ศาสตราจารย์ ดร.อลิศรา เรืองแสง (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509) เป็นนักเทคโนโลยีชีวภาพ นักวิจัย และอาจารย์ชาวไทยที่มีความเชี่ยวชาญและผลงานการวิจัยในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน[1] เป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น[1] และเป็นภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภาในสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม[2]
ประวัติ
อลิศราเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ที่ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรคนแรกของบุญเลิศและฉอ้อน ศรีวัฒนา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น[3] ปริญญาโทสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (จุลชีววิทยา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล[4] และปริญญาเอกในสาขาทรัพยากรน้ำจากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต รัฐไอโอวา สหรัฐ[5]
อลิศราได้ทำงานเป็นอาจารย์สอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น[6][7] ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 [8]
หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก อลิศราได้รับทุน Hitachi Research Fellowship ในการทำงานเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอก 1 ปีที่ภาควิชาวิศวกรรมเมือง มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[9]
อลิศรามีผลงานดีพิมพ์ในวารสาร[10][11] ระดับนานาชาติกว่า 190 เรื่องในฐานข้อมูลสโกปัส[12] ได้รับการอ้างอิง (citation) ในฐานข้อมูล Scopus มากกว่า 4,400 ครั้ง[13] และในฐานข้อมูล Google Scholar มากกว่า 5,000 ครั้ง และยังมีค่า h-index ถึง 43 ในฐานข้อมูล Google Scholar[14]
รางวัล
- พ.ศ. 2566 รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ (ด้านการวิจัย) สออ.ประเทศไทย[15]
- พ.ศ. 2565 รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย[16]
- พ.ศ. 2564 รางวัลศรีมอดินแดง[17]
- พ.ศ. 2563 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา[1]
- พ.ศ. 2563 ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา[2]
- พ.ศ. 2562 นักวิจัยเกียรติคุณสารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น[1]
- พ.ศ. 2562 เมธีวิจัยอาวุโส สกว.[18][19]
- พ.ศ. 2562 นักวิจัยดีเด่นระดับเพชร มหาวิทยาลัยขอนแก่น[20]
- พ.ศ. 2561 อลิศราได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ฝึกสอน (coach) ในโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ กลุ่ม 6 ภาคอีสาน ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย[21]
งานเขียน
- เชื้อเพลิงชีวภาพและชีวเคมีภัณฑ์โดยจุลินทรีย์ (พ.ศ. 2562)[22]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ม.ป.ป). "นักวิจัยคณะเทคโนโลยี ศ.ดร.อลิศรา เรืองแสง ได้รับรางวัลนักวิจัยเกียรติคุณสารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น". คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.
- ↑ 2.0 2.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (2563). "รายนามราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ ตามประเภทวิชาและสาขาวิชา". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 2564-10-18.
- ↑ ศิษย์เก่ามข. Link สืบค้นเมื่อ 2564-10-18
- ↑ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล Link[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 2564-10-18
- ↑ ทุนรัฐบาล (ทบวงมหาวิทยาลัย : ท.ม.) Link สืบค้นเมื่อ 2564-10-18
- ↑ บุคลากรสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ Link
- ↑ อาจารย์สอนในสาขาวิชาเทคโนโลยี Link[ลิงก์เสีย] 2564-10-18
- ↑ เข้ารับราชการเมื่อ 2534 ชื่อเดิมอลิศรา ศรีวัฒนา หน้า 9 Link สืบค้นเมื่อ 2564-10-20
- ↑ The Hitachi Scholarship Foundation มอบทุนประเทศญี่ปุ่น Link[ลิงก์เสีย]สืบค้นเมื่อ 2564-10-20
- ↑ ม.ขอนแก่น วิจัยสำเร็จ ผลิตก๊าซไฮเทน พลังงานทดแทนจากอ้อย Linkเก็บถาวร 2021-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 2564-10-18
- ↑ Bioresource Technology Chiang Mai Journal of Science Link[ลิงก์เสีย] Journal of Hydrogen Energy Link สืบค้นเมื่อ 2564-10-18
- ↑ sciencedirect Link สืบค้นเมื่อ 2564-10-18
- ↑ "Scopus preview - Reungsang, Alissara - Author details - Scopus". www.scopus.com.
- ↑ "Alissara Reungsang". scholar.google.co.th.
- ↑ "ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ สออ.ประเทศไทย ประจำปี 2566 (ASAIHL Thailand Outstanding Achievement Award 2023) – ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) – Council of University Presidents of Thailand".
- ↑ เทวงษา, ประทีป (2023-03-13). "ศาสตราจารย์ ดร. อลิศรา เรืองแสง ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับบุคคลหรือสถาบันที่มีผลงานดีเด่นในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพิธีมอบรางวัลและเงินทุนช่วยเหลือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29". คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
- ↑ รางวัลศรีมอดินแดง
- ↑ เมธีวิจัยอาวุโส สกว.[ลิงก์เสีย]สืบค้นเมื่อ 2564-10-18
- ↑ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. Link สืบค้นเมื่อ 2564-10-18
- ↑ นักวิจัยดีเด่นระดับเพชร[ลิงก์เสีย] 2564-10-18
- ↑ สกว.ในโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ กลุ่ม 6 ภาคอีสาน สืบค้นเมื่อ 2564-10-18
- ↑ สกสว. (2562). "เชื้อเพลิงชีวภาพและชีวเคมีภัณฑ์โดยจุลินทรีย์". สกสว. กรุงเทพฯ: สกสว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-23. สืบค้นเมื่อ 2564-10-18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๘๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2021-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
สาขาสหวิทยาการ | |
---|
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ | |
---|
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | |
---|
สาขาวิทยาศาสตร์เคมี และเภสัช | |
---|
สาขาเกษตรศาสตร์ และชีววิทยา | |
---|
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมวิจัย | |
---|
สาขาปรัชญา | |
---|
สาขารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ | |
---|
สาขาเศรษฐศาสตร์ | |
---|
สาขานิติศาสตร์ | |
---|
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และนิเทศศาสตร์ | |
---|
สาขาสังคมวิทยา | |
---|
สาขาการศึกษา | |
---|