ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (อังกฤษ: Centre for Resolution of Emergency Situation) หรือเรียกโดยย่อว่า ศอฉ. (อังกฤษ: CRES) เป็นหน่วยงานพิเศษของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553[1] ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อการควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยก่อนหน้านี้ได้ใช้ชื่อว่า ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ตามประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร คำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่ 103/2553 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2553 โดยให้ สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย อนึ่งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.)นั้นมีการจัดตั้งและยุบเป็นช่วงๆ รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดตั้งศอ.รส.ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2552[2]ถึง 1 กันยายน 2552 ซึ่งเป็นการจัดตั้งตามกฎหมาย พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภายหลังประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในพื้นที่เขตดุสิต ครั้งที่สองระหว่างวันที่ 18-22 กันยายน 2552[3]ครั้งที่สาม 15-25 ตุลาคม 2552[4] รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดตั้ง ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็น ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย และ พลตำรวจตรี ประวุฒิ ถาวรศิริ เป็นโฆษก ศอ.รส. พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย และ พล.ต.ต.พินิต มณีรัตน์ เป็นรองโฆษก ศอ.รส. เพื่อควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งชุมนุมประท้วงบริเวณศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำ[5]และ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตามประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 ศอ. รส. ได้ออกประกาศ 2 ฉบับเรื่องการห้ามปิดถนนและออกหมายเรียกแกนนำมารับทราบข้อกล่าวหา[6]และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ได้ออกประกาศห้ามเข้ากระทรวงศึกษาธิการเป็นฉบับที่ 3/2554 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม4จังหวัด โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป ศอฉ.จึงสิ้นสุดอำนาจหน้าที่ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไปด้วย และได้มีการสั่งการให้โอนย้ายงานที่ยังค้างคาอยู่ไปอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอยู่หลายฝ่าย ทั้งทหาร ตำรวจ และข้าราชการการเมือง รวมทั้งหน่วยงานพิเศษเช่นกรมสอบสวนคดีพิเศษ อำนาจหน้าที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
รายชื่อคณะกรรมการคณะกรรมการในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินประกอบด้วยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ1/2553[7] คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ94/2553[8] ที่ 2/2553[9] ดังรายนามดังต่อไปนี้ คณะกรรมการตามประกาศที่ พิเศษ 1/2553
คณะกรรมการตามประกาศตามประกาศ2/2553
คณะกรรมการตามประกาศตามประกาศพิเศคณะกรรมการตามประกาศตามประกาศพิเศษ 94/2553
หัวหน้าผู้รับผิดชอบสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ผู้ปฏิบัติงานโฆษก
ผู้ปฏิบัติงานศอฉ. ได้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงาน โดยมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้อำนวยการ และ พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด เป็นโฆษกประจำ ศอฉ. ซึ่งจะมีการแถลงข่าวอย่างต่อเนื่องผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ผู้ร่วมแถลงการณ์ อาทิ พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชำนาญการพิเศษ[15]กรมสอบสวนคดีพิเศษ นาย สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ด้านการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง มีพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[16]ผู้กำกับกองกำลัง พลโท คณิต สาพิทักษ์ พลโท กัมปนาท รุดดิษฐ์ และ พลตรี สุรศักดิ์ บุญศิริ เป็นผู้ควบคุมกองกำลังโดยแบ่งพื้นที่ในการรับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน พลโท อักษรา เกิดผล เป็นหัวหน้าส่วนยุทธการ[17] พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็น รองหัวหน้าฝ่ายยุทธการ วันที่ 9 เมษายน 2553 พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกอบด้วย พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รักษาราชการแทนผบก.ป. พ.ต.อ.ศานิตย์ มหถาวร รองผบก.ป. พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล[18][19]พลตำรวจตรี ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พ.ต.ท.จุมพล คณานุรักษ์ รองผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 5 กองบังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจนครบาล วันที่ 18 เมษายน 2553 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เรียกประชุม ผบ.หน่วย ที่รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เข้าร่วมประชุมรับนโยบาย โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผบ.ทบ. พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผช.ผบ.ทบ. พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสธ.ทบ. พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ.ทบ. พล.ท.โปฎก บุนนาค ผบ.นสศ. พล.ท.ยุทธศิลป์ โดยชื่นงาม ผบ.นปอ. พล.ต.อุกฤษฎ์ ณรงค์วิทย์ ผบ.มทบ.11 พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผบ.พล.1 รอ. พล.ต.สุรศักดิ์ บุญสิริ ผบ.พล.ม.2 รอ. พล.ต.อำพล ชูประทุม ผบ.พล.ปตอ. พล.ต.อุทิศ สุนทร ผบ.พล.ร.9 พ.อ. พ.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ รองผบ.พล.ร.2 รอ. ปฏิบัติหน้าที่แทน พล.ต.วลิต โรจนภักดี ผบ.พล.ร.2 รอ.ที่บาดเจ็บจากการปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน เข้าร่วมประชุม[20] วันที่ 17 พฤษภาคม 2553 มีการแถลงผลการประชุมของศอฉ.โดย พล.ท.อักษรา เกิดผล ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก น.อ.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ นาวาอากาศเอก มณฑล สัชฌุกร รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ และ พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[21] วันที่ 29 พฤษภาคม 2553 พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. พล.ต.ต.สุเมธ เรืองสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.สมวุฒิ วรรณพิรุณ ผบก.น.4 พ.ต.อ.อาณัติ เกล็ดมณี รอง ผบก.น.4 หมายค้นศาลอาญาเลขที่ 195-207/2553 ลงวันที่ 29 พ.ค.53 เข้าตรวจค้นภายในห้องพักชั้น 3 จำนวน 13 ห้อง ของโรงแรมเอสซีปาร์ค ถนนประชาอุทิส[22] วันที่ 24 มิถุนายน 2553 พ.ต.อ.ทรงพล วัฒนะชัย รองผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจนครบาล และ พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษดีเอสไอ[23]ร่วมกันแถลงการขยายพรก.ฉุกเฉิน ในวันที่ 2 สิงหาคม 2553 นายสุเทพ มอบหมายให้ พล.ท.อักษรา เกิดผล หัวหน้าส่วนยุทธการศอฉ. และนาย สมเกียรติ ศรีประเสริฐ รักษาการผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงระหว่างประเทศ สภาความมั่นคงเข้าชี้แจงสมาชิกวุฒิสภา[24] ในวันที่ 5 ตุลาคม 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. แทนนายสุเทพที่ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน แทนพลเอกอนุพงษ์ที่เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน[25] มาตรการการปิดเว็บไซต์และสถานีประชาชนวันที่ 8 เมษายน ภายหลังที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปแจ้งให้ไทยคมระงับการแพร่สัญญาณภาพและเสียงของสถานีประชาชน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักชุมนุมอยู่ที่บริเวณสถานีไทยคม ที่ตั้งอยู่ถนนรัตนาธิเบศร์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และสถานีไทยคม ซึ่งตั้งอยู่ถนนสายลาดหลุมแก้ว-วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อเรียกร้องให้ยุติการระงับการเผยแพร่สัญญาณ[26] วันที่ 9 เมษายน กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังสถานีไทยคม ซึ่งตั้งอยู่ถนนสายลาดหลุมแก้ว-วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อเรียกร้องให้ยุติการระงับการเผยแพร่สัญญาณการออกอากาศของสถานีประชาชน โดยได้มีการนำกองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา แต่ไม่บรรลุผล จากนั้นเหตุการณ์ได้สงบลงภายในเวลา 15 นาที โดยแกนนำพยายามควบคุมมวลชนไม่ให้บุกเข้าไปภายในตัวอาคาร จนกระทั่งมีการเจรจาให้ทหารถอนกำลังเดินแถวออกจากสถานีไทยคม ท่ามกลางเสียงโห่ร้องดีใจของผู้ชุมนุม นอกจากนี้ได้มีการนำอาวุธที่ได้ยึดมาจากทหาร ที่ประกอบด้วยปืนเอ็ม 16, ปืนลูกซองยาว พร้อมลูกระเบิดแก๊สน้ำตา หมวกกันน็อค เสื้อเกราะ โล่ กระบอง มาให้สื่อมวลชนได้ถ่ายภาพเอาไว้ รวมทั้งยังมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตาอีกจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุม[27] หลังจากที่มีการยืนยันว่าทางสถานีประชาชนจะมีการออกอากาศอย่างแน่นอน กลุ่มผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนขบวนกลับไปยังที่ตั้ง[28] หลังจากนั้นในเวลาประมาณ 22.20 น.ได้มีการเข้าระงับการออกอากาศของทางสถานีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เปิดเผยว่า หลังจากเกิดสถานการณ์ทางการเมืองขึ้น ศอฉ.มีคำสั่งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปิดเว็บไซต์ที่เข้าข่ายปลุกระดมและปิดแล้ว 1,900 เว็บไซต์ จากสัปดาห์ที่ผ่านมามีเพียง 1,150 เว็บไซต์ ส่วนเว็บไซต์ทวิตเตอร์ส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ประชุม ศอฉ. มีมติว่า ทุกทวิตเตอร์ หากมีข้อความยั่วยุ ปลุกระดมให้เกิดความแตกแยก หรือหมิ่นสถาบันฯ ก็ต้องดำเนินการปิดกั้นทั้งหมด แม้จะอยู่ในกลุ่มของโซเชียลเน็ตเวิร์คก็ตาม เพราะอยู่ภายใต้อำนาจพรก.ฉุกเฉิน[29] แผนปรองดองวันที่ 3 พฤษภาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่าจะมาพูดถึงการคลี่คลายสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เป็นการสะสมปัญหามาเป็นระยะเวลานานหลายปี ที่สะสมมาทั้งหมดทำให้เกิดความแตกแยกร้าวลึก คำตอบทางการเมืองที่อยากบอกประชาชนในวันนี้ คือการสร้างกระบวนการปรองดองขึ้นมา หากแผนการปรองดองและทำบ้านเมืองให้สงบสุข การจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นเป้าหมายที่รัฐบาลพร้อมดำเนินการ โดยแผนปรองดองดังกล่าวมีองค์ประกอบดังนี้
วันที่ 4 พฤษภาคม นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน แถลงผลการประชุมแกนนำ นปช.ที่เวทีการชุมนุมสี่แยกราชประสงค์ เกี่ยวกับข้อเสนอแผนการปรองดอง 5 ข้อของนายกรัฐมนตรี หลังใช้เวลาประชุมกว่า 2 ชั่วโมงว่า มีข้อสรุป 4 ข้อประกอบด้วย
ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน แถลงบนเวทีปราศรัยว่า ขอให้ทางรัฐบาลไปหาความความชัดเจนในการยุบสภาต้องระบุวันให้ชัดเจนมาก่อน และแกนนำคนเสื้อแดงไม่ปฏิเสธเข้าร่วมกับแผนโรดแมปเพื่อป้องกันการบาดเจ็บล้มตาย ทางกลุ่มคนเสื้อแดงยืนยันว่าเรื่องการนิรโทษกรรม เรื่องการกล่าวหาความผิดก่อนหน้านี้ทางเสื้อแดงไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไข หากรัฐบาลกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงเป็นการก่อการร้ายทางผู้ชุมนุมจะสู้ถึงที่สุด หากกล่าวหาว่าโค่นล้มสถาบันทางเสื้อแดงพร้อมที่จะสู้เช่นเดียวกัน และขอให้เรียกร้องมาตรฐานเดียวกันกับคดีสั่งสังหารประชาชนในเหตุการณ์เดือนเมษายนจะต้องไม่มีการนิรโทษกรรมใดๆเช่นเดียวกัน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวขอให้ดีเอสไอรับไปเป็นคดีพิเศษแล้วดำเนินการต่อไป[31] เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม เวลา 12.00 น. ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่าแผนปรองดองนั้นถูกยกเลิกไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากขณะนั้นกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติปฏิเสธข้อเสนอและปฏิเสธที่จะเจรจากับทางรัฐบาลและผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาที่ต้องการให้มีการถอยร่นออกจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จนถึงแยกสารสิน[32]และเพิ่มข้อเรียกร้องให้สุเทพ เทือกสุบรรณ มอบตัวกับตำรวจ ทั้งที่สุเทพ เทือกสุบรรณมอบตัวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว[33] การตัดระบบสาธารณูปโภควันที่ 12 พฤษภาคม พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ระบุว่า การประชุม ศอฉ.ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. เป็นประธาน ได้ติดตามสถานการณ์และรายงานยอดผู้ชุมนุม โดย ศอฉ.จำเป็นต้องใช้มาตรการกดดันผู้ชุมนุมเต็มรูปแบบ เริ่มต้นจากการไม่ใช้กำลัง โดยกำหนดให้มีการตัดน้ำ ตัดไฟ สัญญาณโทรศัพท์ ระบบสาธาณูปโภค การเดินทางสาธารณะต่าง ๆ ทั้งรถโดยสารมวลชน รถไฟฟ้า และการเดินทางทางน้ำบริเวณคลองแสนแสบ เพื่อปิดการเข้าพื้นที่ชุมนุม 100% อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงอาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้ โดยทหารที่อยู่ในพื้นที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออก พื้นที่ดังกล่าว และมาตรการต่าง ๆ จะเริ่มได้ตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป และจะหารือหน่วยงานเกี่ยวข้องเพิ่มเติมในวันนี้ โดย ศอฉ.ต้องขออภัยประชาชนและทูตประเทศต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว พร้อมย้ำว่า มาตรการกดดันการเข้าพื้นที่ชุมนุมเต็มรูปแบบเป็นมาตรการขั้นเบาที่สุดแล้ว รวมทั้งได้ประสานกับผู้ประกอบการบริเวณดังกล่าวในเบื้องต้น ส่วนมาตรการหลังจากนี้ยังไม่ขอเปิดเผย[34][35] ต่อมา พ.อ.สรรเสริญ ระบุว่า มาตรการกดดันผู้ชุมนุมแยกราชประสงค์เต็มรูปแบบ ในการตัดน้ำ ตัดไฟ ระบบสาธารณูปโภค และการเดินทางสาธารณะ ทั้งทางบกและทางน้ำ ยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจน และต้องหารือร่วมกันอีกครั้งในคืนวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เพื่อกำหนดรายละเอียดว่าจะเป็นพื้นที่ใดบ้าง เพราะบริเวณดังกล่าวมีทั้งโรงพยาบาล และ สถานประกอบการต่างๆ รวมทั้งต้องมีการประเมินผลกระทบว่าระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง กลุ่มใดจะได้รับผลกระทบ และความเดือดร้อนมากกว่า เนื่องจากพบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมก็ได้เตรียมมาตรการรองรับในเรื่องการตัดน้ำ ตัดไฟ ส่วนเส้นทางเดินรถเมล์ ใกล้พื้นที่ชุมนุม คงจะมีการพิจารณาให้วิ่งในวงนอกต่อไป และรถแท็กซี่ อาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าในบริเวณพื้นที่ชุมนุม พ.อ.สรรเสริญ ระบุว่า มาตรการดังกล่าวของศอฉ.อาจจะไม่ได้ดำเนินการทันทีในเวลา 24.00 น. วันที่ 12 พฤษภาคม 2553 และอาจจะเลื่อนเป็นวัน13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ขึ้นอยู่กับการหารือกำหนดรายละเอียดและข้อสรุปให้เกิดความชัดเจน เนื่องจากมีประชาชนทั่วไปโทรศัพท์เข้ามาสอบถามจำนวนมาก เพราะเกรงจะได้รับความเดือดร้อนจากมาตรการนี้[36] วันที่ 13 พฤษภาคม เวลา 11.30 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงผลการประชุม ศอฉ.ช่วงเช้าว่า การกำหนดมาตรการในการปิดล้อมสกัดกั้นพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์อย่างสมบูรณ์ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. พื้นที่ที่มีผลกระทบทางด้านเหนือเริ่มตั้งแต่ แยกราชเทวี ไปตาม ถนนเพชรบุรี จนถึงแยกขึ้นทางด่วนเพชรบุรี ทางทิศใต้ ตั้งแต่แยกทางขึ้นด่วนเพชรบุรี ตามถนนวิทยุ จนกระทั่งสี่แยกถนนวิทยุ เรื่อยมาจนถึงถนนพระรามที่ 4 จนถึงแยกสามย่าน และขึ้นเหนือไปบรรจบจุดเริ่มต้นตามถนนพญาไท จนกระทั่งถึงแยกราชเทวี ซึ่งเป็นลักษณะกรอบสี่เหลี่ยม การบริการสาธารณะทุกชนิดทั้ง ไฟฟ้า ประปา การจราจร รถประจำทาง เรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส (ไม่จอดรับส่งผู้โดยสารใน 4 สถานี คือ สถานีสยาม สถานีชิดลม สถานีเพลินจิตและสถานีราชดำริ (ปิดให้บริการทุกสถานีเวลา 19.00 น.)) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (ไม่จอดรับส่งผู้โดยสารใน 2 สถานี คือ สถานีสีลมและสถานีลุมพีนี (ปิดให้บริการทุกสถานีเวลา 22.00 น.)) จะมีการระงับเริ่มตั้งแต่ 18.00 น.เป็นต้นไป โดยเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนหลักสากลจากเบาไปหาหนัก 7 ขั้นตอน และมีการใช้อาวุธกระสุนจริงด้วย[37] การประกาศห้ามออกนอกเคหสถานเมื่อเวลา 16.05 น. ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกประกาศห้ามออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืน โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดต่อไปนี้
วันต่อมา ศอฉ. ได้ประกาศกฎหมายว่าด้วยการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลเพิ่มเติม โดยขยายจำนวนวันประกาศใช้เพิ่มเป็น 3 วัน คือในวันที่ 20-22 พฤษภาคม แต่ลดระยะเวลาควบคุมเป็น 21.00-05.00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางให้แก่ประชาชนมากขึ้น ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดนี้ต้องระวางโทษจำคุก สองปี หรือทั้งจำทั้งปรับ[39] การรักษาความปลอดภัยบริเวณโรงพยาบาลศิริราชกองทัพเรือจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ จัดกำลังรักษาความสงบขึ้นควบคุมทางยุทธการกับกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) รักษาความปลอดภัยบริเวณโรงพยาบาลศิริราช แม่น้ำเจ้าพระยา และสนับสนุนการดำเนินการของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ในระหว่างวันที่ 11 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2553[40] การจับกุมผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามออกนอกเคหสถานรวมทั้งสิ้น 511 ราย[41]ศาลได้สั่งจำคุก 2 เดือนปรับสองพันบาทโดยให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้ 1 ปี เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ส่วนเด็กและเยาวชนได้มีการจับกุมส่งสถานพินิจ การห้ามทำธุรกรรมทางการเงินของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้สั่งห้ามทำธุรกรรมทางการเงินของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งของ ศอฉ. ที่ 49/2553 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[42] ต่อมา ศอฉ. ได้ออกคำสั่งที่ 58/2553 เรื่องห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[43] ทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ออกคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่ 61/2553 เรื่องห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งการให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของ บุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[44] ประกาศครั้งที่หนึ่งคำสั่ง ศอฉ.ที่ 49/2553 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ห้ามนิติบุคคล 13 ราย และบุคคล 93 ราย[45] นิติบุคคล
บุคคล
ประกาศครั้งที่สองคำสั่ง ศอฉ.ที่ 58/2553 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 ห้ามนิติบุคคลเพิ่มอีก 6 ราย และห้ามบุคคลเพิ่มอีก 37 ราย[46] นิติบุคคล
บุคคล
ประกาศครั้งที่สามคำสั่ง ศอฉ.ที่ 61/2553 (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 ห้ามบุคคลเพิ่มอีก 22 ราย นิติบุคคล 1 ราย[47] นิติบุคคล บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) บุคคล
ประกาศครั้งที่สี่คำสั่ง ศอฉ.ที่ 72/2553 (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 ห้ามบุคคล 5 ราย[48] บุคคล
|