Share to:

 

สรรเสริญ แก้วกำเนิด

สรรเสริญ แก้วกำเนิด
สรรเสริญในปี 2553
อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ.2566
ก่อนหน้าอภินันท์ จันทรังษี
ถัดไปสุดฤทัย เลิศเกษม
รักษาราชการแทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 5 เมษายน พ.ศ. 2562
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 5 เมษายน พ.ศ. 2562
ราชองครักษ์เวร
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2559 – 5 เมษายน พ.ศ. 2562
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 [1]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้ายงยุทธ มัยลาภ
วิลาศ อรุณศรี (รักษาการ)
ถัดไปพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน พ.ศ. 2557 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558[2]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา
ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ
สุณิสา เลิศภควัต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 สิงหาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ศาสนาโรมันคาทอลิก
คู่สมรสศิขริน เอกะวิภาต
(2542-2556; หย่า)
ณิชุบล เลิศศิริอำนวยพร
(2558-ปัจจุบัน)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2562
ยศ พลโท

พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด ชื่อเล่น ไก่อู นักการเมืองและข้าราชการทหารชาวไทย อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เลขานุการศูนย์บริหารการสื่อสารในภาวะวิกฤต ใน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของ​โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อดีตข้าราชการทหารบก[3]กรรมการในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[4]กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา[5]กรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[6]กรรมการ มูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์[7] อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก อดีตราชองครักษ์เวร อดีตโฆษกและอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[8] ในคณะรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการบริหารในสมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 59/2557[9] รองผู้บัญชาการโรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[10] กรรมการในศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด – 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อดีตโฆษกกองทัพบก อดีตโฆษกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และอดีตโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

ประวัติ

สรรเสริญ แก้วกำเนิด ศึกษาที่โรงเรียนอรุณประดิษฐ จังหวัดเพชรบุรี ระดับมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่นที่ 34 และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก[11]

ชีวิตส่วนตัว

ด้านชีวิตส่วนตัว สรรเสริญ สมรส ในปี พ.ศ. 2542 กับนางศิขริน แก้วกำเนิด (สกุลเดิม เอกะวิภาต) เจ้าของธุรกิจรีสอร์ต "เดือนล้อมรีสอร์ต" ที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และเลขานุการชมรมธุรกิจท่องเที่ยวสวนผึ้ง[12] ต่อมาได้หย่าร้างและได้แต่งงานครั้งใหม่กับ ณิชุบล เลิศศิริอำนวยพร ชื่อเล่น เอ๋ ทายาทเจ้าของร้านเพชร "มณทิรา" ที่ห้างมาบุญครอง ที่คบหาดูใจกันมานานกว่า 1 ปี[13] เมื่อวันที่ 6 เม.ย. เวลา 18.00 น. โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เดินทางมาเป็นประธานงานฉลองพิธีมงคลสมรส[14]นอกจากนี้แล้ว พล.ต.สรรเสริญ ยังมีความสนิทสนมกับ พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบกอีกด้วย เนื่องจากเคารพในความที่เป็นนายทหารม้ารุ่นพี่ และเคยฝากฝังงานในราชตฤณมัยสมาคมให้ทำ[15]ได้รับพระราชทานยศ พลโท เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และไดรับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (นักบริหารระดับสูง) เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562[16]

รับราชการ

ในปี พ.ศ. 2530 สรรเสริญ เป็นผู้บังคับหมวดลาดตระเวน กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ ซึ่งการที่ สรรเสริญ แก้วกำเนิด เลือกอยู่เหล่าทหารม้าเนื่องจากได้รับคำแนะนำจาก พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เสธ.แดง ซึ่งในขณะนั้นเสธ.แดงเป็นอาจารย์วิชาทหารม้าและสอนพลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิดอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สรรเสริญ แก้วกำเนิด เคยมีบทบาทในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535ขณะนั้นเป็นผู้บังคับกองร้อยนำกำลังคุมฝูงชน จากนั้นเป็นรองผู้อำนวยการกองปฏิบัติการจิตวิทยา ของกรมกิจการพลเรือนทหารบก ยังได้รับการมอบหมายจาก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ให้ลงไปปฏิบัติงานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังช่วยงานการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ในเวลาต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นโฆษกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในปี พ.ศ. 2551 รับตำแหน่งเป็นโฆษกกองทัพบก จนเป็นโฆษกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในการชุมนุมของกลุ่ม นปช. พ.ศ. 2553 [17]

บทบาททางการเมือง

เนื่องจากในการออกแถลงการณ์และประกาศต่าง ๆ ของ ศอฉ.เพื่อรายงานให้แก่ประชาชนทราบเป็นระยะ ซึ่งทำให้ประชาชนคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี ด้วยมาดนุ่ม ๆ น้ำเสียงทุ้ม ๆ และมุกตลกหน้าตาย[18] ยังได้รับการพูดถึงในเว็บไซต์พันทิป โดยเปรียบเทียบกับ เคน ธีรเดช ดารานักแสดง นอกจากมียังมีแฟนเพจบนเว็บไซต์เฟซบุ๊กของผู้พันไก่อู หรือแม้แต่ในทวิตเตอร์ของ อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย นักการตลาด กรรมการจากรายการ SME ตีแตก ยังพูดถึงว่า หากนำผู้พันไก่อูมาพร้อมกับ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร มาด้วยแล้ว อาจได้กลุ่มเป้าหมายกว้างมากกว่าดาราดังบางคู่อีกด้วย[19] ซึ่ง พลตรีสรรเสริญ มีชื่อที่ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการจากสื่อมวลชนและบุคคลทั่วไปว่า เสธ.ไก่อู หรือ พี่ไก่อู

ในปี พ.ศ. 2557 สรรเสริญ ได้รับเลื่อนยศจาก พันเอก (พ.อ.) ขึ้นเป็นอัตรา พลตรี (พล.ต.) [20]พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก[21] ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พล.ต.สรรเสริญ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[22] กระทั่งในปี พ.ศ. 2558 ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[23] แทนร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ ที่ลาออกจากตำแหน่งไปก่อนหน้านั้น

สรรเสริญ ดำรงตำแหน่งรักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-26. สืบค้นเมื่อ 2018-10-31.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด)[ลิงก์เสีย]
  3. อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  4. กรรมการในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อม
  5. กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา
  6. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 17/2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-04. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
  7. รายชื่อกรรมการมูลนิธิ
  8. "นายกฯ ทูลเกล้าฯ ถวาย "ครม.ประยุทธ์ 3" แล้ว ตั้ง "สรรเสริญ" โฆษกรัฐ ปล่อย รมต.ลุ้นกันเอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-20. สืบค้นเมื่อ 2015-08-18.
  9. กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว
  10. ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์
  11. Spot light พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกเสียงทองประจำคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ hiclasssociety.com
  12. สรรเสริญ แก้วกำเนิด เก็บถาวร 2012-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน politicalbase.in.th
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-10. สืบค้นเมื่อ 2015-09-07.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ 2015-09-07.
  15. หนังสือ ลับลวงเลือด โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน ISBN 9789740206521
  16. ไดรับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  17. สรรเสริญ แก้วกำเนิด thairath.co.th
  18. เมื่อ "ผู้พันไก่อู" เขี่ย "เคน ธีรเดช" ตกกระป๋อง!! ครองใจสาว ๆ ไซเบอร์ กับฉายาใหม่ "ผู้ก่อการรัก" มติชนออนไลน์
  19. เคน-ธีรเดชถอยไป นาทีนี้สาวออนไลน์อยากปฏิบัติการ "กระชับพื้นที่หัวใจ" เสธ.ไก่อู
  20. "ยิ่งลักษณ์ ทูลเกล้าฯโผทหาร เสธ.ไก่อู ขึ้นพล.ต." สนุก.คอม. 25 March 2012. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
  21. "เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-12-08.
  22. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑o๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง[ลิงก์เสีย]
  23. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๘/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง[ลิงก์เสีย]
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๗, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  25. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘ จำนวน ๑๐,๘๗๖ ราย ๑. พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ ฯลฯ

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สรรเสริญ แก้วกำเนิด ถัดไป
ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(18 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561)
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
-
โฆษกกองทัพบก
(พ.ศ. 2551 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557)
พันเอก วินธัย สุวารี
Kembali kehalaman sebelumnya