สมบัติ จันทรวงศ์
เกิด 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 (79 ปี) จังหวัดสงขลา ประเทศไทย นามปากกา สมบัติ อาชีพ นักเขียน , อาจารย์ , นักเคลื่อนไหวสัญชาติ ไทย ช่วงปีที่ทำงาน พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน
ศาสตราจารย์ สมบัติ จันทรวงศ์ เป็น นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2538 อดีตศาสตราจารย์ประจำสาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาการเมืองคนสำคัญของประเทศและเป็นผู้บุกเบิกการสอนวิชาปรัชญาการเมืองและความคิดทางการเมืองในประเทศไทย จนได้รับการกล่าวขานว่า "เพลโตเมืองไทย"
ประวัติ
ศาสตราจารย์ สมบัติ จันทรวงศ์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ เกิดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ณ จังหวัดสงขลา
เป็นอดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง ได้ประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบหลัง ถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลว่า เป็นผู้ถือครองทรัพย์สินแทน(นอมินี) ครอบครัว พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[ 1]
การศึกษา
ตำแหน่งปัจจุบัน
ศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรมการสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
กรรมการวิชาการประจำโครงการปริญญาเอก สาขา สหปรัชญา ธรรมศาสตร์
ประสบการณ์ในอดีต
กรรมการประจำสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรมการคณะกรรมการสร้างเสริมกิจกรรมทวีปัญญา คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ผู้ชำนาญการและผู้เชี่ยวชาญการเลือกตั้ง คณะกรรมการเลือกตั้งแห่งชาติ
ที่ปรึกษาประจำศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาธรรมศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่ปรึกษาทางวิชาการ วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อนุกรรมการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนของหน่วยงานต่างๆ สำนักงาน ก.พ.
อนุกรรมการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้ง คณะกรรมการเลือกตั้ง
ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาร่างแผนกลยุทธ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
อนุกรรมการศึกษาปัญหารัฐธรรมนูญในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (2516-2517)
กองบรรณาธิการ รัฐศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2517-2518)
กองบรรณาธิการ วารสารธรรมศาสตร์ (2517-2519)
กรรมการสาขาสังคมศาสตร์ ยูเนสโก (2517-2519)
กรรมการคณะกรรมการบริหารโครงการเอเซียอาคเนย์ศึกษา [สิงคโปร์] (2519-2522)
เลขาธิการสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (2516-2522)
กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2521-2523)
Visiting Scholar, Institute of Governmental Studies, University of California [ Berkeley ], (2522-2523)
เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (2523-2524)
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (2523-2524)
กรรมการคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (2523-2524)
กรรมการคณะกรรมการบริหารวิทยุและโทรทัศน์ [กบว ] (2523-2524)
รองผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2524-2525)
รองประธานคณะกรรมการบริหารสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2525-2526)
กรรมการบริหารสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (2516-2529)
อนุกรรมการอุดมการแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (2522-2526)
กรรมการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2526-2526)
ผู้อำนวยการโครงการสนเทศไทยศึกษา สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2526-2528)
ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2527-2528)
อนุกรรมการบัญญัติศัพท์ทางรัฐศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน (2528-2530)
อนุกรรมการจัดทำวัสดุเผยแพร่ประชาธิปไตยและการพัฒนา สำนักนายกรัฐมนตรี (2524- 2529)
กรรมการบริหาร สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการของอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรมการกลั่นกรองการบรรจุข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย [มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]
กรรมการบริหาร สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยการศึกษารัฐศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
กรรมการคณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร (2535)
กรรมการคณะกรรมการปรับปรุงเครือข่ายการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (2535)
กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วิทยากรประจำรายการ "ความรู้คือประทีป" ไทยทีวีสีช่อง 9 อสมท.
นายทะเบียน สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
กรรมการบริหารศูนย์วิจัยข้อมูลการเมืองไทย สภาวิจัยแห่งชาติ (2538)
กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา (13-29 มิ.ย.2538)
กรรมการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย (ก.ย.2538)
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายแนวคิดการพัฒนา (ส.ค.2538)
กรรมการจัดทำข้อเสนอเรื่องหลักสูตรและการบริหารวิชาพื้นฐานทั่วไป มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ก.ย.2538)
อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน สำนักงาน ก.พ.(2538)
กรรมการจัดรูปแบบงานและจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ โครงการรณรงค์ขจัดโรคขาดสาร ไอโอดีน ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 258/2538 ลงวันที่ 27 พ.ย.2538
ประสบการณ์ด้านวิทยุ โทรทัศน์
อดีต - ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ "ความรู้คือประทีป" ของบริษัทเอสโซและสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท.
ผู้ดำเนินรายการ "กรองสถานการณ์" ช่อง 11
ผู้ดำเนินรายการ "ถามตรง" ยูบีซี
ผู้ดำเนินรายการ "Bangkok Tonight" ไทยสกาย
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ "เปิดประเด็น" FM97.5
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ "เปิดประเด็น" FM96.5
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ "เปิดประเด็น" FM101
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ "เหลียวหลังแลหน้า" FM102.5
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ "จับเข่าคุยกัน" FM102.5
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ "บ้านนี้เมืองนี้" FM101
ผู้ดำเนินรายการ "หนี้แผ่นดิน" ทาง ยูบีซี ช่อง 07
ผู้ดำเนินรายการ “ถนนความคิด” FM.99.5
รางวัลและทุนที่เคยได้รับ
ทุนเรียนดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2506-2509)
The Frank Bell Appleby Fellowship, Claremont McKenna College . (2509-2511)
The Rockefeller Foundation Fellowship.(2511-2515)
ทุนวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ(2518,2534)
ทุนวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(2518-2525)
The American Council of Learned Societies.(2522-2523)
ทุนวิจัย สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (2524-2525)
The Asia foundation(2526-2530)
The Ford Foundation.(2527-2530)
รางวัล โครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2529,2535)
สมาชิก , Phi Beta Kappa Tau of California (Claremont McKenna College)
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2538 สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
งานวิจัย
"บทวิเคราะห์การศึกษาทางการเมืองในงานเขียนประเภทนิทานของสุนทรภู่" มูลนิธิโครงการตำราฯ 2519
"โลกทัศน์สุนทรภู่" สภาวิจัยแห่งชาติ 2521
"ความคิดทางการเมืองไทย" สถาบันวิจัยไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2518-22
"The Birth of the American Regime : A Study of American Political Thought 1776-1787" The American Council of Learned Societies, 2522-3
"สัญลักษณ์ของชาติในตราไปรษณียากรไทย : การศึกษาตราไปรษณียากรไทย พ.ศ .2426-2524" สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 2525
"วิวัฒนาการอุดมการชาติไทย" โครงการไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2526
โครงการชุมชนปฐมอโศก : การศึกษาพุทธยูโทเปีย
The Asian Views : An Annotated Bibliography of ASEAN Theses and Dissertations on Southeast Asia from 1984 to 1987. The Ford Foundation.
"การปราศรัยหาเสียง : เนื้อหาและแบบแผน (ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528" ใน สมบัติ จันทรวงศ์ และชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (บรรณาธิการ) อยู่เมืองไทย (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2530) หน้า 309-409
การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง :ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต พ.ศ. 2528
การเมืองเรื่องการหาเสียงเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2529
พรรคการเมืองใหม่ : ศึกษาเฉพาะกรณีพรรคพลังธรรม 2532
ภาษาและการเมือง สถาบันวิจัยไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2533
การเลือกตั้งไทยกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนในการหาเสียง : ปัญหาพื้นฐานและแนวทางการแก้ไข สภาวิจัยแห่งชาติ 2535
บทบาทพระสงฆ์กับความเปลี่ยนแปลงในสังคม การศึกษาความคิดและงานของพระพยอม กัลยาโณ พ.ศ. 2522-2537 ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2539
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2539: การศึกษายุทธศาสตร์การสร้างภาพ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พฤษภาคม 2540
"การวางตนเป็นกลางทางการเมืองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ" สำนักงาน ก.พ.2541
"Global Analysis of the Political Economy of Tobacco Control in Low and Middle Income Countries : Political Economy of Tobacco Control in Thailand " ร่วมกับ Dr.Duncan McCargo
การเมืองเรื่องการปัดความรับผิดชอบ การศึกษากระบวนการจัดการกับ ”ความจริง” โดยการสร้างคำให้เหตุผลและคำแก้ตัวของนักการเมืองไทย พ. ศ .2531-40 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ก.ย.42-เม.ย.44
การสรรสร้างภาพอลังการแห่งการเมืองไทย การศึกษากระบวนการผลิตคำอธิบายหลักของผลการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2543(4) สภาวิจัยแห่งชาติ ส.ค.43 - พ.ย.44
ปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมกับ มุมมองด้านวัฒนธรรม : กรณีศึกษานวนิยายไทย พ.ศ. 2475- หลัง พ.ศ .2516 และ การขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม : กรณีศึกษาปัญหา สปก.4-01 มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พ.ศ. 2546
ผลงานทางวิชาการ
บทความ
" ทฤษฎีประชาธิปไตยอเมริกัน : The Federalist Papers " ใน วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ก.ค. 2513 หน้า 44-55 และพิมพ์ซ้ำใน ประชาธิปไตยของชาวบ้าน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ 2516
"ปรัชญาการเมืองและรัฐศาสตร์" ใน รัฐศาสตร์สาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พ.ย. 2515 หน้า 1-24
วิจารณ์หนังสือของ ธวัช มกรพงศ์ History of the Thai Revolution : A Study in Political Behaviour, ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พ . ย . 2515 - มี . ค . 2516, หน้า 165-167.
"สิทธิในการปฏิวัติของอาริสโตเติล" รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 ก.ย. - ธ.ค. 2516 หน้า 1-19
"ผู้เรียน : ชนกลุ่มน้อยตลอดกาล" ใน วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 6 2516 หน้า 17-20
"มหาวิทยาลัยกับสังคม" ใน ศูนย์ศึกษา ปีที่ 19 ฉบับที่ 4 เม.ย. - มิ.ย. 2516 หน้า 32-33
วิจารณ์หนังสือของ Donald R. Matthews, U.S.Senators and Their World , ใน วารสารบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1, 2517 หน้า 113-115.
" เสถียรภาพของประชาธิปไตยในทัศนะของอาริสโตเติล " ใน วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 พ . ศ . 2517, หน้า 79-87
วิจารณ์หนังสือของ Donald G. Tacheron and Morris K. Udall, The Job of The Congressmen , ใน วารสารบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พ . ศ . 2517 หน้า 219-222
" เพลโตกับปัญหาผู้คุ้มกัน " ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ก . พ .2517 หน้า 2-7
" โสเกรตีส : ผู้ผิดหรือผู้บริสุทธิ์ " ใน วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พ . ศ .2517 หน้า 58-66
" กวีกับข้อจำกัดทางสังคม : ศรีปราชญ์ " ใน อักษรศาสตร์พิจารณ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 2517 หน้า 39-44
" กอร์เจียส ไม่ใช่พูดดีหรือพูดเก่ง " ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2517 - มกราคม 2518 หน้า 97-112
" ยูโทเปีย : แนวคิดสองแบบ " ใน อักษรศาสตร์พิจารณ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 11-12 เมษายน 2517 หน้า 50-55
" อาริสโตเติลกับปัญหาเรื่องความกล้าหาญ " ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 2518 - 2519 หน้า 48 – 56
" ประชาธิปไตยในสภา : คำตอบที่ยังไม่สมบูรณ์ " ใน รัฐสภาสาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม 2519 หน้า 79 – 83
" เจ้ากับไพร่ : จากศรีปราชญ์ถึงสุนทรภู่และกวีการเมือง " ใน อักษรศาสตร์พิจารณ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 มกราคม 2519 หน้า 5 - 10
บทวิเคราะห์การศึกษาทางการเมืองในงานเขียนประเภทนิยายของสุนทรภู่ " ใน รักเมืองไทย เล่มที่ 1 สมบัติ จันทรวงศ์ และ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ บรรณาธิการ โครงการตำรา ฯ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 2519 หน้า 105-194
" ระบบสหรัฐและระบบพรรคการเมือง : ภาพสะท้อนจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกัน " ใน วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับวิชาการ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3-4 เมษายน - มิถุนายน 2519 หน้า 169 - 189
" คำสอนทางการเมืองของวันวลิตหรือวิเทโศบายของพระเจ้าปราสาททอง " ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มิถุนายน - กรกฎาคม 2519 หน้า 71 - 118
" เราควรจะศึกษาปรัชญาของเพลโตอย่างไร " ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2519 หน้า 47 - 55
วิจารณ์ นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง ส . ศิวรักษ์ เรียบเรียง ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 2520 หน้า 205 - 208
" สัญญาประชาคมของรุสโซ " ใน รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พ . ย .2520 หน้า 49-66
" สังคมศาสตร์ : ศาสตร์ของพ่อมด ? " ใน วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2521 หน้า 98-114
" ศรีธนญไชย : ความคิดเรื่องอำนาจและปัญญา " ตอนที่ 1 ใน รวมปาฐกถาจากสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย พ . ศ .2520-2521 หน้า 279-304
" ราชนิติ : บทวิเคราะห์ " ใน วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 ก . ค . - ก . ย . 2521 หน้า 152-169
" โลกทัศน์ของสุนทรภู่ " ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เม . ย .- มิ . ย .2521 หน้า 172-211
" ปรัชญาการเมือง : คลาสสิกและสมัยใหม่ " ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ต . ค .- ธ . ค . 2521 หน้า 139-157
พระญาจักรพรรดิราชใน ไตรภูมิพระร่วง : ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับความหมายทางการเมือง " ใน วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ม . ค . - เม . ย . 2522 หน้า 1-17
" จอห์น ซี . แคลฮูน เจ้าทฤษฎีแห่งชนชั้นผู้เป็นนายกับแนวคิดเรื่องสังคมและรัฐบาล " ใน วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2525 หน้า 47-65
" อธิบายทฤษฎีประชาธิปไตยอเมริกัน : The Federalist Papers " ใน รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 พ . ศ .2526 หน้า 51-106
วิจารณ์หนังสือของ Paul Covinaux, Why Big Fierce Animals are Rare : An Ecologist's perspective ใน รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 พ . ศ .2526 หน้า 204-212
" เวนิสวาณิช : ความรักกับสังคมการเมือง " ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 พ . ศ .2526 หน้า 6-31
" ทฤษฎีปฏิวัติอเมริกัน : บทวิเคราะห์คำประกาศอิสรภาพ " ใน วุฒิชัย มูลศิลป์ และ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ การปฏิวัติครั้งสำคัญของโลก ( สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย พ . ศ .2526)
" ปรัชญาการเมือง : ตัวบทและการศึกษา " ใน ปรัชญาการเมือง โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช พ . ศ .2527 เล่ม 1 หน้า 1-54
" ปรัชญาการเมืองตะวันออก " ใน ปรัชญาการเมือง โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ . ศ . 2527 เล่ม 3 หน้า 642-654
" ชีววิทยาการเมือง " ใน หลักและวิธีการศีกษาทางรัฐศาสตร์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช พ . ศ .2527 หน้า 598-630
วิจารณ์หนังสือของ George Zabriskie Gray, The Children's Crusade . ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พ . ศ .2528 หน้า 226-229
" การปราศรัยหาเสียง : เนื้อหาและแบบแผน ( ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร พ . ศ .2528" ใน สมบัติ จันทรวงศ์ , ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อยู่เมืองไทย : รวมบทความทางสังคมการเมืองเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาส อายุครบ 60 ปี ( สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ . ศ .2530)
" The Prince และ The Discourses : เจตนารมณ์ของมาคิอาเวลลี " ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 พ . ศ .2530 หน้า 111-130
" Mandragola : ความนำว่าด้วยปรัชญาการเมืองของมาคิอาเวลลี รัฐศาสตร์สาร ฉบับพิเศษครบรอบ 12 ปี ปรัชญาและความคิด เมษายน 2530 หน้า 13-54
" ศาสนากับการเมือง : ข้อสังเกตเบื้องต้นว่าด้วยอุดมการณ์และวิเทโศบายของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ใน รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 - ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 ก . ย . 2531 - เม . ย . 2532 หน้า 22-127
" สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) : ข้อสังเกตเบื้องต้นว่าด้วยความหมายทางการเมือง " ใน วารสารเอเซียตะวันออกศึกษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 ธันวาคม 2532 หน้า 13-42
" ข้อสังเกตเบื้องต้นว่าด้วยคำพูดในประวัติศาสตร์อยุธยา : ศึกษาเฉพาะกรณีบทสนทนาใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา " ใน สุนทรี อาสะไวย์ ม . ล . วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธ์ กาญจนี ละอองศรี ไทยคดีศึกษา : รวมบทความทางวิชาการเพื่อแสดงมุทิตาจิตอาจารย์ พันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ( คณะกรรมการจัดงานแสดงมุทิตาจิตครบรอบ 60 ปี อาจารย์พันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พ . ศ .2533) หน้า 123-171
" บทบาทของเจ้าพ่อท้องถิ่นในเศรษฐกิจและการเมืองไทย : ข้อสังเกตเบื้องต้น " ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร , สังศิต พิริยะรังสรรค์ ( บรรณาธิการ ) รัฐ ทุน เจ้าพ่อท้องถิ่นกับสังคมไทย ( ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิงหาคม 2535) หน้า 117-139
“ การศึกษาเกี่ยวกับโลกตะวันตกในเมืองไทย : ภาพสะท้อนจากงานเขียนและสถาบัน ” ใน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย วิเทศคดีศึกษา : รากฐานของเมืองไทยในระบบโลกสมัยใหม่ (มิถุนายน 2538) หน้า 41-74
“ ศาสนชุมชนอิสระในรัฐที่เป็นเสรี : ว่าด้วยเสรีภาพทางศาสนาและการเมืองในปรัชญาการเมืองตะวันตก ” ใน จรัญ โฆษณานันท์ (บก.) วิถีสังคมไทย : สรรนิพนธ์ทางวิชาการเนื่องในวาระ 1 ศตวรรษ ปรีดี พนมยงค์ (กรุงเทพฯ มิถุนายน 2543) หน้า 563-582
หนังสือ
ยูโทเปีย ( แปลและเขียนคำนำ ) โครงการตำราฯ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517-2518 , 240 หน้า
ทฤษฎีการเมืองตะวันตก เล่ม 1 ( แปลจาก Lee Cameron Mc Donald, Western Political Theory , Part I) พ.ศ. 2520 , 287 หน้า
ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ( บรรณาธิการ ) โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2521 , 185 หน้า
ความคิดทางการเมืองและสังคมไทย ( ร่วมกับ ชัยอนันต์ สมุทวนิช ) สำนักพิมพ์บรรณกิจ กุมภาพันธ์ 2523, 380 หน้า
ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น : บทวิเคราะห์โสเกรตีส สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กันยายน 2524 , 359 หน้า
รัฐศาสตร์ : สถานภาพและพัฒนาการ ( บรรณาธิการ ) สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2525 , 213 หน้า
การผจญภัยของทอม ซอว์เยอร์ หรือความคิดทางการเมืองของมาร์ค ทเวน แปลจาก Harry V. Jaffa, Tom Sawyer : Hero of Middle America ใน Harry V. Jaffa's The Conditions of Freedom The Johns Hopkins University Press, Baltimore & London 1975, pp. 191–224) [ สำนักพิมพ์บรรณกิจ , 2524, 100 หน้า ]
แสตมป์กับสังคม : สัญลักษณ์ของชาติในตราไปรษณียากรไทย พ.ศ. 2426-2524 สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยและสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ พ.ศ. 2526 , 167 หน้า
ความนำว่าด้วย Republic ของเพลโต สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2527, 122 หน้า
มหาชนรัฐและประชาธิปไตย : ความคิดทางการเมืองอเมริกัน พ.ศ. 2319-2343 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2529,408 หน้า
สุนทรภู่ ดูโลกและสังคม สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม พฤษภาคม 2529 , 198 หน้า
เดอะเฟเดอรัลลิสต์เปเปอร์ : เอกสารความคิดทางการเมืองอเมริกัน บรรณาธิการแปล และเขียนบทนำ ) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ . ศ .2530 , 660 หน้า
การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต พ . ศ .25 28 มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตย และการพัฒนา มีนาคม 2530 , 304 หน้า
การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2529 มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา ตุลาคม 2530 , 138 หน้า
อยู่เมืองไทย : รวมบทความทางสังคมการเมือง เพื่อเป็นเกียรติแด่ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุครบ 60 ปี (บรรณาธิการร่วมกับชัยวัฒน์ สถาอานันท์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2530 , 410 หน้า
ชุมชนปฐมอโศก : การศึกษาพุทธยูโทเปีย โรงพิมพ์มูลนิธิธรรมสันติ พ . ศ .2531, 160 หน้า
200 ปี รัฐธรรมนูญอเมริกัน : อดีต ปัจจุบันและอนาคตของมหาชนรัฐประชาธิปไตย ( บรรณาธิการแปล ) [ หจก . บรรณกิจเทรดดิ้ง ,2531 ,194 หน้า ]
วิวัฒนาการและแนวโน้มของพรรคการเมืองใหม่ : ศึกษาเฉพาะกรณีพรรคพลังธรรม มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา เมษายน 2532 ,88 หน้า
ภาษาทางการเมือง : พัฒนาการของแนวอธิบายการเมืองและศัพท์การเมือง ในงานเขียนประเภทสารคดีทางการเมืองของไทย พ . ศ .2475-2525 สถาบันไทยคดีศึกษา 2533 ,415 หน้า
ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น : บทวิเคราะห์โสเกรตีส สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม ธันวาคม 2535 , 262 หน้า
การเลือกตั้งไทยกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนในการหาเสียง : ปัญหาพื้นฐานและแนวทางการแก้ไข สภาวิจัยแห่งชาติ กันยายน 2535 , 391 หน้า
เลือกตั้งวิกฤติ : ปัญหาและทางออก โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ตุลาคม 2536 ,268 หน้า
โลกทัศน์ของสุนทรภู่ สำนักพิมพ์มติชน มิถุนายน 2537 , 262 หน้า
ความหมายทางการเมืองของ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) สำนักพิมพ์มติชน มีนาคม 2538 , 152 หน้า
เจ้าผู้ปกครอง แปลและเขียนคำนำ จาก Niccolo Machiavelli, The Prince [ Translation, Introduction and Notes by Leo Paul S. de Alvarez (Waveland Press,INC. Prospect Heights, Illinois, 1989)] พร้อมภาคผนวกเรื่อง Madragola : ความนำว่าด้วยปรัชญาการเมืองของมาคิอาเวลลี สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2538, 360 หน้า
บทพิจารณ์ว่าด้วยวรรณกรรม การเมืองและประวัติศาสตร์ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา พฤษภาคม 2540, 462 หน้า
เจ้าผู้ปกครอง แปลและเขียนคำนำ จาก Niccolo Machiavelli, The Prince [ Translation, Introduction and Notes by Leo Paul S. de Alvarez (Waveland Press,INC. Prospect Heights, Illinois, 1989)] พร้อมภาคผนวกเรื่อง Madragola : ความนำว่าด้วยปรัชญาการเมืองของมาคิอาเวลลี ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง กรุงเทพฯ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ,2542,366 หน้า
ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น : บทวิเคราะห์โสเกรตีส ฉบับพิมพ์ครั้งที่สาม กรุงเทพฯ . โครงการจัดพิมพ์คบไฟ , 2546,285 หน้า
พูดไปสองไพเบี้ย ทำความเข้าใจกับสิ่งที่นักการเมืองไทย(ไม่)พูด โครงการจัดพิมพ์คบไฟ พ.ศ. 2549,416 หน้า
ประวัติปรัชญาการเมืองเล่ม 1-3 แปล จาก Leo Strauss and Joseph Cropsey .กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ
ผลงาน (ภาษาอังกฤษ)
"The Political Teaching of Jeremias van Vliet or the Statecraft of King Prasadthong" The Review of Social Sciences : A Collection of Articles by Thai Scholars. ลิขิต ธีรเวคิน และ มนตรี เจนวิทย์การ บรรณาธิการ ( สมาคมสังคมศาสตร์ แห่งประเทศไทย 2520) หน้า 37-93
"Cosmological Basis of Thai Bureaucratic Behavior : The Missing Link" The Studies of Social Science : A Collection of Articles by Thai Scholars , มนตรี เจนวิทย์การ บรรณาธิการ ( สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 2521) หน้า 117-130
"Religious Literature in Thai Political Perspective : The Case of the Maha Chat Kamluang " in Tham Soeng Chee (ed.) Essays on Literature and Society in Southeast Asia : Political and Sociological Perspectives , Singapore University press, 1981, pp. 187–205.
"Political Science in Thailand" in Takeo Uchida (ed.) Political Science in Asia and the Pacific (UNESCO Regional Office for Education in Asia and the Pacific, Bangkok, 1984) pp. 69–103.
"The Political World of Sunthornphu" ใน Amara Ponsapitch (ed.) Traditional and Changing Thai World View (The Southeast Asian Studies Program and Chulalongkorn University Social Research Institute, 1985) pp. 54–83.
"Borrowed From U.S.A. : The Impact of American Influence on the Constitution of Thailand" in Sarah Baumgartner Thurow (ed.) Constitutionalism in Perspective : The United States Constitution in Twentieth century Politics (University Press of America : Lanham, New York, London, 1988) pp. 211–226.
"Tocqueville's Democracy in America and the Third World " in Vincent Ostrom, David Feeny, and Hartmut Picht (eds.) Rethinking Institutional Analysis and Development : Issues, Alternatives and Choices. (The International Center for Economic Growth; San Francisco, 1988) pp. 69–99.
"The Separation of Powers : From Montesquieu to Publius" in Wariya S. Chinwanno and Chaichana Ingavata (eds.) U.S. Constitution in Thai Perspectives (The Chulalongkorn University Press, Bangkok,1990) pp. 19–38.
"Constitutional Rule and the Institutionalization of Leadership and Security in Thailand " (co-author) in Stephen Chee (ed.) Leadership and Security in Southeast Asia : Institutional Aspects (Institute of Southeast Asian Studies, Singapore, 1991) pp. 141–178.
"Tocqueville's Democracy in America : An Asian Perspective" in Ken Masugi (ed.) Interpreting Tocqueville's Democracy in America (Rowman & Littlefield Publishers, Inc., Savage Maryland, 1991) pp. 495–526.
"To Address the Dust of the Dust Under the Soles of the Royal Feet : A Reflection on the Political Dimension of the Thai Court Language" in Asian Review 1992 (Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, 1992) pp. 144–163.
Sombat Chantornvong (and Duncan McCargo) “political Economy of Tobacco Control in Thailand” in J.Patrick Vaughan, Jeff Collin, Kelly lee Case Study Report : Global Analysis Project on the Political Economy of Tobacco Control in Low - and Middle- Income Countries London School of Hygiene and Tropical Medicine, London, July 2000.
Sombat Chantornvong, “Local Godfathers in Thai Politics” in Ruth McVey (ed.) Money and Power in provincial Thailand . Nordic Institute of Asian Studies, Leifsgade 33, DK-2300 Copenhagen S, Denmark, 2000 pp. 53–73
Sombat Chantornvong, “The 1997 Constitution and the politics of Electoral Reform” in Duncan McCargo(ed.) Reforming Thai Politics, The Nordic Institute of Asian Studies, Copenhagen, Denmark, 2002, pp. 203–223.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
↑ "สมบัติ จันทรวงศ์" แสดงสปิริต เตรียมยื่นลาออกจากอาจารย์มธ. จับตาเข้าชี้แจง ป.ป.ช.
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา , เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๗๓๐, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
สาขาสหวิทยาการ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมี และเภสัช สาขาเกษตรศาสตร์ และชีววิทยา สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมวิจัย สาขาปรัชญา สาขารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และนิเทศศาสตร์ สาขาสังคมวิทยา สาขาการศึกษา