Share to:

 

คณิต สาพิทักษ์

คณิต สาพิทักษ์
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
แม่ทัพภาคที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าประยุทธ์ จันทร์โอชา
ถัดไปอุดมเดช สีตบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
คู่สมรสงามจิตร สาพิทักษ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบก
กระทรวงกลาโหม
ยศ พลเอก
หน่วยกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
บังคับบัญชากองทัพภาคที่ 1

พลเอก คณิต สาพิทักษ์ (เกิด 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495) กรรมการอิสระ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) อดีตประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 อดีตประธานกรรมการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

ประวัติ

คณิต เกิดเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 ชื่อเล่น "อ๊อด" เป็นหนึ่งในนายทหารที่ ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[1] ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2]

จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 13 (ตท.13) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 24 (จปร.24) และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

เมื่อรับราชการทหาร พล.อ.คณิต ได้เข้าประจำการที่กรมทหารราบที่ 9 (ร. 9)และได้เติบโตตามหน้าที่การงานมาในหน่วยนี้ตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) หรือ "บูรพาพยัคฆ์" ปี พ.ศ. 2551 ได้เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 และเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 ต่อจาก พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ยศในขณะนั้น) ที่ขึ้นเป็นเสนาธิการทหารบก

นอกจากนี้แล้วหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.คณิต ซึ่งในขณะนั้นมียศ พลตรี (พล.ต.) ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย

ในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 พล.อ.คณิต ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ในยศ พลโท (พล.ท.) พล.อ.คณิต มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อการชุมนุม แต่ทว่ามีเสียงเล่าลือว่าขัดแย้งกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก และ พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหารบก (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) เนื่องจาก พล.อ.คณิต ไม่ยอมใช้ความเด็ดขาดกับผู้ชุมนุมตามแผนที่วางไว้ ทำให้เมื่อมีการโยกย้ายตำแหน่งนายทหารกลางปีนั้น พล.อ.คณิต แม้จะได้รับเลื่อนยศขึ้นเป็น พลเอก (พล.อ.) แต่ก็ถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษากองทัพบก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่สำคัญ[3] แต่ก็มีเสียงเล่าลือว่า มีสัญญาทางใจจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่าในการโยกย้ายประจำปีในต้นปีหน้าจะให้กลับมารับตำแหน่งสำคัญ[4]

จนกระทั่งในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พล.อ.คณิต ให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกันเป็นต้นไป ทำให้ถูกจับตามองว่าอาจได้รับการสนับสนุนให้เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นคนถัดไปในกลางปีเดียวกัน[5]

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6]

พล.อ.คณิต มีชื่อที่เรียกเล่น ๆ โดยสื่อมวลชนว่า "บิ๊กอ๊อด" ชีวิตครอบครัวสมรสแล้วกับนางงามจิตร สาพิทักษ์ มีบุตรสาว 1 คน บุตรชาย 2 คน (กรวรรณ สาพิทักษ์, ร.ต.คณินวัฒน์ สาพิทักษ์, คมน์ สาพิทักษ์) ซึ่งบุตรชายคนหนึ่งได้เสียชีวิตไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 จากอุบัติเหตุทางท้องถนน[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.
  2. ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  3. หนังสือ ลับลวงเลือด โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน: กันยายน พ.ศ. 2553 ISBN 9789740206521
  4. “ประยุทธ์”ขึ้นผงาดผบ.ทบ.เด้ง”คณิต”กระชับกำลัง-กลุ่มปราบเสื้อแดงได้ดี[ลิงก์เสีย]
  5. ประวัติ คณิต สาพิทักษ์ จากไทยรัฐ
  6. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  7. ลูกแม่ทัพ1ซิ่งจยย.เฉี่ยวแท็กซี่ก่อนแฉลบชนต้นไม้คอหักตาย โดย คม ชัด ลึก วัน อาทิตย์ ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551 00:00 น. จากสนุกดอตคอม
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๖, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
Kembali kehalaman sebelumnya