อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อยู่ในพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ 85,388.97 ไร่ (136.62 ตารางกิโลเมตร) อาณาเขตด้านใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารบริเวณผามออีแดงในตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541) นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และกรมป่าไม้กำหนดและประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารมีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง เช่น จุดชมทิวทัศน์ผามออีแดง จุดชมทิวทัศน์หน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤๅษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตวล และที่สำคัญคือ ปราสาทเขาพระวิหาร อันเป็นโบราณสถานสำคัญเก่าแก่ ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อพ.ศ. 2505 และในที่สุดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ตัดสินให้ตัวปราสาทอยู่ในอธิปไตยของประเทศกัมพูชา แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ทางฝั่งไทย และพื้นที่ทางขึ้นบริเวณผามออีแดงที่จังหวัดศรีสะเกษเป็นทางขึ้นที่สะดวกที่สุด ภูมิประเทศพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทิวเขาพนมดงรัก ลาดเอียงไปทางทิศเหนือกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง เนินเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยลำธารต่าง ๆ ได้แก่ ห้วยตามาเรีย ห้วยตานี ห้วยตาเงิด ห้วยตุง ห้วยตะแอก และห้วยบอน เป็นต้น ภูมิอากาศป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
พืชพรรณและสัตว์ป่าเนื่องจากพื้นที่ของอุทยานส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน เป็นเนินเขา สภาพป่าจึงประกอบด้วย
สภาพป่าของป่าเขาพระวิหารและป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่บนทิวเขาพนมดงรักยังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป เช่น หมูป่า ลิงแสม พังพอนธรรมดา กระต่ายป่า หนูท้องขาว กระรอกหลากสี กระแตเหนือ ค้างคาวยอดกล้วยผีเสื้อ นกนางแอ่นลาย นกเขนน้อยปีกแถบขาว นกปรอดทอง นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกกินแมลงอกเหลือง นกปีกลายสก็อต จิ้งจกดินลายจุด ตุ๊กแกเขาหินทราย กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนภูเขาเขมร ตะกวด งูดิน งูเหลือม งูแม่ตะงาว งูหัวกะโหลก กบหนอง เขียดจะนา กบหลังขีด กบนา ปาดบ้าน อึ่งข้างดำ และกบอ่อง เป็นต้น ในบริเวณพื้นที่แหล่งน้ำมีปลาหลากชนิดอาศัยอยู่ เช่น ปลากระสูบจุด ปลาตะเพียนทอง ปลานวลจันทร์เทศ ปลาช่อน ปลาหมอเทศ และปลาดุกด้าน เป็นต้น อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น
|