardipithecus (รวม Homo)

Pan

Graecopithecus (†8)

Ouranopithecus (†7)

Gorillini

Crown Gorillini

Chororapithecus (†)

Nakalipithecus (†10)

Samburupithecus (†9)

อนุกรมวิธานของ Hominoidea (เน้นวงศ์ Hominidae) คือ หลังจาก Hylobatidae (ชะนี) แยกตัวออกจากสายหลักเมื่อประมาณ 18 ล้านปีก่อน สาย Ponginae ก็ได้แยกออกไปโดยในที่สุดก็กลายเป็นอุรังอุตัง ต่อมา Homininae ก็แยกออกเป็นเผ่า Hominini (ในที่สุดกลายเป็นมนุษย์และชิมแปนซี) และเผ่า Gorillini (ในที่สุดเป็นกอริลลา)

ที่ยังมีอยู่

มีลิงใหญ่ 8 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยแบ่งออกเป็น 4 สกุล การจัดหมวดหมู่ดังต่อไปนี้มักเป็นที่ยอมรับ[1]

  • วงศ์ Hominidae รวมมนุษย์และลิงใหญ่อื่น ๆ เมื่อไม่รวมสกุลและสปีชีส์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว[1]
    • วงศ์ย่อย Ponginae
    • วงศ์ย่อย Homininae
      • เผ่า Gorillini
        • สกุล Gorilla
          • กอริลลาตะวันตก, Gorilla gorilla
            • กอริลลาที่ลุ่มตะวันตก, Gorilla gorilla gorilla
            • กอริลลาแม่น้ำครอสส์, Gorilla gorilla diehli
          • กอริลลาตะวันออก, Gorilla beringei
            • กอริลลาภูเขา, Gorilla beringei beringei
            • กอริลลาที่ลุ่มตะวันออก, Gorilla beringei graueri
      • เผ่า Hominini

ซากดึกดำบรรพ์

กะโหลกศีรษะจำลองของซากดึกดำบรรพ์ที่บางครั้งเรียกว่า "Nutcracker Man" ที่ แมรี ลีกคี เป็นคนค้นพบ

นอกเหนือจากสปีชีส์และสปีชีส์ย่อยที่ยังมีชีวิตอยู่ นักโบราณคดี นักบรรพชีวินวิทยา และนักมานุษยวิทยาได้ค้นพบและจัดหมวดหมู่สปีชีส์ลิงใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วหลายชนิดดังต่อไปนี้ โดยอิงอนุกรมวิธานที่ได้แสดงไว้[44]

วงศ์ Hominidae

  • วงศ์ย่อย Ponginae[45]
    • เผ่า Lufengpithecini †
      • Lufengpithecus
        • Lufengpithecus lufengensis
        • Lufengpithecus keiyuanensis
        • Lufengpithecus hudienensis
      • Meganthropus
        • Meganthropus palaeojavanicus
    • เผ่า Sivapithecini†
      • Ankarapithecus
        • Ankarapithecus meteai
      • Sivapithecus
        • Sivapithecus brevirostris
        • Sivapithecus punjabicus
        • Sivapithecus parvada
        • Sivapithecus sivalensis
        • Sivapithecus indicus
      • Gigantopithecus
        • Gigantopithecus bilaspurensis
        • Gigantopithecus blacki
        • Gigantopithecus giganteus
    • เผ่า Pongini
      • Khoratpithecus
        • Khoratpithecus ayeyarwadyensis
        • Khoratpithecus piriyai
        • Khoratpithecus chiangmuanensis
      • Pongo (orangutans)
        • Pongo hooijeri
  • วงศ์ย่อย Homininae[46][47]
    • เผ่า Dryopithecini †
      • Kenyapithecus (หมวดหมู่ยังไม่ลงตัว)
        • Kenyapithecus wickeri
      • Danuvius
        • Danuvius guggenmosi
      • Pierolapithecus (หมวดหมู่ยังไม่ลงตัว)
        • Pierolapithecus catalaunicus
      • Ouranopithecus
        • Ouranopithecus macedoniensis
      • Otavipithecus
        • Otavipithecus namibiensis
      • Morotopithecus (หมวดหมู่ยังไม่ลงตัว)
        • Morotopithecus bishopi
      • Oreopithecus (หมวดหมู่ยังไม่ลงตัว)
        • Oreopithecus bambolii
      • Nakalipithecus
        • Nakalipithecus nakayamai
      • Anoiapithecus
        • Anoiapithecus brevirostris
      • Hispanopithecus (หมวดหมู่ยังไม่ลงตัว)
        • Hispanopithecus laietanus
        • Hispanopithecus crusafonti
      • Dryopithecus
        • Dryopithecus fontani
      • Rudapithecus (หมวดหมู่ยังไม่ลงตัว)
        • Rudapithecus hungaricus
      • Samburupithecus
        • Samburupithecus kiptalami
      • Graecopithecus[48]
        • Graecopithecus freybergi
    • เผ่า Gorillini
      • Chororapithecus † (หมวดหมู่ยังไม่ลงตัว)
        • Chororapithecus abyssinicus
    • เผ่า Hominini
      • เผ่าย่อย Panina
      • เผ่าย่อย Hominina
        • Sahelanthropus
          • Sahelanthropus tchadensis
        • Orrorin
          • Orrorin tugenensis
          • Orrorin praegens
        • Ardipithecus
          • Ardipithecus ramidus
          • Ardipithecus kadabba
        • Kenyanthropus
          • Kenyanthropus platyops
        • Australopithecus
          • Australopithecus bahrelghazali
          • Australopithecus anamensis
          • Australopithecus afarensis
          • Australopithecus africanus
          • Australopithecus garhi
          • Australopithecus sediba
          • Australopithecus deyiremeda
        • Paranthropus
          • Paranthropus aethiopicus
          • Paranthropus robustus
          • Paranthropus boisei
        • Homo เป็นญาติใกล้ชิดของมนุษย์ปัจจุบัน
          • Homo gautengensis† (อาจเป็นตัวอย่างของ H. habilis)
          • Homo rudolfensis† (อาจไม่ควรอยู่ในสกุล Homo)
          • Homo habilis† (อาจไม่ควรอยู่ในสกุล Homo)
          • Homo naledi† (อาจไม่ควรอยู่ในสกุล Homo)
          • Dmanisi Man, Homo georgicus† (อาจเป็นสปีชีส์ย่อยต้น ๆ ของ Homo erectus)
          • Homo ergaster† (Homo erectus ในแอฟริกา)
          • Homo erectus
            • Homo erectus bilzingslebenensis
            • มนุษย์ชวา, Homo erectus erectus
            • Lantian Man, Homo erectus lantianensis
            • Nanjing Man, Homo erectus nankinensis
            • มนุษย์ปักกิ่ง, Homo erectus pekinensis
            • Solo Man, Homo erectus soloensis † (อาจเป็นสปีชีส์ต่างหาก)
            • Tautavel Man, Homo erectus tautavelensis
            • Yuanmou Man, Homo erectus yuanmouensis
          • Flores Man or Hobbit, Homo floresiensis† (อาจไม่ควรอยู่ในสกุล Homo)
          • Homo luzonensis † (อาจไม่ควรอยู่ในสกุล Homo)
          • Homo antecessor
          • Homo heidelbergensis
          • Homo cepranensis† (อาจเป็นตัวอย่างของ H. heidelbergensis)
          • Homo helmei† (อาจเป็นตัวอย่างของ H. sapiens รุ่นต้น ๆ)
          • Homo tsaichangensis† (อาจเป็นสปีชีส์ย่อยของ H. erectus หรือเป็น Denisovan ไม่น่าจะเป็นสปีชีส์ต่างหาก)
          • Denisovans (ชื่อทวินามยังไม่ได้กำหนด) †
          • นีแอนเดอร์ทาล, Homo neanderthalensis
          • Homo rhodesiensis† (น่าจะเป็นตัวอย่างของ H. heidelbergensis รุ่นท้าย ๆ)
          • มนุษย์ปัจจุบัน, Homo sapiens (บางครั้งเรียกว่า Homo sapiens sapiens)

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 นักวิชาการบางส่วนใช้คำว่า โฮมินิน (hominin) โดยหมายถึง สมาชิกทั้งหมดในเคลดมนุษย์หลังจากแยกสายพันธุ์ออกจากชิมแปนซี (Pan) แล้ว[4][5] แต่บางส่วนก็ยังรวมเอาสกุล Pan ด้วย[6]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 181–184. ISBN 0-801-88221-4.
  2. Gray, J. E. (1825). "An outline of an attempt at the disposition of Mammalia into Tribes and Families, with a list of genera apparently appertaining to each Tribe". Annals of Philosophy. New Series. 10: 337–334.
  3. หน้า 175, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
  4. "Definition, Characteristics, & Family Tree". Encyclopedia Britannica. 2009-04-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-08-26. สืบค้นเมื่อ 2024-09-19.
  5. "Hominid and hominin – what's the difference?". The Australian Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-11. สืบค้นเมื่อ 2024-09-19.
  6. Wood, B (2010). "Reconstructing human evolution: Achievements, challenges, and opportunities". Proceedings of the National Academy of Sciences. 107 (Suppl 2): 8902–8909. Bibcode:2010PNAS..107.8902W. doi:10.1073/pnas.1001649107. PMC 3024019. PMID 20445105.
  7. Morton, Mary. "Hominid vs. hominin". Earth Magazine. สืบค้นเมื่อ 2017-07-17.
  8. Andrew Hill; Steven Ward (1988). "Origin of the Hominidae: The Record of African Large Hominoid Evolution Between 14 My and 4 My". Yearbook of Physical Anthropology. 31 (59): 49–83. doi:10.1002/ajpa.1330310505.
  9. 9.0 9.1 Dawkins, Richard; Wong, Yan (2016). The Ancestor's Tale. Boston: Mariner Books. ISBN 978-0-544-85993-7.
  10. "Query: Hominidae/Hylobatidae". TimeTree. Temple University. 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-12-28.
  11. "International Bans | Laws | Release & Restitution for Chimpanzees". releasechimps.org. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
  12. Srivastava, R. P. (2009-03-03). Morphology of the Primates And Human Evolution. PHI Learning Pvt. Ltd. p. 87. ISBN 978-81-203-3656-8. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06. }}
  13. Chen, Feng-Chi; Li, Wen-Hsiung (2001-01-15). "Genomic Divergences between Humans and Other Hominoids and the Effective Population Size of the Common Ancestor of Humans and Chimpanzees". American Journal of Human Genetics. 68 (2): 444–456. doi:10.1086/318206. ISSN 0002-9297. PMC 1235277. PMID 11170892.
  14. Wood, Bernard; Richmond, Brian G. (2000). "Human evolution: taxonomy and paleobiology". Journal of Anatomy. 197 (1): 19–60. doi:10.1046/j.1469-7580.2000.19710019.x. ISSN 0021-8782. PMC 1468107. PMID 10999270.. In this suggestion, the new subtribe of Hominina was to be designated as including the genus Homo exclusively, so that Hominini would have two subtribes, Australopithecina and Hominina, with the only known genus in Hominina being Homo. Orrorin (2001) has been proposed as a possible ancestor of Hominina but not Australopithecina. Reynolds, Sally C.; Gallagher, Andrew (2012-03-29). African Genesis: Perspectives on Hominin Evolution. Cambridge University Press. ISBN 9781107019959. . Designations alternative to Hominina have been proposed: Australopithecinae (Gregory & Hellman 1939) and Preanthropinae (Cela-Conde & Altaba 2002); Brunet, M.; และคณะ (2002). "A new hominid from the upper Miocene of Chad, central Africa" (PDF). Nature. 418 (6894): 145–151. Bibcode:2002Natur.418..145B. doi:10.1038/nature00879. PMID 12110880. S2CID 1316969. Cela-Conde, C.J.; Ayala, F.J. (2003). "Genera of the human lineage". PNAS. 100 (13): 7684–7689. Bibcode:2003PNAS..100.7684C. doi:10.1073/pnas.0832372100. PMC 164648. PMID 12794185. Wood, B.; Lonergan, N. (2008). "The hominin fossil record: taxa, grades and clades" (PDF). J. Anat. 212 (4): 354–376. doi:10.1111/j.1469-7580.2008.00871.x. PMC 2409102. PMID 18380861.
  15. "GEOL 204 The Fossil Record: The Scatterlings of Africa: The Origins of Humanity". www.geol.umd.edu. สืบค้นเมื่อ 2019-11-07.
  16. Pickrell, John (2003-05-20). "Chimps Belong on Human Branch of Family Tree, Study Says". National Geographic Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-06-01. สืบค้นเมื่อ 2007-08-04.
  17. "Relationship Humans-Gorillas". berggorilla.de. 2007-10-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-30. สืบค้นเมื่อ 2024-09-15.
  18. Watson, E. E.; และคณะ (2001). "Homo genus: a review of the classification of humans and the great apes". ใน Tobias, P. V.; และคณะ (บ.ก.). Humanity from African Naissance to Coming Millennia. Florence: Firenze Univ. Press. pp. 311–323.
  19. Schwartz, J.H. (1986). "Primate systematics and a classification of the order.". ใน Swindler, Daris R.; Erwin, J. (บ.ก.). Comparative Primate Biology. Vol. 1: Systematics, evolution, and anatomy. New York: Wiley-Liss. p. 1–41. ISBN 978-0-471-62644-2.
  20. Schwartz, J.H. (2004). "Issues in hominid systematics". Paleoantropología. ALCALA DE HENARES (4): 360–371.
  21. Heyes, C. M. (1998). "Theory of Mind in Nonhuman Primates" (PDF). Behavioral and Brain Sciences. 21 (1): 101–14. doi:10.1017/S0140525X98000703. PMID 10097012. S2CID 6469633. bbs00000546.
  22. Van Schaik, C.P.; Ancrenaz, M; Borgen, G; Galdikas, B; Knott, CD; Singleton, I; Suzuki, A; Utami, SS; Merrill, M (2003). "Orangutan cultures and the evolution of material culture". Science. 299 (5603): 102–105. Bibcode:2003Sci...299..102V. doi:10.1126/science.1078004. PMID 12511649. S2CID 25139547.
  23. Brace, C. Loring; Mahler, Paul Emil (1971). "Post-Pleistocene changes in the human dentition" (PDF). American Journal of Physical Anthropology. 34 (2): 191–203. doi:10.1002/ajpa.1330340205. hdl:2027.42/37509. PMID 5572603.
  24. Wrangham, Richard (2007). "Chapter 12: The Cooking Enigma". ใน Pasternak, Charles (บ.ก.). What Makes Us Human?. Oxford: Oneworld Press. ISBN 978-1-85168-519-6.
  25. 25.0 25.1 Harcourt, A.H.; MacKinnon, J.; Wrangham, R.W. (1984). Macdonald, D. (บ.ก.). The Encyclopedia of Mammals. New York: Facts on File. pp. 422–439. ISBN 978-0-87196-871-5.
  26. Hernandez-Aguilar, R. Adriana; Reitan, Trond (2020). "Deciding Where to Sleep: Spatial Levels of Nesting Selection in Chimpanzees (Pan troglodytes) Living in Savanna at Issa, Tanzania". International Journal of Primatology. 41 (6): 870–900. doi:10.1007/s10764-020-00186-z.
  27. Alina, Bradford (2015-05-29). "Facts About Apes". livescience.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-25.
  28. Hamilton, Jon (2017-05-17). "Orangutan Moms Are The Primate Champs Of Breast-Feeding". NPR. สืบค้นเมื่อ 2024-05-20.
  29. "Spanish parliament to extend rights to apes". Reuters. 2008-06-25. สืบค้นเมื่อ 2008-07-11.
  30. "New EU rules on animal testing ban use of apes". Independent.co.uk. 2010-09-12.
  31. "Bornean Orangutan, Pongo pygmaeus". New England Primate Conservancy. 2021-10-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-29. สืบค้นเมื่อ 2024-09-18.
  32. An estimate of the number of wild orangutans in 2004: "Orangutan Action Plan 2007–2017" (PDF). Government of Indonesia. 2007. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-01.
  33. Davis, Nicola (2017-11-02). "New species of orangutan discovered in Sumatra – and is already endangered". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-11-03.
  34. "Gorillas on Thin Ice". โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ. 2009-01-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-18. สืบค้นเมื่อ 2010-05-19.
  35. IUCN (2018-08-02). Eatern Gorilla: Gorilla beringei Plumptre, A., Robbins, M.M. & Williamson, E.A.: The IUCN Red List of Threatened Species 2019: e.T39994A115576640 (Report). doi:10.2305/iucn.uk.2019-1.rlts.t39994a115576640.en. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-07-04.
  36. 36.0 36.1 Vigilant, Linda (2004). "Chimpanzees". Current Biology. 14 (10): R369–R371. Bibcode:2004CBio...14.R369V. doi:10.1016/j.cub.2004.05.006. PMID 15186757.
  37. "Chimpanzees". WWF. 2024-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-08-14. สืบค้นเมื่อ 2024-09-17.
  38. "U.S. and World Population Clock". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ 2024-09-17.
  39. Grabowski, Mark; Jungers, William L. (2017). "Evidence of a chimpanzee-sized ancestor of humans but a gibbon-sized ancestor of apes". Nature Communications (ภาษาอังกฤษ). 8 (1): 880. Bibcode:2017NatCo...8..880G. doi:10.1038/s41467-017-00997-4. ISSN 2041-1723. PMC 5638852. PMID 29026075.
  40. Nengo, Isaiah; Tafforeau, Paul; Gilbert, Christopher C.; Fleagle, John G.; Miller, Ellen R.; Feibel, Craig; Fox, David L.; Feinberg, Josh; Pugh, Kelsey D. (2017). "New infant cranium from the African Miocene sheds light on ape evolution". Nature. 548 (7666): 169–174. Bibcode:2017Natur.548..169N. doi:10.1038/nature23456. PMID 28796200. S2CID 4397839.
  41. "Hominidae | primate family". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-07-19.
  42. Malukiewicz, Joanna; Hepp, Crystal M.; Guschanski, Katerina; Stone, Anne C. (2017-01-01). "Phylogeny of the jacchus group of Callithrix marmosets based on complete mitochondrial genomes". American Journal of Physical Anthropology (ภาษาอังกฤษ). 162 (1): 157–169. doi:10.1002/ajpa.23105. ISSN 1096-8644. PMID 27762445. Fig 2: "Divergence time estimates for the jacchus marmoset group based on the BEAST4 (Di Fiore et al., 2015) calibration scheme for alignment A.[...] Numbers at each node indicate the median divergence time estimate."
  43. Nater, Alexander; Mattle-Greminger, Maja P.; Nurcahyo, Anton; และคณะ (2017-11-02). "Morphometric, Behavioral, and Genomic Evidence for a New Orangutan Species". Current Biology. 27 (22): 3487–3498.e10. Bibcode:2017CBio...27E3487N. doi:10.1016/j.cub.2017.09.047. hdl:10230/34400. PMID 29103940.
  44. Haaramo, Mikko (2005-01-14). "Hominoidea". Mikko's Phylogeny Archive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-28.
  45. Haaramo, Mikko (2004-02-04). "Pongidae". Mikko's Phylogeny Archive.
  46. Haaramo, Mikko (2005-01-14). "Hominoidea". Mikko's Phylogeny Archive.
  47. Haaramo, Mikko (2007-11-10). "Hominidae". Mikko's Phylogeny Archive.
  48. Fuss, J; Spassov, N; Begun, DR; Böhme, M (2017). "Potential hominin affinities of Graecopithecus from the Late Miocene of Europe". PLOS ONE. 12 (5): 5. Bibcode:2017PLoSO..1277127F. doi:10.1371/journal.pone.0177127. PMC 5439669. PMID 28531170.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya