Share to:

 

อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี

อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี
ประเทศไทย
พิกัด6°28′01″N 101°37′48″E / 6.467°N 101.630°E / 6.467; 101.630[1]
พื้นที่294 km2 (114 sq mi)
จัดตั้งพ.ศ. 2542

อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นส่วนใต้สุดของเทือกเขาตะนาวศรีก่อนที่แนวเทือกเขาจะทอดตัวยาวเข้าไปในมาเลเซีย[2]

อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ 294 ตารางกิโลเมตร (114 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี เป็นที่ตั้งของแนวเทือกเขาบูโด ส่วนหนึ่งของป่าฝนเขตร้อนอินโด-มลายูซึ่งมีความชื้นสูงและมีฝนตกตลอดทั้งปี ภายในอุทยานมีน้ำตกหลายแห่ง อาทิ น้ำตกภูแว น้ำตกปาโช และน้ำตกปาโก ซึ่งน้ำตกปาโชบนหน้าผาสูง เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงที่สุด โดยคำว่า "ปาโช" ผันมาจากคำภาษามลายูที่แปลว่า "น้ำตก"

ความหลากหลายทางชีวภาพ

พันธุ์พืชที่มีชื่อเสียงของอุทยานแห่งนี้คือ "ใบทอง" หรือ "ยันเดา" ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกที่นี่ใน พ.ศ. 2531 สัตว์หายากที่พบในเขตอุทยานได้แก่ แรด ชะนีมือดำ สมเสร็จ เลียงผาเหนือ ค่างแว่นถิ่นใต้ ค่างดำมลายู และค่างหนุมาน โดยค่างมักอาศัยอยู่ในป่าลีกและบนภูเขาสูง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 30-40 ตัว

อ้างอิง

  1. "Budo-Sungai Padi National Park". protectedplanet.net.[ลิงก์เสีย]
  2. "Budo - Su-ngai Padi National Park". Department of National Parks (DNP) Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2015. สืบค้นเมื่อ 9 July 2015.
Kembali kehalaman sebelumnya