ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2496 ที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี บิดาชื่อ นายศักดิ์ กรุดพันธ์ มารดาชื่อ นางอุบล กรุดพันธ์ สมรสกับ นางธนกร กรุดพันธ์ (นามสกุลเดิม เกษมกิจวัฒนา) มีธิดา 1 คน คือ นางสาวศุภรา กรุดพันธ์
ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ เป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีวิเคราะห์คนแรกของประเทศไทย ปัจจุบันทำงานที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในการพัฒนาเพื่อการลดขนาดในการวิเคราะห์โดยการไหล (กลุ่มวิจัย Flow-based Analysis Research Group)ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ สนใจในวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีและเครื่องมือ ในการการวิเคราะห์ทางเคมีโดยเฉพาะเทคนิคที่อาศัยหลักการไหล ซึ่งจะมุ่งเป้าที่จะเป็นแบบราคาถูก งานวิจัยจะสัมพันธ์กับปัญหาของท้องถิ่นแต่มีผลกระทบในระดับนานาชาติอีกด้วย ไม่นานมานี้ได้ริเริ่มและผลักดันในการพัฒนาการวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการไหลเพื่อการคัดกรองในการตรวจวินิจฉัยโรคบางชนิด (เช่น มะเร็ง, โรคตับ, โรคข้อ และกระดูก และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น) การพัฒนาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลในพื้นที่ธุรกันดานในประเทศไทย และได้ริเริ่มผลักดันเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดโดยการใช้รีเอเจนต์ที่ได้จากธรรมชาติ การพัฒนาการวิจัยจะมีผลเชื่อมโยงกับการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่อีกด้วย ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ ได้บุกเบิกงานทาง flow injection analysis ที่เกี่ยวข้องกับกัมมันตรภาพรังสี การเตรียมตัวอย่างแบบในท่อที่ใช้ระบบการไหลผนวกเข้ากับเทคนิคทาง โครมาโทกราฟี การลดขนาดของการวิเคราะห์ทางเคมี เช่น “การดำเนินการวิเคราะห์บนชิพ (lab-on-Chip)” และ “การดำเนินการทดลองที่วาล์ว (Lab-at-Valve)” ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการวิเคราะห์ทั้งระบบในระดับไมโคร (micro total analysis system)
ประวัติ
การศึกษา
ประสบการณ์การฝึกอบรมและดูงาน
นอกเหนือจากการดูงานต่างๆ แล้ว มีประสบการณ์หลังปริญญาเอก (Post doctoral experiences) ได้แก่
DAAD Research Fellow, ที่ University of Karlsruhe และ Karlsruhe Nuclear Center Germany (2526-2527, 2530, 2532, 2537)
IAEA Research Fellow, University Of Ghent, Belgium (2529)
Water Studies Center, Monash University, Australia (2529)
Alexander von Humboldt Research Fellow ที่ Karlsruhe Nuclear Research Center, Germany (2534-2535)
The Royal Society Visiting Fellow ที่ Liverpool John Moores University, UK (2541)
ประสบการณ์ทำงาน
เกตุ มีการทำงานวิจัยและผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ ได้แก่
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมี-เภสัช” ปี 2542 จาก สภาวิจัยแห่งชาติ
นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ปี 2542 จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2544 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ปี 2544-2546 และ 2547-2550
Science & Technology Research Grant” ปี 2544 จาก Thailand Toray Science Foundation
JAFIA Scientific Award” (พ.ศ. 2545) จาก The Japanese Association for Flow Injection Analysis (JAFIA) ประเทศญี่ปุ่น (นับเป็นชาวเอเชียคนแรก (ยกเว้นชาวญี่ปุ่น) ที่ได้รับรางวัลนี้)
บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ด้านเคมีวิเคราะห์) ” ปี พ.ศ. 2547 จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
นักวิจัยดีเด่น รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช้างทองคำ” ปี พ.ศ. 2550 จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
JAFIA Honor Award for Science (พ.ศ. 2551) จาก Japanese Association for Flow Injection Analysis (นับเป็นชาวเอเชียคนแรก (ยกเว้นชาวญี่ปุ่น) ที่ได้รับรางวัลนี้)
ผลงานวิชาการที่โดดเด่น คือ ได้ริเริ่มการวิจัยเคมีวิเคราะห์แนวใหม่เกี่ยวกับ flow-based analysis ได้รับเกียรติเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น แห่งชาติทางเคมีคนแรกของประเทศ และเป็นคนแรกที่อยู่ในสถาบันต่างจังหวัด (ปัจจุบันมี 2 คนจากผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ 35 คน) นอกจากนี้ยังเป็นศาสตราจารย์คนแรกทางเคมีวิเคราะห์ในประเทศไทย มีส่วนในการผลักดันบรรยากาศการวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ของประเทศไทยจนเข้าสู่ระดับนานาชาติ มีส่วนทำให้เกิดหลักสูตรปริญญาเอกเคมีวิเคราะห์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแห่งแรกของประเทศไทย [ 1]
ประสบการณ์ด้านการบริหารงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2533–2537)
กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หลายสมัย)
กรรมการวิจัยประจำภาควิชา และ กรรมการวิจัยประจำคณะวิทยาศาสตร์ (หลายสมัย)
กรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หลายสมัย)
กรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี (PERCH)
ผู้ประสานงานโครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิตร่วมกับสถาบันต่างประเทศ แขนงเคมีวิเคราะห์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
ผู้ประสานงานโครงการเพิ่มสมรรถนะความแข่งขันกับต่างประเทศของ สกอ. ในโครงการ “การพัฒนาเครื่องมือและวิธีสำหรับวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ในระดับไมโครและนาโนเพื่อใช้ในทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม” (2549 – 2552)
รองประธานโปรแกรม Environmental Risk Assessment Program ซึ่งมีความร่วมมือกับ Saarland University เยอรมนี โดยการสนับสนุนของ GTZ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
↑ (หน้า 80 ใน “อดีต ปัจจุบัน อนาคต วิทยาการเคมีและเภสัชไทย – ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ สมเดช กนกเมธากุล – บรรณาธิการ – จัดพิมพ์โดย มูลนิธิบัณฑิตยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2549)
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ , เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย , เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ , เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา , เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
สาขาสหวิทยาการ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมี และเภสัช สาขาเกษตรศาสตร์ และชีววิทยา สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมวิจัย สาขาปรัชญา สาขารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และนิเทศศาสตร์ สาขาสังคมวิทยา สาขาการศึกษา