บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2497) นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า[1] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประธานกรรมการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย[2] ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [3] รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย อุปนายกราชบัณฑิตยสถานคนที่ 1 กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ[4]กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[5] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539[6] อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และเป็นอดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ประวัติบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 7 ของวิภัทร และอารีย์ อุวรรณโณ เป็นญาติกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและอดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย สมรสกับ ปาริชาติ ชุมสาย ณ อยุธยา (สุขสงเคราะห์) มีบุตร-ธิดา 2 คน ปัจจุบันหย่ากันแล้ว การศึกษาบวรศักดิ์ อุวรรณโณ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนแสงทองวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ต่อมาได้เข้าศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2518 ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2519 สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 3 ของรุ่นที่ 29) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปี พ.ศ. 2522 ได้ปริญญาชั้นสูงทางกฎหมายปกครอง มหาวิทยาลัยปารีส ในปี พ.ศ. 2525 สำเร็จปริญญาเอก กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยปารีส และพ.ศ. 2541 จบหลักสูตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4111 การทำงานบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2519 ในตำแหน่งอาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2531 เป็นคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2532 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2534 ได้กลับเข้ารับราชการ ภาควิชากฎหมายปกครองและกฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538 เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปี พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2546 เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ปี พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2549 เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นอกจากนั้น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราภิชานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย และยังดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ และ กรรมการอิสระ บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ และ กรรมการอิสระ บริษัท อีเทอเนิล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) ภายหลังการ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558[7] ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ รางวัลและเกียรติคุณ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|