Share to:

 

อิสลามาบาด

อิสลามาบัด

اسلام آباد
เมืองหลวง
สมญา: 
Isloo,[1] เมืองสีเขียว
แผนที่ประเทศปากีสถานเน้นกรุงอิสลามาบัด
แผนที่ประเทศปากีสถานเน้นกรุงอิสลามาบัด
อิสลามาบัดตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
อิสลามาบัด
อิสลามาบัด
แผนที่ประเทศปากีสถานแสดงที่ตั้งกรุงอิสลามาบัด
พิกัด: 33°43′N 73°04′E / 33.717°N 73.067°E / 33.717; 73.067
ประเทศ ปากีสถาน
ดินแดน ดินแดนนครหลวงอิสลามาบาด
ก่อตั้งคริสต์ทศวรรษ 1960
การปกครอง
 • หน่วยงานบริหารองค์การการพัฒนาเมืองหลวง
 • ผู้บัญชาการZulfiqar Haider
 • ประธานSheikh Ansar aziz
 • รองผู้บัญชาการMujahid Sherdil
 • นายกเทศมนตรีSheikh Ansar Aziz
พื้นที่
 • เมืองหลวง906.00 ตร.กม. (349.81 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง906.00 ตร.กม. (349.81 ตร.ไมล์)
ความสูง620 เมตร (2,000 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน พ.ศ. 2554)[2]
 • เมืองหลวง1,151,868 คน
 • ความหนาแน่น1,271 คน/ตร.กม. (3,290 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+5 (PST)
รหัสไปรษณีย์44000
รหัสพื้นที่051
เว็บไซต์www.islamabad.gov.pk

อิสลามาบัด (อูรดู: اسلام آباد, Islām-ābād; เสียงอ่านภาษาอูรดู: [ɪsˌlɑːmɑˈbɑːd̪]) เป็นเมืองหลวงของประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ในเขตการปกครองเมืองหลวงอิสลามาบัด มีพื้นที่ 906 ตารางกิโลเมตร ประชากร 805,000 คน (พ.ศ. 2541) กรุงอิสลามาบัดสร้างขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 เพื่อเป็นเมืองหลวงของประเทศแทนนครการาจี อิสลามาบัดเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศปากีสถานเป็นอันดับที่ 9 ส่วนมหานครอิสลามาบัด-รวัลปินดี (Islamabad-Rawalpindi) เป็นมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สี่ของประเทศด้วยประชากร 7.4 ล้านคน[3]

อิสลามาบัดเป็นเมืองที่มีวางผังไว้ก่อน (planned city) ซึ่งเริ่มในทศวรรษ 1960 เพื่อเป็นเมืองหลวงแทนที่การาจี อิสลามาบัดเป็นเมืองที่มีมาตรฐานการดำรงชีพที่สูง[4] มีความปลอดภัยสูง[5] และเต็มไปด้วยพืชพรรณไม้ต่าง ๆ [6] อิสลามาบัดเป็นที่ตั้งขององค์กรทางการเมืองของประเทศปากีสถาน ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองคือองค์กรบริหารนครอิสลามาบัด (Islamabad Metropolitan Corporation) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Capital Development Authority (CDA)

อิสลามาบัดตั้งอยู่ใน ที่ราบสูงโพโธฮาร์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปากีสถาน อยู่ระหว่างเขตรวัลปินดี (Rawalpindi District) อุทยานแห่งชาติเทือกเขามาร์กัลลา (Margalla Hills National Park) ทางเหนือ พื้นที่บริเวณนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างปัญจาบ และ แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา โดยมี Margalla Pass เป็นเหมือนประตูเชื่อมต่อระหว่างสองพื้นที่นี้[7]

แผนหลักการเมือง (city's master-plan) ออกแบบโดยสถาปนิกชาวกรีก Constantinos Apostolou Doxiadis ผู้แบ่งเมืองออกเป็นแปดเขตคือเขตบริหาร (administrative), เขตผู้แทนการทูต (diplomatic enclave), เขตที่อยู่อาศัย (residential areas), เขตการศึกษา (educational sectors), เขตอุตสาหกรรม (industrial sectors), เขตธุรกิจการค้า (commercial areas) และพื้นที่สีเขียวหรือชนบท (rural and green areas) อิสลามาบัดเป็นที่รู้จักดีในฐานะเมืองที่มีสวนสาธารณะและป่าอยู่มาก เช่น Margalla Hills National Park และ Shakarparian Park[8]

ศัพทมูล

ชื่อเมืองอิสลามาบัด เกิดจากการรวมกันของสองคำคือ อิสลาม (Islam) และ อาบัด (abad) แปลว่าเมืองแห่งอิสลาม ("City of Islam") คำว่าอิสลาม (Islam) เป็นคำภาษาอูรดูหมายถึงศาสนาอิสลาม ส่วน อาบัด (-abad) เป็นคำต่อท้ายภาษาเปอร์เซียแปลว่าเมือง[9]

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของอิสลามาบาด (1961-1990)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 26.1
(79)
30.0
(86)
34.0
(93.2)
40.6
(105.1)
45.6
(114.1)
46.0
(114.8)
44.4
(111.9)
42.0
(107.6)
38.1
(100.6)
36.7
(98.1)
32.2
(90)
27.2
(81)
46
(114.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.1
(62.8)
19.1
(66.4)
23.9
(75)
30.1
(86.2)
35.3
(95.5)
38.7
(101.7)
35.0
(95)
33.4
(92.1)
33.5
(92.3)
30.9
(87.6)
25.4
(77.7)
19.7
(67.5)
28.5
(83.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 10.1
(50.2)
12.1
(53.8)
16.9
(62.4)
22.6
(72.7)
27.5
(81.5)
31.2
(88.2)
29.7
(85.5)
28.5
(83.3)
27.0
(80.6)
22.4
(72.3)
16.5
(61.7)
11.6
(52.9)
21.34
(70.42)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.6
(36.7)
5.1
(41.2)
9.9
(49.8)
15.0
(59)
19.7
(67.5)
23.7
(74.7)
24.3
(75.7)
23.5
(74.3)
20.6
(69.1)
13.9
(57)
7.5
(45.5)
3.4
(38.1)
14.1
(57.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −3.9
(25)
-2.0
(28.4)
−0.3
(31.5)
6.1
(43)
11.0
(51.8)
15.0
(59)
17.8
(64)
17.0
(62.6)
13.3
(55.9)
5.7
(42.3)
−0.6
(30.9)
−2.8
(27)
−3.9
(25)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 56.1
(2.209)
73.5
(2.894)
89.8
(3.535)
61.8
(2.433)
39.2
(1.543)
62.2
(2.449)
267.0
(10.512)
309.9
(12.201)
98.2
(3.866)
29.3
(1.154)
17.8
(0.701)
37.3
(1.469)
1,142.1
(44.965)
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 195.3 189.3 201.5 252.0 313.1 300.0 263.5 251.1 261.0 275.9 249.0 195.3 2,947.0
แหล่งที่มา 1: HKO [10]
แหล่งที่มา 2: NOAA (extremes, daily mean temeperatures, 1961-1990) [11]

ประชากร

ประชากรในอิสลามาบัด
ค.ศ. ประชากร ตัวเมือง

1951 95,940 70%
1961 117,669 80%
1972 237,549 85%
1981 340,286 90%
1998 805,235 95%
2011 1,151,868 100%

อ้างอิง: [12]

เมืองพี่น้อง

ประเทศ เขตการปกครอง เมือง ปี
อิตาลี อิตาลี แคว้นเวเนโต เวนิส ค.ศ. 1960
จีน จีน ปักกิ่ง ปักกิ่ง 8 ตุลาคม ค.ศ. 1993[13]
ตุรกี ตุรกี จังหวัดอังการา อังการา ค.ศ. 1982[14]
จอร์แดน จอร์แดน เลแวนต์ อัมมาน 19 มีนาคม ค.ศ. 1989[15]
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ จังหวัดคย็องกี โซล 7 พฤศจิกายน 2008[16]
สเปน สเปน แคว้นมาดริด มาดริด 5 มิถุนายน ค.ศ. 2010
อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย จาการ์ตา จาการ์ตา ค.ศ. 1984 เริ่มใหม่ในปี ค.ศ. 2010[17]

อ้างอิง

  1. Berenson, Alex (2011). The Midnight House. Random House. p. 5. ISBN 978-0099536970.
  2. "Ministry of Population | Population Projection (In Millions) By Provinces, Pakistan (2007–2030)". Mopw.gov.pk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-26. สืบค้นเมื่อ 15 January 2012.
  3. "DISTRICT WISE CENSUS RESULTS CENSUS 2017" (PDF). www.pbscensus.gov.pk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 2017-09-03.
  4. Hetland, Atle (23 March 2014). "Islamabad – a city only for the rich?". DAWN.COM. สืบค้นเมื่อ 23 October 2016.
  5. "Safe City Project gets operational: Islooites promised safety – The Express Tribune". The Express Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 6 June 2016. สืบค้นเมื่อ 7 June 2016.
  6. Shirley, Peter; Moughtin, J. C. (11 August 2006). Urban Design: Green Dimensions (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781136350559.
  7. "Islamabad". Islamabad.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2008.
  8. "Capital Development Authority". www.visitislamabad.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2016. สืบค้นเมื่อ 7 June 2016.
  9. Adrian Room (13 December 2005). Placenames of the World. McFarland & Company. p. 177. ISBN 978-0786422487.
  10. "Climatological Normals of Islamabad". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-23. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.
  11. "Islamabad Climate Normals 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ January 16, 2012.
  12. Population Census Organization, Govt. of Pakistan. "POPULATION BY PROVINCE/REGION SINCE 1951".
  13. ^ Beijing International-Official website. "Sister cities" เก็บถาวร 2010-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  14. ^ Greater Municipality of Ankara. "Sister Cities Of Ankara" เก็บถาวร 2010-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  15. Greater Amman Municipality-Official website. "Twin city agreements"[ลิงก์เสีย].
  16. Fazal Sher – Daily Times. "Islamabad, Seoul to be made sister cities"
  17. "Leading News Resource of Pakistan". Daily Times. 23 January 2010. สืบค้นเมื่อ 15 January 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

33°43′N 73°04′E / 33.717°N 73.067°E / 33.717; 73.067

Kembali kehalaman sebelumnya