อาร์ชดัชเชสมารี-อัสทรีดแห่งออสเตรีย
อาร์ชดัชเชสมารี-อัสทรีดแห่งออสเตรีย (เดิม:เจ้าหญิงมารี-อัสทรีดแห่งลักเซมเบิร์ก) (อังกฤษ: Archduchess Marie Astrid of Austria) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กกับแกรนด์ดัชเชสโฌเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียมและอัสตริดแห่งสวีเดน ผ่านทางสายพระมารดา พระองค์มีพระอนุชาและพระขนิษฐา 4 พระองค์ คือ แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก เจ้าหญิงมาร์กาเรตาแห่งลีชเทินชไตน์ เจ้าชายฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก และเจ้าชายกีโยมแห่งลักเซมเบิร์ก พระองค์เสกสมรสกับอาร์ชดยุกคาร์ล คริสเตียนแห่งออสเตรีย มีพระบุตร 4 พระองค์ พระประวัติอาร์ชดัชเชสมารี-อัสทรีดแห่งออสเตรีย (เดิม เจ้าหญิงมารี-อัสทรีดแห่งลักเซมเบิร์ก) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กและแกรนด์ดัชเชสโฌเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก โดยทรงมีพระราชบิดาพระราชมารดาทูลหัว คือ พระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียม (ตา) และแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก (ย่า) พระองค์ได้รับการตั้งพระนามจากมารี แม่แห่งเจวสต์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นพระราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก โดยขณะเจริญพระชันษา พระองค์ทรงเป็นที่กล่าวในเรื่องความงดงามทั้งพระพักตร์และพระจริยวัตร สมกับเป็นเจ้าหญิงที่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระสิริโฉม พระเกียรติยศ และพระอิสริยยศ โดยทรงถูกเลือกให้เป็นว่าที่พระวรชายาใน เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ โดยใน พ.ศ. 2513 หนังสือพิมพ์เลดีเอ็กเพรส ได้ลงข่าวว่า ใน พ.ศ. 2520 พระองค์จะสมรสกัน เพราะขณะนี้ทั้ง 2 กำลังคบหาดูใจกันอยู่ แต่สื่อมวลชนในอังกฤษก็ตกตะลึงเมื่อ สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ได้ทรงขัดแย้งและทรงอ้างว่า
ในขณะที่คณะรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรและลักเซิมเบิร์ก ก็ได้ประชุมหาลือในเรื่องนี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าพระองค์จะไม่ได้สมรสกันอย่างที่สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ตรัสไว้ หลังจากนั้นไม่นาน ทั้งคู่ก็เลิกคบหาดูใจกัน เสกสมรสหลังจากที่พระองค์ไม่ได้รับการเลือกให้เป็นพระวรชายาใน ชาลส์ เจ้าฟ้ามกุฎราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร พระองค์ได้เข้าพิธีเสกสมรสกับ อาร์ชดยุกคาร์ล คริสเตียนแห่งออสเตรีย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ณ เมืองลักเซมเบิร์ก โดยรับพระราชทานพระอิสริยยศเป็น อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย พระชายา และมีพระนามอย่างเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า (อังกฤษ: Her Imperial and Royal Highness Archduchess Marie-Astrid of Austria, Princess of Luxembourg, Nassau and Bourbon-Parma) โดยทรงมีพระบุตรร่วมกันดังนี้
พระกรณียกิจอาร์ชดัชเชสมารี-อัสทรีด ทรงปฏิบัติพระกรณียากิจในด้านต่างๆ ดังนี้
ทั้งนั้พระองค์ทรงเป็นพระมารดาทูลหัวให้กับ เจ้าชายกีโยม แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก พระภาติยะอีกด้วย พระชนม์ชีพหลังสมรสหลังจากทรงสมรสแล้วนั้น พระองค์พระสวามีและพระบุตร ทรงอยู่อย่างพอเพียงไม่เอิกเกริก และเสด็จร่วมงานสำคัญๆของพระราชวงศ์ลักเซมเบิร์กเกือบทุกครั้ง และเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562 ภายหลังการเสด็จสวรรคตลงของ แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก พระบิดา พระองค์ได้เสด็จไปร่วมงานพระบรมศพด้วย โดยพระองค์ได้นำเสด็จขบวนตามพระราชประสงค์ส่วนพระองค์ของ แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก ในฐานะพระพี่นางพระองค์ใหญ่ของพระอนุชาและพระขนิษฐา เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลีอ้างอิง
|