Share to:

 

สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม

สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม
ครองราชย์23 ธันวาคม ค.ศ. 1909 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934
(24 ปี 56 วัน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3
พระราชสมภพ8 เมษายน ค.ศ. 1875
กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
สวรรคต17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 (58 พรรษา)
มาร์ช-เล-ดาม ประเทศเบลเยียม
คู่อภิเษกเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม
พระราชบุตรสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม
เจ้าชายชาลส์ เคานต์แห่งฟลานเดอร์
เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม
พระปรมาภิไธย
อัลแบร์ เลโอโปลด์ เคลม็อง มารี ไมน์ราด
ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
พระราชบิดาเจ้าชายฟิลิป เคานต์แห่งแฟลนเดอส์
พระราชมารดาเจ้าหญิงมารีแห่งโฮเฮนซอลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน
ลายพระอภิไธย
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม
พระราชลัญจกร
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลHis Majesty
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Majesty
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 (8 เมษายน ค.ศ. 1875 - 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียมตั้งแต่ปีค.ศ. 1909 ถึงค.ศ. 1934 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศเบลเยียมเนื่องจากอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) เมื่อประเทศเบลเยียมเกือบทั้งหมดถูกบุกรุก ยึดครอง และปกครองโดยจักรวรรดิเยอรมัน นอกจากนั้นยังมีอีกเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ คือ การร่วมลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย, การปกครองเบลเยียมคองโกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเบลเยียม การปฏิรูปประเทศภายหลังสงคราม และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (ค.ศ. 1929 - 1934) สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 เสด็จสวรรคตเนื่องจากทรงประสบอุบัติเหตุจากการปีนเขาในภาคตะวันออกของเบลเยียมในปีค.ศ. 1934 มีพระชนมพรรษา 58 พรรษา ราชสมบัติจึงตกเป็นของพระโอรสพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าชายเลโอโปลด์

พระราชประวัติ

พระองค์ทรงมีพระนามเมื่อประสูติว่า อัลแบร์ เลโอโปลด์ เคลม็อง มารี ไมน์ราด (Albert Léopold Clément Marie Meinrad, เยอรมัน: Albrecht Leopold Clemens Marie Meinrad ประสูติ ณ กรุงบรัสเซลส์ ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 2 ของเจ้าชายฟิลิป เคานต์แห่งแฟลนเดอส์ กับเจ้าหญิงมารีแห่งโฮเฮนซอลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน ซึ่งพระราชบิดา (เจ้าชายฟิลิป) นั้นทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 (พระองค์ที่ 2 ที่ยังทรงพระชนม์) ในพระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม กับสมเด็จพระราชินีหลุยส์-มารี พระราชบิดานั้นเป็นพระราชอนุชาของสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2

ฝ่ายพระราชมารดา คือ เจ้าหญิงมารีแห่งโฮเฮนซอลเลิร์น-ซิกมาริงเงินนั้นเป็นพระญาติสนิทของสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี และยังเป็นสมาชิกของราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์นสายโรมันคาทอลิก (ซึ่งมิได้ปกครองอาณาจักรใด ๆ) เจ้าชายอัลแบร์ ทรงเจริญพระชันษาในพระราชวังแห่งฟลานเดอร์ และทรงเป็นรัชทายาทอันดับที่ 4 แห่งการสืบสันตติวงศ์ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์รัชทายาทซึ่งมีสิทธิในราชบัลลังซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระราชปิตุลา สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และพระเชษฐาของพระองค์ คือ เจ้าชายโบดวงแห่งเบลเยียม ซึ่งได้เตรียมพระองค์ในการสืบราชสมบัติเป็นอย่างดี กลับสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์เช่นกัน จึงทำให้พระองค์ทรงขยับขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่สองของการสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดาเมื่อมีพระชนมายุเพียง 16 พรรษา

พระองค์ทรงตระเตรียมพระองค์เพื่อรับราชสมบัติเป็นอย่างดี ในสมัยที่ยังทรงพระเยาว์ เจ้าชายอัลแบร์ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎรชั้นกรรมาชีพในเบลเยียม และเสด็จประพาสส่วนพระองค์ไปตามเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมิให้ราษฎรรู้ เพื่อทรงทราบถึงความเป็นอยู่ของราษฎร[1] และภายหลังก่อนที่จะเสวยราชสมบัติในปีค.ศ. 1909 ได้เสด็จประพาสเบลเยียมคองโกอย่างจริงจัง ซึ่งได้รวมดินแดนเข้ากับราชอาณาจักรในปีค.ศ. 1908 (ภายหลังจากการถูกครอบครองในฐานะราชสมบัติส่วนพระองค์โดยสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2) ทรงพบเห็นว่าสภาพของดินแดนนั้นอยู่ในสภาพย่ำแย่ และเมื่อเสด็จนิวัติแล้ว ทรงให้จัดการปฏิรูปเพื่อปกป้องชาวพื้นเมืองคองโก และเพื่อพัฒนาอาณานิคมแห่งนี้ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป[2]

พระองค์ทรงเป็นอัศวินแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์เป็นลำดับที่ 851 ในปีค.ศ. 1914 และอัศวินแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำเป็นลำดับที่ 1,152

อภิเษกสมรส

พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับดัชเชสเอลิซาเบธ กาบรีเอล วาเลรี มารี แห่งบาวาเรีย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1900 ที่มิวนิก พระคู่หมั้นนั้นคือเจ้าหญิงในราชวงศ์วิตเตลส์บาคที่ทรงพบเป็นครั้งแรกในงานศพของครอบครัว ทรงเป็นพระธิดาของดยุกคาร์ล-ธีโอดอร์แห่งบาวาเรีย กับอินฟานตามาเรีย โจเซฟาแห่งโปรตุเกส พระองค์ประสูติที่ปราสาทโพสเซินโฮเฟิน ในรัฐบาวาเรีย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1876 และสิ้นพระชนม์เมื่อ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965

จากพระราชสาสน์ที่ทรงตอบโต้กันในระหว่างช่วงทรงหมั้น (กล่าวถึงในบันทึกของพระราชธิดา คือ เจ้าหญิงมารี-โจเซ ว่าทรงรักใคร่ผูกพันกันมาก[3] และทั้งสองพระองค์ยังทรงสนับสนุนซึ่งกันและกันในบทบาทของทั้งสองพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์และพระราชินี ทั้งสองพระองค์ทรงมีส่วนร่วมในการอุทิศพระวรกายให้แก่ประเทศชาติและประชาชนของพระองค์ ทั้งสองพระองค์ยังมีความสนพระทัยในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ การดนตรี และปรัชญา ทำให้ราชสำนักของพระองค์ที่ลาเคินนั้นเป็นเหมือนดั่งศูนย์วัฒนธรรมอย่างกลาย ๆ[3][4]

พระโอรส-ธิดา

ขึ้นครองราชย์

สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 และพระราชินี กับพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ (เบื้องขวา)

จากการสวรรคตของพระราชปิตุลา สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม พระองค์จึงเสวยราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียมในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1909 เนื่องจากพระราชบิดานั้นสิ้นพระชนม์ไปแล้วตั้งแต่ปีค.ศ. 1905 ในอดีตนั้น พระมหากษัตริย์เบลเยียมนั้นจะทรงกล่าวคำปฏิญาณเป็นภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น แต่พระองค์ได้ตรัสเป็นภาษาดัตช์ด้วย[1] พระองค์และพระราชินีนั้นเป็นที่รักใคร่ของราษฎรมากอันเนื่องมาจากความเป็นกันเองต่อพสกนิกร และความรักใคร่กลมเกลียวของทั้งสองพระองค์ ซึ่งล้วนแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรัชกาลก่อน ซึ่งเข้มงวดทางพิธีรีตอง เผด็จการ และชีวิตส่วนตัวแบบลับ ๆ ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2

การเปลี่ยนแปลงสำคัญช่วงต้นรัชกาล ได้แก่การริเริ่มการปฏิรูปการปกครองของเบลเยียมคองโก ซึ่งเป็นอาณานิคมเพียงแห่งเดียวของราชอาณาจักรเบลเยียม[5]

สงครามโลกครั้งที่ 1

ช่วงเริ่มต้นของสงคราม พระองค์ได้ทรงปฏิบัติตามคำร้องขอของสหราชอาณาจักร ที่ให้ปฏิเสธคำร้องขอของกองทัพเยอรมันในการเคลื่อนทัพผ่านเบลเยียมเพื่อเข้าโจมตีฝรั่งเศสซึ่งเป็นสัมพันธมิตรของอังกฤษในขณะนั้น ซึ่งฝ่ายเยอรมันได้คาดการณ์ไว้ว่าฝรั่งเศสจะประกาศสงครามกับเยอรมนีเพื่อสนับสนุนรัสเซีย (อังกฤษเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจยุโรปในสมัยนั้นที่รับรองสถานะของการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของเบลเยียมภายใต้สนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ. 1839) ซึ่งพระองค์ได้ทรงตอบปฏิเสธคำร้องขอของฝ่ายเยอรมัน กองทัพเยอรมันจึงเปิดฉากบุกรุกเบลเยียม ซึ่งพระองค์ ในฐานะพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญของเบลเยียม เป็นจอมทัพของเบลเยียมและทรงกำกับดูแลเพื่อต้านกองกำลังของฝ่ายเยอรมันเป็นเวลานานพอให้กองทัพของอังกฤษและฝรั่งเศสเตรียมการสำหรับการรบในยุทธการแห่งมาร์น (6-9 กันยายน ค.ศ. 1914) พระองค์ทรงนำทัพผ่านการปิดล้อมเมืองแอนต์เวิร์ป และยุทธการแห่งอิแซร์ เมื่อกองทัพเบลเยียมถูกผลักดันให้ล่าถอยไปยังส่วนปลายที่สุดของดินแดน ซึ่งติดกับทะเลเหนือ ซึ่งเป็นสถานที่ที่กองทัพเบลเยียมได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพไตรภาคี และทำสงครามเต็มรูปแบบในดินแดนแถบนี้กินเวลายาวนานถึงสี่ปี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ได้ทรงนำทัพและบัญชาการอยู่ที่แนวหน้าเคียงข้างกับกองทัพของพระองค์ ในขณะที่สมเด็จพระราชินีนั้นทรงดูแลงานพยาบาลอยู่ที่แนวหน้า นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระบรมราชานุญาตให้พระราชโอรส เจ้าชายเลโอโปลด์ พระชันษาเพียง 14 ปีเข้าเป็นพลทหารร่วมกับกองทัพเบลเยียมในขณะนั้น [2][5]

สงครามครั้งนั้นได้นำพาเบลเยียมเข้าสู่ช่วงยากลำบาก ซึ่งเกิดขึ้นจากการถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน พระองค์ด้วยทรงเกรงถึงผลลัพธ์อันร้ายแรงของสงครามต่อเบลเยียมและยุโรป รวมถึงจำนวนผู้สูญเสียอันมากมาย จึงได้ทรงเจรจาทางการทูตกับฝ่ายเยอรมันอย่างลับๆ และตกลงกันในพื้นฐานว่า "ไม่มีผู้ใดชนะ และไม่มีผู้ใดพ่ายแพ้" (no victors, no vanquished) แต่อย่างไรก็ตามทั้งฝ่ายเยอรมัน และฝ่ายไตรภาคีไม่มีผู้ใดเห็นด้วยต่อข้อเสนอของพระองค์ พระองค์จึงไม่สามารถเจรจาสันติภาพต่อไปได้อีก ท่ามกลางสถานการณ์นี้ พระองค์อาจจะพิจารณาถึงการเจรจาสงบศึกกับเยอรมนี หากแลกกับการรับรองอิสรภาพของเบลเยียม และนำพาเบลเยียมออกจากสงครามได้อย่างเด็ดขาด แต่ทัศนคติของฝ่ายเยอรมันในขณะนั้นทำให้ตัวเลือกนี้ดูจะเป็นไปไม่ได้เสียเลย เนื่องจากกองทัพฝ่ายเยอรมันนั้นกำลังใช้เบลเยียมเป็นแรงกดดันฝ่ายไตรภาคี และดังนั้นจึงไม่มีความต้องการที่จะนำความสงบสุขมาสู่ภูมิภาคนี้ได้ และช่วงปลายของสงคราม ในฐานะของผู้บัญชาการกองกำลังฟลานเดอร์ ซึ่งเป็นกองกำลังผสมระหว่างทหารเบลเยียม อังกฤษ และฝรั่งเศส พระองค์ได้นำทัพอย่างกล้าหาญและพาชัยชนะเข้าปลดปล่อยประเทศเบลเยียมจากการยึดครองของกองทัพเยอรมันได้ พระองค์และพระราชินีเสด็จนิวัติกลับกรุงบรัสเซลส์ด้วยการต้อนรับดั่งวีรบุรุษสงคราม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ในฐานะของประมุขแห่งพระราชวงศ์ ทรงเป็นองค์ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งเบลเยียม ได้แก่ Order of Leopold, Order of the African Star, Royal Order of the Lion, Order of the Crown และ Order of Leopold II

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ


พงศาวลี

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Carlo Bronne. Albert 1er: le roi sans terre.
  2. 2.0 2.1 Evelyn Graham. Albert, King of the Belgians.
  3. 3.0 3.1 Luciano Regolo. La regina incompresa: tutto il racconto della vita di Maria José di Savoia.
  4. Marie-José, Queen, Consort of Umberto II, King of Italy. Albert et Elisabeth de Belgique, mes parents.
  5. 5.0 5.1 Roger Keyes. Outrageous Fortune: The Tragedy of Leopold III of the Belgians.
  6. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Afghanistan, Ordre d'Ustar[ลิงก์เสีย]
  7. See List of Austrian Knights of the Golden Fleece (20th century)
  8. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Bolivia, Ordre du Condor des Andes[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Chile, Ordre Al Merito เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - World Medals Index, Chile: Order of Merit
  10. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Colombia, Ordre de Boyaca[ลิงก์เสีย]
  11. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Cuba, Ordre du Mérité "Carlos Manuel de Cespedes" เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Czechoslovakia, Ordre du Lion Blanc เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Croix de Guerre[ลิงก์เสีย]
  13. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Ecuador, Ordre Al Merito เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - World Medals Index, Ecuador: National Order of Merit
  14. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Egypt, Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Ethiopia, Ordre du Sceau de Salomon เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
  16. 16.0 16.1 16.2 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, France, Ordre de la Légion d'Honneur เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Médaille Militaire เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Croix de Guerre เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bars เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today of the 3 orders
  17. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, France (Algeria), Scarabée vert de Tabelbala เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Italy, Croix du Mérite de Guerre[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
  19. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Japan, Ordre Suprême du Chrisanthème[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
  20. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Lithuania, Ordre de Vytis เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  21. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Luxembourg, Ordre du Lion de la Maison de Nassau เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  22. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Monaco, Ordre de Saint Charles เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  23. 23.0 23.1 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Morocco, Ordre Ouissam Alaouite เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today) - Ordre du Mérite Chérifien เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Netherlands, Ordre du Lion Néerlandais[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  25. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Norway, Ordre de Saint-Olaf เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  26. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Persia, Ordre de la Couronne de Perse[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  27. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Peru, Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  28. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Poland, Ordre Militaire "Virtuti Militari" เก็บถาวร 2010-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
  29. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Portugal, Ordre des trois Ordres Militaires réunis du Christ, Saint-Benoît d'Aviz et de Saint-Jacques et de l'Epée เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  30. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Portugal, Ordre de la Tour et de l'Epée เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  31. 31.0 31.1 31.2 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Romania, Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  32. 32.0 32.1 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Romania, Ordre Militaire de Michel le Brave[ลิงก์เสีย] - Croix du Mérite Aéronautique[ลิงก์เสีย]
  33. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Russian Empire, Ordre Militaire de Saint Georges เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  34. 34.0 34.1 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Serbia, Ordre de Karageorge avec Glaives เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Médaille d'Or pour le Bravoure[ลิงก์เสีย]
  35. The Royal Tourist—Kalakaua's Letters Home from Tokio to London. Editor: Richard A. Greer. Date: 10 March 1881
  36. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Spain, Ordre de Charles III[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  37. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Sweden, Ordre des Séraphins เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
  38. 38.0 38.1 38.2 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, United Kingdom, Ordre Militaire du Bath เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - DFC[ลิงก์เสีย] - Méd. du Couronnement d'Édouard VII[ลิงก์เสีย]
  39. 39.0 39.1 39.2 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, United Kingdom, Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  40. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, United States, Distinguished Service Medal เก็บถาวร 2015-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  41. Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Venezuela, Ordre du Buste du Libérateur เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

บรรณานุกรม

  • Galet, Emile Joseph. Albert King of the Belgians in the Great War (1931), detailed memoir by the military advisor to the King; covers 1912 to the end of October, 1914
  • Woodward, David. "King Albert in World War I" History Today (1975) 25#9 pp 638–43
  • Catherine Barjansky. Portraits with Backgrounds.
  • Mary Elizabeth Thomas, "Anglo-Belgian Military Relations and the Congo Question, 1911-1913," Journal of Modern History, Vol. 25, No. 2 (June 1953), pp. 157–165.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม
พระมหากษัตริย์เบลเยียม
(23 ธันวาคม ค.ศ. 190917 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934)
สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม


Kembali kehalaman sebelumnya