Share to:

 

ลิขิต ธีรเวคิน

ลิขิต ธีรเวคิน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
เสียชีวิต20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (75 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2540–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
คู่สมรสรองศาสตราจารย์ นพมาศ อุ้งพระ

ศาสตราจารย์ ลิขิต ธีรเวคิน (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) ราชบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา นักรัฐศาสตร์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

ประวัติ

ศาสตราจารย์ ลิขิต ธีรเวคิน เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ (ระดับ 11) อดีตอาจารย์ประจำและคณบดีคณะรัฐศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ลิขิต ธีรเวคิน ยังเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (พ.ศ. 2540) อดีตหัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินไท (30 มิถุนายน พ.ศ. 2549-30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) และ เคยได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย อีกด้วย (พ.ศ. 2545-2548 และ พ.ศ. 2549)

สำหรับในด้านภูมิปัญญาความคิด ศาสตราจารย์ ลิขิต ธีรเวคิน ถือเป็นนักวิชาการอาวุโสที่ทรงอิทธิพลในวงการสังคมศาสตร์ไทย ทั้งยังคร่ำหวอดและเชี่ยวชาญการเมืองไทยมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ มีข้อคิดเห็น ข้อวิจารณ์ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองผ่านสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ อยู่สม่ำเสมอ เป็นเจ้าของวลีเด็ดที่เตือนสังคมไทยในวิกฤตการณ์การเมืองช่วงปี พ.ศ. 2556-2557 ที่ว่า "อัศวินม้าขาวในประวัติศาสตร์การเมืองไทยตกม้าตายทั้งนั้น"[1] และ "ไม่มีอีกแล้วอัศวินม้าขาวในประเทศนี้"[2]

ประวัติการศึกษา

  • ทางด้านนิติศาสตร์
  • พ.ศ. 2509 นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2512 Master of Arts in Law and Diplomacy, The Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University, U.S.A., 1969
  • ทางด้านรัฐศาสตร์
  • พ.ศ. 2511 Master of Arts (International Relations), The Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University, U.S.A., 1968
  • พ.ศ. 2513 Master of Arts (Political Science), Brown University, U.S.A., 1970
  • พ.ศ. 2515 Doctor of Philosophy (Political Science), Brown University, U.S.A., 1972
  • ทางด้านความมั่นคง
  • (1) ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน - ปรอ.) รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2532

การทำงาน

ศ.ลิขิต ธีรเวคิน รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2526 และเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ในปี พ.ศ. 2531 นอกจากนั้น ศ.ลิขิต ได้เป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง อาทิ เป็นผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก เป็นต้น ศ.ลิขิต ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2547[3]

งานการเมือง

ศ.ลิขิต ธีรเวคิน เข้าสู่งานการเมืองโดยลาออกจากราชการ[4] เพื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[5] และเข้าร่วมงานกับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 10 และได้รับเลือกตั้งเลื่อนขึ้นแทนบุคคลที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 พรรคความหวังใหม่ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ศ.ลิขิต จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ลิขิต ธีรเวคิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคความหวังใหม่ (เลื่อนแทน)
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย

ผลงาน

ลิขิต ธีรเวคิน มีผลงานทางด้านวิชาการ อาทิ งานวิจัย หนังสือวิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย หนังสือการเมืองการปกครองไทย หนังสือภาษาอังกฤษหลายเล่ม และบทความทางวิชาการอีกจำนวนมาก

รางวัลเกียรติยศ

  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2531
  • ศาสตราจารย์ระดับ 11 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2536
  • ได้รับการยกย่องเป็น กีรตยาจารย์ (อาจารย์ผู้มีเกียรติ) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2540
  • มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็น ราชบัณฑิต ประเภทสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2547
  • ศิษย์เก่าดีเด่นในรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (27 มิถุนายน พ.ศ. 2547)
  • รางวัล “ปากกาขนนกทองคำ” สำหรับหนังสือที่มียอดจำหน่ายสูงสุด 15 สาขาวิชา สาขาวิชารัฐศาสตร์ เรื่อง วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สิงหาคม พ.ศ. 2547

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. อัศวินม้าขาวในประวัติศาสตร์การเมืองไทยตกม้าตายทั้งนั้น
  2. ไม่มีอีกแล้วอัศวินม้าขาวในประเทศนี้
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพ้นจากตำแหน่ง (นายลิขิต ธีรเวคิน)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๗, ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
Kembali kehalaman sebelumnya